หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

คุณกำลังมีอาการแบบนี้ใช่ไหม ? เช่น เห็นหยากไย่ในลักษณะลอยไปลอยมา ฯ หรือ เห็นเป็นจุดดำๆ คล้ายๆ กับแมลงหวี่ นั้นแสดงว่า คุณกำลังเป็น "โรควุ้นตาเสื่อม" !

โพสท์โดย นักล่าข่าว

คุณกำลังมีอาการแบบนี้ใช่ไหม ?

นี่คือ ภาพอาการ เห็นหยากไย่ในลักษณะลอยไปลอยมา หรือ บางครั้งเห็นเป็นจุดดำ ๆ ลอยไปลอยมา คล้าย ๆ กับ แมลงหวี่ หากคุณมีอาการแบบนี้ นั้นแสดงว่า

คุณกำลังเป็น "โรควุ้นตาเสื่อม"

โรควุ้นตาเสื่อม หรือ โรคน้ำวุ้นลูกตาตกตะกอน Eye Floaters) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป ซึ่งจะทำให้มองเห็นเงาดำคล้ายหยากไย่ ยุง ลูกน้ำ หรือ แมลงหวี่ หรือเห็นเป็นจุดเล็ก ๆ เส้น ๆ วง ๆ ลอยไปลอยมาในลูกตาข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง และเห็นได้ชัดในที่สว่าง

โดยเฉพาะเวลาแหงนมองท้องที่สว่างใส มองไปที่ผนังสีขาว เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยนึกว่ามีหยากไย่อยู่ข้างนอกลูกตา เมื่อพยายามขยี้ตา แต่เงาดำก็ไม่หายไป สร้างความรำคาญ แต่พอนาน ๆ เข้าก็รู้สึกชินไปเอง

สาเหตุของวุ้นตาเสื่อม

1. การใช้สายตากับจอทีวีและจอมือถือโทรศัพท์

1.1.การนอนดึก และใช้สายตาในที่แสงสว่างจ้า หรือ ใช้สายตาในที่มืดจนมากเกินไป หรือ จองมองหน้าจอโทรทัศน์ โทรศัพท์ ประเภท จอ LCD - LED เป็นเวลานาน

2. ภาวะวุ้นตาเสื่อมและหดตัวเล็กลง เป็นสาเหตุที่พบได้เป็นส่วนใหญ่ มักพบในหมู่วัยรุ่นไปจนถึงผู้มีอายุวัยกลางคน และ ผู้ที่มีสายตาสั้น ทั้งนี้ยังรวมไปจนถึงผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุทางดวงตา แต่ไม่มีอันตราย นอกจากสร้างความรำคาญ ไม่จำเป็นต้องรักษาใด ๆ และ บางรายอาจค่อย ๆ จางหายไปได้อย่างช้า ๆ

2.2 ในช่วงแรกเกิดนั้นน้ำวุ้นจะมีลักษณะหนืดซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของโปรตีน คอลลาเจน กรดไฮยาลูโรนิก และสารอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นน้ำ แต่เป็นส่วนที่เป็นเส้นใยบาง ๆ ที่มีลักษณะเป็นโครงข่าย ซึ่งตอนปกติมันจะเป็นเส้นเล็ก ๆ ละเอียด ๆ และเรียงตัวกันเป็นระเบียบ จึงทำให้เราไม่สามารถมองเห็นเงาของเส้นใยเหล่านี้ได้ แต่เมื่ออายุมากขึ้น (วุ้นตาเสื่อม) เส้นใยเหล่านี้บางเส้นจะขาดเป็นท่อน ๆ บางเส้นใยจะจับตัวกันหนาขึ้น

และเสียความใสไป ร่วมกับมีการหดตัวของวุ้นตาที่เหลือ จึงทำให้เศษเส้นใยดังกล่าวมีขนาดใหญ่และมองเห็นได้ชัดขึ้น เนื่องจากเศษเส้นใยเหล่านี้ไปบังแสงที่ผ่านมาที่จอประสาทตา ผู้ป่วยจึงมองเห็นเงาดำของเศษเส้นใยคล้ายเงาหยากไย่ลอยไปลอยมาตามการกลอกตา อย่างไรก็ตาม หากเศษเส้นใยเหล่านี้เกิดขึ้นและลอยอยู่บริเวณขอบของดวงตา ผู้ป่วยจะไม่มีอาการ แต่หากเส้นใยเหล่านี้มาอยู่บริเวณตรงกลางดวงตาที่แสงผ่านเข้าจอประสาทตา ผู้ป่วยจะมีอาการเกิดขึ้น

