หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ไม่ผ่า “ฟันคุด” เสี่ยงกระทบฟันซี่อื่น

โพสท์โดย khanpaklive

ไม่ผ่า “ฟันคุด” เสี่ยงกระทบฟันซี่อื่น

หมอฟันย้ำ “ฟันคุด” ควรผ่าออก ปล่อยทิ้งไว้เสี่ยงกระทบฟันซี่อื่น ส่งผลการจัดฟัน เกิดอาการปวดบวม เหงือกอักเสบได้ พร้อมเผยกลุ่มเสี่ยงห้ามผ่าฟันคุด

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ฟันคุดคือ ฟันแท้ที่ไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติ และมักฝังตัวอยู่ที่ขากรรไกรใต้เหงือกบริเวณกรามซี่ที่สามซึ่งเป็นฟันซี่ที่อยู่ด้านในสุด อาจจะมองเห็นหรือไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหากตัวฟันไม่ได้โผล่พ้นขึ้นมาเหนือเหงือก ต้องใช้การเอกซเรย์จึงจะสามารถเห็นได้ ฟันคุดที่เกิดขึ้นสามารถส่งผลกระทบต่อฟันซี่อื่นโดยรอบ ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดภายในช่องปาก เกิดการอักเสบติดเชื้อ หรือปัญหาการบดเคี้ยว ทั้งนี้จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อนำฟันคุดที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติออก

ทพ.บุญชู สุรีย์พงษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ กล่าวว่า ฟันคุดพบได้บ่อยในช่วงอายุประมาณ 17-25 ปี หากฟันกรามซี่ที่สามขึ้นยังไม่เต็มที่ไม่ทำให้อาการรุนแรงจนเกินไป ทันตแพทย์จะรักษาด้วยการตกแต่งเนื้อเยื่อโดยรอบ หรือแนะนำในเรื่องการรักษาความสะอาดช่องปากแก่ผู้ป่วย แต่หากฟันคุดทำให้เกิดปัญหาหรือเอกซเรย์แล้วพบว่าฟันคุดส่งผลกระทบต่อฟันซี่อื่นๆ จึงจำเป็นต้องผ่าตัดออก โดยฟันคุดอาจทำให้เกิดอาการปวดหรืออาการบวม เหงือกอักเสบ ฟันผุ และส่งผลต่อการจัดฟัน

ทั้งนี้ การผ่าฟันคุดถือเป็นข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการดังต่อไปนี้ เกิดภาวะกระดูกตายจากการฉายแสงรักษาโรคมะเร็งที่ขากรรไกร โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ โรคไตวายระยะสุดท้าย โรคตับ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวระยะสุดท้าย มะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคความดันโลหิตสูงที่ยังควบคุมไม่ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบริเวณหลอดเลือดสมอง เนื่องจากอาการป่วยเหล่านี้จะทำให้การผ่าตัดเป็นไปได้ยากหรือส่งผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ นอกจากนี้สตรีมีครรภ์ที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 หรือ 3 ควรหลีกเลี่ยงการผ่าตัดฟันคุดไปจนกว่าจะคลอดบุตร และภายหลังการผ่าตัดสามารถกลับบ้านได้ แต่หากในระยะพักฟื้นหลังการผ่าตัดผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ กลืนไม่ได้ หายใจลำบาก มีเลือดออกมากผิดปกติ มีหนองหรือเกิดอาการชา ควรรีบไปพบทันตแพทย์ เพราะอาจเป็นอาการแทรกซ้อนที่พบหลังจากการผ่าฟันคุด

ขอบคุณที่มา : aplus.com

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
khanpaklive's profile


โพสท์โดย: khanpaklive
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ตอนเรียนกับตอนทำงานเต่างกันแค่ไหน?ขำสุดซอย..ฮาก๊าก..คลายเครียด!"ภาวะโลกเดือด" การปรับตัวในยุคที่ท้าทายสุดขีดของมนุษย์!!แปลกแต่จริง!! นักสู้ MMA อุ้มจระเข้วิ่ง กลางถนนนักร้องดังวง SNSD,Apink,IOI ถูกตำรวจจับเพราะอากาศร้อนจัด "พนง.ไปรษณีย์" ถึงกับเป็นลม..โชคดีมีคนช่วยไว้ทันชลน่าน อวดยุคเศรษฐา 7 เดือน บำบัด 7 หมื่นคนโอซาก้าจะเลียนแบบเวนิสในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้าตำรวจดักจับคารู หลังนักโทษร่วมกัน ขุดรูแหกคุก!!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เฮทั่วประเทศ ! ฟุตซอลไทย ชนะจุดโทษ ทาจิกิสถาน เข้าชิงแชมป์เอเชีย 2024"ปารีณา-อมรัตน์" สายสัมพันธ์ในวันที่การเมืองเปลี่ยน จากศัตรูสู่มิตร"ป๋าเสรี" ร่วมงานศพ"ทวี ไกรคุปต์" ด้าน"ปารีณา" โผล่สวมกอด ลั่นขอโทษที่เคยทำไม่ดีกับท่านเสรี!erosion: การกัดเซาะ การทำให้สึกกร่อน
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
รีวิวหนังสือ กฎ 21 ข้อที่ไม่มีผู้นำคนไหนปฏิเสธได้ (The 21 Irrefutable Law of leadership)erosion: การกัดเซาะ การทำให้สึกกร่อนโทษ-ประโยชน์ของการช่วยตัวlอง ผู้ชายควรรู้Huawei ทวงคืนบัลลังก์! ขึ้นแท่นอันดับ 1 ตลาดสมาร์ทโฟนจีนอีกครั้ง
ตั้งกระทู้ใหม่