15 ทะเลสาบแปลกที่สุดในโลก
อันดับ 1 ทะเลสาบแมงกะพรุน ไร้พิษ เจลลี่ฟิชเลค (Jellyfish Lake), สาธารณรัฐปาเลา
“เจลลี่ฟิชเลค” หรือ “ทะเลสาบแมงกะพรุน” เป็นทะเลสาบบนเกาะอิลมาร์ก (Mecherchar) บริเวณหมู่เกาะร็อก ของประเทศปาเลา ซึ่งเป็นดินแดนที่ไม่มีการตั้งถินฐานของมนุษย์ ที่นี่เป็นสวรรค์ของแมงกะพรุนขนาดใหญ่น้อยนับล้านตัวที่สูญสิ้นวิญญาณนัก ล่ามาเป็นเวลานานนับพันปีแล้ว ด้วยความที่ไม่ต้องออกล่าเหยื่อเหมือนแมงกะพรุนโดยทั่วไป เพราะได้รับสารอาหารโดยตรงจากสาหร่ายซิมไบโอติคที่อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อ (ที่ พวกมันต้องทำก็คือ ‘การเพาะเลี้ยงสาหร่าย’ ที่อาศัยอยู่ในตัว ด้วยวิธีอาบแดดบริเวณผิวน้ำในช่วงเวลากลางวัน และดำดิ่งลงใต้น้ำเพื่อป้อนไนโตรเจนและสารอาหารอื่นๆ ให้สาหร่ายในช่วงเวลากลางคืน) ทำให้แมงกะพรุนในทะเลสาบแห่งนี้ไม่มีพิษ นักท่องเที่ยวจึงสามารถลงเล่นน้ำท่ามกลางฝูงแมงกะพรุนโดยไม่ต้องกลัวว่าจะได้รับอันตราย
อย่างไรก็ตาม ที่นี่ไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวดำน้ำแบบสกูบ้าเพราะฟองอากาศจะทำให้แมง กะพรุนได้รับอันตราย และตัวนักท่องเที่ยวเองก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะที่ระดับความลึกตั้งแต่ 15 เมตรลงไป (จากผิวน้ำ) จะเป็นชั้นที่ไม่มีออกซิเจน แต่มีไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือ “ก๊าซไข่เน่า” ในปริมาณที่เข้มข้นมาก (ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นก๊าซพิษที่สามารถซึมเข้าสู่ผิวหนังและมีอันตรายถึงชีวิต)
หมายเหตุ : ปาเลา เป็นประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยหมู่เกาะ 26 เกาะ และมีเกาะเล็กๆ อีกประมาณ 300 เกาะ ปัจจุบัน “เจลลี่ฟิชเลค” เป็นทะเลสาบใกล้ทะเลเพียงแห่งเดียวของปาเลาที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม
อันดับ 2 ทะเลบัวแดง บึงหนองหาน กุมภวาปี จ.อุดรธานี : ประเทศไทย
“ทะเลบัวแดง” ตั้งอยู่ในอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี มีลักษณะเป็นหนองน้ำขนาดใหญ ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางมากถึง 22,500 ไร่ อุดมไปด้วยพันธุ์ปลา พันธุ์นก และพืชน้ำจำนวนมาก จึงถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่นี่นับเป็นทุ่งดอกไม้ตามธรรมชาติที่ใหญ่ สุดในประเทศไทย ในแต่ละปีจะมีดอกบัวโผล่ขึ้นมาบานชูช่อแตกกอเต็มท้องน้ำ ไม่ว่าหันไปทางไหนก็จะเจอดอกบัวแดงบานสะพรั่งชนิดสุดลูกหูลูกตา โดยจะเริ่มต้นผุดขึ้นมาให้เห็นตั้งแต่เดือนตุลาคม แต่จะบานเต็มที่และมีปริมาณมากที่สุดในช่วง¬เดือนธันวาคม — กุมภาพันธ์ หลังจากนั้นจะค่อย ๆ ลดจำนวนลงในเดือนมีนาคม นักท่องเที่ยวสามารถล่องเรือชมความงดงามของทะเลบัวแดงได้ตั้งแต่เวลาเช้า ตรู่ไปจนถึงประมาณ 11.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่ดอกบัวบาน
