หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

รู้ยัง?? ว่าทำไมกระสวยอวกาศออกจากชั้นบรรยากาศแล้วไม่ติดไฟ

เนื้อหาโดย styles 25

อาจกล่าวได้ว่าเบื้องหลังความสำเร็จของมนุษย์ ในการส่งยานอวกาศออกไปนอกโลกได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยความรู้ความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีในสาขาต่างๆ มากมาย วัสดุศาสตร์ นับเป็นเทคโนโลยีสาขาหนึ่งในจำนวนนั้น ที่ต้องมีการค้นคว้าพัฒนาอย่างจริงจัง เพื่อให้ได้วัสดุที่มีความเหมาะสม กับการนำมาสร้างเป็นตัวยานอวกาศ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานตามภารกิจ และการดำรงชีวิตของมนุษย์อวกาศ

ในระหว่างที่ยานอวกาศทะยานขึ้นจากฐานยิง ตัวยานจะถูกเร่งให้มีความเร็วสูงมากกว่า 11.2 กิโลเมตรต่อวินาทีเพื่อให้พ้นต่อแรงดึงดูดของโลก ด้วยความเร็วดังกล่าวนี้ ยานอวกาศต้องเสียดสีกับชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้เกิดความร้อนสูงมาก อาจถึง 1,600 องศาเซลเซียส หากไม่มีการป้องกันอย่างดีแล้ว ยานอวกาศจะเกิดการลุกไหม้ และระเบิดในที่สุด จึงต้องมีการป้องกันโดยนำวัสดุที่ทนอุณหภูมิสูงได้ มาใช้เป็นระบบป้องกันความร้อนติดไว้ที่ผิวด้านนอกของตัวยานอวกาศ นอกจากหน้าที่ดังกล่าวแล้ว เนื่องจากมันอยู่ที่ผิวนอกของตัวยาน จึงจำเป็นต้องทนต่อการกระแทกจากอุกกาบาต และสิ่งอื่นๆ ที่ล่องลอยอยู่ในอวกาศ มีน้ำหนักเบาเพื่อให้น้ำหนักของยานอวกาศต่ำ สามารถบรรทุกสัมภาระต่างๆ ได้มากขึ้น และซ่อมแซมได้ง่ายเมื่อเกิดการชำรุด วัสดุที่นำมาใช้ทำระบบป้องกันความร้อน ให้กับยานอวกาศ มีหลายชนิด แต่ละชนิด จะมีสมบัติและการใช้งานที่แตกต่าง ซึ่งขอกล่าวถึงโดยสังเขป อาทิ 1.วัสดุเสริมแรงคาร์บอน-คาร์บอน (reinforced carbon-carbon, RCC) เป็นวัสดุเสริมแรงที่มีคาร์บอนเป็นทั้งเมทริกซ์และเส้นใยเสริมแรง และเคลือบผิวนอกด้วยซิลิคอนคาร์ไบด์ (SiC) เพื่อต้านทานการเกิดออกซิไดซ์ดีขึ้น ทนอุณหภูมิสูงถึง 1,650 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า ใช้ในบริเวณส่วนหัวและขอบปีก และจรวดขับเคลื่อนที่แยกตัวออกได้ เป็นต้น

2.ฉนวนความร้อนทนอุณหภูมิสูงที่นำมาใช้ใหม่ได้ (high-temperature reusable surface insulator, HRSI) เป็นกระเบื้องที่ทำจากซิลิกาและเคลือบผิวด้วยแก้วโบโรซิลิเกต (borosilicate) ผสมซิลิคอนโบไรด์ (SiB4) ทนอุณหภูมิสูงประมาณ 650-1,200 องศาเซลเซียส ใช้ในผิวหน้าและด้านข้างของส่วนล่างของตัวยาน รวมทั้งบางจุดของส่วนหาง เป็นต้น
3.ฉนวนความร้อนทนอุณหภูมิต่ำที่นำมาใช้ใหม่ได้ (low-temperature reusable surface insulator, LRSI) เป็นกระเบื้องที่ทำจากซิลิกาเคลือบด้วยแก้วโบโรซิลิเกต ทนอุณหภูมิได้ 400-650 องศาเซลเซียส ใช้ในบริเวณผิวด้านบนของปีก, ส่วนหาง , ด้านข้างส่วนบนของตัวยาน เป็นต้น
4. ฉนวนความร้อนแบบผ้าห่มที่นำมาใช้ใหม่ได้ (felt reusable surface insulation, FRSI) ทำจากไนล่อน และเคลือบผิวนอกด้วยซิลิโคน ทนอุณหภูมิได้ไม่เกิน 400 องศาเซลเซียส ใช้คลุมบริเวณผิวด้านบนของปีก ประตูห้องเก็บสัมภาระ เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.material.chula.ac.th/RADIO45/January/radio1-1.htm

เนื้อหาโดย: styles 25
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
styles 25's profile


โพสท์โดย: styles 25
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
36 VOTES (4/5 จาก 9 คน)
VOTED: โอ๊ย, zerotype, chuanb, กฤษ, กอกระดุม, Dexter Suttipong, พี่เกดไม่เข้าใจอ่ะ, willbe
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เขมรดราม่า วิจารณ์กันเอง! หลังเห็นมังกรที่ทำขึ้นมา? ลั่น มังกรหรือหนอนน้ำ!😃เตือนภัย มิจฉาชีพหลอกแจกบัตรเติมน้ำมัน ดูดเงินหมดบัญชีโควิด-19 อีกแล้ว!!!นี่เป็นรถไฟที่แย่ที่สุดในโลกหรือไม่? รีวิวรถไฟกัมพูชาชาวเน็ตฮือฮา! ขายที่ดินพร้อมบ้าน 200 ล้าน ติดวิวสภาสัปปายะสภาสถาน5 สาเหตุ ที่คนแก่ยึดติดกับอะไรเดิม ๆ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
พลังมหัศจรรย์ของ "เกลือ" เปลี่ยนการซักผ้าให้สะอาดง่ายเขมรมาเหนือเมฆ เรียกประชาชนที่อยู่รอบนครวัดมาให้ทำการปรับปรุงบ้านใหม่ ให้เน้นรูปทรงบ้านให้เป็นทรงโบราณ นักท่องเที่ยวมาเที่ยวจะได้ฟินๆยังจำ " คลิปแรก " ของโลกบน YouTube กันได้ไหมชายชาวยูเครนประท้วงกฎหมายเกณฑ์ทหาร ในโปแลนด์
ตั้งกระทู้ใหม่