เหตุใดเล่า..แม่หญิงการะเกดจึงเป็นสาวชาวล้านนา ในบุพเพสันนิวาส?
จากละครบุพเพสันนิวาส ทางไทยทีวีสีช่อง3 ที่กำลังโด่งดังและเป็นกระแสในขณะนี้
หลายๆคนคนตั้งสังเกตว่าทำไม การะเกด ผินและแย้ม จากเมืองพิษณุโลก จึงเป็นหญิงที่อยู่ในเครื่องแต่งกายแบบล้านนา
“แม่หญิงการะเกด เป็นหลานท่านเจ้าคุณ
ที่นั่งเมืองพระพิษณุโลก เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในยุคสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช" #บุพเพสันนิวาส
ทำไม?อีผิน อีแย้ม นุ่งซิ่นต๋า มวยผมแบบ สาวเชียงใหม่
เหตุผลที่ตัวละครเป็นหญิงล้านนานั้น.... ด้วยเพราะสมัยอยุธยาดินแดนในปกครอง เหนือสุดถึงแค่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก ตอนนั้นล้านนาเป็นของพม่า
ครูบาทอง อธิบายย่อๆว่า
"พระเพทราชา สมุหกลาโหม ผู้เป็นมือขวาทหารคู่ใจ คุมอำนาจทางการทหารสมัยพระนารายณ์มหาราช ได้ยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่แตกกระจุย แล้วต้อนเอาผู้หญิงจากเชียงใหม่ ลงไปกับกองทัพไม่ต่ำกว่า3-4000 นาง
ในจำนวนเชลยสงครามนั้น มีเจ้าหญิงเชียงใหม่ ลูกสาวเจ้าเมืองเชียงใหม่รวมอยู่ด้วย เมื่อไปถึงอยุธยา ก็แจกจ่ายนางทาสเชลยสงครามเหล่านี้ให้กับขุนนางทั้งหลาย
ส่วนเจ้าหญิงเชียงใหม่นั้น พระเพทราชานำขึ้นถวายพระนารายณ์ จนนางประจำเดือนขาด (ท้อง)
พระนารายณ์ไม่ประสงค์จะมีลูกกับนางทาสรับใช้ จึงพระราชทานเจ้าหญิงเชียงใหม่คืนให้กับพระเพทราชา เมื่อลูกเกิดมา
ทุกคนในกรุงศีอยุธยาจึงคิดว่าเป็นลูกของพระเพทราชา มีชื่อว่าขุนหลวงสรศักดิ์ หรือ พระเจ้าเสือ ครองราชต่อจากพระเพทราชา
มีพระเพทราชากับพระนารายณ์สองคนเท่านั้นที่รู้ว่าขุนหลวงสรศักดิ์ คือบุตรชายของพระนารายณ์"
ฉะนั้น จึงไม่แปลก ที่เราจะเห็นทาสรับใช้ ติดตามนางเอกในละครเรื่องนี้แต่งกายเป็นสาวชาวเหนือครับผม
สมเด็จพระนารายณ์
ทรงตั้งเจ้าพระยาโกษาฯ เป็นแม่ทัพใหญ่
พระยาวิชิตภักดี เป็น ยกกระบัตร
พระยาสุรินทรภักดีเป็นเกียกกาย
พระยาสีหราชเดโชชัย เป็นทัพหน้า
พระยาสุรสงคราม เป็นทัพหลัง
แล้วให้ยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่
เมื่อเดือน ๑๒ ปีขาลนั้น
ครั้นถึงเดือนอ้าย สมเด็จพระนารายณ์
ก็เสด็จยกกองทัพหลวง
มีจำนวนพล ๖๐,๐๐๐ ตามขึ้นไปอีกทัพหนึ่ง
ฝ่ายพระยาเชียงใหม่คาดการอยู่ว่า ไทยคงจะไปตีเชียงใหม่อีก
ครั้นได้ข่าวว่ากองทัพไทยยกขึ้นไป ก็บอกไปยังเมืองอังวะขอกองทัพพม่าให้มาช่วย แล้วให้จัดการเตรียมต่อสู้ตั้งแต่เมืองนครลำปางขึ้นไปทุกเมือง
กองทัพเจ้าพระยาโกษาฯ ยกขึ้นไปตั้งประชุมพลที่เมืองเถิน แล้วยกขึ้นไปตีเมืองนครลำปาง
ไปรบกันเล็กน้อย พวกที่รักษาเมืองนครลำปางก็ทิ้งเมืองหนีไป
ครั้นได้เมืองนครลำปางแล้วจึงยกตามขึ้นไปตีเมืองลำพูน
พวกเมืองเชียงใหม่มาตั้งรักษาเมืองต่อสู้แข็งแรง รบกันอยู่ ๗ วัน จึงตีได้เมืองลำพูน
