หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ทัศนะพุทธแสดงเรื่องโลกคืออะไร

Share แชร์บอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้ เนื้อหาโดย ปรึกษา
ทัศนะพุทธแสดงเรื่องโลกคืออะไร

 

อจ. ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

 

โลก ในความหมายของสัสสตทิฏฐิ ได้แก่ สสารที่ประกอบกันขึ้นเป็นสิ่งต่าง ๆ ในจักวาลสสารนี้เป็นของเที่ยง ชาวสัสสตทิฏฐิจำแนกสรรพสิ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ () อัตตา () โลก

อัตตาเป็นนามธรรม ส่วนโลกเป็นรูปธรรม มนุษย์กระกอบด้วยส่วนประกอบที่เป็นอัตตาและส่วนที่เป็นโลก สัสสตทิฏฐิเชื่อว่าทั้งอัตตาและโลกเที่ยง เป็นอมตะ

 

นัก ปรัชญาในสมัยพุทธกาลที่แสดงทัศนะสัสสตทิฏฐิไว้อย่างชัดเจน คือ ปกุธะ กัจจายนะเขาได้แสดงลัทธิของตนแก่พระเจ้าอชาตศัตรูว่าสภาวะ ๗ กองเหล่านี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ไม่มีใครนิรมิตเป็นสภาพยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขา ตั้งมั่นอยู่ดุจเสาระเนียด สภาวะ ๗ กองเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกัน ไม่อาจให้เกิดสุข หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน สภาวะ ๗ กองเป็นไฉน คือ กองดิน กองน้ำ กองไฟ กองลมสุข ทุกข์ ชีวะ สภาวะ ๗ กองนี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ไม่มีใคร ๘ จำนงค์ ทองประเสริฐ, ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔), หน้า ๒๕.

๕๐

นิรมิต ไม่มีใครให้นิรมิต เป็นสภาพยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดเขา ตั้งมั่นอยู่ดุจเสาระเนียด สภาวะ ๗ กองเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน ผู้ฆ่าเองก็ดี ผู้ใช้ให้ฆ่าก็ดีผู้ได้ยินก็ดี ผู้กล่าวให้ได้ยินก็ดี ผู้เข้าใจความก็ดี ผู้ทำให้เข้าใจความก็ดี ไม่มีในสภาวะ ๗ กองนั้น เพราะว่าบุคคลอาจจะเอาศาสตราอย่างคมตัดศรีษะกัน ไม่ชื่อว่าใครๆ ปลงชีวิตใครๆ เป็นแต่ศาสตราสอดไปตามช่องแห่งสภาวะ ๗ กองเท่านั้น๙

 

ตาม ข้อความข้างต้นนี้ พิจารณาได้ว่า ปกุธะ กัจจายนะ มีความเชื่อว่า ชีวิตมนุษย์ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๗ อย่าง คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม สุข ทุกข์ และชีวะ องค์ประกอบทั้ง ๗ นี้ มีอยู่เอง เที่ยง นิรันดร ไม่มีใครทำลายได้ และเป็นสภาวะที่จะแยกหรือทำให้แปรเปลี่ยนไปไม่ได้อีกเรียกว่า สัตตกายา คำว่า “กาย” ในคำว่า “สัตตกายา” นี้ มิได้หมายถึงร่างกาย (Body) แต่หมายถึงธาตุ กอง สภาวะ หมวด หมู่ และ สมุห์ (Element, Group)๑๐ ในองค์ประกอบทั้ง ๗ นี้ ธาตุ ๔ คือดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นสสารหรือเป็นรูปธรรม จัดเป็นโลก ส่วนชีวะเป็นนามธรรม จัดได้ว่าเป็นอัตตาชีวะนั้นเป็นสิ่งที่ละเอียด เป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดที่จะผ่าแล่งอีกไม่ได้ การที่เอาดาบฟันร่างกายขาดออกไป ก็มิได้เป็นการผ่าหรือทำอันตรายต่อสิ่งที่เรียกว่าชีวะเลย จึงไม่มีบาปหรือบุญ เพราะการฆ่าเหล่านั้น แม้จะมีจำนวนมากมายเพียงไรเป็นต้น ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่เรียกว่าชีวะนั้น เป็นสิ่งที่ยั่งยืนมั่นคงที่สุด และเป็นชีวะที่แท้จริง คือไม่รู้จักตาย และไม่ให้เข้าใจผิดสิ่งนี้ว่า เป็นสิ่งๆ เดียวกันกับร่างกายหรือธาตุทั้ง ๔ หรือเบญจขันธ์เป็นต้น๑๑ ส่วนองค์ประกอบอีก ๒ ที่เหลือ คือ สุขและทุกข์ ได้มีผู้วิจารณ์ไว้ว่า “น่าจะเป็นองค์ประกอบที่ทำให้องค์ประกอบทั้ง ๕ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลมและชีวะ รวมกันหรือแยกกัน องค์ประกอบที่ทำให้รวมกันก็คือสุข องค์ประกอบที่ทำให้แยกกันก็คือทุกข์”๑๒