3.ภาวะวุ้นตาด้านหลังหลุดลอกออกจากจอประสาทตา

เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในคนอายุมากกว่า 70 ปี พบได้น้อยในคนอายุต่ำกว่า 50 ปี โดยในภาวะปกติวุ้นตาจะเกาะกับจอประสาทตาแต่ละส่วนด้วยความแน่นไม่เท่ากัน จุดที่เกาะแน่นที่สุดจะอยู่ที่ด้านหน้า ๆ ของจอประสาทตาใกล้ ๆ กับบริเวณด้านหลังของเลนส์ ซึ่งเรียกบริเวณนี้ว่า “ฐานของวุ้นตา”และ ส่วนที่เกาะแน่นรองลงมา คือ รอบ ๆ ขั้วประสาทตา

บริเวณจุดรับภาพ และตามแนวเส้นเลือดบนจอประสาทตา ดังนั้น เมื่อวุ้นตาด้านหลังเสื่อมตัว วุ้นตาจะมีการหดตัวและมีความเข้มข้นมากกว่าเดิม ทำให้วุ้นตาหลุดลอกออกจากผิวจอประสาทตา วุ้นตาจะค่อย ๆ ลอกตัวออกจากจอประสาทตาด้านหลังแถว ๆ ขั้วประสาทตากับจุดรับภาพก่อน แล้วเลื่อนตัวเข้ามาหาฐานของมันที่อยู่ด้านหน้า

ผู้ป่วยจึงมีอาการมองเห็นเป็นเงาดำ อาจเป็นวง ๆ หรืออาจเห็นเป็นจุดเล็ก ๆ เส้น ๆ หรือเป็นเงาหยากไย่ลอยไปลอยมาในตา ทั้งนี้เป็นเพราะวุ้นตาที่อยู่บริเวณขอบของขั้วประสาทตาจะหนาตัวขึ้นเป็นเส้นแนววงกลม เมื่อวุ้นตาแยกตัวออกมาก็จะทำให้มองเห็นเงาเป็นวงเบี้ยว ๆ

ในขณะที่วุ้นตาลอกตัวจากจอประสาทตา อาจมีการดึงรั้งของวุ้นตาที่จอประสาทตาบางบริเวณที่ยึดติดกันแน่นและทำให้เกิดการฉีกขาดที่จอประสาทตาได้ ซึ่งมักจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเห็นแสงวาบคล้ายแสงฟ้าแลบหรือแสงแฟลชถ่ายรูปร่วมด้วย โดยจะเห็นได้ชัดเจนในที่มืดหรือในเวลากลางคืน เพราะเมื่อกลอกตา จอรับภาพบริเวณที่ฉีกขาดออกมาจะเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ เพราะยังมีวุ้นตาซึ่งเลื่อนตัวง่ายเกาะติดอยู่

ซึ่งในกรณีนี้ถ้าปล่อยไว้ไม่ทำอะไร อาจเป็นไปได้ 2 กรณี คือ วุ้นตาแยกชั้นออกจากจอประสาทตาส่วนที่ฉีกขาดได้เอง ซึ่งในกรณีนี้ก็จบ ไม่ต้องทำอะไร ส่วนอีกกรณีที่เป็นอันตรายคือวุ้นตาดึงจอประสาทตามากขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่ภาวะจอประสาทตาหลุดลอก ซึ่งอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้

3. ภาวะจอประสาทตาฉีกขาดจอประสาทตาหลุดลอก ดังที่กล่าวไปในข้อ 2 ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการมองเห็นเงาหยากไย่ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันและมีจำนวนมาก ร่วมกับมีอาการมองเห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแลบ อาจถึง 50-60 ครั้งต่อวัน และตามัว