แล้วเจ้าพระยาโกษาฯ ก็ยกตามขึ้นไปยังเมืองเชียงใหม่
ฝ่ายพระยาเชียงใหม่ตระเตรียมป้องกันเมืองเป็นสามารถ กองทัพไทยเข้าตั้งล้อมเมืองไว้
พวกเชียงใหม่ยกมาตีกองทัพไทยเป็นหลายครั้งก็ล้มตาย พ่ายแพ้ต้องหนีกลับเข้าเมืองไปทุกที พระยาเชียงใหม่ก็ท้อใจ จึงเป็นแต่ให้รักษาหน้าที่เชิงเทินเมืองมั่นไว้
ในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า
เมื่อเจ้าพระยาโกษาฯ เห็นพวกชาวเชียงใหม่ครั่นคร้ามไม่อาจออกมารบพุ่งแล้ว
จึงให้ถมดินทำเชิงเทินโอบกำแพงเมืองข้างด้านใต้สำหรับจะเอาปืนใหญ่ขึ้นตั้งจังกายิงเข้าไปเมือง
ขณะนั้นกองทัพหลวงเสด็จขึ้นไปถึงเมืองนครลำปาง เจ้าพระยาโกษาฯ มีใบบอกลงมากราบบังคมทูลรายงานการที่ล้อมเมืองเชียงใหม่
สมเด็จพระนารายณ์ทรงทราบ ก็รีบเสด็จยกกองทัพหลวงหนุนขึ้นไปถึงเมืองเชียงใหม่ เมื่อ ณ วันอังคาร เดือน ๓ แรม ๑๒ ค่ำ
มีรับสั่งให้เตรียมการที่จะเข้าปล้นเมืองพร้อมกันทุกด้าน ครั้นกองทัพหลวงเสด็จไปถึงได้ ๗ วัน กองทัพไทยก็เข้าปล้นเมืองเชียงใหม่ในเพลาดึก ๓ นาฬิกา
พอ ณ วันจันทร์ เดือน ๔ ขึ้น ๔ ค่ำ เพลาเช้า ก็ได้เมืองเชียงใหม่จับได้พระแสนเมือง เจ้าเมืองเชียงใหม่ กับท้าวพระยามาถวายเป็นอันมาก
ได้ความตามพงศาวดารพม่าว่า
พอไทยตีได้เมืองเชียงใหม่แล้วไม่ช้ากองทัพพม่าที่พระเจ้าอังวะให้มาช่วยรักษาเมืองเชียงใหม่ก็ยกเข้ามาถึง นายทัพพม่าหมายจะเข้าตีเอาเมืองเชียงใหม่คืน แต่ไทยแต่งกองทัพไปซุ่มอยู่ข้างนอกเมืองทัพ ๑
พอกองทัพพม่ายกเข้ามา พวกกองทัพไทย ที่อยู่ในเมืองยกออกรบทางหนึ่ง กองทัพที่ซุ่มอยู่นอกเมืองก็ตีกรหนาบกองทัพพม่าเข้าไปอีกทางหนึ่ง ได้รบพุ่งกันถึงตะลุมบอน กองทัพพม่าสู้ไทยไม่ได้ก็แตกหนีกลับไปเมืองอังวะ
สมเด็จพระนารายณ์เสด็จประทับอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ ๑๕ วัน ทรงจัดวางการปกครองบ้านเมือง
ตั้งท้าวพระยาผู้ใหญ่ที่มีความสามิภักดิ์เป็นพระยาเมืองเชียงใหม่
และให้กองทัพพระยาสีหราชเดโชชัยตั้งอยู่รักษาการ แล้วโปรดให้กวาดครอบครัวและทรัพย์สิ่งของซึ่งได้ในการสงครามมีช้างม้าและเครื่องศัสตราวุธเป็นต้นลงมากรุงศรีอยุธยา
และเมื่อเสด็จกลับจากเมืองเชียงใหม่ ให้เชิญพระพุทธรูป
อันทรงพระนามว่า พระพุทธสิหิงค์อันเป็นของสมเด็จพระร่วงสุโขทัย ซึ่ง สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ เคยได้มาไว้กรุงศรีอยุธยาแต่ก่อนนั้นกลับคืนลงมากรุงศรีอยุธยาด้วย
ครั้นเสด็จกลับมาถึงพระนครจึงพระราชทานบำเหน็จรางวัลเจ้าพระยาโกษาฯขุนเหล็ก และข้าราชการที่มีบำเหน็จความชอบ
นการสงครามครั้งนั้นทั่วกัน
มีเรื่องเนื่องในการปูนบำเหน็จครั้งนี้ ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารเรื่อง ๑ ว่า
เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จประทับอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ครั้งนั้น ได้นางกุลธิดาชาวเชียงใหม่เป็นบาทบริจาร์คน ๑ นางนั้นมีครรภ์ขึ้น จะทรงเลี้ยงดูก็ละอายพระทัย เมื่อปูนบำเหน็จข้าราชการจึงพระราชาทานนางนั้นแก่พระเพทราชา (ข้ากลวงเดิม ซึ่งเป็นลูกพระนมอีกคน) ด้วยได้รบพุ่งมีความชอบในครั้งนั้น
นางคลอดบุตรเป็นชาย พระเพทราชาให้ชื่อว่านายเดื่อ แล้วถวายเป็นมหาดเล็ก
สมเด็จพระนารายณ์ทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงทำนุบำรุงด้วยทรงทราบว่าเป็นพระราชบุตร และกุมารนั้นก็ถือว่าตัวเป็นพระราชบุตร จึงทะนงองอาจต่างๆ จนที่สุดคิด อ่านให้พระเพทราชาชิงราชสมบัติเมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์
สงครามครั้งที่ ๑๙ คราวไทยตีเมืองเชียงใหม่ ปีขาล พ.ศ. ๒๒๐๕
ไทยรบพม่าครั้งที่ ๑๙
พระนิพนธ์ : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
หลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สุด
มีการแสดงถึง การเชิญพระพุทธสิหิงค์จากเชียงใหม่ ลงไปประดิษฐานยังกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์
เป็นสำเนาจารึกของวิหารร่มพระแท่นศิลาอาสน์ จ.อุตรดิตถ์ จารึกเป็นแผ่นไม้ถูกไฟไหม้ไปในรัชกาลที่ 5
พร้อมกับวิหาร ที่เหลืออยู่เป็นสำเนาที่ข้าราชการในสมัยรัชกาลที่ 3 คัดลอกไว้
ผู้จารจารึกคือออกญาสวรรคโลก เจ้าเมืองสวรรคโลก เมื่อ พ.ศ. 2301 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศได้มาตรวจราชการยังเมืองอุตรดิตถ์
และนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ เห็นความชำรุดทรุดโทรมของวิหาร จึงได้ช่วยบูรณปฏิสังขรณ์
ออกญาท่านนี้เป็นหลานปู่ของพระเจ้าเชียงตุง และมีย่าผู้เป็นธิดาของเจ้าฝาไล้ค่า เจ้าเมืองลำปาง
ส่วนตาของท่านก็สืบเชื้อสายจากพญาแมน เจ้าเมืองเชียงใหม่ ดังนี้
“ด้วยออกพระศรีราชไชยมหัยสุรินบุรินทพิริยะภาหะ พระท้ายน้ำ ยกเชื้อฝ่ายปู่พระเจ้าเชียงตุง
ฝ่ายย่าเป็นบุตรเจ้าฝ่าไล้ค่าได้กินเมืองละคร
ฝ่ายตาเป็นบุตรพญาแมนได้กินเมืองเชียงใหม่
แลครั้งสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้ามารับเชียงใหม่
ได้พระพุทธสิหิงค์ แล้วกวาดต้อนเอาแมนลาวทั้งนี้
ลงมาเป็นข้าพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา แลทรงพระกรุณา
เป็นที่สุดที่ยิ่ง ปลูกเรืยงแต่ปู่แล้วมาบิดาแล้วมาน้อง
ให้เป็นพญายมราชต่อๆ กันมา ได้เป็นน้ำ
เป็นที่พึ่งแก่แมนลาวทั้งปวงแล้ว”
(ห้องเอกสารตัวเขียน หอสมุดแห่งชาติ จ.ศ. 1205,ไม่มีเลขหน้า)
สำเนาจารึกนี้เคยตีพิมพ์ในหนังสือประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยา ภาค 1 (2510, 75) แต่อ่านคลาดเคลื่อนจากต้นฉบับสำเนาว่า
“มารํบเมียงเชยีงไมใดพรพุธ่ส่หิ่ง”
เป็น “มารบเมืองเชียงใหม่ไม่ได้พระพุทธสิหิงค์”
ที่จริงแล้วควรอ่านว่า “มารบเมืองเชียงใหม่ได้พระพุทธสิหิงค์” ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันมาตลอดว่า
การศึกครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์ เพียงแต่ทรงได้รับชัยชนะ แต่ไม่ได้พระพุทธสิหิงค์มาไว้ที่กรุงศรีอยุธยา
การตีเชียงใหม่ของสมเด็จพระนารายณ์ ได้รับการยืนยันจากหลักฐานร่วมสมัย อย่างบันทึกของซิโมน เดอ ลาลูแบร์
ผู้ได้รับคำบอกเล่าจากชาวอยุธยาที่เคยติดตามไปในสงครามระหว่างอยุธยากับเชียงใหม่ ว่า
เกิดขึ้นเมื่อราว 30 ปี ก่อนที่ท่านจะเขียนบันทึกเรื่องราวของราชอาณาจักรอยุธยาใน พ.ศ. 2231ในช่วงปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์
(เดอะ ลาลูแบร์ 2548, 26)
แสดงให้เห็นว่าสงครามครั้งนั้นต้องเกิดขึ้นหลังจากสมเด็จพระนารายณ์ขึ้นครองราชสมบัติในพุทธศักราช 2299 แล้วเพียงไม่กี่ปี
ข้อมูลของลา ลู แบร์ ได้รับการยืนยันจากความสังเขปของตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และตำนานสิบห้าราชวงศ์ ระบุศักราชแคบลงไปอีกว่า ตรงกับ พ.ศ. 2203 หรือ 2204 ดังข้อความว่า
“ปีกัดใจ้ (พ.ศ. 2203/2204)
ชาวใต้ยอพลขึ้นมารบเชียงใหม่ บ่ได้ เชียงแสนพ่าย
ชาวใต้ปีนั้น” (ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ 2543, 128)
และ“ศักราช 1022 ตัว ปีกดไจ้ ชาวใต้ยอพลเสิกก็
ขึ้นมารบเมืองเชียงใหม่บ่ได้
เชียงแสนพ่ายชาวใต้ปีนั้น”
(ตำนานสิบห้าราชวงศ์ ฉบับสอบชำระ 2540, 111)
ช่วงระยะเวลาดังกล่าวตรงกับต้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ตามที่ลาลูแบร์ได้บันทึกไว้
สมเด็จพระนารายณ์ทรงทิ้งเมืองเชียงใหม่ให้ร้างลง (เดอะ ลา ลูแบร์ 2548, 26) แล้วกวาดต้อน“แมนลาวทั้งปวง” เทครัวลงมายังกรุงศรีอยุธยาจนหมดสิ้น สงครามครั้งนั้นบรรดาเจ้านายฝ่ายเหนือ
รวมไปถึงพระเจ้าเชียงตุงคงถูกกวาดต้อนมาเกือบทั้งหมด พร้อมกับชาวล้านนาที่คงมีจำนวนไม่น้อยเลย
อย่างไรก็ตาม ออกญาสวรรคโลกจารึกว่า
สมเด็จพระนารายณ์ทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงเชื้อพระวงศ์เหล่านั้นเป็นอย่างดี
โปรดให้ปู่ของท่านดำรงตำแหน่งเป็นถึงออกญายมราช รวมไปถึงบิดาและน้องชายก็ดำรงตำแหน่งเดียวกัน
ส่วนตัวท่านเองได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระเจ้าบรมโกศให้เป็นออกญาสวรรคโลก จากความดีความชอบในการปราบกบฏ
ชาวล้านนากลุ่มนี้คงได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในกรุงศรีอยุธยา อย่างน้อย 2 แห่งด้วยกัน โดยอนุมานจากเจดีย์ทรงพระธาตุหริภุญชัย ที่ปรากฏขึ้นตามวัดนอกเกาะเมืองกรุงศรีอยุธยา ที่น่าจะเป็นศูนย์กลางสำคัญของชุมชนแห่งหนึ่ง
ได้แก่ บริเวณวัดแคร้างใกล้กับคลองสระบัว
และอีกแห่งคือบริเวณวัดใหม่บางกระจะ และวัดนางกุย ตั้งอยู่คุ้งน้ำด้านทิศใต้นอกเกาะเมือง ฝั่งตรงข้ามป้อมเพ็ชรและวัดพนัญเชิง ไม่ไกลจากหมู่บ้านโปรตุเกส
(ขอบพระคุณเพจห้องเรียนประวัติศาสตร์ศิลป์