หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

Falcon 9 Return to Flight

มกราคม 2017

เหตุการณ์สำคัญที่จะเกิดขึ้นในเดือนแรกของปี ก็คงจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากการกลับมาของจรวด Falcon 9 หลังจากที่ SpaceX ต้องเลื่อนการปล่อยทุก flight ออกไป เพราะ Falcon 9 ในภารกิจส่งดาวเทียม Amos-6 เกิดการระเบิดขึ้นคาฐานปล่อย จนฐานปล่อยพัง และต้องเสียดาวเทียมกับ Falcon 9 ไป

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

การปล่อยในเดือนมกราคมปี 2017 จะมีทั้งหมด 2 ครั้ง (ยืนยันในตอนนี้) คือการปล่อยดาวเทียม

Flight แรก 
SpaceX จะทำการปล่อยกองดาวเทียมสื่อสาร Iridium NEXT ให้กับบริษัท Iridium เป็นการ "ปล่อยดาวเทียมพร้อมกัน 10 ดวง" รวมน้ำหนักทั้งหมด 9,600 กิโลกรัม ขึ้นสู่ความสูง 780 กิโลเมตร กองดาวเทียม Iridium NEXT จะถูกปล่อยเรื่อย ๆ จนครบกองคือ 70 ดวง Falcon 9 ที่ใช้จะเป็น Falcon 9 รุ่น FT (Full thrust) ที่ปรับปรุงเล็กน้อยหลังจากการสืบหาสาเหตุการระเบิดของ Falcon 9 ในครั้งก่อน

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง
การปล่อยจะปล่อยจากฐานทัพอากาศ Vandenberg ในแคลิฟอร์เนีย เนื่องจากการออกแบบวงโคจรที่แตกต่างไปจากดาวเทียมสื่อสารดวงอื่น ๆ (Iridium NEXT จะทำงานร่วมกันหลายดวง ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้วงโคจรค้างฟ้า เพื่อกำหนด footprint ที่ชัดเจน เหมือนดาวเทียมสื่อสารอื่น ๆ)

Flight ที่สอง 
ดาวเทียม EchoStar จะถูกปล่อยที่ฐานปล่อยอีกแห่งของ SpaceX ใน Kennedy Space Center ไม่ห่างจาก Cape Ceneveral Airforce Station จะเสร็จสมบูรณ์และถูกใช้งานโดย SpaceX หลังจากที่ในอดีต เคยเป็นฐานปล่อยของ "กระสวยอวกาศ" ที่ NASA ปลดระวางไปแล้ว

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

SpaceX ได้เข้ามาปรับปรุงฐานปล่อยนี้หลายปี ก่อนจะเสร็จสิ้นทันเวลาพอดีในปี 2016 ฐานปล่อยดังกล่าวคือฐาน Launch Complex - 39A ที่เป็นฐานปล่อยประวัติศาสตร์ ผ่านการปล่อยกระสวยอวกาศมามากมายหลายครั้ง รวมถึง "การปล่อยที่พวกเขาไม่ได้กลับลงมาตลอดกาล" ของอุบัติเหตุกระสวยโคลัมเบีย ปี 2003 
ในการปล่อยครั้งแรกของ SpaceX ในฐานปล่อยนี้จะเป็นการปล่อยดาวเทียม EchoStar 23 สำหรับดาวเทียมชุด EchoStar ก็เป็นดาวเทียมสำหรับให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเช่นเดียวกัน ใช้ช่วงคลื่น Ka-band เป็นหลัก




จีนส่งยานเทียนโจ่ว ยานส่งเสบียงไร้คนขับของจีน

เมษายน 2017

หลังจากที่จีนได้ส่งสถานีอวกาศ "เทียนกง 2" ขึ้นไปแล้ว และ "เทียนกง 1 ก็จะตกลงสู่โลก" จีนได้สร้างยานรุ่นใหม่ชื่อว่ายาน เทียนโจ่ว เพื่อนำมาใช้ในภารกิจการส่งของขึ้นสู่สถานี

