หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

จาก 'ทุบรถ' ถึง 'ทุบลิฟต์ ' กทม.งานเข้า ! โดย ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์

Share แชร์บอร์ด ข่าววันนี้ โพสท์โดย dominiqa

จาก 'ทุบรถ' ถึง 'ทุบลิฟต์ ' กทม.งานเข้า ! โดย ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์

'จากทุบรถ ถึงทุบลิฟต์' ที่ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร ได้เขียนลงในหน้าเฟซบุ๊กส่วนตัว หลังจากมีเหตุการณ์ชายพิการ “ทุบลิฟต์” เกิดขึ้นที่สถานีอโศกของรถไฟฟ้าบีทีเอสเมื่อวันที่ 11 มีนาคม หลังจากเหตุการณ์ป้าทุบรถที่จอดขวางหน้าบ้าน บริเวณตลาดในหมู่บ้านเสรีวิลล่า ชี้แนะกรุงเทพมหานครที่ต้องเร่งแก้ไขสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ

หลังจากมีเหตุการณ์ “ทุบรถ” เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2561 บริเวณตลาดในหมู่บ้านเสรีวิลล่า กรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบก็เข้าไปแก้ไขปัญหาของผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากตลาดทันที

ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2561 หรือหลังจากเหตุการณ์ทุบรถประมาณ 3 สัปดาห์ ได้มีเหตุการณ์ “ทุบลิฟต์” เกิดขึ้นที่สถานีอโศกของรถไฟฟ้าบีทีเอส ผู้ทุบลิฟต์เป็นชายใช้รถเข็น คาดว่าคงไม่พอใจที่ไม่ได้รับความสะดวกสบายในการใช้ลิฟต์สำหรับคนพิการ เนื่องจากต้องกดปุ่มเรียกพนักงานของบีทีเอสให้มาเปิดประตูลิฟต์ซึ่งถูกล็อกไว้ บางครั้งก็ต้องรอนาน ถ้าฝนตกก็ต้องตากฝน ถ้าแดดออกก็ต้องตากแดด นับว่าน่าเห็นใจคนพิการยิ่งนัก

รถไฟฟ้าบีทีเอสกำกับดูแลโดย กทม. ทั้งนี้ กทม.ได้ให้สัมปทานแก่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี สัญญาสัมปทานระบุให้บีทีเอสซีต้องลงทุนเองทั้งหมด โดย กทม.ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการโยกย้ายระบบสาธารณูปโภคภายในวงเงิน 500 ล้านบาท ในสัญญาไม่มีการระบุให้บีทีเอสซีต้องติดตั้งลิฟต์สำหรับคนพิการไว้ด้วย

แต่ กทม.เล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ จึงได้ลงทุนติดตั้งลิฟต์ไว้ 5 สถานี ประกอบด้วยสถานีหมอชิต สยาม อโศก อ่อนนุช และช่องนนทรี ลิฟต์เหล่านี้จะให้บริการเฉพาะคนพิการเท่านั้น โดยจะนำคนพิการจากบริเวณทางเท้าไปสู่ชั้นชานชาลา ไม่แวะที่ชั้นขายตั๋ว ขั้นตอนการใช้ลิฟต์มีดังนี้ (1) คนพิการกดปุ่มเรียกพนักงาน (2) พนักงานมาเปิดประตูลิฟต์ซึ่งถูกล็อกไว้ คนพิการไม่สามารถเปิดเองได้ ในขั้นตอนนี้ผู้พิการจะต้องแสดงบัตรผู้พิการเพื่อรับคูปองใช้บริการฟรี และเพื่อให้พนักงานของบีทีเอสซีบันทึกข้อมูลการใช้รถไฟฟ้าของคนพิการไว้ เหตุที่ต้องล็อกประตูลิฟต์ไว้ก็เพราะบีทีเอสซีต้องการป้องกันไม่ให้ผู้โดยสารอื่นขึ้นไปใช้รถไฟฟ้าโดยไม่เสียค่าโดยสารและเพื่อรักษาความปลอดภัย และ (3) พนักงานนำคนพิการขึ้นลิฟต์ไปสู่ชั้นชานชาลาเพื่อเตรียมขึ้นรถไฟฟ้า พร้อมกับแจ้งไปยังพนักงานที่สถานีปลายทางว่าคนพิการอยู่ตู้ไหน ให้รอรับด้วย