 

บรรดา ธาตุทั้ง ๗ นี้ มีความมั่นคงอยู่ในตัวเอง ต่างหมวดต่างเป็นอิสระ ไม่ขึ้นแก่กันและทำหน้าที่ไปตามสภาวะของมัน ไม่ขึ้นกับใคร ไม่มีใครเป็นใหญ่ ไม่มีใครสร้าง ไม่มีใครบันดาล ไม่มีใครบงการ ไม่มีใครทำ ไม่มีใครรับสั่งให้ทำ ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ไม่สามารถจะยังสุขและทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่กันและกันได้ ไม่มีใครฆ่า ไม่มีใครสั่งให้ฆ่า ไม่มีใครถูกฆ่า ใครจะทำอะไรให้แก่ใครก็ไม่เป็นอันทำ สมมติว่า บุรุษคนหนึ่งใช้มีดที่แหลมคมแทงบุรุษอีกคนหนึ่งให้ถึงแก่ความตาย คนแทงมิได้ถือว่าเป็นผู้ฆ่า และคนที่ตายก็มิได้ถือว่าเป็นผู้ถูกฆ่า การที่บุรุษใช้มีดแทงเข้าไปนั้นเป็นเพียงสักว่า ธาตุชนิดหนึ่งแล่นผ่านธาตุอีกชนิดหนึ่งเข้าไปเท่านั้น เช่นเดียวกับเราใช้มีดกรีดน้ำความเห็นของปกุธะ กัจจายนะตอนนี้จัดเป็น นัตถิกวาท หรือ นัตถิกทิฏฐิ ปกุธะ กัจจายนะ มีความเห็นต่อไปอีกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของเที่ยงแท้แน่นอน ไม่แปรเปลี่ยนจากสภาวะเดิมของมันไปเป็นอย่างอื่น เช่น น้ำก็จะทรงความเป็นน้ำอยู่ตลอดไป สภาวะของน้ำก็จะทรงความเย็นอยู่เสมอ เราอาจจะต้มน้ำให้ร้อนในบางครั้งบางคราวได้ แต่อีกไม่นานน้ำร้อนก็จะกลับกลายสู่สภาวะแห่งความเย็นอีก ถ้าบุรุษต้มน้ำจนน้ำในกาเหือดแห้งไป ไอน้ำที่พุ่งออกจากหม้อน้ำก็จะพุ่งขึ้นสู่อากาศ นานเข้าก็จะจับกันเป็นกลุ่มก้อน หรือเป็นเมฆฝน แล้วก็กลับสู่

สภาวะเดิมของมันอีก แม้ธาตุอื่นๆ ก็จะทรงสภาวะของมันอยู่ตลอดไป ไม่มีการหวั่นไหว คงทน

ถาวร ดำรงมั่นเหมือนเสาเขื่อน ดังนั้น จึงเห็นว่าโลก และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในโลก ตลอดถึงสรรพสิ่ง

ทั้งหลายเป็นของเที่ยง (Eternalist) สัสสโต โลโก (The world is eternal)

 

คำ ว่า “โลก” ในที่นี้ ปกุธะ กัจจายนะหมายถึง ปรกติ ได้แก่สภาวะที่มีความเป็นอยู่ หรือเป็นอยู่โดยธรรมชาติ เช่น พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาตามสภาวะของมันเอง โดยมันเอง และเพื่อมันเอง ไม่มีใครสร้าง และทำให้เปลี่ยนไปจากสภาวะเดิมได้ พระพุทธองค์ทรงจัดว่า ลัทธิของท่านปกุธะ กัจจายนะนี้เป็น สัสสตวาทะ คือมีความเห็นว่าโลกเที่ยงและรวมทั้งลัทธิสัสสตทิฏฐิสำนักๆ อื่นด้วยที่มีความเห็นร่วมกันว่า ความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏเป็นเพียงมายาภาพ ในความเป็นจริงไม่มีความเปลี่ยนแปลง ดังจะพิจารณาได้จากข้อความต่อไปนี้