ปกติแล้วจีนมายานอวกาศชื่อว่า "เฉินโจ่ว" ซึ่งสามารถนำมนุษย์ขึ้นสู่สถานีอวกาศได้ และยานรุ่นนี้ก็ถูกนำมาใช้ทุกครั้งในการส่งนักบินขึ้นไปบนสถานีอวกาศของจีน

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤศจิกายน เฉินโจ่วของจีนได้ลงจอดกลับสู่โลก นำนักบินอวกาศทั้ง 3 คนที่ได้ขึ้นไปบนสถานีอวกาศเทียนกง 2 เมื่อประมาณเกือบเดือนที่ผ่านมา โดยยานได้ลงจอดด้วยระบบร่มชูชีพ ( การทำงานจะคล้าย ๆ กับโซยุส เพราะก็อป ๆ กันมา ) เป็นภารกิจการขึ้นสู่อวกาศอีกครั้งที่สำคัญของจีน

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

เทียนโจ่ว จะโชว์ demonstrate การเทียบกับสถานีแบบอัตโนมัติ คล้ายกับยาน Progress ของรัสเซีย และ ATV ของสหภาพยุโรป โดยจะมีการส่งยานในเดือนเมษายน 2017 ด้วยจรวด Long March 7 รุ่นเดียวกับที่ใช้ส่งยาน เฉินโจว




สุริยุปราคาครั้งประวัติศาสตร์ ที่จะเห็นเฉพาะบนแผ่นดินอเมริกาจากตะวันตกสู่ตะวันออก

21 สิงหาคม 2017

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

การเกิดครั้งนี้ถูกเรียกว่า The Great American Eclipse เป็นเหตุกาณ์ครั้งประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึก เนื่องจากการเกิดครั้งนี้จะเป็นการเกิดเต็มดวง ที่เห็นได้เฉพาะจาก ประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น โดยเงามืดจะทอดผ่านตั้งแต่ชายฝั่งด้านตะวันตกไปจนถึงด้านตะวันออก นับว่าเป็นความบังเอิญครั้งยิ่งใหญ่

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

เหตุกาณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี คศ.1257 และหากพลาดชมในปี 2017 จะต้องรออีก 299 ปี ถึงจะเกิดขึ้นอีกครั้งในปี 2316 เลยทีเดียว

เหตุการณ์นี้คนอเมริกันจะตื่นเต้นกันมาก แน่นอนว่าในครั้งนี้ NASA จะต้องถ่ายทอดสด และสำนักข่าวต่าง ๆ ของอเมริกาจะต้องรายงานข่าวนี้อย่างยิ่งใหญ่




ยานแคสสินีจะใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายก่อนจะจบชีวิตด้วยการดำดิ่งลงสู่ชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์

15 กันยายน 2017

ในปี 1997 เราได้ส่งยาน แคสนินี-ไฮเกนส์ ชื่อของยานลำนี้มาจากนักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ถึง 2 ท่าน คือ Giovanni Cassini นักคณิตศาสตร์ อิตาเลี่ยน-ฝรั่งเศส ในยุคปี 1600s ซึ่งเป็นผู้ที่แบ่งชั้นของวงแหวนดาวเสาร์ และตั้งกฏเกี่ยวกับการโคจรของดวงจันทร์ อีกท่านหนึ่งก็คือ Christiaan Huygens นักฟิสิกส์ช่วยยุค 1600s เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นผู้ค้นพบดวงจันทร์ ไททัน และศึกษาเรื่อง การเลี้ยวเบนของคลื่น (Diffraction of Wave)

ยานไฮเกนส์ได้แยกตัวออกจากแคสสนีในค่ำคืนวันคริสต์มาสปี 2004 เพื่อไปลงจอดบนดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ และยังคงอยู่บนนั้นจนถึงทุกวันนี้ แม้สัญญาณจะขาดหายไปก็ตาม :: อ่านเรื่องราวของยานไฮเกนส์ ::

