หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

กรรมมีความสัมพันธ์กับความเป็นไปของชีวิตได้อย่างไร

เนื้อหาโดย ปรึกษา
กรรมมีความสัมพันธ์กับความเป็นไปของชีวิตได้อย่างไร

 

อจ. ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

 

ตาม หลักคำสอนของพุทธศาสนา ถือว่า ตราบใดที่บุคคลยังมีกิเลสอยู่เขาย่อมต้องทำกรรมดีบ้างชั่วบ้างเป็นธรรมดา กรรมดีย่อมมีวิบากคือผลดี กรรมชั่วย่อมมีวิบากหรือผลชั่ว ผลดีก่อให้เกิดความสุข ผลชั่วย่อมก่อให้เกิดความทุกข์ ดังนั้น สุข ทุกข์เหล่านี้ย่อมมีชาติคือความเกิดเป็นที่รองรับปราศจากความเกิดเสียแล้ว สิ่งที่รองรับสุขทุกข์ย่อมไม่มี กรรมก็เป็นหมันไม่มีผลอีกต่อไปอย่างไรก็ตาม กรรมทุกอย่างจะให้ผลก็ต่อเมื่อได้โอกาสเท่านั้น กล่าวคือ ต้องถึงความพร้อมด้วยปัจจัย ๔ คือ คติ อุปธิ กาละ และปโยคะ เท่านั้นซึ่งปัจจัยทั้ง ๔

 

การให้ผลของกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย ๔ อย่าง เมื่อกรรมที่ทำให้เสวยอารมณ์อันไม่น่าพึง

ปรารถนามีอยู่แต่คนนั้นไปเกิดในสุคติภพเสีย อย่างนี้เรียกว่า บาปกรรมถูกขัดขวางด้วยคติสมบัติจึงยังไม่ให้ผลคนใดบังเกิดในท้องของนางทาสี หรือหญิงชั้นกรรมกรด้วยบาปกรรมของตน แต่เป็น

บุคคลที่มีร่างกายสมบูรณ์ถึงพร้อมด้วยรูปสมบัติ บุคคลผู้เป็นนายของนางทาสีหรือหญิงกรรมกร

นั้น ได้เห็นรูปสมบัติของบุคคลนั้นแล้ว ก็ย่อมจะคิดว่า คนนี้ไม่สมควรที่จะทำงานที่ต่ำ แล้วจึงแต่งตั้งเขาไว้ในตำแหน่งที่ดีๆ เช่น ให้เป็นผู้รักษา ดูแลรักษาทรัพย์สมบัติ เลี้ยงดูอย่างดี เสมือนกับว่าเป็นบุตรของตนเอง บาปกรรมของบุคคลเช่นนี้ เรียกว่า ถูกขัดขวางด้วยอุปธิสมบัติ จึงยังไม่ให้ผล

คน ใดบังเกิดในกาลสมัยที่สมบูรณ์ด้วยรสและอาหารหาได้โดยง่าย เช่น ในสมัยครั้งปฐมกัลป์ บุคคลนั้นแม้จะมีบาปกรรมอยู่ แต่กรรมนั้นถูกขัดขวางด้วยกาลสมบัติ จึงยังไม่ให้ผลคนใดเข้าใจประกอบกิจการงานให้ถูกกาลเทศะ เวลาใดควรจะถอยห่าง ก็ถอยห่าง เวลาใดควรจะหนี ก็หนี เวลาใดควรจะให้สินบน ก็ให้สินบน เวลาใดควรจะประกอบโจรกรรมก็กระทำโจรกรรม บุคคลที่ทำอะไรได้เหมาะสมกับเหตุการณ์นั้นๆ อย่างนี้ เรียกว่า ถึงพร้อมด้วยปโยคสมบัติ สำหรับบุคคลที่ถึงพร้อมด้วยปโยคสมบัติ แม้จะมีบาปกรรมอะไรอยู่ แต่ในเมื่อบาปกรรมนั้นถูกขัดขวางด้วยปโยคสมบัติเช่นนี้ ก็ย่อมจะยังไม่ให้ผล

คน ที่ทำบาปกรรมไว้ เมื่อไปเกิดในทุคติภพ บาปกรรมนั้นจึงจะให้ผล อย่างนี้เรียกว่าบาปกรรมให้ผลเพราะอาศัยคติวิบัติคนใด เมื่อเกิดในท้องของนางทาสีหรือหญิงกรรมกร ด้วยบาปกรรมของตน เมื่อเกิดมาแล้วก็เป็นคนมีรูปชั่วมีผิวพรรณและทรวดทรงไม่น่าดูเลย จนคนทั้งหลายเกิดความสงสัยว่า เจ้าคนนี้มันเป็นยักษ์หรือเป็นมนุษย์กันแน่ ถ้าหากเป็นชาย เขาก็จะให้ทำงาน เช่น เลี้ยงช้าง เลี้ยงม้า เลี้ยงโค หา

หญ้า ผ่าฟืน เทกระโถน ถ้าเป็นหญิง เข้าก็จะให้หุงอาหารเลี้ยงคน หรือให้หาอาหารมาเลี้ยงสัตว์ ให้

เป็นคนเทหยากเยื่อ หรือให้ทำงานอย่างอื่นๆ ที่น่ารังเกียจ คนที่ทำบาปกรรม เมื่อเกิดมาเป็นคนรูป