สมัย หนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน… พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรหนอมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดความเห็นขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล หญิงมีครรภ์ย่อมไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือตก สิ่งเหล่านี้ตั้งมั่นอยู่ดุจเสาระเนียด… ภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปแลมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป…เมื่อ

เวทนามีอยู่…เมื่อสัญญามีอยู่…เมื่อสังขารมีอยู่…เมื่อวิญญาณมีอยู่…จึงเกิดความเห็นขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล หญิงมีครรภ์ย่อมไม่คลอดพระจันทร์และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือตก สิ่งเหล่านี้ตั้งมั่นอยู่ดุจเสาระเนียด๑๓

ตาม ข้อความนี้จะเห็นได้ว่า ในทัศนะของกลุ่มลัทธิสัสสตทิฏฐิ เมื่อองค์ประกอบมูลฐานเป็นสิ่งไม่อาจถูกทำให้เปลี่ยนแปลงได้ ความเปลี่ยนแปลงที่เราพบเห็นในสิ่งต่างๆ จึงเป็นเพียงมายาภาพ ตัวอย่างที่ยกมาก็คือ แม่น้ำไหล แต่ตั้งมั่นอยู่ดุจเสาระเนียด อธิบายได้ว่าน้ำประกอบด้วยธาตุอันเป็นองค์ประกอบมูลฐาน ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ และลม เราเห็นในชีวิตประจำวันว่าน้ำเคลื่อนไหล เกิดความเปลี่ยนแปลงที่น้ำและแม่น้ำ แท้จริงน้ำยังเป็นเช่นเดิมคือเป็นองค์ประกอบมูลฐานเดิม มีจำนวนเท่าเดิม แม่น้ำก็เป็นเช่นนั้น แต่ที่เห็นการเปลี่ยนแปลงของน้ำ เพราะน้ำนั้นได้รวมกัน

 

ในลักษณะใหม่ จึงกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงที่เห็นเปน็ มายาภาพของน้ำ ตัวอย่างที่เหลือเช่น ลม

ไม่พัด เป็นต้นก็เป็นเช่นเดียวกัน หรือจะยกตัวอย่างให้เห็นชัดกว่านี้อีก ก็คือ ท่อนไม้ท่อนหนึ่ง ไม้

นี้ประกอบด้วยองค์ประกอบมูลฐาน คือ ดิน น้ำ ไฟ และลม องค์ประกอบมูลฐานเหล่านี้ไม่อาจถูก

ทำลายหรือทำให้เปลี่ยนไปด้วยไฟ เมื่อเรานำท่อนไม้นั้นไปเผาไฟ เกิดเป็นขี้เถ้ากองหนึ่ง นั่นไม่ได้

หมายความว่าองค์ประกอบมูลฐานได้ถูกทำลายหรือทำให้เปลี่ยนไป องค์ประกอบมูลฐานยังเป็น

เช่นเดิม มีจำนวนเท่าเดิม แต่ว่าองค์ประกอบมูลฐานได้รวมกันในลักษณะใหม่ กล่าวคือ จาก

ลักษณะที่เห็นเป็นท่อนไม้ ก็กลายเป็นลักษณะที่เห็นเป็นขี้เถ้า ดังนั้นตามทัศนะของลัทธินี้ไม้กับ

ขี้เถ้าก็เป็นสิ่งเดียวกันนั่นเอง

 