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

ยานแคสสินี เป็นยานอวกาศรุ่นเดียวที่ถูกส่งไปโคจรรอบดาวเสาร์ มันส่งข้อมูลต่าง ๆ มาให้เรามากมาย รวมถึงการสำรวจดวงจันทร์ที่สวยที่สุดอย่า เอ็นซาราดัส ที่มีน้ำพุร้อนพวยพุ่งออกมาจากตัวมัน ที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงมหาศาลของดาวเสาร์

แคสสินีจะใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายในการสำรวจดาวเสาร์ และภารกิจสุดท้ายของแคสสนีคือการไปบินผ่านดวงจันทร์ไททันเป็นครั้งสุดท้าย เพื่อเก็บข้อมูลและบอกลายาน ไฮเกนส์ ที่พรากจากกันมาถึง 13 ปี

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

ในวันที่ 15 กันยายน วันสุดท้ายของยานแคสสินี ที่เรียกว่า grand finale ตัวยานจะ burn orbit รอบสุดท้ายเพื่อลดความเร็วลงและค่อย ๆ จมลงในชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์ ปิดฉากภารกิจด้วยการสละชีวิต เพื่อไม่ให้ยานไปตกใส่ดวงจันทร์อื่น ๆ เช่น ไททัน และ เอ็นซาราดัส และนำสารต่าง ๆ ที่ติดไปจากโลกไปปนเปื้อนดาว ที่ในอนาคตอาจจะเป็นเป้าหมายการสำรวจแห่งใหม่ของมนุษย์




OSIRIS-REx เตรียมใช้ Gravity Assit จากโลก เพื่อส่งตัวมันไปสู่ดาวเคราะห์น้อย Bennu

23 กันยายน 2017

ภาพรวมของภารกิจ OSIRIS-REx ในภารกิจ Astroid Sample Return ครั้งแรกของ NASA ดำเนินการโดย NASA Goddard Spaceflight Center ยานจะเดินทางไปยังดาวเคราะห์น้อยที่ชื่อว่า "Bennu" ในปี 2018 จากนั้นจะทำการวิเคราะห์ดาวเคราะห์น้อยเป็นเวลา 2 ปี จากนั้นในปี 2020 ยานจะลดความเร็วและค่อย ๆ เข้าไปเจาะเอาเนื้อดาวเคราะห์น้อย และบรรจุลงใน Capsule สำหรับส่งกลับโลกในปี 2021 และจะเดินทางมาถึงโลกในปี 2024 ตัว Capsule พร้อมตัวอย่างดาวเคราะห์น้อยจะกางร่มชูชีพลงสู่พื้นอย่างนุ่มนวล (ซึ่งการลงจอดอย่างนุ่มนวลไม่เคยมีจริง NASA ทำ แผ่น sample แตกไปรอบนึงแล้วในภารกิจ Genesis แต่มโนว่าใช้งานได้)

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

ในวันที่ 23 กันยายน ปี 2017 ยานที่ตอนนี้โคจรรอบดวงอาทิตย์จะบินเฉียดโลกอีกครั้งหนึ่งเพื่อเร่งความเร็ว ด้วยการทำ slingshot หรือ gravity assits จากแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งวิธีนี้จะช่วยเพิ่มความเร็วของยานอวกาศโดยไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงช่วยเร่ง

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

ในตอนที่ผู้เขียนเขียนอยู่นี้ ยาน OSIRIS-REx เพิ่งจะเสร็จสิ้นการ burn orbit หรือการปรับวงโคจรที่จะทำให้ยานโคตรกลับมาที่โลกอีกครั้ง




จีนจะกลับสู่ดวงจันทร์ด้วยยาน Chang'e 5 พร้อมส่งตัวอย่างหินกลับโลกคร้งแรกในรอบ 41 ปี!!

