{ ข้อมูล ฤกษ์ผ่าคลอดลูก ฤกษ์ผ่าคลอดบุตร คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรู้ }
{ ข้อมูล ฤกษ์ผ่าคลอดลูก ฤกษ์ผ่าคลอดบุตร คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรู้ }
สำหรับทางการแพทย์เหตุผลที่หมอตัดสินใจผ่าตัดคลอดจะเกิดขึ้นเมื่อคุณหมอเห็นว่าการคลอดปกติแบบธรรมชาติ จะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย ไม่ว่าจะต่อตัวคุณแม่ หรือลูกน้อยในครรภ์ก็ตาม ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ต้องผ่าตัดคลอดโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีดังนี้ค่ะ
1) ขนาดไม่สมดุล ไม่ว่าจะเป็นแม่ตัวเล็ก ลูกตัวใหญ่เกินไป หรืออุ้งเชิงกรานของแม่ไม่สมดุลกับตัวลูกเป็นต้น
2) ท่าไม่เหมาะสม หากลูกไม่เอาหัวลง แต่แม่เจ็บท้องจะคลอดแล้วก็จำเป็นต้องผ่าตัดคลอด
3) ภาวะครรภ์แฝด โดยเฉพาะแฝดสามคนขึ้นไป แพทย์จะแนะนำว่า ควรผ่าตัดคลอดจะปลอดภัยกว่า
4) มีโรคประจำตัว หากคุณแม่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการคลอดแบบธรรมชาติ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือคุณแม่มีอายุมาก ทำให้ไม่มีแรงเบ่งคลอด แพทย์ก็จะผ่าตัดคลอดค่ะ
5) เป็นโรคติดต่อ หากคุณแม่เป็นโรคติดต่อที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกหากทำการตลอดแบบธรรมชาติ เช่น โรคเริม แพทย์ก็จะทำการผ่าคลอด
6) เกิดภาวะคลอดเองไม่ได้ เช่น ปากมดลูกเปิดค้างอยู่แค่ 5 เซนติเมตร หัวลูกเริ่มบวม ปากมดลูกไม่เปิดต่อ หรือกราฟหัวใจเด็กลดลง หากมีภาวะเหล่านี้ แพทย์จะตัดสินใจผ่าตัดคลอดเพื่อความปลอดภัยของทั้งแม่และลูกค่ะ
แต่ปัจจุบันนี้ การผ่าตัดคลอดบุตร เกิดจากความต้องการของคุณแม่ตั้งครรภ์หรือตัวคุณพ่อเด็กหรือครอบครัววงศ์ตระกูล เพราะทุกวันนี้หลายครอบครัวให้ความสำคัญต่อความเชื่อ ความศรัทธา ฤกษ์งามยามดี จึงทำให้มีการคำนวณหาฤกษ์ผ่าคลอดบุตร เพราะพ่อแม่ของเด็กและครอบครัวเชื่อมั่นว่าจะเป็นวาสนาที่ดีติดตัวลูกน้อยไปตลอดชีวิต เหมือนซื้อต้นทุนบุญวาสนาให้ลูกที่กำลังจะเกิดขึ้นมาลืมตาดูโลก
ด้วยเหตุนี้ ในปี ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ทางทีมแพทย์จึงทำการศึกษาวิจัยเก็บรวบรวมสถิติ โดยการสุ่มตัวอย่างคุณแม่ตั้งครรภ์ จำนวน 222 คน ในการสำรวจและกรอกแบบสอบถาม เกี่ยวกับ ความตั้งใจในการหาฤกษ์ผ่าคลอดบุตร พบว่าเป็นดังนี้
-ถ้าเลือกได้ คุณแม่ตั้งครรภ์อยากมีฤกษ์ผ่าคลอดบุตรให้ลูก มีจำนวน 204 คน จากจำนวนทั้งหมด 222 คน ( คิดเป็น 91.89 %)
-ถ้าเลือกได้ คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่อยากหาฤกษ์ผ่าคลอดบุตรให้ลูก มีจำนวนเพียง 18 คน จากจำนวนทั้งหมด 222 คน ( คิดเป็น 8.11 %)