อันดับ 3 ทะเลสาบยางมะตอย ลา เบรีย พิตช์เลค (La Brea Pitch Lake), สาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก
ทะเลสาบแอสฟัลท์ (ยางมะตอย) แห่งนี้ตั้งอยู่ในหมู่บ้านลาเบรีย บนเกาะตรีนิแดด ครอบคลุมพื้นที่มากถึง 100 เอเคอร์ (253 ไร่) คาดว่าบริเวณใจกลางจะมีความลึกมากถึง 76 เมตร นับเป็นแหล่งแอสฟัลท์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ยางมะตอยเหลวของที่นี่มีสีดำและข้นหนืด บริเวณพื้นผิวในบางจุดจะมีลักษณะกึ่งแข็งจนสามารถลงไปเดินเล่นได้ แต่บางจุดถ้ายืนนานก็อาจค่อยๆ จมลงไป ถูกนำมาใช้ในเป็นวัตถุดิบสำหรับราดพื้นผิวถนนนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1867 (พ.ศ. 2410) คาด ว่าในทะเลสาบซึ่งประกอบไปด้วย น้ำ ก๊าซ แร่ธาตุ น้ำมันดิน ยางมะตอย ดินเหนียว และทรายซิลิก้า น่าจะมีปริมาณยางมะตอยเหลวสะสมทั้งสิ้นราว 10 ล้านตัน หรือนำมาใช้ได้นาน 400 ปีเลยทีเดียว
ที่ผานมา ยางมะตอยเหลวและน้ำมันดินจากทะเลสาบแห่งนี้ ถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบคุณภาพเยี่ยมสำหรับราดพื้นผิวถนนและสนามบินในกว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมทั้ง อเมริกา อังกฤษ อินเดีย สิงคโปร์ อียิปต์ ญี่ปุ่น ฯลฯ นอกจากจะเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตยางมะตอยแล้ว ทะเลสาบแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่ถูกขึ้นทะเบียนให้เป็น แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติอีกด้วย และจุดขายใหม่ของที่นี่ก็คือการเปิดให้แช่ตัวในบ่อกำมะถันร้อนที่เจิ่งนอง รอบๆ ทะเลสาบแอสฟัลท์ในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน-พฤศจิกายน) ซึ่งเชื่อว่ามีสรรพคุณในด้านการดูแลรักษาผิวพรรณ และลดอาการเจ็บปวดของข้อต่อ (เพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุแลกำมะถัน) แต่ข้อควรระวังก็คือน้ำอาจลึกมากในบางจุด
อันดับ 4 บึงเดือด บอยลิ่งเลค (Boiling Lake), เครือรัฐโดมินิกา
“บอยลิ่งเลค” เป็นบ่อไอเดือดหรือพุก๊าซ (หลุมหรือปล่องที่มีไอน้ำพุ่งขึ้นมา) ที่ถูกน้ำท่วมขังจนกลายสภาพเป็นทะเลสาบที่กำลังเดือดปุดๆ มีความกว้างราว 60 เมตร ลึกกว่า 59 เมตร อุณหภูมิริมทะเลสาบอยู่ที่ประมาณ 82 – 91.5 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิกลางทะเลสาบที่มีความร้อนมากที่สุดยังไม่มีใครสามารถวัดได้
ทะเลสาบเดือดแห่งนี้เป็นแหล่งมรดกโลกที่ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติมอร์น ทรอยส์ พิตอนส์ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก (รองจากทะเลสาบเดือดฟรายอิ้ง แพน เลค ในประเทศนิวซีแลนด์) สามารถมองเห็นกลุ่มไอน้ำลอยเหนือหุบเขาได้แต่ไกล แต่การเดินทางไปเยือนทะเลสาบแห่งนี้ค่อนข้างทรหด นักท่องเที่ยวควรมีร่างกาย ที่แข็งแรง เพราะต้องเดินเท้า ปีนเขา เข้าป่า ลุยธารน้ำพุร้อน ไปตามทางแคบๆ แถมยังค่อนข้างลื่นและลาดชัน เป็นระยะทางทั้งสิ้น 13 ก.ม.