กลางปี 2017

ยานชุด Chang'e (ช่าง-เอ้อ) เป็นยานสำรวจดวงจันทร์ของจีน มีมาแล้วหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็นแบบ ลงจอดธรรมดา หรือเป็นแบบ rover แต่ในครั้งนี้ ภารกิจ Chang'e 5 จีนจะทำภารกิจแบบใหม่คือการทำ sample return นอกจากการลงจอดที่ดวงจันทร์แล้ว ยานจะเก็บตัวอย่างดินและหินจากดวงจันทร์ ใส่จรวดขนาดเล็กที่ติดอยู่บนยาน และจุดจรวดส่ง sample นั้นกลับมาที่โลก

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

นี่นับว่าเป็นภารกิจ moon sample return อีกครั้งหลังจากครั้งสุดท้าย ในภารกิจ Luna 24 ของโซเวียต ในสมัยสหภาพโซเวียต ปี 1976 นั่นคือ 41 ปี!!!




ทดสอบจรวดที่ทรงพลังที่สุดในโลก Falcon Heavy

กลางปี 2017

Falcon Heavy จะเป็นจรวดที่ถูกสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานของ Falcon 9 ที่จะใช้ core stage ของ Falcon 9 จำนวน 3 ลำติดกัน ทำให้ Falcon Heavy จะมีเครื่องยนต์ถึง 27 ตัว

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

แนวคิดเรื่อง Falcon Heavy นั้นมีมานานแล้วจะถูกเลื่อนการโชว์ปล่อย (demo) มานานจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ SpaceX ต้องเจอ คือเหตุระเบิดทั้ง 2 ครั้งในปี 2015 และ 2016

การปล่อย Falcon Heavy ในครั้งแรกจะเป็นการโชว์เฉย ๆ ยังไม่ปล่อยดาวเทียมอะไร แต่ถึงขนาดนั้น ก็ได้มีลูกค้าเซ็นสัญญาจอง Falcon Heavy ไว้แล้วมากมาย ส่วนมากจะเป็นผู้ให้บริการดาวเทียมขนาดใหญ่ อย่าง Intelsat และ Immarsat

Falcon Heavy จะเป็นคู่แข่งของจรวด Delta IV Heavy ของ United Launch Alliance ที่ออกแบบมาให้ส่ง payload ขนาดใหญ่เช่นกัน แต่ถ้าเทียบกันในเชิงของประสิทธิภาพและราคาแล้ว บอกได้เลยว่า Falcon Heavy คุ้มกว่าแน่ ๆ แถมยังสามารถส่งของน้ำหนักได้เยอะกว่าด้วย

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

แน่นอนว่า Falcon Heavy เป็นจรวดที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ เช่นเดียวกับ Falcon 9 เพราะมันก็คือ Falcon 9 จำนวน 3 ลำที่ผูกติดกัน แต่ละลำเมื่อถูกสลัดออก มาจะสามารถบินกลับมาลงจอดของมันเองได้




เห็นยาน Dragon 2 เต็มตามากขึ้น

กลางปี 2017

ปี 2017 จะเป็นปีมาแรงของ SpaceX นอกจาก Falcon Heavy แล้ว หากไม่มีอะไรผิดพลาด เราจะได้เห็น Dragon 2 กันซักที

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง
Dragon 2 เป็นยาน Dragon รุ่นที่ 2 ของ SpaceX มีความสามารถใหม่คือ สามารถส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่สถานีอวกาศได้ถึง 7 คน ทำให้เป็นยานอวกาศที่มีคนนั่งได้เยอะที่สุด

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

อีกความสามารถก็คือในการลงจอด ยาน Dragon 2 จะใช้เครื่องยนต์ Super Decro Engine ในการลงจอดด้วยการเปิดไอพ่น ไม่ใช้วิธีการลงจอดแบบเดิม ๆ ด้วยร่มชูชีพ

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

กลางปีที่ผ่านมา Dragon 2 ได้ทดสอบในเรื่องของเครื่องยนต์ และระบบดีดตัวฉุกเฉิน ที่จะดีดยานออกจากจรวดเมื่อเกิดข้อผิดพลาดให้เราได้ชมแล้ว ในปีนี้ เราจะได้เห็น Dragon 2 บ่อยขึ้น และอาจมีมีการโชว์การส่งขึ้นสู่วงโคจรอย่างเต็มรูปแบบ




