หลายครอบครัวมักจะมี อาหาร ที่กินไม่หมด หรือทำเยอะแล้วแบ่งไว้กินเวลาอื่น แต่ทางที่จะเก็บอาหารให้ได้ผลดีที่สุดคือการแบ่งอาหารใส่ภาชนะ หรือแบ่งใส่ถุง แล้วนำเข้าตู้เย็น เมื่อไรที่เรานึกหิวอยากจะทานเราก็แค่เอามาอุ่นให้ร้อน ซึ่งการอุ่นให้ร้อนมีอยู่ 2 วิธี คือการอุ่นด้วยเตาแก๊ส และอุ่นด้วยไมโครเวฟ
การอุ่นอาหาร ไม่เพียงแต่ทำให้รสชาติ เนื้อสัมผัสน่าทานเหมือนตอนปรุงใหม่ แต่ยังช่วยฆ่าเชื้อโรคบางชนิดที่อาจเริ่มก่อตัวขึ้นหลังจากอาหารถูกปรุงสำเร็จแล้ว จนมาถึงระยะเวลาหลังจากการจัดเก็บ ซึ่งหากจัดเก็บไว้ไม่ดีพอ หรือนานเกินไป การอุ่นอาหารที่ควรจะทำให้ปลอดภัยต่อร่างกายมากขึ้น ก็อาจจะไม่ช่วยอะไร เรามาดูดีกว่าว่าการอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟ กับ เตาแก๊ส แบบไหนปลอดภัยกว่ากัน
แต่ก่อนที่เราจะเอาไปอุ่นเรามาดูวิธีการเก็บอาหารในตู้เย็นกันก่อน
หลังจากทานอาหารเสร็จ ไม่ควรทิ้งอาหารที่ทานเหลือไว้ในอุณหภูมิห้องนานเกิน 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้มีเชื้อโรค จากนั้นก็นำใส่ภาชนะที่ปิดมิดชิด และนำอาหารไปแช่ในตู้เย็นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส ไม่ควรเก็บเอาไว้นานเกิน 2-3 วัน ระหว่างนั้นสามารถตักแบ่งออกมาทานโดยอุ่นเฉพาะส่วนที่จะทาน ไม่ควรอุ่นซ้ำหลายๆ รอบ และระหว่างนั้นควรสังเกตสี เนื้อสัมผัส และรสชาติด้วยว่าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ หากไม่เหมือนเดิมควรหยุดทานทันที
การอุ่นอาหารด้วยเตาแก๊ส
การอุ่นอาหารด้วยเตาแก๊สอาจจะยุ่งยากเล็กน้อยตรงที่ต้องเทใส่หม้อ หรือกระทะ ตั้งไฟ เทใส่ชามอีกครั้ง อาจไม่สะดวกสำหรับบางครอบครัวแต่สภาพอาหารที่ได้หลังจากการอุ่นหลายคนเห็นตรงกันว่าน่าทานกว่า
เมื่อเทอาหารลงในกระทะ หรือหม้อแล้ว ควรตั้งไฟให้ร้อนจัด อุณหภูมิอยู่ที่ 60-70 องศาเซลเซียส หรือจนเดือดเลยก็ได้ ระหว่างอุ่นต้องคน หรือคลุกเคล้าอาหารไปด้วย เพื่อให้ความร้อยกระจายได้อย่างทั่วถึง และใช้เวลาอุ่นนาน 15 นาที
การอุ่นด้วยไมโครเวฟ
การอุ่นอาหารด้วยเตาไมโครเวฟ แม้ว่าจะสะดวกรวดเร็ว ใช้เวลาไม่นาน เสร็จจบหมดในขั้นตอนเดียว เคล็ดลับคือ เลือกใช้อุณหภูมิให้เหมาะสมกับประเภทของอาหาร ไมโครเวฟสมัยใหม่จะมีบอกว่าอุ่นอะไร ใช้ความร้อนเท่าไร หากไมโครเวฟที่บ้านไม่มีก็ไม่เป็นไร อาหารชิ้นใหญ่ๆ ให้วางเอาไว้ขอบๆ ภาชนะ หรือขอบฐานรองหมุน เพราะจะถูกคลื่นความร้อนได้ดีกว่าตรงกลาง และควรกดพักเพื่อนำออกมาคนให้ทั่วเป็นระยะๆ ก่อนนำกลับเข้าเตาไปอุ่นต่อจนเสร็จ เพื่อเป็นการกระจายความร้อนให้ทั่วถึง และใช้ที่ครอบอาหารที่ใช้สำหรับในไมโครเวฟเท่านั้นด้วย นอกจากจะป้องกันอาหารกระเด็นแล้ว ยังช่วยกระจายความร้อนให้ได้ดียิ่งขึ้น
อุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อลดแบคทีเรีย และเชื้อโรคในอาหาร ควรตั้งอุณหภูมิที่106 องศาฟาเรนไฮน์สำหรับเนื้อ ปลา ไข่ และ170-180 องศาฟาเรนไฮน์ สำหรับไก่ กับเป็ด
เอาเป็นว่าทั้งการอุ่นด้วยเตาแก๊สและไมโครเวฟต่างก็ปลอดภัยด้วยกันทั้งคู่ แต่ก็ไม่นิยมให้ทานอาหารซ้ำๆ เพราะนอกจากจะเสี่ยงเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรียแล้ว คุณค่าทางสารอาหารยังไม่ครบอีกด้วย ควรเลือกที่จะทานอาหารสดใหม่ ทำอาหารเองมากกว่า หรือซื้ออาหารที่ไม่มากจนเกินไปจนต้องเก็บมาทานต่อในวันต่อไปจะดีที่สุด
หลังจากอ่านบทความจบแล้ว ถ้าสนใจรับประทาน ก๋วยเตี๋ยว , เป็ดพะโล้ และ อาหาร ก็อย่าลืมนึกถึงร้าน เป็ดพะโล้โกเหลียง บางลี่ 2 ร้าน ก๋วยเตี๋ยว รสเด็ดย่านบางนา นะคะ