ส่วน ปรัชญาอินเดียสำนักไวเศษิกะมีความเห็นว่า อุบัติกาลของโลกก็ดี วิบัติกาลของโลกก็ดีย่อมขึ้นอยู่กับการรวมตัวกันและการแยกตัวออกของธาตุหรือ ปรมาณู ๔ อย่าง คือ ดิน น้ำ ไฟ ลมดังนั้น ทฤษฎีนี้จึงเรียกกันว่า “ทฤษฎีปรมาณูของโลก” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “นิตยปรมาณู-การ ยวาท” คือถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีมูลกำเนิดมาจากเหตุ คือปรมาณูหรือธาตุ ๔ อย่างซึ่งถือว่าเที่ยงแท้ถาวร๑๔ แต่อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีปรมาณูของไวเศษิกะยังมีข้อแตกต่างกับทฤษฎีปรมาณู (Atomictheory) ของ ปรัชญาตะวันตก เพราะไวเศษิกะมีความเห็นว่า อันการที่ปรมาณูทั้ง ๔ ชนิดจะรวมตัวเข้ากันก็ดี จะแยกจากกันก็ดีย่อมเป็นไปตามกฎทางจิต และระเบียบทางศีลธรรมอยู่ อนึ่งทรัพย์อีก๕ อย่าง คือ อากาศ กาล เทศะ มนัส และอาตมันที่ไวเศษิกะรับรองว่ามีอยู่อย่างนิรันดรนั้น ไม่ใช่เป็นปรมาณูทางวัตถุอย่างเช่น ดิน น้ำ ไฟ ลม ทั้งนี้เพราะว่าไวเศษิกะมิใช่วัตถุนิยม แต่เป็นขั้นหนึ่งของปรัชญาจิตนิยมควรทราบไว้ด้วยว่า ทฤษฎีปรมาณูของปรัชญาตะวันตกเป็นอย่างไร ต่างกับทฤษฎีของไวเศษิกะอย่างไร ตามทฤษฎีนี้ เขาอธิบายระเบียบและประวัติของโลกไว้ว่า โลกนี้เป็นผลิตผลเกิดจากการหมุนตัวเข้าหากันของปรมาณูทั้งหลายซึ่งมีอยู่ใน บรรยากาศอันหาที่สุดมิได้ และมาจากทิศทางต่างๆ กันโดยบังเอิญ ไร้จุดหมายใดๆ ทั้งสิ้น เช่นเดียวกับผลิตผลของเครื่องจักรกล และถือว่าไม่มีสิ่งมีชีวิตจิตใจหรืออำนาจอันทรงสติปัญญาใดๆ หนุนหลังและควบคุมให้ปรมาณูเหล่านี้มีปฏิกิริยาต่อกัน ปฏิบัติการของปรมาณูดังกล่าวเป็นไปตามกฎมืดบอดแบบจักรกล คือเป็นไปเองโดยบังเอิญ ปรมาณูเคลื่อนไหวอยู่เสมอ มิได้หยุดนิ่งเลย ส่วนทฤษฎีปรมาณูของไวเศษิกะมีความเห็นว่าปรมาณูนั้นโดยตัวมันเองแล้วไม่มี กัมมันตภาพ (Non-activity) และไม่เคลื่อนไหว(Motionless) และปรัชญาไวเศษิกะมีความเห็นว่าเบื้องหลังแห่งปฏิบัติการของปรมาณูทั้งหลาย มีเจตจำนงในทางก่อ (Creative Will) และเจตจำนงในการทำลาย (Destructive Will) ของพระ

มเหศวรผู้ซึ่งจะบันดาลให้เกิดการสร้างและการทำลายขึ้นตามอำนาจแห่งบุญและบาปของวิญญาณ

หรือชีวาตมันทั้งหลาย ที่ได้สะสมอบรมเข้าไว้ในชาติและภพต่างๆ และเป็นไปตามกฎแห่งกรรม ที่

จะจำแนกผลให้แก่ชีวาตมันทั้งหลาย การเคลื่อนไหวของปรมาณูเกิดขึ้นจากอำนาจของ อทฤษฏะ

(อำนาจที่มองไม่เห็น) คือ อำนาจลึกลับอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นโดยเจตจำนงของพระเจ้าพระเจ้าผู้สร้างและทำลายโลก ทำให้ปรมาณูของธาตุต่างๆ ค่อยๆ รวมตัวกันเข้า ปรมาณูของธาตุลมเริ่มเคลื่อนไหวก่อนแล้วรวมตัวกันเข้าต่อไปเป็นปรมาณูของ ธาตุน้ำ ธาตุดิน และธาตุไฟโดยลำดับ (ลม-น้ำ-ดิน-ไฟ) ทรง บันดาลให้พระพรหมเกิดขึ้นแล้วทรงมอบหน้าที่ให้พระพรหมสร้างโลกในรายระเอียด ต่อไป พระพรหมก็ได้สร้างมนุษย์สัตว์และสรรพสิ่งในโลกต่อมาการทำลายโลกของพระเจ้า นั้น จุดประสงค์เพื่อให้สัตว์ทั้งหลายได้พักผ่อน หลังจากได้ท่องเที่ยวในสังสารวัฏมาเป็นเวลานาน การสร้างและการทำลายโลกจึงหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาช่วงเวลาหลังจากทำลายแล้ว ยังไม่ได้สร้างใหม่นั้น เรียกว่า อันตรกัปป์