อันดับ 5 ทะเลสาบแมนนิกัวแกน (Lake Manicouagan), รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา
ทะเลสาบรูปวงแหวนแห่งนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 214 ล้านปีที่แล้ว (ยุคไทรแอสซิก) หลังโลกถูกดาวเคราะห์น้อยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 กิโลเมตรพุ่งเข้าชน (ใหญ่เป็นอันดับ 5 ในจำนวนดาวเคระห์น้อยทั้งหมดที่เคยพุ่งชนโลก) แม้จะไม่ใช่ร่องรอยความเสียหายที่มีขนาดใหญ่ที่สุด แต่ก็เป็นความเสียหายที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนที่สุด (สามารถเห็นได้จากอวกาศ) มีอีกชื่อหนึ่งว่า “อาย ออฟ ควิเบก (eye of Quebec)”
“แมนนิกัวแกน” เป็นทะเลสาบรูปวงแหวนที่มีเกาะขนาดใหญ่อยู่กลาง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 กิโลเมตร ปัจจุบัน ถูกใช้เป็นอ่างเก็บน้ำขนาด ใหญ่สำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ โดยมีความจุน้ำมากถึง 139.8 ลูกบาศก์กิโลเมตร (เป็นอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกเมื่อพิจารณาจากความจุ) แต่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำได้เพียง 35.2 ลูกบาศก์กิโลเมตรเท่านั้น
อันดับ 6 ทะเลสาบสีแดง ลากูนา โคโลราดา (Laguna Colorada), รัฐพหุชนชาติแห่งโบลิเวีย
“ลากูน่า โคโลราด้า” หรือ “เรด ลากูน” เป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่มีลักษณะตื้น ตั้งอยู่ภายในเขตอนุรักษ์แห่งชาติเอดัวร์โด้ อาวารัว แอนเดียน ฟาวน่า (Eduardo Avaroa Andean Fauna National Reserve) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบสูงอัลติพลาโนในประเทศโบลิเวีย (ใกล้พรมแดนประเทศชิลี)
ทะเลสาบแห่งนี้ตั้งอยู่บนความสูงถึง 14,000 ฟุต (4,267 เมตร) เหนือระดับน้ำทะเล ประกอบด้วยสันดอนบอแรกซ์สีขาวสว่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตัดกับสีแดงของน้ำในทะเลสาบที่เกิดจากแพลงก์ตอน สาหร่ายสีแดง และจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ อันเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของนกฟลามิงโก้สีชมพูพันธุ์หายากซึ่งถูก ขึ้นทะเบียนให้เป็นสัตว์สงวน ได้แก่ พันธุ์เจมส์’ส ฟลามิงโก้ (พูนา ฟลามิงโก้), ชิเลียน ฟลามิงโก้ และ แอนเดียน ฟลามิงโก้ (หายากที่สุด)
อันดับ 7 ทะเลสาบลาวาในภูเขาเอเรบัส (Mount Erebus), รอสส์ ไอส์แลนด์ ทวีปแอนตาร์กติกา
