หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เอกายโน หนทางสายเอก นำพาชีวิตสู่ความพ้นทุกข์

Share แชร์บอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้ เนื้อหาโดย ปรึกษา
เอกายโน หนทางสายเอกนำพาชีวิตสู่ความพ้นทุกข์

 

อจ. ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

คำว่า เอกายโน ตามที่พระอรรถกถาจารย์แสดง ว่า บรรดาที่เป็นพระบาลีบทที่ว่า เอกายโน แปลว่าหนทางสายเอก ความจริงชื่อของหนทางมีมาด้วยกันหลายชื่อ เช่นอย่างที่ท่านประพันธ์คาถาที่ว่า

มคฺโค ปนโถ ปโถ ปชฺโช

อญฺชสึ วฏุมํ อายน นาวา

อุตฺตร เสตุ กุลฺโล ภิสิ สงกโมฺ .

คำที่ว่าทางนี้นั้น ในพระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชื่อว่า อายน เพราะเหตุนั้น ในพระบาลีที่ว่า เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค นี้ ท่านผู้ศึกษาควรทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนทางสายนี้ เป็นทางสายเอก (คือสายเดียว) มิ ใช่เป็นทางสองแพร่ง อีกประการหนึ่งที่ชื่อว่า เอกายน ก็เพราะเป็นทางที่คน ๆ เดียวพึงไปได้ อธิบายว่าคำที่ว่า คน ๆ เดียว นั้น หมายถึงคนที่ละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะแล้ว หลีกออกเป็นคนมีจิตใจสงัดจะพึงไปได้ คือ - พึงปฏิบัติ , หรือประชาชนจะไปได้ด้วยทางสายนี้ เหตุนั้น ทางสายนี้ จึงชื่อว่า อยน หมายความว่าออกไปจากสงสารมุ่งสู่พระนิพพาน หนทางเป็นที่ไปของท่านผู้เป็นเอกชื่อว่า เอกายน

ท่านอาจารย์ธรรมปาละเถระได้ให้คำอธิบายไว้ว่าในคำที่ว่า เอกายน นี้ ควรทราบวินิจฉัยว่า ศัพท์ว่า อยน เป็นปริยายของคำว่า มคฺค ยังไม่หมดเพียงแค่ อยน เท่านั้น โดยที่แท้ แม้ศัพท์เหล่าอื่นอีกเป็นอันมากก็เป็นปริยายของคำว่า มรรค เพราะเหตุนั้น เมื่อจะทำการยกบทขึ้นแสดงจึงกล่าวว่า มคฺคสฺส ดังนี้ เป็นต้นไว้ แล้วจึงกล่าวคำว่า ตสฺมา เป็นต้นต่อไป หมายถึงคำโจษว่า ถ้าว่าศัพท์ว่า “อยน” เป็นปริยายของคำว่า มคฺค เพราะเหตุไร จึงได้กล่าวคำว่า มคฺโค ไว้อีกเล่า ? ในบทเหล่านั้น บทว่า เอกมคฺโค คือ - หน ทางสายเดียวเท่านั้น อธิบายว่า หนทางเป็นที่ไปสู่พระนิพพานสายอื่น ย่อมไม่มีแน่นอน ถามว่า พระผู้มีพระภาคทรงพระประสงค์เอาสติปัฏฐานว่าเป็นมรรคในสูตรนี้, และมรรคธรรมทั้งหลายเป็นอันมากที่นอกจากสติปัฏฐานนั้นก็มีอยู่มิใช่หรือ ?ตอบว่า จะมีอยู่ก็จริงแต่ธรรมเหล่านั้น ทรงจัดไว้ด้วยศัพท์ว่าสติปัฏฐานโดยเฉพาะเท่านั้น เพราะเว้นจากสติปัฏฐานนั้นเสียย่อมมีไม่ได้ พึงทราบสันนิษฐานว่า จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคทรงตรัสธรรมทั้งหลายมีญาณและวิริยะเป็นต้น ไว้ในนิทเทส, แต่ใน อุเทส ทรงจัดเอาแต่สติเท่านั้น ด้วยอำนาจแห่งอัชฌาสัยเวไนยสัตว์ พระอรถถกถาจารย์ท่านแสดงถึงความมีและความไม่มีของมรรคนี้ เหมือนกับแสดงถึงความีและความไม่มีของทางเป็นอันมากไว้ในบทว่า น ทวิธาปถภูโต ซึ่งแปลว่า มิใช่เป็นทางสองแพร่งดังนี้ไว้ บทว่า เอเกน แปลว่า ไม่มีสหาย อธิบายว่าก็ความที่เป็นคนไม่มีสหาย มีสองอย่างคือด้วยความแห่งไม่มีแห่งความเป็นผู้มีตัวตนเป็นที่สองก็ได้, หรือโดยความไม่มีแห่งความเป็นผู้มีตัณหาเป็นที่สอง, อย่างที่ท่านกล่าวว่า ความเป็นผู้มีกายอันหลีกออกแล้ว,และ ความเป็นผู้ที่มีจิตสงัดแล้ว ดังนี้ เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า เป็นผู้หลีกออกแล้วมีจิตสงัดแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นเอก อย่างในประโยคที่ว่า เราผู้เดียวจะทำให้แก่พวกเธอซึ่งเป็นชนเหล่าอื่นเพียงใดดังนี้เป็นต้น ท่านจึงกล่าวว่า เอกสฺสาติ เสฏฐสฺสาติ ซึ่งแปลว่า บทที่ว่า เอกสฺส แปลว่า ผู้ประเสริฐ

