หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ชมภาพชนะเลิศการประกวด Wildlife Photographer of the Year 2018

โพสท์โดย ไปเซเว่นเอาอะไรไหม๊

Marsel van Oosten / WPY 
รางวัลชนะเลิศในการประกวดช่างภาพสัตว์ป่าแห่งปี (Wildlife Photographer of the Year) ประจำ ค.ศ. 2018 ซึ่งจัดขึ้นโดยพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติแห่งลอนดอน (London's Natural History Museum) ประเทศอังกฤษ คือ ภาพค่างจมูกเชิด (snub-nosed monkeys) 2 ตัว นั่งบนก้อนหินและดูเหมือนกำลังจ้องมองไปเบื้องหน้าอย่างไร้จุดหมาย

แต่แท้จริงแล้วพวกมันกำลังดูการทะเลาะเบาะแว้งขนานใหญ่ของสมาชิกในฝูงอยู่นั่นเอง

มาร์เซล แวน โอลเชน ช่างภาพชาวเนเธอร์แลนด์ เจ้าของรางวัลชนะเลิศในครั้งนี้ ถ่ายภาพค่างทั้ง 2 ตัว ได้บนภูเขาฉินหลิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เขาต้องติดตามฝูงของพวกมันเป็นเวลาหลายวันเพื่อทำความเข้าใจการเคลื่อนที่ของค่างจมูกเชิดจนสามารถคาดเดาพฤติกรรมของพวกมันได้ โดยมาร์เซลตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเก็บภาพขนอันสวยงามบนแผ่นหลัง รวมถึงใบหน้าสีฟ้าของค่างเพศผู้ชนิดนี้ด้วย สุดท้าย ความอุตสาหะของเขาก็สัมฤทธิผลด้วยภาพถ่ายที่ถูกจัดวางองค์ประกอบอย่างประณีตงดงาม และมีค่างจมูกเชิดเพศเมียที่ตัวเล็กกว่าประกอบอยู่ด้านหลัง
◾ ภาพถ่ายนกแห่งปี 2018
◾สัตว์ป่าในเงามืด
◾ภาพสัตว์โลกผู้น่ารักประจำปี 2017

"แม้ภาพนี้จะไม่หวือหวาหรือน่าตื่นตะลึงเหมือนกับภาพของผู้ชนะจากการแข่งขันครั้งก่อน ๆ แต่ก็มีบางสิ่งบางอย่างชวนให้หลงใหลและดึงดูดคุณให้สนใจ" โรซามุนด์ คิดแมน คอกซ์ ประธานคณะกรรมการตัดสินในการประกวดครั้งนี้กล่าว "ขณะที่เราดูภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด เรามักจะย้อนกลับมาหาภาพนี้เสมอ มันเกือบจะเหมือนการจัดฉากไว้เลยซึ่งก็น่าจะเป็นเพราะสีและแสงเงา"

"ปกติแล้วค่างเหล่านี้จะหาอาหารบนต้นไม้ แต่มาร์เซลสามารถจับภาพพวกมันขณะอยู่บนพื้นดินได้ และเขายังพิถีพิถันในการใช้แสงแฟลชอ่อน ๆ เพื่อขับเน้นแผงขนที่น่าอัศจรรย์ของพวกมันด้วย" โรซามุนด์กล่าว

Presentational grey line
เสือดาวนอนฝันของสกาย มีเกอร์

Skye Meaker / WPY 
ผู้ชนะเลิศการประกวดในประเภทรุ่นเยาว์ประจำปีนี้ คือ สกาย มีเกอร์ หนุ่มน้อยอายุ 16 ปี จากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ภาพที่เขาถ่ายเป็นเสือดาวกำลังเอนกายนอนด้วยนัยน์ตาคิดฝัน ในเขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่ามาชาตู ประเทศบอตสวานา

เสือตัวนี้มีชื่อว่า มาโทจา ซึ่งเป็นภาษาบันตูแปลว่า "ตัวที่เดินกะเผลก" เพราะขาข้างหนึ่งของมันหักตั้งแต่ยังเล็ก สกายบอกว่าชีวิตของมาโทจาลำบากไม่น้อย เพราะขาที่มีปัญหาทำให้มันไม่สามารถลากเหยื่อขึ้นไปกินบนต้นไม้เหมือนตัวอื่น ๆ มันต้องกินอาหารบนพื้นดิน ขณะที่พวกไฮยีนาคอยจ้องที่จะแย่งอาหารอยู่ 

สกายเล่าว่า "เรารอหลายชั่วโมงกว่าจะได้ภาพนี้ ผมอยากให้ดวงตาของ มาโทจา เปิดกว้าง และมันก็เกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้นครับ มาโทจามองตรงมาที่พวกเราเลย"

ค็อกซ์บอกว่าแม้สกายจะยังอายุน้อย แต่เขาก็มีฝีมือมาก ในการประกวดมีผู้ส่งภาพเสือดาวมากมาย ภาพดูซ้ำ ๆ กัน แต่ภาพของสกายแตกต่างออกไป ฉันคิดว่ามันเกี่ยวกับแสง มีแสงเขียว ๆ ที่ในแบ๊คกราวดน์ และมีการแสดงอารมณ์ที่หน้าของเสือดาวด้วย" 

