หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

พุทธปรัชญาวิเคราะห์โลกทางกายภาพแล้วไปสิ้นสุดที่เรื่องสุญญตาและอนัตตา

เนื้อหาโดย ปรึกษา

พุทธปรัชญาวิเคราะห์โลกทางกายภาพแล้วไปสิ้นสุดที่เรื่องสุญญตาและอนัตตา

อจ. ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

 

โลกคือความ ว่างเปล่า พุทธปรัชญาวิเคราะห์โลกทางกายภาพแล้วไปสิ้นสุดที่เรื่องสุญญตาและอนัตตา ส่วนควอนตัมฟิสิกส์วิเคราะห์โลกทางกายภาพแล้วไปสิ้นสุดที่อะตอมและอนุภาคที่ เล็กกว่าอะตอม สิ่งที่ควอนตัมเมคานิกส์เรียกว่า อะตอมและอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมนี้ไม่ใช่เนื้อสารหากแต่เป็นพลังงานที่ ละเอียดประณีต หลักสุญญตาในพุทธปรัชญาเถรวาทบอกเราว่า โกลไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่ (being) ในขณะเดียวกันโลกก็ไม่ใช่สิ่งที่ไม่มีอยู่ (non-being) หากแต่โลกคือความว่างเปล่า(emptiness) ความ ว่างเปล่านี้คือภาวะที่อยู่กึ่งกลางระหว่างความมีกับความไม่มี เป็นภาวะที่ละเอียดประณีต อะตอมและอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมในควอนตัมฟิสิกส์ก็เช่นเดียวกัน ขอให้สังเกตข้อเขียนที่นักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่ง พูดถึงโลกตามควอนตัมฟิสิกส์ต่อไปนี้

 

ประเด็น สำคัญที่นักปรัชญาควรใส่ใจเป็นพิเศษในทฤษฎีนี้ก็คือ การหายไปของความคิดที่ว่าสสารเป็นสิ่งของ… เหตุการณ์ทุกอย่างที่ปรากฏในโลกทางกายภาพ ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เก้าอี้ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และแม้กระทั่งขนมปังที่เรากินอยู่ทุกวัน ได้กลายมาเป็นนามธรรมอันเลือนรางเสียแล้ว๐ ทุกวันนี้ เครื่องเร่งอนุภาค ห้องยิงอนุภาค และคอมพิวเตอร์พริ้นท์เอาท์ได้ให้กำเนิดโลกทัศน์อย่างใหม่ โลกทัศน์ดังกล่าวนี้แตกต่างจากโลกทัศน์เมื่อตอนเริ่มต้นศตวรรษนี้อันเป็น โลกทัศน์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากโคเปอร์นิคัส พวกเรารับเอาโลกทัศน์นี้มาจากคนในศตวรรษก่อน… ภายในโลกทัศน์อย่างใหม่นี้ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัวตนที่ถาวร…ตามหลักวิชาฟิสิกส์ระดับอนุภาค โลกนี้คือพลังงานที่กำลังเริงรำ… สิ่งที่เราเรียกว่าสสาร (อนุภาค) ต่าง กำลังก่อเกิด สูญสลาย แล้วก็ก่อเกิดอีกครั้งแล้วครั้งเล่า๑ทั้งพุทธปรัชญาเถรวาทและควอนตัมฟิสกส์ เห็นร่วมกันว่า องค์ประกอบพื้นฐานของโลกทางกายภาพมีอายุการดำรงอยู่เพียงชั่วขณะสิบเจ็ดขณะ จิต ตามควอนตัมเมคานิกส์ อานุภาคต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นอะตอมก็มีอายุการดำรงอยู่เพียงชั่วพริบตา ขอให้พิจารณาข้อเขียนของนักฟิสิกส์คนหนึ่งที่ทำงานเกี่ยวกับอะตอมดังต่อไป นี้อานุภาคที่ถูกสร้างขึ้นในการปะทะกันนี้ส่วนใหญ่มีอายุสั้นอย่างไม่น่า เชื่อคือสั้นเสียยิ่งกว่าหนึ่งในล้านของวินาที หลังจากนั้นอานุภาคเหล่านี้ก็จะสลายตัวกลายเป็นโปรตอน นิวตรอน และอิเลกตรอนอีกครั้ง เพราะมีอายุสั้นแสนสั้นนี่เองอานุภาคเหล่านี้จึงไม่อาจถูกตรวจพบหรือวัด คุณสมบัติได้ ในทางปฏิบัติ เราสามารถตรวจจับร่องรอยของอานุภาคเหล่านี้ได้โดยการถ่ายภาพเท่านั้น… ในโลกของอานุภาค ความคิดเก่าๆ เช่นอนุภาคมูลฐานเนื้อสารที่เป็นวัตถุ หรือสิ่งที่แยกอยู่ได้โดยลำพัง เป็นต้น กลายเป็นสิ่งไร้ความหมาย จักรวาลทั้งจักรวาลปรากฏในฐานะข่ายใยของพลังงานที่เคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง อยู่ตลอดเวลาอย่างประสานสอดคล้องกัน๒

เท่า ที่แสดงมานี้พอสรุปได้ว่า ตามที่กล่าวมาเราจะเห็นความสอดคล้องระหว่างควอนตัมฟิสิกส์กับหลักอนัตตา สุญญตา และขณิกทัศนะ นี่คือประเด็นหลักๆ ที่เป็นความสอดคล้องกัน