ที่มา : ในการหาแหล่งข้อมูล เกี่ยวกับฤกษ์ผ่าคลอดบุตร หามาจากที่ใด คุณแม่ตั้งครรภ์ จำนวน 204 คน กรอกแบบสอบถามพบว่าหามาจากการสอบถามผู้รู้หรือคนรู้จัก อาทิเช่น
-ให้พระสงฆ์พระคุณเจ้า , พระอาจารย์ , หลวงปู่ , หลวงพ่อที่รู้จักและศรัทธาเคารพนับถือ เป็นต้น ช่วยคำนวณหาฤกษ์ผ่าคลอดบุตร มีจำนวน 8 คน จากจำนวนทั้งหมด 204 คน ( คิดเป็น 4.27 %)
-ให้หมอดูหรือโหราจารย์หรือซินแส ที่มีความเชื่ยวชาญ เป็นผู้ช่วยคำนวณหาฤกษ์ผ่าคลอดบุตร มีจำนวน 164 คน จากจำนวนทั้งหมด 204 คน ( คิดเป็น80.04 %)
-หาข้อมูลเองตาม Internet หรือตาม Website เกี่ยวกับฤกษ์ผ่าคลอดบุตร มีจำนวน 32 คน จากจำนวนทั้งหมด 204 คน ( คิดเป็น 15.69 %)
ข้อสังเกตุ : จะเห็นได้ว่า หมอดูหรือโหราจารย์หรือซินแส มีบทบาทอย่างมากในการคำนวณหาฤกษ์ผ่าคลอดให้บุตร เพราะคุณพ่อคุณแม่เด็กมีความเชื่อมั่นหรือเชื่อเพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์หรือมี Feedback เป็นที่น่ายอมรับ ทางทีมแพทย์ได้สอบถามคุณแม่ตั้งครรภ์จำนวน 164 คน ใช้เกณฑ์ตัดสินใจอะไร ในการให้หมอดูหรือโหราจารย์หรือซินแส เป็นผู้คำนวณหาฤกษ์คลอดบุตรให้ พบว่าปัจจัยหลักมีดังนี้
-ค่าใช้จ่ายในการคำนวณหาฤกษ์ผ่าคลอด ไม่สูงมากนัก มีกำลังจ่าย
-มีผู้หลักผู้ใหญ่แนะนำ หรือญาติพี่น้องหรือคนรู้จัก มีประสบการณ์เคยหาฤกษ์ผ่าคลอดกับหมอดูหรือโหราจารย์หรือซินแสคนนั้น
-ดูจากผลลัพธ์ Review ที่คนส่วนใหญ่พูดถึงหรือ feedback หลังคลอดบุตร ตามฤกษ์ผ่าคลอดที่ให้มาและพัฒนาการเด็กที่เติบโตขึ้น เป็นต้น
ซึ่งบรรดาหมอดูหรือโหราจารย์หรือซินแส ที่คุณแม่ตั้งครรภ์เลือกใช้บริการมีมากกว่า ๒๐ รายชื่อ ตัวอย่างเช่น
อาจาย์ อู๋ สมการ (ใช้โหราศาสตร์ดวงจีน ในการคำนวณหาฤกษ์ผ่าคลอดบุตร)
อาจารย์ กฤษณ์โอฬาร (ใช้โหราศาสตร์ยูเรเนี่ยน ในการคำนวณหาฤกษ์ผ่าคลอดบุตร)
อาจารย์ พงษ์พิศิษฐ์ (ใช้โหราศาสตร์ดวงสิบลัคน์ ในการคำนวณหาฤกษ์ผ่าคลอดบุตร)
อาจารย์ บุศรินทร์ ปัทมาคม (ใช้โหราศาสตร์ไทย ในการคำนวณหาฤกษ์ผ่าคลอดบุตร) ฯลฯ
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในทางการแพทย์ คงไม่สามารถไปห้าม ไม่ให้หาฤกษ์ผ่าคลอดบุตร หากเป็นความต้องการและเป็นความประสงค์ของคุณแม่ตั้งครรภ์ เพียงแต่อยากให้คำนึงถึง ช่วงเวลาการทำงานของทีมแพทย์และความเป็นไปได้ ยกเว้นเกิดเหตุการณ์กรณีฉุกเฉิน อาจต้องผ่าก่อนฤกษ์ยาม เพราะความปลอดภัยของลูกในท้องและคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
ฉะนั้นจากการสำรวจและกรอกแบบสอบถามคุณแม่ตั้งครรภ์ จำนวน 222 คน อาจได้ข้อสรุปบางอย่าง เกี่ยวกับการหาฤกษ์ผ่าคลอดบุตรว่า ยังคงเป็นความเชื่อความศรัทธาที่อยู่คู่กับสังคมไทยและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งต่อไปคงมีผลต่ออัตราการเกิดประชากรของประเทศในอนาคต
แพทย์หญิง พิมพ์อำไพ แผนกสูติ-นรีเวชกรรม