กล้อง Juno Cam บนยาน Juno จะพัง

กลางถึงปลายปี 2017

ไม่ต้องตกใจเพราะมันถูกออกแบบมาให้เสียอยู่แล้ว JCM หรือ JunoCam เป็นอุปกรณ์บนยาน Juno ซึ่งทำหน้าที่กล้องถ่ายภาพในช่วงคลื่น visible light ซึ่งก็ไม่ได้ชัดเจนอะไรมากมาย เพราะงานนี้ไม่เน้นถ่ายรูป (ถ่ายจากโลกสวยกว่า)

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

กล้องจะพังเนื่องจาก สิ่งที่เรียกว่า Deep Space Network คือโดนรังสีต่าง ๆ และสนามแม่เหล็กของดาวพฤหัส จนทำให้ระบบการทำงานต่าง ๆ เสียหาย

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

แต่ไม่ต้องห่วงเนื่องจากอย่างที่บอก JunoCam เป็นแค่กล้องกาก ๆ เท่านั้น อุปกรณ์อื่นบนยานจะยังใช้งานได้ดีตามอายุภารกิจที่ออกแบบไว้ แต่เราจะไม่ได้เห็นภาพสีสวย ๆ (ไม่สวยหรอก) จากดาวพฤหัสจากยาน Juno อีก




Gyroscope บนยาน Voyager 1 จะหยุดทำงาน

กลางถึงปลายปี 2017

ปกติแล้วสิ้นส่วนที่สำคัญในการนำทางของยานอวกาศก็คือ Gyro scope ที่ใช้ร่วมกับ magnetometer หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเข็มทิศสำหรับใช้ในอวกาศนั่นเอง

โดยจะช่วยตัวยานในการ "หมุนตัว" ในแกนต่าง ๆ ซึ่งการหมุนนี้จะใช้ในการชี้เสาสัญญาณมายังโลก ซึ่งจะมีการปรับหมุนทุก 6 ปี เรียกว่าการทำ MAGROLs

การหยุดทำงานของระบบ Gyroscope นั่นหมายความว่าต่อไปนี้ยานจะไม่สามารถรักษาการชี้เสาสัญญาณมายังโลกได้อย่างแม่นยำ (แต่ก็สามารถใช้ได้บ้าง)

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

ยาน Voyager 1 เป็นยานอวกาศที่เก่าแก่มาก ถูกส่งขึ้นไปตั้งแต่ปี 1977 และยังคงเดินทางอยู่ กลายเป็นยานอวกาศที่เดินทางได้ไกลที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

ตอนนี้ยานอยู่ในชั้น Interstellar medium ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นขอบนอกของระบบสุริยะ และยานจะทำงานจนถึงปี 2025 ก่อนที่ระบบทุกอย่างจะไม่สามารถใช้การได้

แต่อย่างไรก็ตามยานจะยังเดินทางด้วยความเร็วสูงออกนอกระบบสุริยะ พร้อมกับ "แผ่นเสียงทองคำ" ที่บันทึกเรื่องราวของมนุษย์โลกติดไปด้วย เผื่อซักวันหนึ่งในเอกภพที่กว้างใหญ่แห่งนี้ จะมีใครค้นพบมันเข้า




โมดูลใหม่ขึ้นไปติดตั้งบน ISS เป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี

ธันวาคม 2017

สถานีอวกาศนานาชาติ ถูกเริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี 1998 ด้วยการส่งชิ้นส่วนและโมดูลต่าง ๆ ขึ้นไปติดตั้ง จนเสร็จสิ้นในปี 2011 ด้วยโมดูลชิ้นสุดท้ายคือ Leonardo (PMM) และ EXPRESS Logistics Carrier 4 การทำแบบนี้จำเป็นต้องอาศัย "กระสวยอวกาศ"

