ชมกันชัดๆ ภาพแสงสีสวย บั้งไฟพญานาค
เพจ พิสูจน์บั้งไฟพญานาค เผยเรื่องราว.....
ภาพจากลานพญานาค อ.ปากคาด จ.บึงกาฬ คืนวันที่ 5 ต.ค. 60 โดยเพื่อนช่างภาพที่ช่วยไปถ่ายจุดนั้น หลังโรงแรมโขงค้ำคูณ พิกัด 18.30894, 103.30042
ภาพปืนส่องแสงฝั่งลาวผมยกมาให้ชมเป็นภาพแรกใหญ่สะดุดตา แต่ลองเปิดไปดูภาพหลังๆ ทีนี้เป็นปืนส่องแสงจากฝั่งไทยเองเป็นส่วนใหญ่เลยครับ ไม่น่าเชื่อว่ามีการยิงที่ฝั่งไทยเอง ตอนแรกผมก็ว่าจะโจมตีฝั่งลาวอย่างแน่วแน่ พอเห็นภาพแล้วทำเอาล้อฟรีไปเลย
เคยได้กลิ่นตุๆมานาน แต่สงสัยถ้ายิงฝั่งไทยจริงๆจะยิงอีท่าไหนได้ แต่ความโค้งของแม่น้ำโขงช่วยให้เราเห็น หากเป็นการโค้งแบบเว้าเข้ามา มองไปด้านข้างจะเห็นฝั่งไทยเช่นกัน ก็เลยได้ภาพดังที่เห็น ไม่แน่นะว่านี่อาจเป็นคำตอบให้บางคนเห็นมันขึ้นริมตลิ่งฝั่งไทยก็เป็นด้ายยยย
แต่จะขึ้นจากฝั่งลาวหรือฝั่งไทย ก็ยังไม่พบลูกที่ขึ้นจากน้ำอยู่ดีครับ และนี่คือปีที่ 7 ของการตามถ่ายรูปพิสูจน์แล้ว
การนำเสนอภาพ ผมมักโพสภาพเต็มกับภาพตัด ภาพเต็มแสดงให้เห็นเจตนาว่าเราถ่ายกว้างๆเพราะไม่รู้ว่ามันจะขึ้นตรงไหน ภาพตัดคือตัดเฉพาะจุดที่มันขึ้นไกลๆนั้นขยายมาให้ชม ดังนั้นกล้องยิ่งพิกเซลสูงๆก็ยิ่งดี ให้สังเกตเวลาที่เขียนที่มุมภาพว่าเป็นภาพเดียวกันหรือไม่
หมู่บ้านไทยที่เป็นแสงไฟเรียงรายนั้นคือ บ้านต้อนใหญ่ อ.รัตนวาปี เดี๋ยวอภิปรายแผนที่กันในคอมเม้นท์แรกนะครับ
และต่อ ด้วยคลิป ที่ทางเพจ อธิบายว่า
นำภาพนิ่งทั้งหมดที่ลานพญานาค อ.ปากคาด 5 ต.ค. 60 มาเรียงต่อกันกลายเป็นวีดีโอ
อาจช่วยลดข้อครหาว่าแอบซ่อนภาพบั้งไฟฯของจริงได้ครับ คิดว่าเจอของจริงตอนไหนก็หยุดภาพไว้แล้วแคปมาโพสเลย ที่นำเสนอภาพนิ่งไปก่อนหน้านี้จะคัดมาเฉพาะภาพที่ถ่ายติด แต่อันนี้เอามาทั้งหมดทั้งที่ถ่ายติดและถ่ายไม่ติดเลยครับ
ช่วงแรกๆของวีดีโอ เอาเฉพาะภาพตัดขยายไปบริเวณที่ลูกไฟชอบขึ้นบ่อยๆ เส้นสีแดงอมชมพูที่โผล่มาเป็นระยะๆก็คือเป้าหมายของเรา ส่วนแสงไฟจากหมู่บ้านที่เรียงรายตรงโค้งน้ำนั้นคือฝั่งไทย บ.ต้อนใหญ่ อ.รัตนวาปี (แต่ยืนยันเช่นเดิมไม่ได้กล่าวหาว่าที่นี่จะยิง แค่ตรงมุมกัน) ส่วนหลังๆเป็นภาพเต็ม และภาพที่ถ่ายไปมุมอื่นบ้าง
อย่าลืมปรับความละเอียดวีดีโอเป็น 1080p ให้เต็มจอด้วยนะครับ เดี๋ยวนี้เฟชบุ๊คใจดีให้ละเอียดขนาดนี้แล้ว (เมื่อก่อนแค่ 720p)
มีเรื่องตลกๆบนผิวน้ำ ดูดีๆจะเห็นแสงไฟวิ่งฉวัดเฉวียงไปมา ว่าแล้วก็วิ่งเข้าป่าฝั่งลาว แล้วเหมือนถูกลากขึ้นไปในป่าฝั่งลาวซะงั้น แม้ช่างภาพเองยังตอบไม่ได้ว่ามันคืออะไร :D
อธิบายเพิ่มเติม เกิดจากภาพที่เปิดหน้ากล้องนานภาพละ 4 วินาที และอย่าสับสนกับโคมลอยบนฟ้าที่เป็นเส้นสีส้มๆลอยฉวัดเฉวียงไปมานะครับ