ชั่ว เช่นนี้ บาปกรรมนั้นจึงจะให้ผล อย่างนี้เรียกว่า บาปกรรมให้ผล เพราะอาศัยอุปธิวิบัติคนใดเกิดในสมัยทุพภิกขภัย หรือในสมัยที่เกิดความวิบัติต่างๆ บุคคลที่ทำบาปกรรมไว้เมื่อเกิดในสมัยเช่นนี้ บาปกรรมนั้นจึงจะให้ผล อย่างนี้เรียกว่า บาปกรรมให้ผลเพราะอาศัยกาลวิบัติ

บุคคลใดไม่รู้จักกาลเทศะ ที่จะประกอบกรรม เวลาใดควรจะเข้าหาใคร ก็ไม่เข้าหา เวลาใด

ควรจะถอยห่างจากบุคคลและและเหตุการณ์ที่ควรจะถอย ก็ไม่ถอย บุคคลเช่นนี้เรียกว่า มี

ปโยควิบัติ สำหรับบุคคลที่มีปโยควิบัติ เมื่อได้ทำบาปกรรมอะไร บาปกรรมนั้นย่อมจะให้ผล อย่าง

นี้เรียกว่า บาปกรรมให้ผลเพราะอาศัยปโยควิบัติ

เมื่อกรรมที่จะทำให้เสวยอารมณ์ ที่น่าพึงปรารถนา พึงมีอยู่ แต่เขาไปเกิดในทุคติภพเสีย

กุศล กรรมของเขา เมื่อถูกขัดขวางด้วยคติวิบัติเช่นนี้ ย่อมจะยังไม่ให้ผลคนใด ด้วยอานุภาพแห่งบุญทำให้เขาไปเกิดในราชวัง หรือในเคหสถานของมหาอำมาตย์แต่เป็นคนตาบอดหรือเป็นคนกระจอกงอกง่อย เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ย่อมจะไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุปราช เสนาบดี หรือเป็นขุนคลัง สำหรับบุคคลเช่นนี้ บุญของเขาก็ย่อมจะยังไม่ให้ผล เพราะถูกขัดขวางด้วยอุปธิวิบัติ

 

คนใด เกิดในสมัยทุพภิกขภัย หรือในสมัยแห่งความวิบัติต่างๆ กุศลกรรมของเขา เมื่อถูก

ขัดขวางด้วยกาลวิบัติเช่นนี้ย่อมจะยังไม่ให้ผล

ส่วนคนใด ไปเกิดในสุคติภพด้วยกุศลกรรม กรรมของเขาเมื่อได้อาศัยคติสมบัติเช่นนี้ ก็ย่อมจะให้ผล

คน ใดเกิดในราชตระกูล หรือในตระกูลของมหาอำมาตย์เกิดมาแล้ว ก็เป็นคนถึงพร้อมด้วยรูปสมบัติราวกับเทพบุตรในสวรรค์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ย่อมจะได้รับตำแหน่งที่ดี ตั้งแต่ยังหนุ่มๆ เช่นอุปราช เสนาบดี หรือขุนคลัง เป็นต้น กุศลกรรมของคนเช่นนี้ ย่อมให้ผล เพราะได้อาศัยความถึงพร้อมด้วยรูปสมบัติคนใดเกิดในสมัยที่ข้าว ปลา อาหาร หาได้ง่ายดังเช่นในสมัยปฐมกัลป์ กุศลกรรมของบุคคล

เช่นนี้ ย่อมให้ผลเพราะได้อาศัยกาลสมบัติ

คนใดรู้จักกาลเทศะ ที่จะประกอบกิจต่างๆ กุศลกรรมของเขา ย่อมจะให้ผล เพราะได้

อาศัย ปโยคสมบัติจากคำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์ดังกล่าวมา มีปราชญ์ทางพระพุทธศาสนายุคปัจจุบันได้ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นที่ ว่า กรรมมีความสัมพันธ์กับความเป็นไปของชีวิตได้อย่างไร ไว้ว่า ๓ ลำพังกรรมล้วนๆ อย่างเดียวย่อมไม่ให้ผล กรรมจะให้ผลก็ต่อเมื่อได้อาศัยปัจจัยอีก ๔ อย่าง ที่

เหมาะแก่กรรมนั้นๆ เช่นเดียวกับลำพังพืชอย่างเดียว ย่อมจะเกิดไม่ได้ พืชจะเกิดได้ต้องอาศัยดิน ฟ้า