เมื่อ ถึงเวลาทำลายปรมาณูของธาตุดินจะแยกจากกันก่อน แล้วมาถึงปรมาณูของธาตุน้ำ ไฟและลมโดยลำดับความหลุดพ้นเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของปรัชญาสายนี้ กล่าวคือ ชีวาตมันหลุดพ้นจากอวิชชาเข้าสู่โมกษะ อวิชชาทำให้สัตว์ทั้งหลายติดข้องอยู่ในโลก เมื่อชีวาตมันรู้แจ้งซึ่งสัจธรรมแห่งชีวิตแล้วก็ละอกุศลกรรมต่างๆ ก็จะพ้นจากอวิชชาเข้าสู่โมกษะ อันเป็นการพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดและทุกข์ทั้งมวล

 

อุจเฉททิฏฐิ

อุจเฉททิฏฐิ มาจากคำ ๒ คำ คือ อุจเฉท (ขาดสิ้น, ขาดสูญ, ตัดขาด) และ ทิฏฐิ (การเห็น,ความเห็น, ลัทธิ, ทฤษฎี, ทัศนะ) หมายถึงทัศนะที่เชื่อว่าอัตตาและโลกขาดสูญ๑๕

ในพรหมชาลสูตร๑๖ พระพุทธเจ้าตรัสถึงอุจเฉททิฏฐิว่าเป็นทัศนะที่ปรารภเบื้องปลายของ

สิ่งทั้งหลาย ซึ่งทรงเรียกว่า อปรันตกัปปิกทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิแบ่งได้ ๗ อย่าง คือ

. เห็นว่า อัตตาของสัตว์และมนุษย์ มีรูป สำเร็จด้วยมหาภูตรูป ๔ เกิดแต่มารดา ตายแล้วย่อมขาดสูญ เลิกเกิดอีก

. เห็นว่า อัตตาข้างต้นยังไม่ขาดสูญ แต่อัตตาที่เป็นทิพย์ มีรูปเป็นกามาวจร กินอาหารหยาบ ตายแล้วขาดสูญ

. เห็นว่า อัตตาข้างต้นยังไม่ขาดสูญ แต่อัตตาที่เป็นทิพย์ มีรูปสำเร็จด้วยใจ ตายแล้วขาดสูญ

. เห็นว่า อัตตาข้างต้นยังไม่ขาดสูญ แต่อัตตาที่เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ (คือมีอารมณ์ว่าอากาศหาที่สุดมิได้) ตายแล้วขาดสูญ

. เห็นว่า อัตตาข้างต้นยังไม่ขาดสูญ แต่อัตตาที่เข้าถึงวิญญานัญจายตนะ (คือมีอารมณ์ว่าวิญญาณหาที่สุดมิได้) ตายแล้วขาดสูญ

. เห็นว่า อัตตาข้างต้นยังไม่ขาดสูญ แต่อัตตาที่เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ (คืออารมณ์ว่าไม่มีอะไร) ตายแล้วขาดสูญ

. เห็นว่า อัตตาข้างต้นยังไม่ขาดสูญ แต่อัตตาที่เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ (คือมีอารมณ์ว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ หมายถึงสัญญาที่ละเอียดประณีตมาก และไม่ทำหน้าที่จำได้ หมายรู้อะไร) ตายแล้วขาดสูญ

แม้ จะแบ่งออกเป็น ๗ ความเห็น แต่โดยใจความก็คือเห็นว่า อัตตาขาดสูญ ข้อที่ทำให้แตกต่างกันอยู่ที่ระดับของอัตตาเท่านั้นชาวอุจเฉททิฏฐิ มีความเชื่อว่า อัตตาที่ฝ่ายสัสสตทิฏฐิในสมัยพุทธกาลเชื่อว่าเที่ยงนั้น แท้จริงเป็นผลผลิตของสสารที่ประกอบกันขึ้นเป็นมนุษย์ สสารเหล่านี้คือธาตุ ๔ อันได้แก่ ดิน