ต่อมา กทม.ได้ติดตั้งลิฟต์ครบทุกสถานี (ยกเว้นสถานีสะพานตากสินซึ่งมีพื้นที่ไม่เพียงพอ) แต่ไม่ครบทุกฝั่ง ลิฟต์ชุดใหม่แตกต่างจากลิฟต์ชุดเดิมซึ่งติดตั้งที่ 5 สถานีดังกล่าวข้างต้น กล่าวคือลิฟต์ชุดใหม่เป็นลิฟต์ที่ทุกคนสามารถใช้บริการได้ ไม่มีการล็อกประตูลิฟต์ไว้ การใช้ลิฟต์ชุดใหม่แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ผู้โดยสารขึ้นลิฟต์จากทางเท้าไปสู่ชั้นขายตั๋ว (2) ที่ชั้นขายตั๋ว คนพิการจะต้องแสดงบัตรเพื่อรับคูปองใช้รถไฟฟ้าฟรี และเพื่อให้พนักงานของบีทีเอสซีบันทึกข้อมูลการใช้รถไฟฟ้าของคนพิการไว้ ส่วนผู้โดยสารอื่นจะต้องซื้อตั๋ว และ (3) ขึ้นลิฟต์จากชั้นขายตั๋วไปสู่ชั้นชานชาลาเพื่อรอขึ้นรถไฟฟ้า

จะเห็นได้ว่าลิฟต์ชุดใหม่ไม่ได้สร้างความยุ่งยากให้กับคนพิการ เพราะไม่ต้องรอให้พนักงานมาเปิดประตูลิฟต์ให้ ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องหาทางแก้ปัญหาความยุ่งยากในการใช้งานลิฟต์ชุดเดิม ซึ่งติดตั้งมาตั้งแต่เริ่มเปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542

ผมขอเสนอแนะให้กทม. เป็นเจ้าภาพร่วมหารือกับบีทีเอสซี และสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยเพื่อหาหนทางปรับปรุงและแก้ไขสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ดังนี้

1. ทำหลังคากันแดดกันฝนบริเวณที่รอลิฟต์ และตลอดทางลาดสำหรับรถเข็น

2. ให้บีทีเอสซีติดตั้งเครื่องตรวจตั๋วโดยสารที่ชั้นชานชาลา ซึ่งจะช่วยให้บีทีเอสซีไม่ต้องล็อกประตูเข้าลิฟต์ เพราะผู้โดยสารที่ใช้ลิฟต์ทุกคนจะต้องมีตั๋วโดยสาร มิฉะนั้น จะเข้าชานชาลาไม่ได้ ในกรณีเป็นคนพิการก็ต้องมีคูปอง แนวทางนี้มีใช้อยู่แล้วที่ฝั่งขาออกของสถานีหมอชิต และช่องนนทรี ซึ่งคนพิการไม่ต้องเสียเวลารอพนักงานมาเปิดประตูลิฟต์ให้

3. หากไม่ใช้วิธีการในข้อ 2 ผมขอเสนอให้มีการสแกนบัตรคนพิการที่ประตูเข้าลิฟต์ที่ถูกล็อกไว้ เพื่อให้คนพิการเท่านั้นที่สามารถใช้ลิฟต์ได้ ผู้โดยสารอื่นไม่สามารถใช้ได้ วิธีการนี้จะสามารถป้องกันไม่ให้ผู้โดยสารอื่นที่ไม่มีตั๋วโดยสารขึ้นลิฟต์ไปสู่ชั้นชานชาลาได้ และจะช่วยให้คนพิการไม่ต้องเสียเวลารอพนักงานให้มาเปิดประตูลิฟต์

หวังว่า กทม.จะเร่งรัดหาทางแก้ไขเพื่อช่วยเหลือคนพิการให้สามารถใช้รถไฟฟ้าบีทีเอสได้อย่างสะดวกสบายเช่นเดียวกับการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากตลาดในหมู่บ้านเสรีวิลล่านะครับ

ขอบคุณที่มา: http://www.thaitribune.org/contents/detail/312?content_id=31651&rand=1520989745
source: เฟซบุ๊ก ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
dominiqa's profile


โพสท์โดย: dominiqa
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
8 VOTES (4/5 จาก 2 คน)
VOTED: zerotype
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
รวบแล้ว 1 มือวางเพลิงป่วนใต้10 เคล็ดลับในการฮีลใจตัวเอง สามารถทำได้อย่างไรบ้าง มาดูกันจ้า
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
รพ.แม่ลาน แจง! "บังชาติ"หรือ"แม่หญิงลี" ไม่ได้เป็นบุคลากรรพ.แม่ลาน หลังบุคคลดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิด!อ่านนิยายไร้สาระจริงหรือ"ซีอิ๊วแบบเม็ด" ฉีกทุกกฎของซอส..นวัตกรรมใหม่จาก "เด็กสมบูรณ์""บิ๊กเต่า" รับหลักฐาน "ทนายตั้ม" ลั่น ใหญ่แค่ไหนก็จับ ไม่มีใครใหญ่กว่าประตูห้องขัง9 โรงเรียนหญิงล้วนที่น่าสนใจในประเทศไทย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
คลิปไวรัล! “เตือนแล้วไมีฟัง” พ่อสั่งสอนลูกชาย โดยทุบคอนโซลเกมจนพังยับเยินหนุ่มพ่นน้ำลายนาน 5 นาที กลายเป็นสถิติโลก!!เกิดเหตุทะเลาะวิวาททั่วสนามบินรัวซีรัสเซียส่งเรือรบไปทะเลแดงแล้ว
ตั้งกระทู้ใหม่