อากาศ ที่เหมาะแก่มัน เรื่องกรรมเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก ตามหลักพุทธศาสนา สาเหตุแห่งกรรมก็คือ เจตนา วิบากของกรรม ก็คือ สมรรถภาพ หรือ ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับวิญญาณ วิญญาณเป็นสิ่งที่ซับซ้อนอย่างไร เรื่องกรรมก็เป็นสิ่งที่ซับซ้อนอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นการแปลกที่คนดีอาจจะไปเกิดในที่ชั่ว และคนชั่วอาจจะไปเกิดในที่ดี ดังเช่น คนดีอาจจะไปคบกับคนชั่วได้ในบางครั้ง และคนชั่วก็อาจจะไปคบหาสมาคมกับคนดีได้ในบางครั้ง ทั้งนี้ เพราะการที่คนเราจะไปเกิดเป็นอะไรในชาติต่อไปนั้น ความสำคัญอยู่ที่สันดานและวิบาก กล่าวคือ ความรู้สึกที่ปรากฏเป็นครั้งสุดท้าย ในห้วงนึกแห่งภวังคจิต ในขณะที่จวนจะดับจิต ในขณะนี้ ถ้ามีความรู้สึกดีก็ได้ไปเกิดในที่ดี ถ้ามีความรู้สึกชั่ว ก็ไปเกิดในที่ชั่ว จะไปเกิดที่ดีหรือชั่วมากน้อยแค่ไหน อย่างไร ก็สุดแล้วแต่ความดีความชั่วนั้นๆ จะมีปริมาณมากน้อยแค่ไหน และเป็นประเภทอะไร เช่นตัวอย่างที่แสดงไว้ในคัมภีร์ว่า ผู้ได้ฌาน เมื่อดับจิตลงในขณะจิตยังไม่เสื่อมจากฌาน ถ้าฌานนั้นเป็นปฐมฌาน ก็ได้ไปเกิดในพรหมโลก ภูมิปฐมฌาน ผู้ที่เป็นพระอนาคามีตายแล้วย่อมไปเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาสดังนี้เป็นต้น แม้ในฝ่ายอกุศล ก็มีหลักอย่างเดียวกันนี้เหมือนกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า คนเราเมื่อตายแล้ว ย่อมไปเกิดตามควรแก่กรรมของตัวเอง

อนึ่ง พึงทราบว่าวิบากกรรมอันใดนำวิญญาณไปปฏิสนธิ วิบากของกรรมอันนั้นจะเป็นผู้วางรากฐานให้กับชีวิตนั้น เมื่อรากฐานมีอยู่อย่างไร ตลอดทั้งชีวิตของคนๆ นั้น จะสังเกตได้ว่าสันดานส่วนใหญ่ของคนๆ นั้นจะมีลักษณะอย่างเดียวกับภาวะของจิตก่อนที่จะจุติในชาติก่อน ข้อนี้สมกับที่พระอนุรุทธาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญในอภิธรรมได้กล่าวไว้ว่า “ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิตเป็นจิตมีลักษณะอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกัน ในชาติหนึ่ง”๔

เพราะ เหตุที่สภาพของร่างกาย เป็นเครื่องแสดงออกซึ่งสภาพแห่งวิญญาณ ฉะนั้น สภาพแห่งร่างกาย บุคลิกภาพของคนๆ นั้น ย่อมจะเป็นไปตามอิทธิพลแห่งสันดานเดิม ตัวอย่างเช่นสภาพแห่งร่างกาย และบุคลิกภาพของพระพุทธองค์ย่อมแสดงให้แลเห็นถึงสภาพแห่งวิญญาณอันเต็ม เปี่ยมมาแล้วด้วยบารมีทั้ง ๑๐ คนที่มีสันดานชั่วร้ายสืบเนื่องมาแต่ชาติก่อน ก็จะมีใบหน้าหรือท่าทางที่ส่อว่า มีลักษณะเป็นผู้ร้าย แต่อย่างไรก็ดี ในการที่จะวินิจฉัยสภาพของร่างกายนั้น อย่าลืมว่า เราจะต้องแบ่งสาเหตุออกเป็น ๓ อย่าง คือ๕

. กรรมพันธุ์ที่สืบเนื่องมาจากพ่อแม่

. สภาพของสิ่งแวดล้อม

. สภาพของวิญญาณที่มาปฏิสนธิ

ซึ่ง ชีวิตของแต่ละบุคคลจะเป็นผลรวมของปัจจัย ๓ ประการนี้ และการที่กรรมจะให้ผลซึ่งเป็นความสัมพันธ์กับการดำเนินไปของชีวิตก็มาจาก ปัจจัยทั้งสามประกานนี้นี่เอง หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ชีวิตจะดำเนินไปอย่างไรย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทั้งสามนี้เป็นหลัก

 

๑ กรรมจะมีผลต่อความเป็นไปของชีวิตเมื่อไร

ก่อนที่จะ ทำความเข้าใจในประเด็นนี้ ขออธิบายปัจจัย ๔ ที่มีความสัมพันธ์กับการให้ผลของกรรมโดยสรุป เพื่อทำให้เห็นความสัมพันธ์กันกับประเด็นที่ว่ากรรมจะมีผลต่อความเป็นไปของ ชีวิตเมื่อไร เพราะในอรรถกถาท่านได้อธิบายไว้ว่ากรรมจะให้ผลเมื่อไหร่ อย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้ง ๔ เป็นหลัก ดังนี้๖

) กรรมจะให้ผลเมื่อไหร่ ขึ้นอยู่กับคติสมบัติ คือ ถิ่นที่อยู่ หรือกำเนิดที่เกิด (เจริญ หรือกันดาน เป็นต้น)

) กรรมจะให้ผลย่อมขึ้นอยู่กับ อุปธิสมบัติ คือ สมบัติที่เป็นด้านร่างกาย (รูปสวย ขี้เหร่เป็นต้น

) กรรมจะให้ผลหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับ กาลสมบัติ คือ เวลาหรือสมัย

