อาหาร เป็นพิษ เกิดจากอะไรได้บ้าง ?
อาหาร เป็นพิษ (Food Poisoning) เกิดจากต้นเหตุต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ฯลฯ ที่พบได้บ่อย มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียจำนวนมากที่แบ่งตัวอยู่ในอาหารที่รับประทานเข้าไป แล้วมีผลรบกวนทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการปวดท้อง ท้องเสีย อาจจะมีอาการอาเจียนหรือไม่มี อาจมีไข้หรือไม่มี โดยทั่วไปจะเริ่มมีอาการหลังการรับประทานอาหารแล้ว 1 ชั่วโมง หรือนานกว่า 48 ชั่วโมง แต่ในบางกรณีเชื้อแบคทีเรียจำนวนน้อย หรือสารพิษที่เชื้อแบคทีเรียที่สร้างขึ้นก็เป็นสาเหตุให้เกิดอาการได้
อาการของอาหารเป็นพิษ
ผู้ที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่จะแสดงอาการภายใน 1-2 วัน ขึ้นอยู่กับประเภทและปริมาณของเชื้อที่ร่างกายได้รับเข้าไป อาจมีอาการหลังรับประทานอาหารไม่กี่ชั่วโมงหรือนานเป็นสัปดาห์หากได้รับเชื้อรุนแรง
– รู้สึกพะอืดพะอม คลื่นไส้ อาเจียนติดต่อกันหลายครั้งหรืออาเจียนเป็นเลือด
– มีอาการปวดท้องแบบบิดเกร็งเป็นพัก ๆ เนื่องจากบีบตัวของลำไส้
– อาการถ่ายท้อง ถ่ายมีมูกหรือเลือดปน
– มีอาการของการสูญเสียน้ำ เช่น รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ หมดเรี่ยวแรง ปากแห้ง ตาโบ๋ – กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะน้อย
– ไม่มีความอยากอาหาร
– มีอาการด้านระบบประสาท เช่น มองไม่ชัด แขนเป็นเหน็บ หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการของโรครุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และมีอาการต่อเนื่องนานหลายวัน เช่น อาเจียนไม่หยุดแม้กระทั่งน้ำที่ดื่มเข้าไป หรือร่างกายส่งสัญญาณว่ามีอาการขาดน้ำและเกลือแร่ ซึ่งสังเกตได้จากมีอาการสับสนทางความคิด ตาโบ๋ ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะเลย ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
การรักษาอาการอาหารเป็นพิษ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการที่ดีขึ้นได้ด้วยการดูแลตัวเองที่บ้าน สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องพยายามอย่าให้ร่างกายขาดน้ำ ควรดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ หรือจิบน้ำบ่อย ๆ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำจากอาการท้องร่วงและอาเจียนมากเกินไป รวมถึงการปฎิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้
– ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่หรือผงเกลือแร่ทดแทนการสูญเสียน้ำและแร่ธาตุบางชนิดในร่างกาย
– นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
– เมื่ออาการดีขึ้น ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย ไขมันน้อย เช่น โจ๊ก ข้าว อาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เป็นต้น โดยเริ่มรับประทานในปริมาณที่น้อย ๆ ก่อน นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน น้ำอัดลม อาหารไขมันสูง อาหารรสชาติจัด
ในกรณีที่เกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรีย หรือมีอาการรุนแรงขึ้นจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แพทย์จะรักษาด้วยการให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดเมื่อมีภาวะการเสียน้ำและเกลือแร่ อาจให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือทำการรักษาตามสาเหตุการเกิด
ขอบคุณเว็ป www.pobpad.com
หลังจากอ่านบทความจบแล้ว ถ้าสนใจรับประทาน ก๋วยเตี๋ยว , เป็ดพะโล้ และ อาหาร ก็อย่าลืมนึกถึงร้าน เป็ดพะโล้โกเหลียง บางลี่ 2 ร้าน ก๋วยเตี๋ยว รสเด็ดย่านบางนา นะคะ