น้ำ ไฟ และลม รวมกันได้อย่างเหมาะสม ผลที่เกิดขึ้นของการรวมตัวอย่างเหมาะสมของสสารทำ

ให้เกิดเป็นมนุษย์ที่สามารถแสดงพฤติกรรมต่างๆ ได้ เช่น รู้จักคิด มีอารมณ์ มีความรู้สึก มีความคิด

เป็นของตัวเอง เป็นต้น ดังนั้น อัตตาตามทัศนะนี้จึงไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่ได้อย่างต่างหากจากร่างกาย แต่

เป็นผลผลิตของร่างกาย เมื่อร่างกายของมนุษย์ทำลายไป มนุษย์ก็ตายลง สสารที่มาประกอบรวม

เป็นกลุ่มแยกสลายออกจากกัน อัตตาซึ่งเป็นผลผลิตก็อยู่ไม่ได้พลอยขาดสูญไปพร้อมกับการตาย

ของมนุษย์นั่นเอง ดังข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ตอนหนึ่งว่า

ภิกษุทั้งหลาย มีอยู่ สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ ๗ประการ ก็ สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าขาดสูญ บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ ๘ ประการ ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางคน ในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้

มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้มีรูปสำเร็จด้วยมหาภูตรูป ๔ มีมารดา๕๕

บิดา เป็นแดนเกิด เมื่อร่างกายทำลาย ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตายอัตตาย่อมไม่มี ท่านผู้เจริญ ด้วยอาการตามที่กล่าวนั่นแล อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยประการฉะนี้๑๗

และอีกข้อความตอนหนึ่ง นักคิดสมัยพุทธกาลที่จัดเป็นอุจเฉททิฏฐิอย่างชัดเจน คือ อชิตเกสกัมพล ได้แสดงทัศนะของตนแก่พระเจ้าอชาตศัตรู ดังนี้คนเรานี้เป็นแต่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ เมื่อตายไป ธาตุดินย่อมกลับเข้าไปสู่ธาตุดิน ธาตุน้ำย่อมกลับเข้าไปสู่ธาตุน้ำ ธาตุไฟย่อมกลับเข้าไปสู่ธาตุไฟ ธาตุลม

ย่อมกลับเข้าไปสู่ธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ คนทั้งหลายมีเตียงเป็นที่ห้าจะหามเขาไป ร่างกายปรากฏอยู่แค่ปาช้า… เพราะกายแตกสลายทั้งคนพาลและบัณฑิตย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น เบื้องหน้าแต่ตายย่อมไม่เกิด๑๘

 

ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น อุจเฉททิฏฐิเป็นปรัชญาวัตถุนิยมหรือสสารนิยม (Materialism) ที่ เชื่อว่าสสารและปรากฏการณ์ของสสารเท่านั้นเป็นจริง ชีวิตเป็นผลผลิตของการที่สสารรวมตัวกันเมื่อสสารแยกออกจากกัน ชีวิตก็ไม่มี ปฏิเสธความมีอยู่ของอัตตาอันมีอยู่อิสระจากร่างกายจากคำนิยามในตอนต้นของอุจ เฉททิฏฐิ อาจแยกกล่าวได้ว่า

. อัตตาขาดสูญ

. โลกขาดสูญ

เท่าที่อภิปรายมาเพียงแสดงให้เห็นถึงคำนิยามอย่างแรก ยังไม่ปรากฏข้อความตอนใด

อธิบาย คำนิยามอย่างที่สองที่ว่า โลกขาดสูญ ดังนั้น ผู้วิจัยจะอภิปรายให้เห็นส่วนนี้ ต่อไปด้วยทัศนะของชาวอุจเฉททิฏฐิที่เชื่อว่ามนุษย์คือกลุ่มก้อนของสสาร สิ่งที่เรียกว่าอัตตาเป็นผลผลิตของสสาร ในขณะที่คนตาย สสารที่มารวมกันแยกกระจัดกระจายออกจากกัน อัตตาซึ่งเป็นผลของการรวมตัวกันอย่างเหมาะสมของสสารก็ดับสลายไป ในกรณีเช่นนี้ทำให้เห็นว่า สิ่งที่ดับสูญไปมีเพียงอัตตาเท่านั้น ส่วนโลกซึ่งหมายถึงสสารหรือวัตถุธาตุที่ประกอบกันเป็นร่างกายและวัตถุต่างๆ รอบตัว มิได้ดับไปด้วย ดังจะเห็นได้จากข้อความที่อชิตะ เกสกัมพลได้กล่าวไว้ สรุปได้ว่า เมื่อมนุษย์ตายไปแล้ว ธาตุ ๔ ก็กลับคืนเข้าไปสู่ธาตุ ๔ ธาตุเหล่านั้นมิได้หายไปไหนเมื่อเป็นเช่นนี้ ความเชื่อที่ว่า โลกขาดสูญของชาวอุจเฉททิฏฐิจะอธิบายอย่างไร เราสามารถอธิบายได้ว่าถ้ายืนยันว่าความเชื่อดังกล่าวเป็นของชาวอุจเฉททิฏฐิ จริงไม่มีข้อผิดพลาด