) กรรมจะ ให้ผลหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับปโยคะสมบัติ การประกอบความดีให้ครบถ้วนตามลักษณะที่ความดีนั้นๆ ควรจะมีการที่กรรมจะให้ผลเมื่อไหร่อย่างไรนั้น ก็ต่อเมื่อประกอบด้วยคติสมบัตินั้น หมายความว่าวิบากของกรรมดีจะให้ผลก็ต่อเมื่อได้อยู่ในที่ที่เหมาะสม เช่น ความซื่อสัตย์จะให้ผล ก็ต่อเมื่อคนที่มีความซื่อสัตย์นั้นได้อยู่ที่ที่เขาต้องการความซื่อสัตย์ ถ้าไปอยู่ในที่ที่ไม่ต้องการความซื่อสัตย์ เช่น อยู่ในหมู่อันธพาล ความซื่อสัตย์นั้นย่อมไม่ให้ผล แต่ถ้าคนนั้นมีนิสัยซื่อสัตย์เป็นนิสัยทำเป็นประจำวันหนึ่งเขาไปพบคนที่ สามารถที่จะอุปการะตัวเองได้ และเขาต้องการคนซื่อสัตย์ เมื่อเป็นเช่นนี้

ความซื่อสัตย์ย่อมให้ผล คำว่า คติสมบัติจึงหมายถึงการมีคติที่ดี ในส่วนที่เป็นคติวิบัติก็เป็นไปในทางตรงกันข้าม

เรื่อง อุปธิสมบัติหรือ อุปธิวิบัตินั้น หมายความว่า คนดีถ้ามีร่างกายไม่แข็งแรง ไม่สมบูรณ์ความดีก็ย่อมไม่ให้ผลเต็มที่ คนดีที่รูปร่างไม่สง่า หรือไม่สวยความดีก็อาภัพได้ อย่างนี้เรียกว่าความดีไม่ให้ผล เพราะอุปธิวิบัติ ส่วนคนดีที่รูปร่างสง่างาม น่าเกรงขาม หรือมีรูปร่างสะสวยงดงามความดีย่อมให้ผลอย่างนี้เรียกว่า ความดีให้ผล เพราะอาศัยอุปธิสมบัติคนชั่วอาจจะเกิดมามีรูปร่างงดงามก็ได้ สำหรับคนชั่วที่มีรูปร่างงาม ความงามอาจจะหลอกให้คนอื่นไว้วางใจ หรือนิยมชมชอบ เมื่อเป็นเช่นนี้ ความชั่วนั้นอาจจะยังไม่ให้ผล อย่างนี้เรียกว่าบาปกรรมไม่ให้ผล เพราะถูกขัดขวางด้วยอุปธิสมบัติ แต่ถ้าคนใดเป็นคนชั่วมีรูปร่างน่าเกลียด ไม่เป็นที่รักและเลื่อมใสแก่ผู้ที่ได้พบเห็น เมื่อเป็นเช่นนี้ ความชั่วนั้น อาจจะให้ผลทันที อย่างนี้เรียกว่าบาปกรรมให้ผลเพราะอาศัยอุปธิวิบัติ

เรื่องกาลสมบัติที่สัมพันธ์กับการให้ผลต่อความเป็นไปของชีวิตนั้น หมายความว่า คนที่ทำ

ความดี เมื่ออยู่ในสมัยที่เขาต้องการคนดี ความดีย่อมให้ผลหรืออีกนัยหนึ่ง คนที่ทำความดีไว้อย่าง

มากมาย แต่ไม่ค่อยมีใครรู้ เมื่อใดมีคนรู้กันอย่างแพร่หลายใครๆ ต่างก็สรรเสริญคนๆ นั้น เมื่อถึง

เวลาเช่นนี้ ความดีนั้นย่อมให้ผลซึ่งเปรียบเหมือนกับต้นไม้ที่ถึงฤดูกาลจะออกดอกผลของมันแล้ว

อย่างนี้เรียกว่าความดีให้ผลเพราะอาศัยความสัมพันธ์ของกาลสมบัติ ส่วนคนชั่ว ถ้าคนทั้งหลายยัง

ไม่รู้ความชั่วของเขา เพราะความดีของเขายังคุ้มครองอยู่ ยังไม่ถึงเวลาที่ความชั่วนั้นๆ จะให้ผลซึ่ง

ความชั่วไม่ให้ผลเพราะถูกขัดขวางด้วยกาลสมบัติ เมื่อใดอิทธิพลของความดีเสื่อมลง ความชั่วก็

ย่อมจะปรากฏขึ้นมา ความชั่วก็จะให้ผลเพราะอาศัยความสัมพันธ์ของกาลวิบัติ

เรื่อง ปโยคสมบัติ หรือวิบัติ พระอรรถกถาจารย์ท่านอธิบายแต่เพียงว่า๗ หมายถึง การรู้จักกาลเทศะ หรือไม่รู้จักการกระทำเท่านั้น ซึ่งความจริงคำว่า ปโยคะนี้หมายถึงการกระทำที่สมบูรณ์แบบ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราจะปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ก็จะต้องปฏิบัติให้ครบทั้ง ๘ ข้อ ถ้าปฏิบัติแต่เพียงข้อใดข้อหนึ่งอย่างนี้เรียกว่า ปโยควิบัติ ต่อเมื่อปฏิบัติครบทั้ง ๘ ข้อจึงจะเรียกว่าปโยคสมบัติเราจะสังเกตได้ว่า หมวดธรรมต่างๆ ที่พระองค์ทรงแสดงไว้นั้น ถ้าเราปฏิบัติไม่ครบ ธรรมนั้นๆย่อมไม่ให้ผล เช่น พรหมวิหาร ๔ สัปปุริธรรม ๗ ศีล ๕ เหล่านี้เป็นต้น ถ้าเราไม่ปฏิบัติให้ครบ เช่นพรหมวิหารเราถือแต่เพียงเมตตา กรุณา ไม่ถืออุเบกขา เราก็จะเห็นว่า คนนั้นจะมีความเดือดร้อนเพราะความเมตตาของตัวเอง คนที่ปฏิบัติตามสัปปุริสธรรม ๗ ถ้าปฏิบัติแต่เพียงข้อ ๑ ข้อ ๒ อีก ๕ข้อไม่ปฏิบัติ กล่าวคือ เป็นคนรู้จักเหตุ รู้จักผล แต่เป็นคนที่ไม่รู้จักตน ไม่รู้จักประมาณ ไม่รู้จักกาลเวลา ไม่รู้จักบุคคล ไม่รู้จักสังคม อย่างนี้ก็จะเห็นว่า คนนั้นย่อมจะเอาตัวไม่รอด เพราะฉะนั้น