 

ระหว่างภาพของโลกที่พุทธปรัชญาเถรวาท

บรรยายไว้กับภาพของโลกตามที่ควอนตัมเมคานิกส์

บรรยายไว้ความเห็นว่าโลกเปลี่ยนแปลงทุกขณะนี้ จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเท่ากับปฏิเสธสัสสตทิฏฐิ

ซึ่งถือว่าโลกเที่ยง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยนัยเดียวกันนี้ โลกก็ไม่ใช่ขาดสูญหรือดับไปพร้อมกับ

การตายของคนหรือการดับไปของจิต แต่ขณิกวาทเห็นว่า ในขณะที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม ตายไป

แล้วก็ตาม โลกดังกล่าวก็เกิดแล้วดับ แล้วเกิดอีก แล้วดับอีกเรื่อยไปเช่นนี้สืบต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว

โลกซึ่งดับไปแล้วจะเป็นการดับอย่างสิ้นเชิง เราไม่อาจกล่าวได้ว่าโลกนั้นกำลังมีอยู่ เกิดโลกใหม่

ขึ้นทดแทนสืบต่อมาอย่างรวดเร็วไม่ขาดช่วงกัน กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้มีทั้งการเกิดและการ

ดับ มันดำเนินเป็นไปตามธรรมชาติไม่ว่าจะมีผู้รับรู้หรือไม่มีผู้รับรู้

 

อีกนัยหนึ่ง ความเชื่อที่ว่า โลกขาดสูญไปเพราะอัตตาหรือจิตซึ่งเป็นผู้รับรู้ขาดสูญนั้น

สามารถตีความได้ว่า ขณะที่อัตตาหรือจิตยังไม่ขาดสูญ คือคนยังมีชีวิตอยู่ในโลก โลกก็ย่อมไม่ขาด

สูญคือเที่ยงแท้คงเดิม ดังนั้น โลกของอุจเฉททิฏฐิจึงได้ปรากฏข้อแตกต่างจากโลกในทัศนะขณิ

กวาทเช่นเดียวกันกับสัสสตทิฏฐิ กล่าวคือ ขณิกวาทเห็นว่าโลกไม่เที่ยงปฏิเสธความเห็นว่าโลก

เที่ยงคงเดิมพร้อมกันนี้ ความเห็นของอชิตะ เกสกัมพล ซึ่งสรุปได้ว่า เมื่อมนุษย์ตายไปแล้ว ธาตุ ๔ ก็

กลับไปสู่ธาตุ ๔ ธาตุเหล่านี้มิได้หายไปไหนนั้น ตีความได้ว่า ธาตุ ๔ คือโลกในความหมายนี้ไม่มี

เกิด ไม่มีดับ มันเพียงประกอบรวมกันเข้าเป็นสิ่งต่างๆ แล้วเมื่อถึงเวลาหนึ่งมันได้แยกออกจากกัน

การแยกออกนั้นมิได้หมายความว่าธาตุ ๔ ดับลงหรือสลายขาดสูญไป ธาตุ ๔ ยังคงเดิมอยู่ แต่ได้

แยกเป็นเอกเทศหนึ่งตามธาตุเดิมของตนแต่ละธาตุ เมื่อเป็นเช่นนี้ ในแง่นี้ โลกในความเชื่อของ

อุจเฉททิฏฐิก็เป็นอย่างเดียวกันกับโลกของสัสสตทิฏฐินั่นเอง คือ เป็นสิ่งที่เที่ยงคงเดิม

 

ทัศนะขณิกวาทในพุทธปรัชญาบอกเราว่า โลกไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่ (being) ในขณะเดียวกันโลกก็ไม่ใช่สิ่งที่ไม่มีอยู่ (non-being) หากแต่ โลกคือความว่างเปล่า ความว่างเปล่านี้คือภาวะที่อยู่กึ่งกลางระหว่างความมีกับความไม่มี ซึ่งเป็นทัศนะที่ตรงกันข้ามกับแนวความคิดของชาวสัสสตทิฏฐิและ อุเฉททิฏฐิตามที่ได้อภิปรายไปแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แม้จะถือว่าโลกและสรรพสิ่งหาตัวยืนโรง มิได้ และสรรพสิ่งย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเพราะอาศัยเหตุปัจจัยประกอบกัน แต่พุทธปรัชญาก็ไม่ได้ยอมรับ อุจเฉททิฏฐิ ที่ถือว่าสรรพสิ่งย่อมขาดสูญ และสัสสตทิฏฐิ ที่เห็นว่าสรรพสิ่งเป็นของเที่ยงมีอยู่เป็นไปอยู่อย่างไม่อิงอาศัยเหตุ ปัจจัย เพราะนั่นเป็นความเห็นผิดในฐานะเป็นการยึดถืออย่างสุดโต่งทั้งสองทัศนะ ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายผู้ถูกทิฏฐิคตะ คือ ความเห็นวิปลาศ ๒ อย่าง กลุ้มรุม ครอบงำ แล้วพวกหนึ่งล้าหลังอยู่ พวกหนึ่งเลยธงไป ฝ่ายพวกผู้มีจักษุ คือปัญญาทั้งหลายย่อมเห็นความจริง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งล้าหลังอยู่เป็นอย่างไร