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

เนื่องจากการปลดระวางของกระสวยอวกาศ ทำให้โมดูลต่าง ๆ ไม่สามารถถูกส่งขึ้นไปติดตั้งได้ แม้ในช่วงกลางปีที่ผ่านมา SpaceX จะช่วยให้ NASA ติดตั้งโมดูลทดสอบ BEAM โดยยัดไปส่วน Trunk หรือช่องว่างใต้ยาน Dragon ได้ แต่ก็นับว่าเป็นโมดูลทดสอบขนาดเล็กเท่านั้น

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

แต่รัสเซียเป็นผู้เชี่ยวชาญในระบบการ docking อัตโนมัติอยู่แล้ว เพราะโมดูแรก "ซายา" ก็ถูกส่งขึ้นไปด้วยจรวด Proton ของรัสเซีย และในปี 2017 จรวด Proton จะทำแบบนั้นอีกครั้งด้วยการส่งโมดูล "นูกา" แปลว่า วิทยาศาสตร์ในภาษารัสเซีย ขึ้นไปติดตั้งด้วยระบบ อัตนโนมัติ แบบเทพ ๆ โหดสัสรัสเซีย นับเป็นการติดตั้งโมดูลของสถานีครั้งแรกในรอบหลายปี ทำให้สถานีจะมีพื้นที่การทำงานที่กว้างขึ้นมาอีกนิดนึง

ขอบคุณที่มา: https://nutn0n.com/2017-year-in-space/
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ลูกสาวอบต's profile


โพสท์โดย: ลูกสาวอบต
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
20 VOTES (4/5 จาก 5 คน)
VOTED: chuanb, Prince Dastan, ไทยเฉย
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
แม่น้ำที่อันตรายที่สุดในโลกปรี๊ดเลย! "ครูไพบูลย์" โดนแซวว่าเล็ก..โต้กลับทันที "ผมเล็กหรือคุณโบ๋" กันแน่เมื่อท่านรมต.ลาว เม้นแซะไทย ลั่น ถึงลาวไม่หลุดพ้นจากประเทศด้อยพัฒนา..แต่ลาวไม่มีขอทานแบบไทย!?แดนเซอร์ "ลำไย ไหทองคำ" หล่อระดับพระเอก..ค่ายเตรียมดันเป็นศิลปินแล้วโป๊ะแตกอีก! เมื่อเขมรพยายามตัดต่อวิดีโอเพื่อใช้อ้างว่า "สงกรานต์" คือของเขมรแต่โบราณ?"ศรีสุวรรณ" รีเทิร์น ลุยฟ้อง ครม.-มท.1 ใช้อำนาจโดยมิชอบก่อสร้างถนนผ่านสวนเฉลิมพระเกียรติ ขัดต่อกฎหมายนักดื่มกระทิงแดง กำลังมองหากระป๋อง ที่มีจุดสีน้ำเงินอยู่ข้างใต้กะเทยแทงกันบาดเจ็บสาหัส ย่านสุขุมวิท11 ซ้ำรอย! จุดที่เคยเกิดเหตุวันกะเทยผ่านศึก..suggestion: คำแนะนำ ข้อเสนอแนะJKN ขาดทุน 2,157 ล้านบาท ครั้งแรกในรอบ 10 ปี ธุรกิจคอนเทนต์แผ่ว
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
suggestion: คำแนะนำ ข้อเสนอแนะยลโฉมความงดงามของนครวัดก๊อปเกรดเอจากฝีมือจีน อลังการไม่แพ้นครวัดของกัมพูชา!4ปีเกิดงานเงินสุดปัง ช่วงนี้พลังธาตุเปลี่ยน แนะนำไปทางนี้ต่อ พยากรณ์โดย ซินแสน้อย เเต้เอี่ยงคัง
กระทู้อื่นๆในบอร์ด มือถือ Gadget เทคโนโลยี
อัพเดทสถานการณ์ ผู้ผลิตรถบินได้แต่ละค่ายผ่านร่างกฎหมายห้ามเด็กใช้โซเชียลมีเดียรถบินได้ ได้รับการอนุมัติแล้ว5 เกมที่ห้ามพลาดในปี 2024!
ตั้งกระทู้ใหม่