4. ภาวะเลือดออกในวุ้นตา ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดที่ผิดปกติในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นตา ในผู้ป่วยจอประสาทตาเสื่อม ภาวะเลือดออกง่าย หลอดเลือดดำจอประสาทตาอุดตัน การได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุทางตา ฯลฯ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการตามือมัวลงอย่างฉับพลัน ร่วมกับเห็นเงาหยากไย่ และจะมีอาการมากขึ้นเรื่อย ๆ บางรายอาจเห็นสีแดง (สีเลือด) บังอยู่ในตา หากสงสัยควรรีบไปโรงพยาบาลโดยเร็ว

5.อาจเกิดจากเซลล์ต่าง ๆ เช่น เม็ดเลือดขาวที่มาจากการอักเสบภายในดวงตาทั้งจากโรคม่านตาอักเสบ จากการอักเสบภายในดวงตา และจากการอักเสบจากอุบัติเหตุที่มีบาดแผลทำให้ดวงตาทะลุ นอกจากนี้อาจอณูสีเล็ก ๆ ที่มาจากอณูสีในเนื้อเยื่อชั้นของจอประสาทตา หรือแม้แต่เซลล์มะเร็งที่หลุดมาจากโรคมะเร็งจอประสาทตาในเด็ก ฯลฯ

6. ผนังลูกตาชั้นกลางด้านหลังอักเสบ อาจเกิดจากการ
ติดเชื้อเอดส์ เป็นต้น หรือเกิดจากปฏิกิริยาภูมิต้านตนเอง ทำให้ผู้ป่วยมักมีอาการมองเห็นเงาหยากไย่จำนวนมากร่วมกับมีอาการตามัว

7. เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ในการพัฒนาของการเกิดลูกตาของคนเราตั้งแต่อยู่ในครรภ์นั้น ภายในน้ำวุ้นตาจะมีหลอดเลือดที่เรียกว่า “Hyaloid artery” ซึ่งโดยปกติแล้วหลอดเลือดนี้จะต้องหดหายไปก่อนทารกคลอดออกมา แต่ในทารกบางราย การหดหายของหลอดเลือดอาจไม่สมบูรณ์และทำให้ทารกที่เกิดมามีติ่งของหลอดเลือดนี้หลงเหลืออยู่ ซึ่งภายในหลอดเลือดจะมีเม็ดเลือดแดง จึงอาจหลุดออกมาในวุ้ตาได้

8. การใช้ยาบางชนิด มีรายงานระบุว่ายาบางชนิดอาจก่อให้เกิดวุ้นตาเสื่อมได้ เช่น ยาโซวิแรกซ์ ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเริม โรคงูสวัด และโรคอีสุกอีใส

9. การมีสารเคมีบางตัวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเส้นใย Synchysis scintillans ในน้ำวุ้นเกิดเป็นผลึกของแคลเซียม หรือ ของไขมันคอเลสเตอรอล ลอยไปลอยมาในน้ำวุ้นได้

อาการของวุ้นตาเสื่อม

ผู้ป่วยจะมีอาการมองเห็นเงาดำคล้ายหยากไย่ ยุง ลูกน้ำ หรือแมลงหวี่ หรือ เห็นเป็นจุดเล็ก ๆ เส้น ๆ หรืออาจมองเห็นเป็นวง ๆ ลอยไปลอยมาตามการกลอกตา เนื่องจากมีเศษเส้นใยไปบังแสงที่ผ่านมาที่จอประสาทตา และเมื่อเรากลอกตาไปมา วุ้นตาจะเคลื่อนไหวไปตามการขยับของลูกตาด้วย

โดยเงาดำดังกล่าวนี้อาจเกิดขึ้นเพียงจุดเดียวหรือหลายจุดในตา อาจเป็นกับตาเพียงข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ ผู้ป่วยจึงอาจนึกว่ามีหยากไย่อยู่ที่ข้างนอกลูกตาและพยายามขยี้ตาหรือล้างตาแต่เงาดำก็ไม่หายไป

แต่โดยทั่วไปการมองเห็นเงาดำลอยไปลอยมานี้ไม่เป็นอันตรายและไม่ทำให้สายตามัวลง แต่อาจก่อให้เกิดความรำคาญมากกว่า แต่พอนาน ๆ เข้าผู้ป่วยจะรู้สึกชินไปเอง เพราะสมองจะเกิดการเรียนรู้และละเลยภาพเหล่านั้นไปเอง จึงทำให้ผู้ป่วยมองเงาดำเหล่านี้ลดลง