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์(พวกหนึ่ง) มี ภพเป็นที่ยินดี พอใจในภพ บันเทิงใจในภพ เมื่อธรรมเพื่อความดับแห่งภพ อันเราแสดงอยู่ จิตของเทวดาและมนุษย์พวกนั้นไม่แล่นไปตามกระแสธรรม ไม่เลื่อมใส ไม่ยั้งหยุด ไม่น้อมใจลงเชื่อ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งล้าหลังอยู่

 

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งเลยธงไป เป็นอย่างไร ก็และเทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง ระอา ขยะแขยง รังเกียจภพนั่นแล ยินดีนักซึ่งวิภพ (ความขาดสูญ) เป็น เหตุให้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย นัยว่า อัตตานี้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกไป ย่อมขาด ย่อมสูญ ย่อมไม่มีอีกเบื้องหน้าแต่ตายไป ความขาดสูญนั่นเป็นธรรมชาติละเอียด ความขาดสูญนั่นเป็นธรรมชาติประณีต ความขาดสูญนั่น

เป็นธรรมชาติจริงแท้ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งเลยธงไป

 

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ฝ่ายผู้มีจักษุย่อมเห็นเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นภูต คือเบญจขันธ์ หรือนามรูป โดยความเป็นภูต คือไม่เห็นเป็นสัตว์ เป็นบุคคล ครั้นเห็นภูตโดยความเป็นภูตแล้ว ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่ายเพื่อหายยินดี เพื่อดับไปแห่งภูต อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายพวกที่มีจักษุย่อมเห็นดังนี้๑

 

ปัญหา ปรัชญาที่เกิดขึ้นในเรื่องที่เกี่ยวกับทัศนะขณิกวาทในพุทธปรัชญาก็คือว่า ถ้าขันธ์ ๕แต่ละส่วนดำรงอยู่ชั่วขณะสั้นๆ สรรพสิ่งในโลกก็ไม่น่าจะถือกำเนิดขึ้นได้ ถ้าไม่มีตัวการคอยรวบรวมส่วนเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่นเดียวกับนายช่างนำไม้แต่ละชิ้นมาประกอบกันเป็นเรือน ถามว่า ใครรวมเอาธาตุ ๔ และจิต เจตสิกมาสร้างเป็นโลกและชีวิตในโลก? ศาสนาเทวนิยมตอบว่าพระเจ้า (God) หรือพระพรหมเป็นผู้สร้างโลก ส่วนพระพุทธศาสนาเป็นอเทวนิยม (Atheism) ปฏิเสธความมีอยู่ของพระเจ้าผู้สร้างโลก ดังคำที่กล่าวว่า “แท้ที่จริงในประวัติแห่งสงสาร (โลก) นี้ ไม่มีใครสร้างสงสาร ไม่ว่าจะเป็นเทพเจ้า หรือพระพรหมก็ตาม ธรรมล้วนๆ ดำเนินไป เพราะการประชุมเข้าของเหตุเป็นปัจจัย๔๒ เถรีภาษิตของเสลาภิกษุณีชี้แจงชัดเจนว่า “ร่างกายนี้ไม่มีใครสร้างตัวตนนี้ไม่มีใครบันดาล อาศัยเหตุมันก็มี เพราะเหตุสลาย มันก็ดับ๔๓ และเมื่อมีผู้ถามว่าโลกหรือสงสารนี้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อใด พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า

 

ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ๔๔

 

พุทธปรัชญาเถรวาทมี ทัศนะว่า โลกเกิดขึ้นเพราะอาศัยการประชุมแห่งเหตุปัจจัย ดังที่พระเสลาภิกษุณีกล่าวไว้ การประชุมแห่งเหตุปัจจัยไม่ใช่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่ดำเนินไปตามหลัก อิทัปปัจจยตา ซึ่งหมายถึง “การประชุมปัจจัยของสิ่งเหล่านี้” อิทัปปัจจยตาคือกฎธรรมชาติ(ธรรมนิยาม) ที่ สร้างระเบียบแบบแผนให้กับโลกและชีวิต กฎนี้มีอยู่เองไม่มีใครสร้างหรือบัญญัติพระพุทธเจ้าเพียงแต่ทรงค้นพบและ ประกาศแก่ชาวโลกเท่านั้น และเรียกว่าเป็นมัชเฌนธรรมเทศนาแสดงความจริงของธรรมชาติให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลายมีลักษณะเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่เรียกว่าไตรลักษณ์ เป็นไปตามกระบวนแห่งเหตุปัจจัยว่าด้วยสิ่งทั้งปวงต้องอาศัยเหตุปัจจัยจึง เกิดขึ้นและดำเนินสืบต่อไปได้ ชีวิตจึงเหมือนประทีปโคมไฟ เมื่อสิ้นไส้สิ้นเชื้อไม่เหลือน้ำมันก็ไม่เกิดหรือดับอีกต่อไป จึงไม่มีปัญหาในเรื่องที่ว่า สิ่งทั้งหลายมีหรือไม่มีจริง ยั่งยืนหรือขาดสูญ เป็นต้น แต่ผู้ไม่รู้ความหมายของกระบวนธรรมที่เรียกว่ามัชเฌนธรรมเทศนา มักจะเข้าใจในเรื่องนี้ผิดพลาด โดยเฉพาะหลักสุญญตานั้น มักจะได้ยินได้ฟังกันอย่างผิวเผิน แล้วตีความเอาว่า สุญญตาหมายถึงไม่มีอะไร กลายเป็นอุจเฉทวาทและนัตถิกวาท อันเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างร้ายแรงไปเสีย ผู้เข้าใจกระบวนธรรมคือ มัชเฌนธรรมเทศนา ดีแล้ว ย่อมพ้นจากความเข้าใจผิดแบบต่างๆ ที่แตกแขนงออกมาจากทฤษฎีทั้งหลายข้างต้นนั้น เช่น ความเชื่อว่าสิ่งทั้งหลายมีมูลการณ์หรือเหตุต้นเค้าเดิมสุด (Firt Cause) และความเข้าใจว่ามีสิ่งวิเศษนอกเหนือธรรมชาติ (The Supernatural) เป็นต้น

ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงไม่เป็นทั้ง “สัสสตวาท” (เชื่อว่ามีสิ่งที่เที่ยงแท้ไม่เปลี่ยนแปลง) และ“อุจเฉทวาท” (เชื่อว่าทุกสิ่งสิ้นสุดกันเมื่อตาย)

 

.๕ ขณิกวาทอยู่กึ่งกลางสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ

หลัก สายกลางในพุทธปรัชญา แสดงให้เห็นว่า มีแนวความคิดอยู่สองขั้ว ขั้วหนึ่งสุดโต่งไปด้านหนึ่ง อีกขั้วหนึ่งก็สุดโต่งไปอีกด้านหนึ่ง ส่วนพุทธปรัชญาอยู่ตรงกลาง ไม่ดิ่งไปขั้วใดขั้วหนึ่ง เมื่อพุทธปรัชญาบอกว่าทัศนะใดสุดโต่ง มีความหมายว่าทัศนะนั้นมองไม่เห็นความจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ อย่างครบถ้วน ดังนั้น คำว่า สุดโต่ง ไม่ได้แปลว่า มองไม่เห็นความจริง แต่คำนี้หมายความว่ามองเห็นความจริงเพียงบางส่วนเท่านั้น

พุทธ ปรัชญากล่าวไว้ชัดเจน สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิเป็นความเห็นสุดโต่ง ที่ว่าสุดโต่งหมายความว่า มีความจริงอยู่ชุดหนึ่ง สัสสตทิฏฐิมองเห็นความจริงส่วนหนึ่ง อุจเฉททิฏฐิก็มองเห็นความจริงอีกส่วนหนึ่ง ส่วนพุทธปรัชญาเห็นความจริงครบทั้งหมด ดังนั้น พุทธปรัชญาจึงอยู่กึ่งกลางระหว่างทิฏฐิทั้งสองนั้น สำหรับทัศนะขณิกวาท สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิมีการมองความจริงเฉพาะของตนจัดเป็นความจริงได้ชุด หนึ่ง ความจริงชุดนั้น คือ ๑. ไม่มีอัตตา ๒. มีชีวิตใหม่หลัง จากตายแล้ว ในความจริงสองอย่างนี้ ต่างฝ่ายต่างก็มองเห็นคนละส่วน คือ สัสสตทิฏฐิมองเห็นความจริงข้อที่ ๒ แต่ไม่เห็นข้อที่ ๑ อุจเฉททิฏฐิมองเห็นข้อที่ ๑ แต่ไม่เห็นข้อที่ ๒ ส่วนทัศนะ ขณิกวาทมองเห็นทั้ง ๑ และ ๒ ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า ขณิกวาทอยู่กึ่งกลางระหว่าง สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิจะเห็นได้ว่า ระหว่างอุเฉททิฏฐิกับสัสสตทิฏฐิ บางส่วนของสองแนวคิดนี้พุทธปรัชญาปฏิเสธ และมีบางส่วนที่พุทธศาสนายอมรับ กล่าวคือ

 

. พุทธ ปรัชญาเห็นด้วยกับแนวคิดของชาวอุจเฉททิฏฐิที่ว่า มนุษย์ประกอบขึ้นจากธาตุ ๔คือ ดิน น้ำ ไฟ ลมเหมือนกัน แต่พุทธศาสนาก็เห็นต่างจากชาวอุเฉททิฏฐิตรงที่ว่า นอกจากธาตุส่วนที่เป็นสสารแล้ว ยังมีธาตุอีกประเภทหนึ่งที่เป็นอสสาร ธาตุที่ว่านี้พุทธศาสนาเรียกว่าธาตุจิตเมื่อคนเราตายลง ธาตุที่เป็นสสารจะถูกทิ้งเอาไว้ในชาตินี้ แต่ธาตุจิตยังไม่สูญสลาย กระบวนการสืบต่อของจิตยังมีเรื่อยไป ตราบเท่าที่คนเรายังไม่สามารถดับอาสวกิเลสภายในจิตได้ ความตายในทัศนะของพุทธปรัชญาจึงไม่ใช่จุดสิ้นสุดของชีวิตตามที่ชาวอุจเฉท ทิฏฐิเชื่อ มีชีวิตหลังจากตายแล้ว และสิ่งที่จะไปสืบชาติใหม่ภพใหม่ก็คือธาตุจิตนี่เอง

 