ผิว่า หนทางซึ่งมีอรรถว่าสลัดออกคือมีอรรถว่าเป็นที่ไปจากสงสาร จะพึงเป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้อย่างไร เพราะเป็นที่ทั่วไปแก่ชนทั้งหลายแม้เหล่าอื่นผู้ที่สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กิญจาปิ เป็นต้นไว้ ศัพท์ว่า โข ในคำว่า อมสฺมึ โข นี้ ย่อมลงในความเป็น อวธารณะ, ความ ว่า เพราะเหตุนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมจะมีได้ในพระธรรมวินัยนี้เท่านั้น ก็อันนี้เป็นความแตกต่างของเทศนาเท่านั้น บทที่ว่านี้จึงเป็น มคฺโค ก็ได้ เป็น อนโย ก็ได้ อีกประการหนึ่ง ศัพท์ว่า อยน เป็นศัพท์จำแนกให้รู้ว่าเป็นกรรมและกรรณะเป็นต้น เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า อตฺถโต ปน เอโก วาติ ซึ่งแปลว่า ว่ากันโดยใจความแล้วก็เป็นอันเดียวกันนั่นเอง

ส่วนนัยของมัชฌิมนิกาย ก็มีเนื้อความใกล้เคียงกันมากว่า ในพระบาลีเหล่านั้นบทนั้นบทว่า เอกายโน แปลว่าเป็นทางสายเอก ความจริงชื่อของทาง ย่อมมีอยู่มากชื่อด้วยกันเช่น คำว่า

มคฺโค ปนฺโถ ปโถ ปชฺโช อญชสํ วฏุมายนํ

นาวา อุตตรเสตู จ กุลฺโล จ ภิสิสงฺกโม.

ศัพท์ ที่ว่าทาง ๆ นี้ ในพระสูตรนี้ ตรัสไว้โดยชื่อว่า อยนะ เพราะเหตุนั้น ในพระบาลีที่ว่า เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค นี้ ผู้ศึกษาควรทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนทางสายนี้เป็นทางสายเดียว, มิใช่เป็นทางสองแพร่ง

อีกประการหนึ่ง ที่ชื่อว่า เอกายโน เพราะจะพึงไปได้ด้วยบุคคลเพียงคนเดียว, ขยาย ความต่อไปว่า คำที่ว่า คน ๆ เดียว นั้น หมายถึงคนที่ละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะแล้วหลีกออกไป มีจิตสงบสงัด คำที่ว่า ควรไป นั้น หมายความว่า ควรปฏิบัติ

อีกประการหนึ่ง พระโยคาวจรทั้งหลาย ย่อมไปได้ด้วยหนทางสายนี้ เพราะเหตุนั้น ทางสายนี้ จึงชื่อว่า อยน อธิบายว่า ออกจากสงสาร (คือการท่องเที่ยว) ไป สู่พระนิพพาน ดังนี้ หนทางเป็นที่ไปของท่านผู้เป็นเอก จึงชื่อว่า เอกายโน บทว่า เอกสฺส แปลว่า ท่านผู้ประเสริฐ อันที่จริงพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ที่ประเสริฐที่สุดกว่าสรรพสัตว์ทั้ง หลาย เพราะเหตุนั้น จึงพูดหมายถึงว่าเป็นหนทางที่เสด็จไปของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันที่จริง ถึงชนเหล่าอื่น จะพากันไปได้ด้วยทางสายนั้นก็จริง แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ หนทางสายนั้นก็ยังชื่อว่าเป็นที่เสด็จไปของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่นั่นเอง เพราะเหตุว่า เป็นหนทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงแผ้วถางให้เกิดขึ้นก่อนนั่น เอง ข้อนี้สมกับพระบาลีที่ตรัสไว้ ว่า