ทะเลสาบแห่งนี้ตั้งอยู่ในทวีปที่หนาวเย็นที่สุดในโลก บนความสูงราว 12,500 ฟุต (3,810 เมตร) เหนือระดับน้ำทะเล แม้จะเป็นทะเลสาบที่ตั้งอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศอันหนาวเหน็บ (หน้าร้อนอุณหภูมิโดยเฉลี่ย -20° เซลเซียส ส่วนหน้าหนาวมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย -50° เซลเซียส) แต่ ผืนดินรอบทะเลสาบกลับมีอุณหภูมิสูงถึง 65° เซลเซียส ส่วนอุณหภูมิในทะเลสาบนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะทะเลสาบที่ว่านี้ก็คือ “ทะเลสาบลาวา” ในปากปล่องภูเขาไฟเอเรบัสนั่นเอง
เอเรบัสเป็นภูเขาไฟที่ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 1.3 ล้านปีก่อน ปัจจุบันยังคงมีพลังและปะทุอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 1972 (พ.ศ. 2515) เป็นต้นมา บริเวณยอดเขาปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ปากปล่องภูเขาไฟด้านนอกมีลักษณะเป็นรูปวงรีกว้าง 500 x 600 เมตร ลึก 110 เมตร ส่วนปากปล่องชั้นในซึ่งเป็นที่ตั้งของทะเลสาบลาวามีความกว้าง 250 เมตร ลึก 100 เมตร ลาวาเดือดภายในปล่องจะปะทุขึ้นมาเป็นระยะๆ และบางครั้งก็จะมีลาวาบอมบ์ (หินร้อนก้อนใหญ่กว้างราว 10 ฟุต) กระเด็นออกมานอกปล่องอีกด้วย (ทะเลสาบลาวาแห่งนี้ เป็นหนึ่งในห้าทะเลสาบลาวาแบบถาวรของโลก)
อันดับ 8 ทะเลสาบสีชมพู ทะเลสาบฮิลลิเออร์ (Lake Hillier), รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย
ทะเลสาบสีนมเย็นความยาว 2,000 ฟุต (610 เมตร) แห่งนี้ตั้งอยู่บนเกาะมิดเดิ้ล ไอส์แลนด์ ท่ามกลางหาดทรายและป่าทึบ (ป่าต้นเปเปอร์บาร์คและยูคาลิปตัส) โดยมีเนินทรายแคบๆ ที่ปกคลุมด้วยป่าไม้กั้นกลางระหว่างทะเลสาบและชายฝั่งมหาสมุทรใต้ (มหาสมุทรที่อยู่ล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก) ด้วย ความที่ทั้งเกาะและบริเวณโดยรอบเป็นพื้นที่อนุรักษ์ ทางเดียวที่จะชมความงามของทะเลสาบแห่งนี้ได้ก็คือการมองจากมุมสูงทางอากาศ เท่านั้น
ทะเลสาบน้ำเค็มแห่งนี้ถูกค้นพบโดยนักเดินเรือและนักเขียนแผนที่ชาวอังกฤษ “เมทธิว ฟลินเดอร์ส* ” เมื่อปี ค.ศ. 1802 (พ.ศ. 2345) แม้ว่าในโลกนี้ยังมีทะเลสาบสีชมพูอีกหลายแห่ง (รวมทั้งทะเลสาบน้ำเค็ม “พิงก์ เลค” ใกล้เมืองเอสเปอร์แรนซ์ ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย) แต่ทะเลสาบฮิลลิเออร์มีความแตกต่างจากทะเลสาบสีชมพูแห่งอื่นๆ ตรงที่น้ำในทะเลสาบเป็นสีชมพูจริงๆ ไม่ได้เกิดจากการตะกอน แสงสะท้อน หรือสาหร่ายในน้ำ เมื่อตักน้ำในทะเลสาบฮิลลิเออร์มาใส่ ขวดก็จะได้น้ำสีชมพูใสและจะเป็นสีชมพูอยู่อย่างนี้ตลอดไป ทุกวันนี้ยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าทำไมน้ำในทะเลสาบแห่งนี้ถึงมีสี ชมพู แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในเกล็ดเกลือ