. พุทธ ปรัชญาเห็นด้วยกับแนวคิดของชาวสัสสตทิฏฐิที่ว่าชีวิตมนุษย์ไม่ได้จบสิ้นลง ที่ความตาย ทั้งพุทธปรัชญาและสัสสตทิฏฐิเห็นสอดคล้องกันว่านอกจากองค์ประกอบส่วนที่เป็น สสารแล้ว ยังมีองค์ประกอบอีกส่วนหนึ่งของคนที่อยู่ในรูปอสสาร และสิ่งนี้เองที่จะไปสร้างชาติใหม่หลังจากที่คนเราตายแล้ว นอกจากนี้ทั้งพุทธปรัชญาและสัสสตทิฏฐิยังเชื่อตรงกันว่าระบบศีลธรรมจะหนัก แน่นมั่นคงหากคนเราเชื่อว่ามีชีวิตหลังจากตายแล้ว แนวความคิดแบบอุจเฉททิฏฐิไม่สามารถอธิบายเรื่องบางเรื่องได้ เช่น คนสองคน คนหนึ่งทำดีตลอดชีวิต ส่วนอีกคนทำชั่วตลอดชีวิต เมื่อสองคนนี้ตายลง ลัทธิอุจเฉททิฏฐิมองว่ามีค่าเท่ากันคือไม่เหลืออะไรไว้ เป็นความจริงที่ว่าคนดีอาจจะมีคนรุ่นหลังสรรเสริญ ส่วนคนเลวจะถูกประณามสาบแช่ง แต่การสรรเสริญและสาบแช่งนั้นก็หาได้มีผลต่อคนที่ตายไปแล้วไม่ มองจากทัศนะแบบอุจเฉททิฏฐิ ดูเหมือนว่าสิ่งที่คนเราทำลงไปไม่มีความหมายต่อชีวิตเขา กรรมดีกรรมชั่วบางอย่างนั้นไม่อาจให้ผลในปัจจุบันชาติเพราะไม่มีคนทราบ กรรมพวกนี้ย่อมสูญค่าไม่มีความหมายเมื่อคนเราตายลง ปัญหาคือ หากทุกคนในสังคมเชื่อและคิดตรงกันว่า กรรมที่คนเราทำลงไปไม่ว่าจะดีหรือเลวหากไม่มีคนรู้ กรรมนั้นย่อมไร้ความหมาย ใครบ้างที่จะคิดทำดี และใครที่จะเกรงกลัวไม่กล้าคิดทำชั่ว เพราะกรรมไม่มีความหมายในตัวมันเอง หากแต่อยู่ที่เงื่อนไขว่ามีคนทราบหรือไม่

พุทธ ปรัชญากับปรัชญาของชาวสัสสตทิฏฐิคิดเหมือนกันว่า หากชีวิตไม่สิ้นสุดที่ความตายและกรรมที่คนเราทำลงไปมีความหมายในตัวมันเอง คือ หากทำดี ไม่ว่าจะมีคนทราบหรือไม่ทราบความดีนั้นย่อมมีผลเสมอ ผลของกรรมดีนั้นหากไม่สนองในชาตินี้ก็ต้องตามสนองในชาติหน้าส่วนกรรมชั่วก็ เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะมีคนรู้เห็นหรือไม่ กรรมชั่วนั้นย่อมต้องส่งผลเสมอ ไม่ชาตินี้ก็ต้องชาติต่อไป ด้วยพื้นฐานความเชื่อตามที่กล่าวมานี้ คนเราย่อมมีกำลังใจที่จะเป็นคนดี แม้ว่าสภาพแวดล้อมจะบีบคั้นไม่ให้เขาสะดวกที่จะทำดีก็ตาม และความเชื่ออันเดียวกันนี้ย่อมส่งผลให้คนเราเกรงกลัวที่จะทำความชั่ว แม้ว่าเขาจะมีโอกาสที่จะทำโดยไม่มีคนพบเห็นก็ตามแม้ว่าพุทธปรัชญาจะเห็นใกล้ เคียงกับแนวความคิดของชาวสัสสตทิฏฐิว่ามีชีวิตหลังจากตายแล้ว แต่ก็มองต่างในแง่ที่ว่าไม่มีแก่นแท้ของชีวิตที่จะไปสืบชาติใหม่ภพใหม่ ในทัศนะของชาวสัสสต ทิฏฐิ สิ่งที่จะไปสร้างชาติใหม่ภพใหม่คืออัตตา แต่ในทัศนะของพุทธปรัชญาสิ่งที่จะไปสร้างภพใหม่คือจิต จิตต่างจากอัตตาตรงที่อัตตามีอยู่ดวงเดียวเป็นอมตะ ไม่เปลี่ยนแปลงและไม่มีวันสูญสลาย ส่วนจิตจะเกิดสืบต่อกันไปนับจำนวนไม่ถ้วน จิตเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่คงที่ และวันหนึ่งจิตนี้สามารถดับลงได้เมื่อเข้าถึงนิพพาน ผิดกับอัตตาที่ไม่มีวันดับ การเข้าถึงโมกษะตามทัศนะของปรัชญาฝ่ายสัสสตทิฏฐิคือการที่อัตตาของมนุษย์ได้ กลับคืนสู่อัตตาใหญ่อันเป็นที่มาของมัน การเข้าถึงโมกษะมิใช่การดับอัตตา หากแต่คือการที่อัตตาได้ย้อนกลับสู่ภาวะอันเป็นบรมสุขที่เรียกว่าปรมาตมัน ปรมาตมันนี้คือต้นกำเนิดของอัตตาทุกดวงที่อยู่ในตัวคน เมื่ออัตตาย่อยได้เข้ารวมเป็นหนึ่งเดียวกับอัตตาใหญ่ที่เรียกว่าปรมาตมัน อัตตาย่อยนั้นจะคงอยู่ต่อไปชั่วนิรันดรและจะ