ดูก่อนพราหมณ์ ด้วยเหตุว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ถางทางที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นดังนี้เป็นต้น

อีก อย่างหนึ่ง หนทางใด ย่อมไปเหตุนั้น หนทางนั้นชื่อว่า อยน อธิบายว่า ย่อมดำเนินไป คือ ย่อมเป็นไป หนทางซึ่งไปในที่แห่งเดียว เหตุนั้นหนทางนั้นจึง ชื่อว่า

เอกายน มีคำที่ท่านอธิบายไว้ว่า ย่อมเป็นไปในพระธรรมวินัยนี้เท่านั้น, หาเป็นไปในคำสอนอื่นไม่ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ ว่า ดูก่อนสุภัททะ พระอริยมรรคที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมจะหาได้ในพระธรรมวินัยนี้เท่านั้น ดังนี้ แท้จริง ข้อความตามที่ได้ยกมานี้จะแตกต่างกันโดยเทศนาเท่านั้น แต่จะว่ากันโดยสภาวะแล้ว ก็เป็นอันเดียวนั่นเอง อีกอย่างหนึ่ง หนทางใด ย่อมไปสู่แห่งเดียว เหตุนั้น หนทางนั้นชื่อว่า เอกายน มีคำอธิบายว่า แม้ในข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้น จะเป็นไปโดยนัยแห่งการเจริญสติปัฏฐานต่าง ๆ กันก็ตาม แต่ในข้อปฏิบัติที่สูง ๆ ขึ้นไป ก็ย่อมจะไปสู่จุดเดียวคือพระนิพพานเหมือนกัน เหมือนอย่างที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระหฤทัยเปี่ยมไปด้วยพระมหา กรุณาทรงตามอนุเคราะห์สัตว์โลกด้วยการประทานประโยชน์ให้ผู้ทรงมีปกติเห็นพระ นิพพานอันเป็นที่สิ้นไป แห่งชาติความเกิด ทรงทราบชัดถึงหนทางเป็นที่ไปอันเอกว่า พระอริยเจ้าทั้งหลายเหล่าใด ในปางก่อน ข้ามพ้นโอฆะไปแล้วก็ดี จักข้ามโอฆะในอนาคตก็ดี กำลังจะข้ามโอฆะในปัจจุบัน นี้ก็ดี พระอริยเจ้าเหล่านั้น จะข้ามพ้นโอฆะไปได้ก็ด้วยหนทางอันประกอบไปด้วยองค์ ๘ อย่างประเสริฐสายนี้ ดังนี้

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เพราะพระโยคาวจร จะไปสู่พระนิพพานได้เพียงครั้งเดียว โดยนัยแห่งคาถาที่ว่าชนทั้งหลาย จะไปสู่ฝั่งสองครั้งไม่ได้ ดังนี้เป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงควรแปลว่า เป็นที่ไปครั้งเดียว คำที่พระอาจารย์บางพวกกล่าวนั้น ย่อมไม่สมควร เพราะว่า อันพยัญชนะที่ว่า สกึ อยโน ที่แปลว่า เป็นที่ไปครั้งเดียว นี้ ของใจความนี้ก็จะพึงมีได้ ก็ถ้าว่า จะพึงมีบุคคลประกอบเนื้อความพูดขึ้นอย่างนี้ว่า มรรคนั้น เป็นที่ไปครั้งเดียว คือ ไปคราวเดียว เป็นไปครั้งเดียวดังนี้ไซร้ พยัญชนะก็ควรจะถูก แต่เนื้อความย่อมไม่ถูกแม้โดยประการทั้งสอง ๒ มติ ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่ถูก ?ตอบ ว่า เท่าที่ไม่ถูกทั้งสองมตินั้นก็เพราะในสติปัฏฐานสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประสงค์เอาปุพพภาคมรรค ก็สติปัฏฐานที่เป็นข้อปฏิบัติในส่วนเบื้องต้น เกิดได้ในอารมณ์ ๔ ประการ มีกายเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประสงค์เอาแล้ว ในสติปัฏฐานสูตรนี้ หาได้ทรงประสงค์เอาสติปัฏฐานที่เป็นโลกุตระไม่ และสติปัฏฐานที่เป็นข้อปฏิบัติส่วนเบื้องต้นนั้น ย่อมเป็นไปได้ แม้หลายครั้ง และความเป็นไปของปุพพภาคสติปัฏฐานนั้น ไม่ใช่จะเกิดมีได้เพียงครั้งเดียว (หมายความว่า การเจริญสติปัฏฐานในตอนต้น ๆ จะต้องทำสติให้เกิดขึ้นมากครั้งนั่นเอง)