โลกในความหมายว่าคือสสารหรือธาตุ ๔ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นวัตถุในจักรวาลก็อาจไม่ใช่โลกใน

ความหมายของอุจเฉททิฏฐิ แต่โดยความเป็นจริง ตามที่ได้อภิปรายในตอนต้น โลกก็ยังคงมีความ

ตามเดิมนั้น ดังนั้น ก่อนจะอภิปรายต่อไปถึงเรื่องนี้ จะยกข้อความที่เป็นความเชื่อของอชิตะ เกส

กัมพล ที่กล่าวแก่พระเจ้าอชาตศัตรู มาทั้งหมด ดังต่อไปนี้

มหาราช ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลแห่งวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มี สัตว์ผู้ผุดเกิดไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบปฏิบัติชอบ ซึ่งกระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งไม่มีในโลก คนเรานี้เป็นแต่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ เมื่อตายไป ธาตุดินไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ คนทั้งหลายมีเตียงเป็นที่ห้า จะหามเขาไป ร่างกายปรากฏอยู่แค่ป่าช้า กลายเป็นกระดูกมีสีดุจนกพิราบ การเซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้คนเขลาบัญญัติไว้ คำของคนบางคนพูดว่ามีผลๆ ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อ เพราะร่างกายสลาย ทั้งคนพาลและบัณฑิตย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น เบื้องหน้าแต่การตาย ย่อมไม่เกิด๑๙

จาก ข้อความนี้ อชิตะ เกสกัมพล ได้ปฏิเสธผลของการบูชา ผลของทานและผลของกรรมซึ่งสอนกันในสมัยพุทธกาล ปฏิเสธว่าไม่มีพ่อแม่ ซึ่งหมายความว่า ความเป็นพ่อแม่เป็นกฎทางศีลธรรมที่ทางสังคมบัญญัติขึ้น การปฏิบัติดีหรือชั่วในพ่อแม่จึงไม่มีผล เพราะคนเกิดจากการประกอบกันอย่างพอเหมาะของธาตุสี่ พ่อแม่เป็นเพียงผู้ปฏิบัติตามธรรมชาติของมนุษย์ ปฏิเสธสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้น คือไม่เชื่อว่าตายแล้วเกิดอีก แต่เชื่อว่าคนและสัตว์ทั้งหลายเมื่อตาย ชีวิตก็เป็นอันสิ้นสุดลง ไม่มีการเกิดอีก

อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับโลก ได้ปฏิเสธความมีอยู่ของโลกนี้และโลกหน้า นั่นคือ เมื่อคนตายลง ร่างกายแยกสลายไปสู่ธาตุ ๔ ตามเดิม อัตตาของเขาซึ่งเป็นผลผลิตของร่างกายก็สูญสลายตาม โลกนี้สำหรับเขาก็สูญสลายไปด้วย๒๐ เพราะเขาไม่สามารถจะรับรู้ได้อีก และโลกหน้าของเขาก็สูญสลายไปเช่นกัน เพราะอัตตาขาดสูญไปพร้อมกับการแยกสลายของร่างกายจึงไม่มีสิ่งที่จะไปเกิด ใหม่ และถึงเกิดใหม่ก็ไม่ใช่เรา เช่น ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม หรือ ๕ เติมอากาศเข้าไปด้วยไปประชุมถูกต้องตามส่วนเมื่อไร ก็เกิดมีวิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร วนเวียนกันไป เมื่อธาตุแยกจากกันไป ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ ก็เป็นดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ คงอยู่ตามธรรมดา ไม่เป็นเรา ไม่เป็นใคร แต่ถ้าไปประชุมกันเข้าใหม่ ก็เกิดวิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร ไปใหม่อีก นี้เป็นพวกอุจเฉททิฏฐิ เห็นว่าขาดสูญ๒๑ โลกหน้าซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์โลกนี้เองสำหรับเขาที่เขาจะไปอยู่จึงไม่มี

เชิงอรรถรวม

 

๙ ที.สี. /๙๗/๗๓–๗๔.

