พระแก้วมรกต "ไม่ใช่มรกต"
อันนี้สำหรับคนที่ยังเข้าใจผิดเพราะชื่อ เหมือนกับที่ผู้เขียนเองก็เคยเข้าใจผิดเหมือนกัน ต้องบอกว่าถืงแม้พระแก้วมรกตจะชื่อว่ามรกต แต่ก็ไม่ได้เป็นมรกต... แต่แกะสลักจากหินมีค่าที่เรียกกันว่า "หยกอ่อน" ซึ่งหยกอ่อนที่ว่านี้คือ "Nephrite" (อ่านว่าเนฟไฟรต์)
ขออธิบายเพิ่มเติมว่า หยกที่คุณภาพสูงมี 2 อย่าง คือหยก Jedite (หยกพม่า) กับ Nephrite (หยกจีน/หยกไต้หวัน หรือบางทีก็เรียกหยกอ่อน) หยกเจไดท์แข็งกว่าและราคาสูงกว่าหยกเนไฟรท์
แต่อย่างไรก็ตาม หยกที่ใช้แกะเป็นพระแก้วมรกตก็มีความพิเศษตรงที่มีเนื้อหินเป็นสีเขียวเข้มคล้ายสีของมรกต ประกอบกับในสมัยนั้นยังไม่มีคำว่า "หยก" ใช้ ดังนั้น สมัยนั้นหินมีค่าที่ออกสีเขียวทั้งปวงก็จะนิยมเรียกกันว่า "หินมรกต" และเมื่อนำมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูป จึงเรียกว่า "พระแก้วมรกต" เพราะคำว่า "แก้ว" มักถูกใช้เรียกวัตถุที่มีความมันวาว โดยเฉพาะวัตถุที่ถูกถือว่ามีคุณค่าสูงหรือที่ใช้ในทางศาสนา
ฉะนั้นถ้าให้ถูกจริง ๆ น่าจะเรียกว่า "พระแก้วหยก" หรือ "พระหยก" ดีกว่าไหม?