คำว่า ปโยคสมบัติ ในความหมายที่แท้จริงจึงควรจะหมายถึง การกระทำความดีที่สมบูรณ์ ส่วนปโยควิบัติ หมายถึงการกระทำความดีที่บกพร่อง คนที่มีปโยคสมบัติ ความดีย่อมให้ผล ถ้ามีปโยควิบัติ ความดีก็ย่อมจะให้ผลน้อยลงตามส่วนหรือในบางกรณีอาจจะให้ผลร้ายเสียด้วยซ้ำไป ตัวอย่างเช่น คนใช้ขยันกวาดบ้าน นายชมเป็นอันมาก เพราะเขาเป็นคนกวาดบ้านได้เรียบร้อยมากแต่ถ้าบังเอิญเขาไปกวาดในขณะที่แขก กำลังนั่งคุยอยู่กับเจ้าของบ้าน ฝุ่นละอองฟุ้งซ่าน เมื่อเป็นเช่นนี้ การทำความดีนั้นแทนที่จะได้ผล กลับจะเป็นโทษ ดังนี้เป็นต้น ส่วนคนชั่ว ถ้าเขาเป็นคนฉลาดในการกระทำ รู้จักเวลาในการทำความชั่วนั้น ความชั่วย่อมจะให้ผลช้ามาก อย่างนี้เรียกว่าความชั่วไม่ให้ผล เพราะถูกขัดขวางด้วยปโยคสมบัติ แต่ถ้าคนชั่วคนใด ไม่ฉลาดในการทำ เราจะเห็นได้ชัดว่า ความชั่วนั้นจะให้ผลทันทีอย่างนี้เรียกว่า ความชั่วให้ผลเพราะอาศัยปโยควิบัติ ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อทิศทางของชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างไรก็ตาม การจะวินิจฉัยฟันธงลงไปว่า กรรมจะให้ผลก็ต่อเมื่อได้โอกาสเราอาจจะคิดอย่างง่ายๆ อย่างนี้ก็ได้ คือ เพราะเหตุที่สภาพของร่างกายที่มีอยู่เดี๋ยวนี้ก็ดี สภาพของความรู้สึกนึกคิดที่มีอยู่เดี๋ยวนี้ก็ดี ทั้งสองอย่างนี้ก็คือ วิบากขันธ์ของกรรมในอดีต เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว ก็จงพิจารณาต่อไปว่า ความรู้สึกจะเกิดขึ้นมาอย่างไร และจะให้ผลอย่างไรนั้น ปัจจัยสำคัญอยู่ที่เครื่องกระตุ้น เมื่อมีเครื่องกระตุ้นในทางดี ความรู้สึกก็เกิดในทางดี เมื่อมีเครื่องกระตุ้นในทางชั่วความรู้สึกก็เกิดในทางชั่ว คำว่ากรรมได้โอกาส ก็หมายความว่า ได้ประสบกับเครื่องกระตุ้นที่จะก่อให้เกิดกรรมนั้นๆ ครั้นแล้วผลต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นตามส่วนแห่งการกระทำ แต่จะได้ผลเต็มที่หรือมากน้อยแค่ไหน ให้ผลต่อความเป็นไปของชีวิตทิศทางใด เมื่อไหร่ อย่างไรนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัย๔ ประการที่กล่าวมา

 

