หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

นักสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นเตือน Facebook เป็นช่องทางสำคัญในการแพร่กระจายความเกลียดชังชนกลุ่มน้อยในพม่า

Share แชร์บอร์ด ข่าววันนี้ โพสท์โดย dominiqa

นักสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นเตือน Facebook เป็นช่องทางสำคัญในการแพร่กระจายความเกลียดชังชนกลุ่มน้อยในพม่า

องค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็นได้เตือนว่า ตอนนี้แพลตฟอร์ม Facebook ได้เป็นตัวเร่งในการกระจาย hate speech และแนวคิดด้านความรุนแรงเกี่ยวกับชาติพันธุ์ในเมียนมาร์ เนื่องจากตัวแพลตฟอร์มมีบทบาทสำคัญต่อประชาชนในเมียนมาร์อย่างมาก โดยปัจจุบัน Facebook ถูกกลุ่มนักศาสนาพุทธที่มีแนวคิดชาตินิยมรุนแรงใช้ในการปลุกระดมให้เกิดความรุนแรง และความเกลียดชังชาวโรฮิงญารวมถึงชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ

Marzuki Darusman ประธานฝ่ายที่ดูแลเรื่องเมียนมาร์โดยเฉพาะกล่าวว่า ปัจจุบันโซเชียลมีเดียนั้นได้มีบทบาทสำคัญมากในเมียนมาร์ โดยมีส่วนทั้งในความรุนแรงและความขัดแย้ง ซึ่งในกรณีของเมียนมาร์นั้นโซเชียลมีเดียคือ Facebook

Yanghee Lee เจ้าหน้าที่ของยูเอ็นซึ่งมีหน้าที่สืบสวนเรื่องราวในพม่าเตือนว่า Facebook นั้นมีบทบาทต่อชาวเมียนมาร์สูงมาก ทุกสิ่งทุกอย่างบนเมียนมาร์สามารถจบได้บน Facebook ซึ่งมีผลทางบวกทั้งช่วยเหลือด้านความยากจนไปจนถึงผลทางลบอย่างการแพร่กระจาย hate speech โดย Lee แสดงความกังวลว่า Facebook จะกลายเป็นพื้นที่แห่งความชั่วร้าย ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่มุ่งหวังไว้แต่แรก

ทั้งนี้ แม้ว่าเพจพระวีรธุซึ่งเคยปลุกระดมสร้างความเกลียดชังต่อชาวโรฮิงญาได้ถูกลบออกจาก Facebook ไปแล้ว ก็น่าจะยังไม่เพียงพอต่อการหยุดปัญหาดังกล่าว

ในอดีตนั้น รัฐบาลทหารของเมียนมาร์นั้นจะคอยควบคุมอินเทอร์เน็ตทุกอย่าง แต่ว่าตั้งแต่ปี 2011 มีการเลือกตั้งขึ้น และทำให้สื่ออย่าง Facebook มีอิทธิพลมากขึ้นจนเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญมากของเมียนมาร์ โดยปัจจุบันผู้ใช้ Facebook ในเมียนมาร์มีอยู่ประมาณ 30 ล้านคน จากประชากรกว่า 53.7 ล้านคน (ข้อมูลจาก Worldometers) นักสิทธิมนุษยชนจึงเตือนว่า Facebook นั้นถูกใช้เป็นช่องทางสำคัญในการสร้างความเกลียดชังและปลุกระดมต่าง ๆ ภายในประเทศเมียนมาร์แล้ว

นอกจากพม่าแล้ว ก่อนหน้านี้ที่เป็นประเด็นดังก็มีศรีลังกาที่มีกรณีข่าวโจมตีมุสลิมแพร่ระบาดจนทำให้รัฐบาลสั่งบล็อก Facebook ไปแล้ว

Christina Larson จาก Foreign Policy เคยเขียนวิเคราะห์บทบาท Facebook ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาแล้วว่า ปัจจุบัน Facebook กลายเป็นสื่อกระแสหลักจนมีผลกระทบกับชีวิตคนมาก แต่กลับไม่มีตัวแทนของ Facebook อยู่ในประเทศ หรือมีก็เพียงแค่สำนักงานเล็ก ๆ ซึ่งทำอะไรไม่ได้มากนัก สามารถอ่านบทวิเคราะห์ได้ที่ข่าวเก่า

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
dominiqa's profile


โพสท์โดย: dominiqa
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
16 VOTES (4/5 จาก 4 คน)
VOTED: zerotype, โดนแมวตบ, leedokwak, เทียร์
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
😀 มาดูสถานการณ์ง่ายๆ ในชีวิตประจำวันที่จะทำให้เรารู้สึกพึงพอใจ 😊ลาวขุดพบเจอหีบกะไหล่โบราณ รอการเปิด คาดว่าน่าจะเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ!“กางเกงท้องถิ่นไทย” คุณประโยชน์ด้าน Sustainable Fashionสารก่อมะเร็ง 4 อย่าง ที่ลูกคุณอาจจะได้รับทุกวัน"ซีอิ๊วแบบเม็ด" ฉีกทุกกฎของซอส..นวัตกรรมใหม่จาก "เด็กสมบูรณ์"
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ประเทศในทวีปเอเชีย ที่มีมูลค่าการส่งออกทองคำมากที่สุด
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
CIB ร่วม อย. ทลายแก๊ง ขายอาหารเสริม อาหารหลอกรักษาโรคร้าย มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท"บิ๊กเต่า" รับหลักฐาน "ทนายตั้ม" ลั่น ใหญ่แค่ไหนก็จับ ไม่มีใครใหญ่กว่าประตูห้องขังWhoscall เปิดให้เช็กข้อมูลหลุด โดยการกรอกเบอร์มือถือ"ทนายตั้ม" หอบหลักฐาน "บิ๊กตำรวจ" รับส่วยให้ "บิ๊กเต่า" ตรวจสอบแล้ว
ตั้งกระทู้ใหม่