เสวย สุขอยู่ในความโอบอุ้มของอัตตาใหญ่นั้นตลอดไปการที่พุทธศาสนายึดถือหลักมัช เฌนธรรมทำให้คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ได้เป็นฝ่ายวัตถุนิยม (Materialism) และจิตนิยม (Idealism) เพราะเหตุที่ว่าพุทธศาสนารับรองความสำคัญของนามธรรม รูปธรรม พุทธศาสนาจึงเป็นมัชฌิมาปฏิปทา๔๕

 

ใน ประเด็นนี้ ถ้าหากความจริงคิดปริมาณเป็นสองส่วน ความใกล้เคียงที่ลัทธิอุจเฉททิฏฐิและ ลัทธิสัสสตทิฏฐิรับรู้มีเพียงส่วนเดียวเท่านั้น ลัทธิอุจเฉททิฏฐิรับรู้ส่วนหนึ่ง ไม่รับรู้อีกส่วนหนึ่ง ส่วนลัทธิสัสสตทิฏฐิก็รับรู้ส่วนที่ลัทธิอุเฉททิฏฐิไม่อาจรับรู้ได้ ในขณะเดียวกันก็ไม่รับรู้ส่วนที่ลัทธิอุจเฉททิฏฐิรับรู้ สำหรับพุทธปรัชญานั้น ในขณะที่สองลัทธิที่กล่าวมานั้นเห็นความใกล้เคียงเพียงส่วนเดียว และสุดขั้ว พุทธศาสนาเห็นความจริงครบทั้งสองส่วนซึ่งมีลักษณะตรงกันข้ามกับทัศนะ สองอย่างที่กล่าวมา ทัศนะทางพุทธศาสนาย่อมได้ชื่อว่า ทางสายกลาง ทางที่อยู่กลางระหว่างลัทธิหรือมีความเห็นว่ามีสิ่งที่เที่ยงแท้ไม่รู้จัก แตกสลายไป (สัสสตทิฏฐิ) และลัทธิหรือความเห็นว่าทุกสิ่งขาดสูญ เมื่อตายแล้วก็แตกสลายขาดสูญไปหมด (อุจเฉททิฏฐิ)มี ข้อความที่น่าทำความเข้าใจในประเด็นนี้ก็คือความหลงผิดอีกอย่างหนึ่งที่มัก ชักพาคนให้เข้าไปติด ก็คือ การแล่นจากสุดโต่งแห่งความคิดเห็นด้านหนึ่งไปยังสุดโต่งอีกด้านหนึ่ง กล่าวคือคนพวกหนึ่งยึดติดถือมั่นในตัวตนว่าเป็นของจริงแท้คงที่ถาวร สัตว์ บุคคล เป็นตัวตนอย่างนั้น ซึ่งมีจริง มิใช่สิ่งสมมติ สัตว์ บุคคล มีตัวจริงตัวแท้ที่ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป ไม่ว่าคนจะตาย ชีวิตจะสิ้นสุด ตัวสัตว์ ตัวบุคคล ตัวตน ตัวบุคคล ตัวตน ดวงชีวะ อาตมัน หรืออัตตา (Soul) นี้ ก็จะคงอยู่

อย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ไม่สูญสลายไปด้วย บ้างก็ว่าอัตตาตัวนี้ไปเวียนว่ายตายเกิด บ้างก็ว่าอัตตา

ตัวนี้รออยู่เพื่อไปสู่นรกหรือสวรรค์นิรันดรสุดแต่คำตัดสินของเทพสูงสุด ความเห็นของคนพวกนี้

เป็น สัสสตทิฏฐิ หรือสัสสตวาท ซึ่งก็คือความเห็นว่าเที่ยง คือเห็นว่า สัตว์บุคคลตัวตนหรืออัตตาเที่ยงแท้ยั่งยืนตลอดไป ส่วนคนอีกพวกหนึ่งก็เห็นว่ามีตัวตนเช่นนั้นอยู่ คือยึดถือสัตว์ บุคคล เป็นตัวแท้ตัวจริง แต่สัตว์ บุคคลนั้น ไม่เที่ยงแท้ถาวร สูญสลายไปได้ เมื่อคนตาย ชีวิตจบสิ้น สัตว์บุคคลก็ขาดสูญ ตัวตนก็หมดไป ความเห็นของคนพวกนี้ก็คือ อุจเฉททิฏฐิ หรืออุจเฉทวาทนั่นเองที่มีความเห็นว่าขาดสูญ คือเห็นว่าสัตว์บุคคลตัวตนหรืออัตตาไม่เที่ยงแท้ถาวร ดำรงอยู่ชั่วคราวแล้วก็สูญสิ้นไป แม้แต่ผู้ศึกษาพุทธปรัชญา ถ้าไม่เข้าใจชัดถ่องแท้ ก็อาจตกไปในทิฏฐิ ๒ อย่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะผู้ที่ศึกษาหลักกรรมในแง่สังสารวัฏ (การเวียนว่ายตายเกิด) ถ้าเข้าใจพลาดก็

อาจจะกลายเป็นสัสสตทิฏฐิ คือเห็นว่าเที่ยง ผู้ศึกษาหลักอนัตตา ถ้าเข้าใจพลาด ก็อาจกลายเป็น

อุจเฉททิฏฐิ คือเห็นว่าขาดสูญ จุดพลาดที่เหมือนกันของทิฏฐิสุดโต่งทั้งสองอย่าง ก็คือ ความเห็นว่า