๒ ลักษณะในการให้ผลของกรรมต่อความเป็นไปของชีวิต

ดังที่ได้ กล่าวมาแล้วว่า เรื่องที่สำคัญที่สุดของพุทธศาสนาสำหรับสามัญชน ก็คือ เรื่องกรรมและเรื่องที่ยุ่งยากที่สุดสำหรับสามัญชนก็คือ เรื่องกรรมอีกเหมือนกัน สิ่งที่มีอำนาจบังคับให้คนทำความดีให้คนกลัวความชั่วก็คือ เรื่องกรรม แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคให้คนเบื่อหน่ายต่อการทำความดี ก็คือ เรื่องกรรมอีกเหมือนกัน บางคนรู้สึกรำคาญที่ได้ยินได้ฟังแต่เรื่องว่า ทำอะไรนิดก็บาป ทำอะไรหน่อยก็บาป อะไรๆ ก็ยกให้แก่กรรมเสียหมด ถ้าเป็นเช่นนั้นคงไม่ต้องทำอะไรกัน แม้กระทั่งชีวิตได้รับความเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งหมอรู้อย่างแน่ชัดว่า มาจากสาเหตุอะไร ชาวพุทธบางคนก็ยังเห็นว่านั่นเป็นกรรม บางคนถึงกับไม่ต้องรักษา ปล่อยให้มันเป็นไปตามบุญตามกรรม ถึงที่ก็ตายไม่ถึงที่ก็ไม่ตาย และเรื่องที่น่ารำคาญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ คนที่ถือหลักกรรมส่วนมากจะทำอะไร ก็มุ่งเอาแต่ผลในชาติหน้า ไม่กระตือรือร้นในการที่จะทำให้ตัวเองมีการอยู่ดีกินดี มีความสุขความเจริญในชาตินี้ และบางคนก็ไม่กล้าที่จะทำอะไร แม้กระทั่งการเลี้ยงสัตว์ การทำสวนครัว เพราะกลัวจะเป็นบาปความคิดเห็นดังกล่าวนี้ พวกนักศึกษามักจะถือเป็นข้อค่อนขอดพุทธศาสนา ซึ่งความจริง คนที่ถือเรื่องกรรมเลยเถิดดังตัวอย่างที่อธิบายมานี้ เป็นเพราะเขาเข้าใจเรื่องกรรมไม่ลึกซึ้งพอ พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ในคิริมานนทสูตรว่า “โรคภัยไข้เจ็บไม่ใช่เนื่องมาแต่กรรมเสมอไป โรคที่เกิดเพราะลมเป็นพิษ เลือดเป็นพิษ เสมหะเป็นพิษ เป็นต้น มีอยู่มากมาย พระองค์ทรงประมวลโรคต่างๆ ไว้ถึง ๙๒ อย่าง ซึ่งผู้ศึกษาเรื่องกรรมจะต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่าอะไรเป็นโรคที่เกิด จาก กรรมหรือไม่ใช่ผลแห่งกรรมโดยตรง แต่การปวดเจ็บที่เป็นวิบากกรรมที่กำลังส่งผลในทวารทั้ง ๕ ที่ต้องรับผิด เป็นเรื่องวิบากอกุศล และยังให้ผลมีทางกัมมรูป รูปที่อาศัยกรรมเป็นสมุห์ฐาน

นอก จากนี้ พระองค์ยังเคยคัดค้านเจ้าลัทธิบางคนในครั้งพุทธกาล ๘ ที่ถือว่าอะไรๆ ก็เนื่องมาแต่กรรมเก่าทั้งสิ้นในประเด็นที่ว่า ทำอะไรนิดอะไรหน่อยก็เป็นบาปมีผลต่อทิศทางที่เป็นทุกข์ในชีวิตนั้น ถ้า

ถือตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาให้เคร่งครัดกันจริงๆ แล้ว ก็เห็นจะทำอะไรไม่ได้ เพราะจะ

เป็นบาปไปเสียทั้งนั้น และก็ทำให้คนส่วนมากคิดว่า คนส่วนมากในโลกนี้ล้วนแต่ทำบาปทั้งสิ้น ไม่

มาก ก็น้อย ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นเช่นนี้ คนในโลกนี้ก็ยังมากอยู่นั้นเอง ไม่ปรากฏว่าพลโลกจะน้อยลงไปแต่อย่างใด นับวันยิ่งเพิ่มขึ้นทุกวัน ดูไม่สมกับหลักที่ว่า คนทำบาปจะต้องไปตกนรกหรือไม่เช่นนั้น ก็ไปเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน และกว่าจะพ้นจากนรกได้นั้น ในคัมภีร์กล่าวว่านานหนักหนา นับเป็นจำนวนตั้งหมื่นๆ ตั้งแต่แสนหรือล้านๆ ปี ซึ่งถ้าคำนวณตามหลักนี้ มนุษย์ในโลกก็ไม่น่าจะมีเหลืออยู่เลย เพราะพากันไปเกิดในนรกหมดเพื่อที่จะแก้ข้อข้องใจตามที่กล่าวมานี้

ข้อความใน มหากัมมวิภังคสูตรซึ่งเป็นสูตรแสดงว่าคนทำกรรมชั่ว ไม่ใช่จะส่งผลต่อความเป็นไปในชีวิตที่เป็นทางที่ชั่วเสมอไปหรือตกนรกเสมอไป และคนทำกรรมดีก็ไม่ใช่ว่าจะมีผลต่อทิศทางของชีวิตไปในทางที่ดีงามเสมอไป หรือไปเกิดในสวรรค์เสมอไป ดังนี้

 

ดูก่อนอานนท์ บุคคล ๔ เหล่านี้มีอยู่ในโลก คือ

) บุคคล บางคนในโลกนี้ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จพูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเหลวไหล มากด้วยความโลภ มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้นเมื่อกายแตกทำลายตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก

) แต่บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิเมื่อกายแตกทำลายตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

) บุคคล บางคนในโลกนี้ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเหลวไหล เป็นผู้ไม่มากไปด้วยความโลภ มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนั้นเมื่อกายแตกทำลายตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

) แต่บุคคลบางคนในโลกนี้ เว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนั้น เมื่อกายแตกทำลายตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก

ดู ก่อนอานนท์ ในบุคคลเหล่านี้ สำหรับบุคคลที่ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เมื่อกายแตกทำลายตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกนั้น ก็เพราะเขาได้กระทำบาปกรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาในครั้งก่อน หรือต่อมาในภายหลังเขาก็ได้กระทำบาปกรรม อันที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา หรือในเวลาจะตาย เขาก็ยังยึดมั่นในมิจฉาทิฏฐิอย่างแน่นแฟ้น เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมในปัจจุบันชาตินี้ หรือในชาติต่อไปหรือในชาติต่อๆ ไปอีก