* เมทธิว ฟลินเดอร์ส เป็นคนแรกที่แล่นเรือรอบออสเตรเลีย และระบุว่าดินแดนแห่งนี้เป็นทวีป
อันดับ 9 สวรรค์ของนักเล่นเซิร์ฟ ทะเลสาบสุพีเรีย (Lake Superior), สหรัฐอเมริกา
ทะเลสาบสุพีเรีย เป็นหนึ่งในกลุ่มทะเลสาบเกรทเลคส์ ตั้งอยู่ระหว่างรัฐมินนิโซตา รัฐมิชิแกน และรัฐวิสคอนซินของสหรัฐอเมริกา กับรัฐออนแทรีโอของประเทศแคนาดา ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางมากถึง 82,170 ตารางกิโลเมตร มีความยาวประมาณ 563 กิโลเมตร กว้างประมาณ 257 กิโลเมตร บางจุดมีความลึกมากถึง 1,300 ฟุต (400 เมตร) เป็นทะเลสาบใหญ่สุดในอเมริกาเหนือ และได้ชื่อว่าเป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อพิจารณาจากเนื้อที่พื้นผิว (แต่ถ้าพิจารณาจากปริมาณน้ำจะเป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับสามของโลก ถึงกระนั้นปริมาณน้ำทั้งหมดในทะเลสาบสุพีเรียก็มากพอที่จะทำให้อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ถูกน้ำท่วมสูง 1 ฟุต)
เห็นภาพแล้วหลายคนอาจนึกสงสัยว่านี่คือทะเลสาบหรือทะเลกันแน่ ขอยืนยันว่า ที่นี่ไม่ใช่ทะเลแต่เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีคลื่นลมแรง ความสูงของคลื่นวัดได้ตั้งแต่ 1-30 ฟุต (0.3 – 9 เมตร) โดยเฉลี่ยแล้วคลื่นจะมีความสูงราว 2-6 ฟุต (0.6 – 1.8 เมตร) แต่คลื่นลมจะแรงที่สุดในช่วงฤดูหนาว (ก่อนน้ำจะกลายเป็นน้ำแข็งในที่สุด) ที่นี่จึงเป็นสวรรค์ของนักเล่นเซิร์ฟไปโดยปริยาย
อันดับ 10 ทะเลสาบเมดิซีน (Medicine Lake), รัฐแอลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา
ทะเลสาบแห่งนี้เดิมชื่อ “เมจิกเลค” ตั้งอยู่ภายในเขตอุทยานแห่งชาติแจสเปอร์ มีความยาวราว 7 กิโลเมตร หากไปเยือนในช่วงฤดูร้อนนักท่องเที่ยวจะได้เห็นภาพทะเลสาบที่สวยงามอย่าง นี้ แต่ถ้าไปเยือนในช่วงฤดูหนาวภาพที่เห็นจะต่างออกไป เพราะน้ำทั้งหมดในทะเลสาบจะอันตรธานหายไปอย่างไร้ร่องรอย
นั่นเป็นเพราะความจริงแล้ว “เมดิซีนเลค” ไม่ได้เป็นทะเลสาบจริงๆ แต่เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่รับน้ำ “มาลีน วัลเลย์ (Maligne Valley)” ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำมาลีน ทะเลสาบมาลีน และระบบไหลเวียนน้ำ (ธรรมชาติ) ผ่านถ้ำหินปูนใต้ดิน ในช่วงฤดูร้อนของทุกปีธารน้ำแข็งที่ปกคลุมบนภูเขาในแถบนี้จะละลายลงสู่แม่น้ำมาลีน โดย น้ำส่วนหนึ่งจะไหลบ่าลงมายังบริเวณนี้อย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นทะเลสาบที่ สวยงาม ก่อนเริ่มลดระดับลงในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและหายไปจนเกือบหมดในช่วงฤดูหนาว