นอกจากนี้ ท่านอาจารย์ธรรมปาละเถระยังได้ให้คำอธิบายไว้ ว่า คำของพระมหาพุทธโฆษาจารย์ที่ว่า นานามุขภาวนานยปฺปวตฺโต ที่แปลว่า เป็นไปแล้วโดยนัยแห่งการเจริญสติซึ่งมีอารมณ์ต่าง ๆ กัน นั้น มีอธิบายว่า เป็นไปแล้วโดยสติปัฏฐานมีกายานุปัสสนาเป็นต้น หมายความว่า เป็นไปแล้วโดยนัยแห่งการเจริญสติในบรรดากาย ๑๔ บรรพเหล่านั้น มีอานาปานเป็นต้นเป็นอารมณ์ บทว่า เอกายนํ แปลว่าเป็นไปถึงที่แห่งเดียว อธิบายว่า เป็นที่ไปถึงพระนิพพาน ดังนี้ อันที่จริงพระนิพพานท่านกล่าวว่าเป็นธรรมอันเอก เพราะไม่ใช่เป็นที่สอง และเป็นธรรมที่ประเสริฐสุด เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ ว่า พระนิพพานเป็นสัจจธรรมอย่างเดียวเท่านั้น มิได้มีธรรมอื่นเป็นที่สอง และตรัสไว้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมะทั้งหลาย ทั้งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง หรือไม่มีปัจจัยปรุงก็ตาม มีประมาณเท่าใด เราตถาคต ย่อมกล่าวว่า วิราคธรรม เป็นยอดของธรรมเหล่านั้น (อัน นี้หมายความว่านามจิต ๘๙ นามเจตสิก ๕๒ และ รูป ๒๘ เป็นธรรมะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งทั้งนั้น ส่วนพระนิพพานและบัญญัติ เป็นธรรมะที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น วิราคธรรมคือพระนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสยกย่องว่าเป็นยอดกว่า สังขตธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งคือ จิต เจตสิก และรูป และเป็นยอดกว่าอสังขตธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งคือบัญญัติ เพราะบัญญัติธรรม ไม่มีสภาวะคือความจริงเป็นเครื่องยืนยัน แต่เป็นเพียงสมมติ บัญญัติให้เป็นที่สังเกตของชาวโลกเท่านั้น)

แม้ในมูลปัณณาสฎีกา ฉบับหังสาวดี หน้า ๓๔๓ เริ่มตั้งแต่บรรทัดต้นไปก็มีข้อความเป็นอย่างเดียวกับทีฆนิกาย มหาวรรคฎีกานี้ เพราะเป็นข้อความที่ท่านอาจารย์ธรรมปาละแต่งเหมือนกันนั่นเองรวมความคำว่า เอกายน

. คำว่า เอกายน นั้น แปลว่า เป็นหนทางสายเดียว ก็ได้

แปลว่า เป็นหนทางที่ผู้ไปจะต้องหลีกออกจากหมู่ไปแต่ผู้เดียว หรือผู้ที่จะไปต้องเป็นคนที่ไม่มีตัณหาเป็นเพื่อนสองจึงจะไปได้

แปลว่า เป็นหนทางของท่านผู้ที่เป็นเอกคือ พระผู้มีพระภาคเจ้า

แปลว่า เป็นหนทางที่มีอยู่ในคำสอนแห่งเดียวคือ พระธรรมวินัยนี้เท่านั้น

แปลว่า เป็นที่ไปสู่ที่แห่งเดียวคือพระนิพพานเท่านั้น

อธิบายคำว่า มคฺโค ตามที่มาต่างๆ

คำว่า มคฺโค บทนี้ พระมหาพุทธโฆษาจารย์ ได้ขยายความไว้ ว่า

เพราะอรรถว่า อะไร จึงชื่อว่า มรรค ? ไว้เป็นสองนัย

- ที่ชื่อว่า มรรค เพราะอรรถว่าเป็นที่ไปสู่พระนิพพานหนึ่ง

- ที่ชื่อว่า มรรค เพราะอรรถว่าเป็นหนทางที่

เหล่าชนผู้ที่ต้องการพระนิพพานควรแสวงหาหนึ่งในตอนนี้ ท่านอาจารย์ธรรมปาละเถระ ได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ หน่อยหนึ่งว่า นิพฺพานคมนฏฺเฐน มีความว่าพระโยคาวจร จะไปคือ บรรลุถึงพระนิพพานได้ก็ด้วยหนทางสายนี้ เพราะเหตุนั้น หนทางสายนี้ จึงชื่อว่า เป็นเครื่องดำเนินไปสู่พระนิพพาน, หนทางนั้น เท่านั้น เป็น.ประโยชน์ เพราะมีสภาพไม่เปลี่ยนแปลง, เพราะอรรถว่าหนทางนั้นเป็นเครื่องไปสู่พระนิพพาน, อธิบายว่าเป็นอุบายเครื่องบรรลุถึงพระนิพพาน