หรือยึดถือว่า มีสัตว์ บุคคลที่เป็นตัวแท้จริง แต่พวกหนึ่งยึดถือว่า สัตว์ บุคคล ตัวตนนั้นคงตัวอยู่

ยั่งยืนตลอดไป ส่วนอีกพวกหนึ่งเห็นไปว่า สัตว์ บุคคล ตัวตนที่มีอยู่นั้นมาถึงจุดหนึ่งตอนหนึ่ง

โดยเฉพาะเมื่อกายแตกสลาย ชีวิตนี้สิ้นสุด สัตว์ บุคคล ตัวตน อัตตา ก็ถูกตัดขาดสูญสิ้นไปด้วย

นอกจากนี้ ยังมีอีกพวกหนึ่งที่เห็นเลยเถิดไปอีกทางหนึ่งว่า ความไม่มีตัวตนก็คือไม่มีอะไรเลย

ความไม่มีสัตว์ บุคคล ก็คือไม่มีผู้รับผล เมื่อไม่มีใครรับผล การกระทำใดๆ ก็ไม่มีผล ทำก็ไม่เป็น

อันทำ ไม่มีความรับผิดชอบต่อกรรม หรือพูดง่ายๆ ว่ากรรมไม่มีนั่นเอง ความเห็นและความยึดถือ

แนวนี้ ถ้าแยกละเอียดออกไปก็มี ๓ ทิฏฐิ คือ พวกหนึ่งเห็นว่าทำไม่เป็นอันทำ หรือว่าการกระทำไม่

มีผล เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า อกริยทิฏฐิ หรือ อกริยวาท พวกหนึ่งเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปอย่าง

เลื่อนลอย สุดแต่ความบังเอิญ ไม่มีเหตุปัจจัย พูดง่ายๆ ว่าเห็นว่าไม่มีเหตุ เรียกชื่อว่า อเหตุกทิฏฐิ

หรือ อเหตุวาท และพวกหนึ่งเห็นว่าหรือถือว่า ไม่มีอะไรเลย ไม่มีสภาวะที่จะกำหนดเอาเป็นหลัก

เป็นสาระได้ เรียกชื่อว่า นัตถิกทิฏฐิ หรือ นัตถิกวาท

 

ใน เมื่อสิ่งทั้งหลายเป็นกระบวนธรรม เกิดจากส่วนประกอบต่างๆ ประมวลกันขึ้น และเป็นไปตามเหตุปัจจัย ก็ย่อมไม่มีทั้งตัวตนที่จะเที่ยงแท้ยั่งยืน และทั้งตัวตนที่จะดับสิ้นขาดสูญ คือแม้แต่ในขณะที่เป็นอยู่นี้ ก็ไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนอยู่แล้ว จะเอาตัวตนที่ไหนมายั่งยืน จะเอาตัวตนที่ไหนมาขาดสูญ เป็นอันปฏิเสธทั้งสัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ ในเมื่อกระบวนธรรมดำเนินไปอยู่โดยองค์ประกอบทั้งหลายสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัย แก่กัน เป็นไปตามเหตุปัจจัย จะว่าไม่มีอะไรไม่ได้และจะว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปอย่างเลื่อนลอยตามความ บังเอิญ ไม่มีเหตุปัจจัยได้อย่างไร เป็นอันปฏิเสธทั้งนัตถิกทิฏฐิและอเหตุกทิฏฐิ ในเมื่อกระบวนธรรมดำเนินไปตามเหตุปัจจัย แปรเปลี่ยนไปตามเหตุและผลที่เกิดขึ้นในกระบวนธรรมนั้น การกระทำทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นเหตุอยู่ในกระบวนธรรมนั้น จึงย่อมจะต้องมีผล ไม่มีทางสูญเปล่า และเป็นการมีผลโดยไม่ต้องมีผู้รับผล คือผลเกิดขึ้นในกระบวนธรรมเอง ซึ่งเป็นการเกิดผลที่แน่นอนยิ่งกว่าการมีตัวตนเป็นผู้รับผลเสียอีก (เพราะถ้ามีตัวตนที่เที่ยงแท้คงตัว ตัวตนนั้นอาจปฏิเสธไม่ยอมรับผลก็ได้) ใน เมื่อความเป็นไปตามเหตุปัจจัยมีอยู่ เหตุและผลเกิดขึ้นในกระบวนธรรม กระบวนธรรมนั้นก็จะแปรเปลี่ยนไป จะว่าไม่เป็นอันทำหรือการกระทำไม่มีผลไม่ได้ จึงเป็นอันปฏิเสธอกริยทิฏฐิ หรือ อกิริยวาทกล่าวโดยสรุปทัศนะเรื่องขณิกวาทในพุทธปรัชญาช่วยให้เกิดความเข้าใจ ชัดเจน ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันและมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับกฎธรรมชาติ ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท กรรมต่อไปนี้ คือ

ปฏิเสธทั้งลัทธิที่ถือว่าเที่ยง (สัสสตวาท) และลัทธิที่ถือว่าขาดสูญ (อุจเฉทวาท)

. ปฏิเสธลัทธิที่ถือว่ามีเทพเจ้าสูงสุดผู้สร้างสรรค์บันดาลโลก กำหนดโชคชะตาของชีวิตมนุษย์ (อิศวรนิรมิตวาท)