๑๐ พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ), ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย, (พระ

นคร : โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา, ๒๕๐๗), หน้า ๙๕.

๑๑ พุทธทาสภิกขุ, สุญญตา, (ไชยา : ธรรมทานมูลนิธิ, ๒๕๔๓), อ้างแล้ว, หน้า ๑๓๔.

๑๒ วิจิตร เกิดวิสิษฐ์, ปรัชญาครูหกในสมัยพุทธกาล, (กรุงเทพฯ : พรศิวการพิมพ์, ๒๕๓๑),

หน้า ๑๘

๑๓ สํ.. ๑๗/๔๑๗/๒๔๘.

๑๔ สุนทร ณ รังษี, ปรัชญาอินเดีย ประวัติและลัทธิ, พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๕), หน้า ๑๗๖.

๑๕ อภิ.สํ. ๓๔/๘๔๗/๓๒๙.

๑๖ ที.สี. /๔๙/๔๓.

๑๗ ที.สี. /๔๙/๔๓.

๑๘ ที.สี. /๙๖/๗๒.

๑๙ ที.สี. /๙๖/๗๒.

๒๐ ที.สี.. /๑๗๑/๑๔๙.

เนื้อหาโดย: ปรึกษา
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ปรึกษา's profile


โพสท์โดย: ปรึกษา
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
12 VOTES (4/5 จาก 3 คน)
VOTED: เจ้าหน่อเคน
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เปิดบ้านซุปตาร์ "ลิซ่า BLACKPINK" ที่เกาหลีใต้ มูลค่ากว่า 200 ล้าน..ฉลองวันเกิดครบ 27 ปี"ไททศมิตร" โดนโพสต์แซะว่าเป็นวงกากๆ..จ๋ายเตรียมดำเนินคดี เหตุคนโพสต์ไม่สำนึกเเอบเเซ่บ!! เมื่อเมียไม่ชอบกลิ่นเเกงหน่อไม้ ผัวที่ดีก็ต้องเอาไปนั่งกินตรงระเบียง น่าเอ็นดู😆เผยโฉมหน้า "แบงค์" ที่ "เจ๊ปิ่น ทรงหิว" เต๊าะจนสำเร็จ..งานนี้ไม่หิวอีกต่อไปแล้ว!แดนเซอร์ "ลำไย ไหทองคำ" หล่อระดับพระเอก..ค่ายเตรียมดันเป็นศิลปินแล้วแม่น้ำที่อันตรายที่สุดในโลกมอสโก เมืองหลวงที่เต็มไปด้วยเสน่ห์ของ ปะเทศ รัสเซียเกิดเหตุทะเลาะวิวาททั่วสนามบินรัวซีผู้ประกาศข่าวเตรียมตัวตกงาน..เพราะ "เนชั่นทีวี" กำลังใช้ A.I. อ่านข่าวสั้น
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เผยโฉมหน้า "แบงค์" ที่ "เจ๊ปิ่น ทรงหิว" เต๊าะจนสำเร็จ..งานนี้ไม่หิวอีกต่อไปแล้ว!กุนขแมร์โวย! หลัง ‘เสี่ยโบ้ท‘ โพสแจ้งยกเลิกการแข่งขันทั้งหมดกับเขมรกลางดึกเเอบเเซ่บ!! เมื่อเมียไม่ชอบกลิ่นเเกงหน่อไม้ ผัวที่ดีก็ต้องเอาไปนั่งกินตรงระเบียง น่าเอ็นดู😆สิ่งก่อสร้างที่มีความสูงมากที่สุดในโลก ที่ไม่ใช่ตึกระฟ้าหรืออาคารที่อยู่อาศัย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
แม่น้ำที่อันตรายที่สุดในโลก“กางเกงท้องถิ่นไทย” คุณประโยชน์ด้าน Sustainable Fashionปัญหาใหญ่ที่สุดในลาวตอนนี้ ที่อาจจะไม่สามารถเเก้ไขได้disgusting: น่าขยะแขยง น่ารังเกียจ
ตั้งกระทู้ใหม่