ส่วนผู้ชนะในการประกวดสาขาอื่น ๆ ก็อย่างเช่น

Presentational grey line
นกฮูกในท่อน้ำ โดย อาร์ชดีป ซิงห์

Arshdeep Singh / WPY 
อาร์ชดีป ซิงห์ถ่ายภาพนี้ที่ เมืองคาเพอร์ทาลา รัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย เขาอธิบายว่า เขาเห็นนกฮูกบินเข้าไปในท่อก็เลยบอกพ่อ พ่อบอกว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ก็หยุดรถให้ พวกเรารออยู่ราว 20-30 นาที แล้วนกฮูกก็กลับมาอีกครั้ง เขาก็เลยถ่ายรูปเอาไว้ 

รางวัลชนะเลิศประเภท "อายุ 10 ปี และต่ำกว่า"

Presentational grey line
เตียงนอนของแมวน้ำ โดย คริสโตบัล เซอร์ราโน

Cristobal Serrano / WPY 
เตียงนอนของแมวน้ำ โดย คริสโตบัล เซอร์ราโน ถ่ายภาพที่ คาบสมุทรแอนตาร์กติก

รางวัลชนะเลิศประเภท "สรรพสัตว์ท่ามกลางสภาพแวดล้อม"

แผ่นน้ำแข็งในทะเลเป็นของโปรดของแมวน้ำทั้งหลาย เพราะนอกจากจะให้ที่พักพิงแล้ว ก็ยังมีอาหารรสโอชาอย่าง "คริลล์" ที่มักมากินสาหร่ายบริเวณแผ่นน้ำแข็งอีกด้วย

Presentational grey line
ตัวต่อนักปั้นโคลนโดย จอร์จินา สเตย์ทเลอร์

Georgina Steytler / WPY 
จอร์จินา สเตย์ทเลอร์ ถ่ายภาพที่นี้ เขตสงวนธรรมชาติ วาลีออร์มอริง ประเทศออสเตรเลีย โดยเธอลงไปลุยโคลนและตั้งกล้องต่ำมากเพื่อให้ได้ภาพตัวต่อขณะทำงาน โดยหวังว่าจะได้ภาพตัวต่อกำลังหอบโคลนกลม ๆ ไป แล้วเธอกดชัตเตอร์ต่อเนื่อง แล้วก็ได้ภาพที่ต้องการมาสองภาพ จอร์จินาบอกว่าแม้ภาพที่ได้มาจะใช้โชคช่วย แต่ผู้ถ่ายภาพก็ต้องไปอยู่ในที่ที่เหมาะสมและเวลาก็ต้องเหมาะสมด้วย 

และภาพนี้ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภท "พฤติกรรมของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง"

ตัวต่อชนิดนี้จะนำก้อนโคลนไปสร้างรัง และวางไข่บนตัวแมงมุมที่เป็นอัมพาต

Presentational grey line
โบยบินในรัตติกาล โดย ไมเคิล แพทริก โอนีลล์

Michael Patrick O'Neill / WPY 
ไมเคิล แพทริก โอนีลล์ ถ่ายภาพในขณะที่เขาไปดำน้ำกลางคืนที่ ปาล์ม บีช รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ปลาบิน (flying fish) จะขี้อายมากเป็นพิเศษในช่วงเวลากลางวัน แต่ในยามกลางคืนก็สามารถเข้าใกล้มันได้ง่ายขึ้น ไมเคิลลองใช้กล้องและจัดแสงหลายแบบเพื่อให้เกิดความประทับใจพิเศษต่อภาพปลาชนิดนี้ 

และภาพก็ได้รางวัลชนะเลิศประเภท "ใต้น้ำ"

Presentational grey line
ตัวตลกที่แสนเศร้า โดย โจน เดอ ลา มัลลา

Joan de la Malla / WPY 
โจน เดอ ลา มัลลา ถ่ายภาพนี้ที่ เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นภาพของลิงกังที่ถูกนำมาแต่งหน้าให้เหมือนตัวตลก "มันเจ็บปวดมากเมื่อได้เห็น และลิงตัวนี้พยายามเอามือเช็ดสีออกไป" โจนบอก ช่างภาพผู้นี้ทำงานกับกลุ่มดูแลสัตว์หลายกลุ่มที่พยายามจะหยุดยั้งการนำสัตว์มาแสดงข้างถนนแบบนี้ ลิงตัวนี้ชื่อว่าทิมบูล มันได้รับการช่วยเหลือและกำลังจะปล่อยคืนผืนป่าอีกครั้ง

รางวัลชนะเลิศประเภท "ภาพสัตว์ป่าเชิงวารสารศาสตร์"

Presentational grey line
แม่จักจั่นผู้พิทักษ์ โดย ฮาเวียร์ อัซนาร์ กอนซาเลซ เดอ รัวดา

