การใช้เทอร์มอมิเตอร์วัดไข้ที่ถูกต้อง
ไข้เป็นสิ่งบ่งบอกว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย มักทำให้เด็กงอแง และที่สำคัญอาจมีอาการชักตามมาได้ อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 – 38 องศาเซลเซียสขึ้นไปจะถือว่าเด็กเป็นไข้ การใช้เทอร์โมมิเตอร์ปรอทวัดอุณหภูมิร่างกายมีความน่าเชื่อถือมากกว่าการใช้มือสัมผัสเด็ก และสามารถประเมินได้อย่างละเอียดกว่าอีกด้วย
เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการวัดอุณหภูมิของร่างกาย จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ทั่วไป พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 แต่ปรอทที่บรรจุภายในมีพิษและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมติจากที่ประชุมมนตรีประศาสน์การของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติให้จัดทำมาตรการทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านการจัดการสารปรอท ซึ่งกำหนดให้ยกเลิกการใช้ผลิตภัณฑ์ปรอทภายในปี 2567 เทอร์โมมิเตอร์เป็นผลิตภัณฑ์ที่เข้ามาตรการนี้ด้วย เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการวัดไข้ โดยเฉพาะการเป็นไข้ของเด็ก สำหรับเด็กเล็กในช่วงขวบปีแรก หากมีอุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส แสดงว่ามีไข้ มีข้อแนะนำเพื่อช่วยให้พ่อแม่ดูแลลูกน้อยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เช่น การเช็ดตัว เป็นต้น
การใช้เทอร์มอมิเตอร์วัดไข้
- ก่อนใช้ควรจะล้างทำความสะอาดด้วยน้ำหรือเซ็ดฆ่าเชื้อโรคด้วยแอลกอฮอล์
- สลัดให้ปรอทไหลกลับลงไปในกระเปาะให้หมด
- สอดเทอร์มอมิเตอร์วัดไข้เข้าไปในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น ใต้ลิ้น ใต้รักแร้ หรือ รูทราวหนัก
- ล้างทำความสะอาด โดยใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื่อโรค แล้วเก็บไว้ในที่ปลอดภัย