. เป็นเครื่องสนับสนุนหลักกรรมตามความหมายของพระพุทธศาสนา พร้อมกันนั้นก็ปฏิเสธลัทธิที่ถือว่าการกระทำไม่มีผล ทำไม่เป็นอันทำ (อกิริยวาท) ปฏิเสธลัทธิกรรมเก่า (ปุพเพกตวาท เช่น ลัทธินิครนถ์) ปฏิเสธลัทธิกรรมแบบมีอาตมัน หรือลัทธิกรรมแบบมีวรรณะ (เช่น ลัทธิฮินดู) ปฏิเสธลัทธิเสี่ยงโชคที่ถือว่า ทุกอย่างเป็นไปอย่างเลื่อนลอยสุดแต่ความบังเอิญ ไม่มีเหตุปัจจัย (อเหตุวาท) และปฏิเสธลัทธิที่ถือว่าไม่มีอะไรเลย (นัตถิกวาท)

. แสดงลักษณะแห่งธรรมสูงสุดของพระพุทธศาสนา ซึ่งต่างจากจุดหมายของลัทธิศาสนาจำพวกอาตมวาท (ลัทธิที่ถือว่ามีอาตมันหรืออัตตา เช่น ศาสนาฮินดูเป็นต้น)เป็น อันว่า การเอียงสุดในทางความคิดซึ่งคนทั่วไปมักจะมีความโน้มเอียงที่จะเป็นเช่นนั้น ก็คือ เรื่องวัตถุกับจิตว่าอะไรมีจริง พวกหนึ่งจะเอียงสุดว่าวัตถุเท่านั้นมีจริง อีกพวกหนึ่งก็เอียงสุดว่าจิตเท่านั้นมีจริง จนกระทั่งในปรัชญาตะวันตกได้มีการบัญญัติกันว่า เป็นพวกวัตถุนิยมกับพวกจิตนิยม แต่ในพระพุทธศาสนานั้นจากที่ได้อภิปรายมาแล้วจะเห็นว่าท่านไม่ได้บัญญัติ อย่างนั้น คือมิใช่เป็นจิตนิยม หรือเป็นวัตถุนิยมไปสุดทางแต่อย่างเดียว แต่ในพระพุทธศาสนามีทั้งนามและรูปซึ่งท่านเรียกรวมเข้าด้วยกันเป็นคำเดียว ว่า นาม-รูป ท่านเห็นความสำคัญของทั้งจิตและวัตถุ มีทั้งสองอย่าง แต่มีอย่างอิงอาศัยเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเป็นลักษณะมัชเฌนธรรมเทศนา ซึ่งก็ได้แก่

 

หลัก ธรรมที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นหลักธรรมที่แสดงความจริงเป็นกลางๆ ตามเหตุปัจจัยซึ่งไม่เป็นไปตามความปรารถนาของมนุษย์ทั้งหลาย แต่พอดีกับความเป็นจริงที่ว่าสิ่งทั้งหลายนั้นอิงอาศัยซึ่งกันและกันเป็นไป ตามเหตุปัจจัยที่เรียกว่า หลักสายกลางทั้งในทางปฏิบัติและในทางความคิด มีมัชฌิมาปฏิปทา และมัชเฌนธรรมเทศนา

 

Bertrand Russell, An Outline of Philosophy, (New York: Unwin, 1983), p.84.

Gary Zukav, The Dancing Wu Li Masters : An Overview of the New Physics

(London : Fontana, 1988), pp. 211-212.

Fritjof Capra, The Tao of Physics, second edition (New york :BantamBooks, 1984),

pp.186-187.

 

๔๑ ขุ. อิติ. ๒๕/๒๒๗/๒๖๓.

๔๒ วิสุทฺธิ. /๒๒๗.

๔๓ สํ.. ๑๕/๕๕๑/๑๙๗.

๔๔ สํ.นิ. ๑๖/๔๒๑/๒๑๒.

๔๕ เสถียร โพธินันทะ, คำบรรยายเรื่องขันธวาที, (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิอภิธรรมมหาธาตุวิทยาลัย), หน้า ๗๒ –๗๓.

เนื้อหาโดย: ปรึกษา
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ปรึกษา's profile


โพสท์โดย: ปรึกษา
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
20 VOTES (4/5 จาก 5 คน)
VOTED: vho, แมวอเวจี, Tabebuia
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
อดีตหัวหน้าพรรคคนดัง ย้ายซบ ปชป. ตอบแทนบุญคุณช่วยเป็น สส. สมัยแรกช็อตฮาประชาชี : บ้านญาติบรรยากาศแบบนี้ ต้องหาคนมานอนเป็นเพื่อนหน่อยเน่อ ไม่งั้นหลอนแน่ๆเขมรเคลมอีก? อ้าง ข้าวเหนียวทุเรียน คือขนมดั้งเดิมของเขมรโบราณ!ตอนเรียนกับตอนทำงานเต่างกันแค่ไหน?แล้งหนัก...ประปาไร้น้ำ เกาะพีพีต้องซื้อน้ำใช้
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
โทษ-ประโยชน์ของการช่วยตัวเอง ผู้ชายควรรู้Huawei ทวงคืนบัลลังก์! ขึ้นแท่นอันดับ 1 ตลาดสมาร์ทโฟนจีนอีกครั้ง"ภาวะโลกเดือด" การปรับตัวในยุคที่ท้าทายสุดขีดของมนุษย์!!วิธีใช้ " ปลั๊กพ่วง " ให้ถูกวิธี
ตั้งกระทู้ใหม่