โดยทั่วไปมักจะไม่ถึงกับมองเห็นเงาดำเหล่านี้ได้ชัดเจนตลอดเวลา แต่จะรู้สึกและสังเกตเห็นได้ง่ายขึ้นเวลามองไปยังพื้นผิวที่เรียบ เป็นสีอ่อน และมีภาวะของแสงเหมาะสม เช่น ตอนอ่านหนังสือหรือมองกระดาษสีขาว ตอนมองไปที่ผนังสีขาว ตอนแหงนมองออกไปบนท้องฟ้าในวันที่ฟ้าสว่าง ๆ หรือ ตอนกลากตาไปซ้ายไปขวา เพราะจะทำให้วุ้นตาเลื่อนตามไปมา จึงทำให้สังเกตเห็นง่ายหรือชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นต้น

นอกจากนี้ เมื่อวุ้นตาเสื่อมและหดตัวก็อาจส่งผลให้เกิดแรงดึงรั้งที่ผิวของจอประสาทตาและกระตุ้นให้เกิดอาการมองเห็นแสงวาบคล้ายแสงฟ้าแลบหรือแสงแฟลชถ่ายรูปในตาร่วมด้วยได้ ซึ่งผู้ป่วยมักจะสังเกตเห็นแสงวาบนี้ได้อย่างชัดเจนขึ้นเมื่ออยู่ในที่มืดหรือในเวลากลางคืน ซึ่งอาการนี้จะลดลงและหายไปเมื่อวุ้นตาร่อนตัวออกจากจอประสาทตาอย่างสมบูรณ์ แต่ในบางรายแรงดึงรั้งที่เกิดขึ้นอาจทำให้จอประสาทตาฉีกขาดได้ หากปล่อยไว้ไม่รักษาก็จะทำให้เกิดภาวะจอประสาทตาหลุดลอกและสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้

การรักษาวุ้นตาเสื่อม

เมื่อมีอาการของวุ้นตาเสื่อม ควรรีบไปพบจักษุแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสมในกรณีที่สาเหตุเกิดจากภาวะอันตรายที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เช่น จอประสาทตาฉีกขาด เบาหวานขึ้นตา เป็นต้น

1. ในรายที่มีอาการมองเห็นเงาดำลอยไปลอยมาและไม่มีรอยฉีกขาดของจอประสาทตา ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้เป็นส่วนใหญ่และมักจะก่อให้เกิดความรำคาญเท่านั้น แต่ไม่เป็นอันตรายและไม่ทำให้สายตามัวลง พอนาน ๆ เข้าผู้ป่วยอาจชินไปเองและสามารถปรับตัวได้ หรือเงาดำอาจหลบไปจากแนวสายตา

หรือค่อย ๆ ลดลง หรือหายไปในที่สุดเอง จึงไม่จำเป็นต้องรักษาแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยยังต้องตรวจติดตามกับจักษุแพทย์เป็นระยะ ๆ ซึ่งจะนัดมาตรวจตามความเหมาะสมขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะภาวะจอประสาทตาฉีกขาดในผู้ป่วยแต่ละราย

และผู้ป่วยควรสังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาการอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ควรรีบกลับไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดทันทีแม้ว่าจะยังไม่ถึงวันนัดก็ตาม เนื่องจากอาจเกิดรอยฉีกขาดที่จอประสาทตาได้

1.1 เห็นเงาดำจุดใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

1.2 มองเห็นแสงวาบคล้ายแสงฟ้าแลบหรือแสงแฟลชถ่ายรูปในตาเกิดขึ้น

1.3 มองเห็นเงาคล้ายมีม่านบังตาบางส่วนเป็นแถบ ๆ

1.4 สายตามัวลง

2. ในรายที่ตรวจพบรอยฉีกขาดที่จอประสาทตาร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมีอาการมองเห็นแสงวาบคล้ายแสงฟ้าแลบร่วมด้วย ต้องรักษาด้วยวิธีการยิงเลเซอร์ หรือ จี้ความเย็น เพื่อปิดรูรั่วจอประสาทตาที่ขาด เพื่อไม่ให้น้ำวุ้นเซาะไปตามที่รูที่ขาดอันจะทำให้เกิดจอประสาทตาหลุดลอกตามมา ซึ่งจะทำให้ตามัวและตาบอดได้