 

ดู ก่อนอานนท์ สำหรับบุคคลที่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เมื่อกายแตกทำลายตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็เพราะในครั้งก่อน คือในชาติก่อน หรือในชาตินี้เอง แต่หมายถึงครั้งก่อนที่บุคคลจะทำชั่ว) เขาได้กระทำกุศลกรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา หรือต่อมาภายหลัง เขาก็ได้กระทำกุศลอัน

เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา หรือในเวลาจะตาย เขายึดมั่นอยู่ในสัมมาทิฏฐิอย่างแน่นแฟ้น เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมในปัจจุบันชาตินี้ หรือในชาติต่อไป หรือในชาติต่อๆ ไปอีก

 

ดู ก่อนอานท์ สำหรับบุคคลที่เว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อกายแตกทำลายตายไปแล้วเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็เพราะในครั้งก่อน เขาได้กระทำกุศลกรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา หรือมาภายหลัง เขาได้กระทำกุศลกรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา หรือเวลาจะตาย เป็นยึดมั่นอยู่ใน

สัมมาทิฏฐิอย่างแน่นแฟ้น เขาย่อมเสวยวิบากกรรม ในปัจจุบันชาตินี้ หรือในชาติต่อไป หรือในชาติต่อๆ ไปอีก

 

ดู ก่อนอานนท์ สำหรับบุคคลที่เว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อกายแตกทำลายตายไปแล้ว บุคคลนั้นย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก ก็เพราะในครั้งก่อน เขาได้กระทำบาปกรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา หรือต่อมาในภายหลัง เขาได้กระทำบาปกรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา หรือในเวลาจะตาย ยึดมั่นอยู่ในมิจฉาทิฏฐิอย่างแน่นแฟ้น เพราะบาปกรรมอันนั้น เมื่อกายแตกทำลายตายไปแล้ว เขาจึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้น ในปัจจุบันชาตินี้ หรือในชาติต่อไป หรือในชาติต่อๆ ไปอีก๙

จากพระสูตรนี้แสดงว่า คนที่ทำบุญอาจจะตกนรกก็ได้ และคนทำบาปอาจจะขึ้นสวรรค์ก็ได้ ทั้งนี้ เพราะการที่คนที่ไปเกิดเป็นอะไรต่อไปนั้น ความสำคัญอยู่ที่ในขณะตาย ถ้ามีจิตเป็นอกุศลก็ย่อมจะไปเกิดในทุคติ ดังเช่น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ความว่า

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่ยินดีผูกพันอยู่ในนิมิตหรือยินดีผูกพันอยู่ในอนุพยัญชนะ (คือ ลักษณะต่างๆ ของร่างกาย) ถ้าหากเขาตายลงในเวลานั้นเป็นสิ่งเป็นไป ที่เขาจะพึงเข้าถึงคติใดคติหนึ่ง ในคติสองอย่างนี้ คือ นรก หรือกำเนิดเดียรัจฉาน๑๐

 

ตัวอย่าง นี้แม้จะเป็นฝ่ายอกุศล แต่ก็พึงรู้โดยนัยเดียวกันว่า ผู้ที่ดับจิตลงในขณะที่จิตเป็นกุศล ก็เป็นอันหวังได้ว่า จะต้องไปเกิดในที่สุคติ ผู้ที่ทำบุญอาจจะตกนรก หรือผู้ที่ทำบาปอาจจะขึ้นสวรรค์ เป็นเรื่องสับสนเข้าใจยาก แต่อย่างไรก็ดี ถ้าเราได้อ่านพระสูตรในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาตดังต่อไปนี้ จะทำให้เข้าใจข้อความในเรื่องนี้ชัดเจนขึ้น ดังนี้ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้ทำบาปกรรมไว้แม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปสู่นรก แต่บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้ทำบาปกรรมเล็กน้อยเช่นเดียวกันนั้น บาปกรรมานั้นให้ผลเพียงในชาตินี้ ไม่ปรากฏอีกต่อไปภิกษุทั้งหลาย บุคคลเช่นไร ได้ทำบาปกรรมไว้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปสู่นรก

 

ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้อบรมกาย มิได้อบรมศีลมิได้อบรมจิต มิได้อบรมปัญญา มีคุณธรรมน้อย มีใจต่ำ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบุคคลเห็นปานนี้ แม้ได้ทำบาปกรรมไว้เล็กน้อย บาปกรรมนั้น ย่อมนำเขาไปสู่นรก

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเช่นไร ได้ทำบาปกรรมไว้ เพียงเล็กน้อยเช่นนั้นเหมือนกัน แต่บาปกรรมนั้นให้ผลเพียงชาตินี้ ไม่ปรากฏผลมากอีกต่อไป

 

ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ มีกายได้อบรมแล้ว มีศีลได้อบรมแล้ว มีจิตได้อบรมแล้ว มีปัญญาได้อบรมแล้ว เป็นผู้มีคุณธรรมมาก มีใจใหญ่ มีปกติอยู่ด้วยคุณธรรม อันมีคุณหาประมาณมิได้

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบุคคลเช่นนี้แล ได้ทำบาปกรรมไว้เพียงเล็กน้อยเช่นเดียวกันก็จริง แต่กรรมนั้นให้ผลเพียงในชาตินี้เท่านั้น ไม่ปรากฏผลมากอีกต่อไป

 

ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลใส่ก้อนเกลือลงไปในจอกน้ำอันเล็ก พวกเธอพึงเข้าใจข้อนั้นอย่างไร น้ำเพียงเล็กน้อยซึ่งมีในจอกนั้นจะพึงเค็มเพราะก้อนเกลือ อย่างนั้นหรืออย่างนั้น

พระพุทธเจ้าข้า

เพราะเหตุไรหรือ

แต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะน้ำในจอกนั้นมีน้อย จึงเค็มเพราะก้อนเกลือนั้น

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าหากจะพึงใส่เกลือลงในแม่น้ำคงคา พวกเธอจะพึงเข้าใจอย่างไร แม่น้ำคงคานั้นพึงเค็มเพราะก่อนเกลือนั้นหรือ

มิได้พระพุทธเจ้าข้า

ข้อนั้น เพราะเหตุไร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะแม่น้ำคงคามีน้ำมาก น้ำนั้นจะไม่พึงเค็มเพราะก้อนเกลือนั้นข้อนี้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ได้ทำบาปกรรมไว้เพียงเล็กน้อยบาปกรรมนั้น ย่อมนำเขาไปสู่นรก แต่บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้ทำบาปกรรมไว้เพียงเล็กน้อยขนาดเดียวกัน แต่กรรมนั้นให้ผลเพียงชาตินี้เท่านั้น ไม่

ปรากฏผลมากอีกต่อไป๑๑

 

จาก พระสูตรที่ได้ยกมานี้ แสดงให้เห็นว่า บาปกรรมที่ทำไว้แล้ว จะไม่ให้ผลมาก หรือจะไม่ให้ผลอีกต่อไป ก็เพราะเหตุที่ได้อบรมกุศลไว้มาก พูดง่ายๆ ว่า คนใดมีความดีเพียงแค่น้ำในถ้วยเมื่อได้ทำบาปกรรมไว้แม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นย่อมจะให้ผลทันที แต่คนใดมีความดีเปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา แม้จะได้ทำบาปกรรมไว้ขนาดเดียวกัน แต่บาปกรรมนั้นอาจจะให้ผลช้าหรือไม่ให้ผลต่อไปเลยก็ได้ ดังนั้น การทำชั่วจึงไม่จำเป็นต่อการส่งผลต่อทิศทางของชีวิตที่ไม่ดีเสมอ และในขณะเดียวกัน การทำความดีก็ไม่จำเป็นต่อการส่งผลให้ทิศทางชีวิตดำเนินไปสู่ความดีงามเสมอ ไปเช่นเดียวกัน

 

จาก ที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่า กรรมมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการกำเนิดชีวิต และเมื่อมีการกำเนิดชีวิตขึ้นมาแล้วกรรมยังเป็นตัวกำหนดทิศทางความเป็นไปของ ชีวิตอีกด้วย ทั้งนี้ตราบใดที่บุคคลยังมีกิเลสอยู่เขาย่อมทำกรรมดีบ้างชั่วบ้าง กรรมดีย่อมส่งผลต่อทิศทางความเป็นไปของชีวิตในทางที่ดี ตรงกันข้ามกรรมชั่วย่อมส่งผลต่อทิศทางความเป็นไปของชีวิตในทางที่ชั่ว เป็นต้นหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ตราบใดที่บุคคลยังมีกิเลสอยู่เขาย่อมเกิดอีกตราบนั้น กรรมย่อมส่งผลต่อความเป็นไปของชีวิตในทิศทางต่างๆ ตราบนั้นดังนั้นกรรมจึงมีอำนาจพิเศษในการสำรวจอดีตของวิญญาณทุกดวง กำหนดหมายให้ใครไปเกิดที่ใดอย่างเหมาะสมที่สุดกับกรรมในอดีตของเขา ความสัมพันธ์ของกรรมนี้จะติดตามเกาะเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุก ย่างก้าว ไม่สามารถหลบหลีกได้ ซึ่งอาจจะให้ผลช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหรือปัจจัยตามที่ได้กล่าว มาทั้งหมดนั่นเอง

เนื้อหาโดย: ปรึกษา
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ปรึกษา's profile


โพสท์โดย: ปรึกษา
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
4 VOTES (4/5 จาก 1 คน)
VOTED: แมวล่ะเบื่อ
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
AI หลุดบอกเลข งวด 16 เมษายน 2567
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
complex: ซับซ้อนแคสตรงปก เจมส์จิ(คุณชายพุฒิภัทร) และไมกี้(คุณฉัตรเกล้า)ใครเจอรับไปเลย ครึ่งแสน"เสรีพิศุทธ์" เปิดข้อเขียนปี 2521 ชี้ จะได้ครบถ้วนวิ่งเต้นเสียเงินเรื่องใช้เงินซื้อตำแหน่งไม่ใช่เพิ่งมีเผยสาเหตุมะเร็งเหตุจากตู้เย็นแช่ของนานเกินไป!!😮♨︎🍣
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ทำไมมนุษย์ถึงตื่นเช้า?HubSpot คืออะไร ทำไมทำธุรกิจจะต้องมีฟังก์ชันทางการตลาดนี้นักพฤฒาวิทยาด้านชีวโมเลกุล อ้างว่ามนุษย์นั้นอายุยืนได้ถึง 20,000ปี!!!กาแฟไม่เพียงแต่ทำให้คุณหายง่วง แต่ยังสามารถใช้กาแฟเพื่อเสริมคอนกรีตให้แกร่งขึ้น 30%
ตั้งกระทู้ใหม่