5 สันดานที่สุดยอดนักเขียนบล็อกควรจะมี!
คนทำ Content หรือ Content Writer ถือกำเนิดมาจากวงการทำ Content Marketing ที่กำลังเป็นที่นิยมมากในการทำการตลาดในตอนนี้ องค์กรต่างๆ และเอเจนซี่ส่วนใหญ่ก็หันมาทำ Content Marketing กันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังรวมถึงการทำ Facebook Page หรือเว็บไซต์ต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย
Content Writer หรือเรียกได้ว่า Content Creator ในยุคนี้นั้น มีส่วนสำคัญอย่างมากในการสร้างสรรค์ Content ออกมาให้ได้ผลตาม Content Marketing ที่วางไว้ โดยปัจจุบัน Content Marketing ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น บทความ คลิปวีดีโอ infographic รูปภาพ โฆษณา และอีกมากมาย ชนิดที่ว่าแทบจะทุกแบรนด์จะต้องมีเว็บไซต์ หรือแฟนเพจที่มี Content เป็นของตัวเอง แต่อยากให้คุณแน่ใจว่าคุณมีความเป็นคนทำ Content ที่สุดยอด หรือสามารถสร้างสรรค์งานดี ๆ ออกมาได้มากแค่ไหน หรือกลายเป็นว่าคุณได้คนทำ Content แย่ๆ ออกมาอีกหนึ่งคน และนี่คือ 5 วิธีดูนักเขียนสันดานดี!
1. เข้าใจจุดประสงค์ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เขียน ฝึกฝนตนเองอยู่เป็นประจำ
ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจถึงจุดประสงค์ของ content ที่จะทำก่อนว่า ต้องการให้ผู้อ่านได้อะไรจาก content นั้นบ้าง จากนั้นก็จะสามารถจำกัดข้อมูล หรือเนื้อหา ที่ต้องการนำเสนอได้อย่างชัดเจน และเล่าเรื่องเหล่านั้นให้ผู้อ่าน โดยห้ามคิดเด็ดขาดว่า “ผู้อ่านรู้เรื่องนี้อยู่แล้ว” เพราะไม่มีทางเลยที่ทุกคนจะรู้ และเข้าใจ เหมือนที่เรารู้ และก็ต้องหมั่นฝึกฝนตนเองอยู่เป็นประจำด้วย
2. ติดตามข่าวสาร หรือติดตามผลงานของคนที่มีฝีมืออยู่ตลอด
นอกจากความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เขียนแล้ว ในยุคที่ความสดใหม่ เข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญไม่แพ้ข่าวเลย บทความนั้นอาจต้องมีความทันสมัย พ่วงกับกระแส เหตุการณ์บ้านเมือง ที่กำลังอินเทรนด์อยู่ใน ณ ขณะนั้นด้วย
3. เป็นนักเล่าเรื่องที่ดี เขียนตามโจทย์ ไม่เขียนตามใจ
การเขียน content อาจเรียกอีกอย่างได้ว่า “เป็นนักเล่าเรื่อง” เพราะฉะนั้นเราก็ต้องออกแบบเรื่องราวของเราแล้วล่ะว่า เราจะเล่าเรื่องอย่างไร เริ่มจากตรงไหน ใจความสำคัญอยู่ตรงไหน และสรุปเมื่อไหร่ อาจออกแบบตามสไตล์ของตัวเองก็ได้ แต่ต้องระวังไม่ให้ผิดคอนเซ็ปต์ ต้องควบคุมระดับภาษาให้อยู่ในระดับ ชนิดที่ว่า “เขียนให้ผู้อื่นอ่าน” เป็นหลัก
4. ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อ่าน
ในยุคที่เต็มไปด้วยความดราม่า กับ comment ของข่าวในโซเชียลมีเดียที่ถือว่ามีอิทธิพลต่อ content ในทุกรูปแบบ นักเขียนเองก็ต้องมีภูมิคุ้มกันในระดับหนึ่ง และพร้อมที่จะเผชิญ แยกแยะ สิ่งเหล่านั้นให้ออก ว่าอันไหนควรเก็บมาแก้ไข หรืออันไหนเป็นการกลั่นแกล้ง แต่ไม่ใช่รับฟังความเห็นใครเลย และ ไม่ควรลงไปร่วมดราม่าไปกับ comment ด้านลบเป็นอันขาด
5. มีความละเอียด รอบคอบ
ตัวอักษรของนักเขียน ก็เหมือนเป็นหน้าตาของผลงานของเรานั่นเอง เพราะฉะนั้นถ้ามันผิดพลาดไป ก็เท่ากับความน่าเชื่อถือ และความเป็นมืออาชีพของเราจะลดลงทันที ใช้เวลาสักนิดในการตรวจทานอีกสักครั้ง เพื่อแก้คำผิดที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยที่เราไม่ได้ทันสังเกต