บทว่า มคฺคียฏเฐน แปลว่า เพราะเป็นหนทางที่ผู้ต้องการทั้งหลายควรแสวงหา บาลีว่า คมนียฏเฐน ดังนี้ก็มี , ความว่า เพราะเป็นหนทางที่พระโยคาวจรถึง ดังนี้

ส่วนในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ฉ. /๑๘ คำว่า มคฺโค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นอุบายเครื่องบรรลุ

ส่วนในวิสุทธิมรรคมหาฎีกาชื่อ ปรมัตถมัญชูสา ๑//๒๑ ท่านอาจารย์ธรรมปาละเถระได้ให้คำอธิบายไว้ว่า ที่ชื่อว่า มรรค เพราะเป็นเหตุไปคือเป็นเหตุให้เป็นไป ด้วยอำนาจแห่งการฆ่าสังกิเลสทั้งหมดให้ตาย, เพราะเป็นเหตุไปสู่พระนิพพาน, และเพราะเป็นหนทางที่พระโยคาวจรทั้งหลายผู้ที่ต้องการพระนิพพานพึงแสวงหากัน อธิบายว่า สตฺตานํ วิสุทฺธิยา ตามที่มาต่าง ๆ

เนื้อหาโดย: ปรึกษา
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ปรึกษา's profile


โพสท์โดย: ปรึกษา
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
12 VOTES (4/5 จาก 3 คน)
VOTED: แมวล่ะเบื่อ, คำผาด
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
โป๊ะแตกอีก! เมื่อเขมรพยายามตัดต่อวิดีโอเพื่อใช้อ้างว่า "สงกรานต์" คือของเขมรแต่โบราณ?สลดหนุ่มติดตั้งเครื่องปั้มน้ำเชือกขาดพลัดตกบ่อดับ 2แดนเซอร์ "ลำไย ไหทองคำ" หล่อระดับพระเอก..ค่ายเตรียมดันเป็นศิลปินแล้วเผยโฉมหน้า "แบงค์" ที่ "เจ๊ปิ่น ทรงหิว" เต๊าะจนสำเร็จ..งานนี้ไม่หิวอีกต่อไปแล้ว!นักดื่มกระทิงแดง กำลังมองหากระป๋อง ที่มีจุดสีน้ำเงินอยู่ข้างใต้ปรี๊ดเลย! "ครูไพบูลย์" โดนแซวว่าเล็ก..โต้กลับทันที "ผมเล็กหรือคุณโบ๋" กันแน่เลขมงคลเลขวันเกิดพระราชวงศ์ เลขเด็ด 1 เมษายน 2567รถไฟเหาะที่เร็วสุดในโลก! ประกาศปิดถาวร หลังมีคนกระดูกคอหักหลายรายแม่น้ำที่อันตรายที่สุดในโลก
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เมื่อท่านรมต.ลาว เม้นแซะไทย ลั่น ถึงลาวไม่หลุดพ้นจากประเทศด้อยพัฒนา..แต่ลาวไม่มีขอทานแบบไทย!?"ศรีสุวรรณ" รีเทิร์น ลุยฟ้อง ครม.-มท.1 ใช้อำนาจโดยมิชอบก่อสร้างถนนผ่านสวนเฉลิมพระเกียรติ ขัดต่อกฎหมายปรี๊ดเลย! "ครูไพบูลย์" โดนแซวว่าเล็ก..โต้กลับทันที "ผมเล็กหรือคุณโบ๋" กันแน่นักดื่มกระทิงแดง กำลังมองหากระป๋อง ที่มีจุดสีน้ำเงินอยู่ข้างใต้
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
รถไฟฟ้าใต้ดินสายแรก ที่สร้างเสร็จและเปิดใช้งานในประเทศไทยอุกกาบาตลูกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยถูกค้นพบบนพื้นผิวโลกราคาบ้านไม่ลด ความต้องการที่อยู่อาศัยไม่ลดสืบสานประเพณีเช็งเม้งของคนไทยเชื้อสายจีน
ตั้งกระทู้ใหม่