หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

นักสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นเตือน Facebook เป็นช่องทางสำคัญในการแพร่กระจายความเกลียดชังชนกลุ่มน้อยในพม่า

Share แชร์บอร์ด ข่าววันนี้ โพสท์โดย dominiqa

นักสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นเตือน Facebook เป็นช่องทางสำคัญในการแพร่กระจายความเกลียดชังชนกลุ่มน้อยในพม่า

องค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็นได้เตือนว่า ตอนนี้แพลตฟอร์ม Facebook ได้เป็นตัวเร่งในการกระจาย hate speech และแนวคิดด้านความรุนแรงเกี่ยวกับชาติพันธุ์ในเมียนมาร์ เนื่องจากตัวแพลตฟอร์มมีบทบาทสำคัญต่อประชาชนในเมียนมาร์อย่างมาก โดยปัจจุบัน Facebook ถูกกลุ่มนักศาสนาพุทธที่มีแนวคิดชาตินิยมรุนแรงใช้ในการปลุกระดมให้เกิดความรุนแรง และความเกลียดชังชาวโรฮิงญารวมถึงชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ

Marzuki Darusman ประธานฝ่ายที่ดูแลเรื่องเมียนมาร์โดยเฉพาะกล่าวว่า ปัจจุบันโซเชียลมีเดียนั้นได้มีบทบาทสำคัญมากในเมียนมาร์ โดยมีส่วนทั้งในความรุนแรงและความขัดแย้ง ซึ่งในกรณีของเมียนมาร์นั้นโซเชียลมีเดียคือ Facebook

Yanghee Lee เจ้าหน้าที่ของยูเอ็นซึ่งมีหน้าที่สืบสวนเรื่องราวในพม่าเตือนว่า Facebook นั้นมีบทบาทต่อชาวเมียนมาร์สูงมาก ทุกสิ่งทุกอย่างบนเมียนมาร์สามารถจบได้บน Facebook ซึ่งมีผลทางบวกทั้งช่วยเหลือด้านความยากจนไปจนถึงผลทางลบอย่างการแพร่กระจาย hate speech โดย Lee แสดงความกังวลว่า Facebook จะกลายเป็นพื้นที่แห่งความชั่วร้าย ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่มุ่งหวังไว้แต่แรก

ทั้งนี้ แม้ว่าเพจพระวีรธุซึ่งเคยปลุกระดมสร้างความเกลียดชังต่อชาวโรฮิงญาได้ถูกลบออกจาก Facebook ไปแล้ว ก็น่าจะยังไม่เพียงพอต่อการหยุดปัญหาดังกล่าว

ในอดีตนั้น รัฐบาลทหารของเมียนมาร์นั้นจะคอยควบคุมอินเทอร์เน็ตทุกอย่าง แต่ว่าตั้งแต่ปี 2011 มีการเลือกตั้งขึ้น และทำให้สื่ออย่าง Facebook มีอิทธิพลมากขึ้นจนเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญมากของเมียนมาร์ โดยปัจจุบันผู้ใช้ Facebook ในเมียนมาร์มีอยู่ประมาณ 30 ล้านคน จากประชากรกว่า 53.7 ล้านคน (ข้อมูลจาก Worldometers) นักสิทธิมนุษยชนจึงเตือนว่า Facebook นั้นถูกใช้เป็นช่องทางสำคัญในการสร้างความเกลียดชังและปลุกระดมต่าง ๆ ภายในประเทศเมียนมาร์แล้ว

นอกจากพม่าแล้ว ก่อนหน้านี้ที่เป็นประเด็นดังก็มีศรีลังกาที่มีกรณีข่าวโจมตีมุสลิมแพร่ระบาดจนทำให้รัฐบาลสั่งบล็อก Facebook ไปแล้ว

Christina Larson จาก Foreign Policy เคยเขียนวิเคราะห์บทบาท Facebook ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาแล้วว่า ปัจจุบัน Facebook กลายเป็นสื่อกระแสหลักจนมีผลกระทบกับชีวิตคนมาก แต่กลับไม่มีตัวแทนของ Facebook อยู่ในประเทศ หรือมีก็เพียงแค่สำนักงานเล็ก ๆ ซึ่งทำอะไรไม่ได้มากนัก สามารถอ่านบทวิเคราะห์ได้ที่ข่าวเก่า

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
dominiqa's profile


โพสท์โดย: dominiqa
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
16 VOTES (4/5 จาก 4 คน)
VOTED: zerotype, โดนแมวตบ, leedokwak, เทียร์
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
"ซีอิ๊วแบบเม็ด" ฉีกทุกกฎของซอส..นวัตกรรมใหม่จาก "เด็กสมบูรณ์"รพ.แม่ลาน แจง! "บังชาติ"หรือ"แม่หญิงลี" ไม่ได้เป็นบุคลากรรพ.แม่ลาน หลังบุคคลดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิด!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
รพ.แม่ลาน แจง! "บังชาติ"หรือ"แม่หญิงลี" ไม่ได้เป็นบุคลากรรพ.แม่ลาน หลังบุคคลดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิด!อ่านนิยายไร้สาระจริงหรือ"ซีอิ๊วแบบเม็ด" ฉีกทุกกฎของซอส..นวัตกรรมใหม่จาก "เด็กสมบูรณ์""บิ๊กเต่า" รับหลักฐาน "ทนายตั้ม" ลั่น ใหญ่แค่ไหนก็จับ ไม่มีใครใหญ่กว่าประตูห้องขัง9 โรงเรียนหญิงล้วนที่น่าสนใจในประเทศไทย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
คลิปไวรัล! “เตือนแล้วไมีฟัง” พ่อสั่งสอนลูกชาย โดยทุบคอนโซลเกมจนพังยับเยินหนุ่มพ่นน้ำลายนาน 5 นาที กลายเป็นสถิติโลก!!เกิดเหตุทะเลาะวิวาททั่วสนามบินรัวซีรัสเซียส่งเรือรบไปทะเลแดงแล้ว
ตั้งกระทู้ใหม่