3. ในรายที่จอประสาทตาหลุดลอก จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข เพื่อปิดรูฉีกขาดของจอประสาทตาและทำให้จอประสาทตาที่หลุดกลับเข้าไปติดใหม่ สำหรับวิธีการผ่าตัดนั้นก็มีอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย มีขั้นตอนยุ่งยาก ทรมาณผู้ป่วย และในบางรายอาจสร้างความเหน็ดเหนื่อยให้ทั้งหมอ ผู้ป่วย และญาติได้พอสมควร

4. รักษาหรือควบคุมโรคอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุ เช่น ถ้าเป็นเบาหวานขึ้นตา ควรรักษาโดยการควบคุมโรคเบาหวานร่วมกับการรักษาจอประสาทตาด้วยเลเซอร์, ถ้าเกิดจากการอักเสบภายในดวงตา ต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหรือในบางรายอาจต้องลงเอยด้วยการผ่าตัดน้ำวุ้นตา ถ้าเป็นจากโรคจอประสาทตาเสื่อมที่เกิดจากหลอดเลือดเกิดใหม่ที่จอประสาทตา ต้องขจัดหลอดเลือดที่ผิดปกติด้วยยาหรือด้วยเลเซอร์ เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ป่วยยังต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์อย่างเคร่งครัดด้วย

การป้องกันวุ้นตาเสื่อม

ส่วนการป้องกันวุ้นตาเสื่อมน้ัน หากเกิดจากภาวะเสื่อมตามธรรมชาติแล้ว มักจะไม่มีวิธีป้องกัน แต่หากเกิดจากสาเหตุที่ป้องกันได้ก็จะมีวิธีป้องกันตามแต่สาเหตุนั้น ๆ เช่น การป้องกันหรือดูแลควบคุมโรคเบาหวาน เป็นต้น อย่างไรก็ตามการมีสุขภาพทั่วไปที่ดีก็อาจจะช่วยป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของวุ้นตาลงได้บ้าง โดยมีคำแนะนำว่า

1. ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมที่ไม่ทำให้เกิดโรคอ้วนและมีน้ำหนักตัวเกิน เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง

3. ในรายที่สูบบุหรี่อยู่ ถ้าเป็นไปได้ควรงดหรือเลิกการสูบบุหรี่

4. หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอุบัติเหตต่าง ๆ ที่อาจส่งผลถึงดวงตา

5. มีบางรายงานแนะนำให้ใช้ยาประเภทบำรุงร่างกาย ทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นยาวิตามินหรืออาหารเสริมประเภทสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่มีข้อพิสูจน์จาก อ.ย. หรือทางองค์การเภสัชกรรม เป็นที่แน่ชัดว่าได้ผลจริงหรือไม่ และ ได้ผลมากน้อยเพียงใด

6. เมื่อมีโรคทางกายเรื้อรัง โดยเฉพาะ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง จะต้องดูแลควบคุมโรคที่เป็นอยู่ให้ดี

7. หลีกเลี่ยงการนอนดึก และ หลีกเลี่ยงจ้องหน้าจอโทรทัศน์ / หน้าจอมือถือโทรศัพท์ ประเภท LCD - LED

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
นักล่าข่าว's profile


โพสท์โดย: นักล่าข่าว
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
พลังมหัศจรรย์ของ "เกลือ" เปลี่ยนการซักผ้าให้สะอาดง่ายเขมรมาเหนือเมฆ เรียกประชาชนที่อยู่รอบนครวัดมาให้ทำการปรับปรุงบ้านใหม่ ให้เน้นรูปทรงบ้านให้เป็นทรงโบราณ นักท่องเที่ยวมาเที่ยวจะได้ฟินๆ
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
“ค่ายเมล็ดพันธุ์ดีกระบี่” พร้อมปลุกพลังเยาวชนในการพัฒนาท้องถิ่นเปิดใจสาวใหญ่ หลังถูกโกงแชร์ เสียหายกว่ากว่า 3 ล้าน เผยเอาเรื่องถึงที่สุด | มีคลิปหนุ่มอังกฤษเกือบทำผู้หญิงสลบ เพราะมีเจ้าโลกที่ใหญ่สุดในเกาะอังกฤษ"แมนยู" ซัด "เชฟฟิลด์" ยับ 4-2!!
ตั้งกระทู้ใหม่