Javier Aznar González de Rueda / WPY 
ชาเวียร์ อัซนาร์ กอนซาเลซ เดอ รัวดา ถ่ายภาพนี้ที่เขตสงวนเอล คาร์ดีน เด ลอส ซูเอโนส ประเทศเอกวาดอร์ จักจั่น อัลชิสเม จะวางไข่ด้านล่างใบไม้ จากนั้นจึงหุ้มไว้ด้วยสารคัดหลั่งบาง ๆ อีกทีหนึ่ง เมื่อไข่ฝักตัว ลูกจักจั่นจะมีพัฒนาการ 5 ระยะด้วยกัน ซึ่งสังเกตได้จากขนาด สี และการเปลี่ยนแลปงของอวัยวะบนตัว (ornamentation) 

รางวัลชนะเลิศประเภท "Wildlife Photographer Portfolio" 

Presentational grey line
สู้เพื่ออยู่รอด โดย เดวิด เฮราซิมชัค

David Herasimtschuk / WPY 
เดวิด เฮราซิมชัค ถ่ายภาพนี้ที่ แม่น้ำเทลลิโค รัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา "เฮลล์เบนเดอร์" ซาลาแมนเดอร์ยักษ์กำลังคาบงูน้ำด้วยขากรรไกรอันแข็งแกร่งของมัน เดวิดบอกว่าในที่สุดงูก็ดิ้นรนเป็นอิสระหลังต่อสู้กับเจ้าซาลาแมนเดอร์น้ำสายพันธุ์ใหญ่ที่สุดของอเมริกาเหนือตัวนี้อยู่นาน 

รางวัลชนะเลิศประเภท "พฤติกรรมของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน"

Presentational grey line
การปะทะกันของลมและน้ำ โดย ออร์ลันโด เฟอร์นานเดซ มิรานดา

Orlando Fernandez Miranda / WPY 
เฟอร์นานเดซ มิรานดา ถ่ายภาพนี้ที่ชายฝั่งแห่งโครงกระดูก (Skeleton Coast) ทะเลทรายนามิบ ประเทศนามิเบีย ที่ซึ่งเกิดลมก่อให้เกิดสันทรายที่มากมาย ขณะที่คลื่นจากมหาสุมทรแอตแลนติกก็กระแทกเข้ามา ถ้ามองให้ดีจะเห็นหมอกบาง ๆ ด้านบน เมื่อหมอกเหล่านี้ถูกลมพักเข้าไปในแผ่นดินภายใน มันก็จะนำเอาความชื้นไปต่อชีวิตทั้งพืชพรรณและเหล่าแมลงในแถบนี้

รางวัลชนะเลิศประเภท "สภาพแวดล้อมของโลก"

เมื่อลองสังเกตอย่างถี่ถ้วน จะเห็นหมอกที่มักก่อตัวขึ้นในภูมิภาคแอฟริกาแห่งนี้อยู่เสมอ ต้นไม้และแมลงทั้งหลายล้วนได้รับความชุ่มชื้นอันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตจากการพัดพาของสายหมอกเหล่านี้

Presentational grey line
WPY เป็นหนึ่งในการประกวดภาพภ่ายที่มีชื่อเสียงมากที่สุดรายการหนึ่งของโลก รายการนี้จัดขึ้นโดยพิพิธภัณฑ์พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติแห่งลอนดอน ในปี 1964 

นิทรรศการภาพถ่ายที่ได้รางวัลปี 2018 จะเริ่มขึ้นในวันศุกร์นี้สถาบันเซาธ์ เคนซิงตัน ส่วนวันจันทร์ถัดไปก็จะเริ่มรับภาพสำหรับการตัดสินที่จะมีขึ้นในปีหน้า 
BBC/NEWS/ไทย

ขอบคุณที่มา: https://pantip.com/topic/38175595?utm_source=facebook&utm_medium=pantipedia&utm_content=Boom&utm_campaign=38175595&fbclid=IwAR24EV-JOSEoPK4H5WLh3FTWm3bq2R2Dipa2RzklOvvqrUgKyhqKE541Ey0

สมาชิกหมายเลข 3509549
19 ชั่วโมงที่แล้ว
Tags  pantip
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
16 VOTES (4/5 จาก 4 คน)
VOTED: jarasporn, ไปเซเว่นเอาอะไรไหม๊, Akiraindy, frankenstein
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
น้ำใจยิ่งใหญ่! หนุ่มไร้เงินขอติดรถกลับบ้าน เจอผู้ให้เต็มคันสุดอบอุ่น
กระทู้อื่นๆในบอร์ด เรื่องน่ารักๆ ซึ้งๆ
ฝากข้อคิดดีๆในวันที่คุณยังเหลือท่านอยู่ความสำคัญของการให้และการรับในวงสังคมเปิดประสบการณ์ใหม่! 7 ท่าในการช่วยตัวlองสำหรับผู้หญิง เพื่อความสุขและการค้นพบตัวเองผิดคาด!! เมื่อพ่อเอาตุ๊กตาตัวโปรดไปซัก น้องก็นั่งดูอย่างใจเย็น เป็นคนอื่นร้องไปแล้วนะ
ตั้งกระทู้ใหม่