แล้วน้ำปริมาณมหาศาลหายไปไหนหมดภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ทั้งๆ ที่ไม่มีทางให้น้ำไหลออก? คำตอบก็คือน้ำทั้งหมดซึมลงใต้ดิน (ผ่านระบบระบายน้ำธรรมชาติซึ่งเชื่อมต่อกับถ้ำหินปูนและแม่น้ำขนาดใหญ่ยักษ์ที่อยู่ใต้ดิน) ลักษณะคล้ายเวลาที่เราระบายน้ำออกจากอ่างอาบน้ำ เพียงแต่ในช่วงฤดูร้อนมี ปริมาณน้ำจำนวนมหาศาลไหลทะลักลงมาเติมพื้นที่บริเวณดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว ขณะที่ช่องทางระบายน้ำลงสู่ใต้ดินมีขนาดเล็กจึงระบายได้ล่าช้า ครั้นพอน้ำแข็งละลายจนหมดและเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว สายน้ำที่เคยถาโถมเข้ามาก็เริ่มอ่อนแรง แถมน้ำในแม่น้ำมาลีนยังกลายเป็นน้ำแข็ง เมื่อไม่มีน้ำจากแม่น้ำไหลมาเติม น้ำในทะเลสาบเมดิซีนจึงถูกระบายลงสู่ใต้ดินจนหมด และจะกลับมาเป็นทะเลสาบที่สวยงามครั้งหลังน้ำแข็งละลายในช่วงฤดูร้อนของปี ถัดไป
อันดับ 11 ทะเลสาบแห่งความตาย ทะเลสาบเนตรอน (Lake Natron), สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย
ทะเลสาบน้ำเค็มแห่งนี้ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแทนซาเนีย (ใกล้พรมแดนประเทศเคนย่า) บริเวณ ฝั่งตะวันออกของหุบเขารอยเลื่อน “อีสต์ แอฟริกัน ริฟท์ (East African Rift)” ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติตามอนุสัญญาแรม ซาร์ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2001
ทะเลสาบเนต รอนเป็นแหล่งรองรับน้ำจากแม่น้ำเซาเทิร์น อีวาโซ กิโร (Southern Ewaso Ng’iro) ในประเทศเคนย่า และมีธารน้ำพุร้อนที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุไหลผ่าน ลักษณะค่อนข้างตื้น ความลึกมากสุดไม่ถึง 3 เมตร ส่วนความกว้างไม่แน่นอน เนื่องจากน้ำในทะเลสาบแห่งนี้จะระเหยไปในอากาศรวดเร็วมาก ทำให้มีเกลือและแร่ธาตุ ” เนตรอน* ” สะสมในปริมาณที่เข้มข้น (บริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งสะสมของเถ้าภูเขาไฟจากหุบเขา “อีสต์ แอฟริกัน ริฟท์”) โดยน้ำในทะเลสาบมีค่าความเป็นด่างตั้งแต่ 9-10.5 ทั้งยังมีฤทธิ์ในการกัดกร่อนสูงเช่นเดียวกับแอมโมเนีย และอุณหภูมิสูงถึง 60 °C
หลังน้ำระเหยอย่างรวดเร็วในช่วงฤดูแล้ง ทะเลสาบแห่งนี้จะมีสีแดงเข้มเนื่องจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจำพวกฮาโลไฟลซึ่ง อาศัยอยู่ในพื้นที่เค็มจัดจะเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ไซยาโน แบคทีเรีย” ที่มีความสามารถในการสังเคราะห์แสงเช่นเดียวกับพืช และเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ทะเลสาบกลายเป็นสีแดง แม้น้ำในทะเลสาบจะเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต แต่ที่นี่ก็เป็นถิ่นอาศัยและแพร่พันธุ์ของนกฟลามิงโกนับล้านตัว นกฟลามิงโกเหล่านี้จะกินสาหร่ายสไปรูลิน่าสีน้ำเงินเขียวในทะเลสาบซึ่งมี เม็ดสี (แดง) ติดอยู่ ทำให้ตัวมันกลายเป็นสีชมพูอมแดง นอกจากนกฟลามิงโกแล้ว ยังมีปลาทนด่างอีก 2 ชนิดอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีธารน้ำพุร้อนไหลผ่าน ด้วยความที่น้ำมีความเป็นด่างสูงจึงมักมีซากนกหลากชนิดและปลาปรากฏให้เห็น โดยซากสัตว์ทั้งหมดล้วนมีลักษณะคล้ายถูกสต๊าฟ คือแห้งและแข็งเหมือนหิน
ซากนกฟลามิงโกที่พบริมทะเลสาบ ซึ่งถูกช่างภาพนำมาจัดวางใหม่เพื่อถ่ายภาพ
(แต่ไม่สามารถจับโพสท่าหรือบิดอวัยวะส่วนใดได้ เนื่องจากมีลักษณะแข็งเหมือนหิน)
* แร่เนตรอน ประกอบด้วย โซเดียมคาร์บอเนต (โซดา แอช) และโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้ง โซดา) โดยมีโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) กับโซเดียมซัลเฟตปนอยู่เล็กน้อย – สมัยอียิปต์โบราณมีการขุดแร่เนตรอนจากก้นทะเลสาบที่เหือดแห้งใกล้แม่น้ำไนล์ เพื่อนำมาทำมัมมี่
อันดับ 12 ทะเลสาบแมคเคนซี่ (Lake McKenzie), เครือรัฐออสเตรเลีย
ทะเลสาบแมคเคนซี่ เป็นหนึ่งในกว่า 100 ทะเลสาบน้ำจืดที่ตั้งอยู่บนเกาะเฟรเซอร์ ในรัฐควีนส์แลนด์ ของประเทศออสเตรเลีย มีความยาว 1,200 เมตร กว้าง 930 เมตร ลึก (โดยเฉลี่ย) 5 เมตร มีลักษณะเป็นทะเลสาบที่ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำใต้ดิน (perched lake) บนชั้นทรายอัดแน่นสีขาวที่เต็มไปด้วยอินทรีย์วัตถุ แม้จะเป็นทะเลสาบน้ำจืด แต่ที่นี่ก็มีหาดทราย แถมทรายบริเวณนี้ยังเป็นซิลิกาบริสุทธิ์สีขาวที่มี ความละเอียด ส่วนน้ำในทะเลสาบก็บริสุทธิ์มากจนแทบไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ (ค่า pH ต่ำ)
ด้วยความที่ทะเลสาบแมคเคนซี่ตั้งอยู่เหนือระดับน้ำใต้ดิน น้ำในทะเลสาบจึงมาจากน้ำฝนล้วนๆ (เป็น 1 ใน ทะเลสาบเพียง 80 แห่งของโลกที่ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำใต้ดิน) น้ำที่นี่จึงใสบริสุทธิ์และมีความเป็นกรดสูงเกินกว่าพืชและสัตว์จะดำรงชีวิตอยู่ได้ (น้ำฝนตามธรรมชาติมีความเป็นกรดเล็กน้อยอยู่แล้ว และในทะเลสาบก็มีกรดอินทรีย์ที่เกิดจากซากพืชใต้น้ำ) ถึงกระนั้น ที่นี่ก็มีความสวยงามและเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยว แต่การเป็นสถานที่ฮอตฮิตก็เหมือนดาบสองคม เพราะเริ่มมีความกังวลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า โลชั่น แชมพู ครีมกันแดด ฯลฯ ที่นักท่องเที่ยวใช้ อาจทำลายความใสบริสุทธิ์และให้น้ำในทะเลสาบเปลี่ยนไปจากเดิม
อันดับ 13 ทะเลสาบพาวิเลียน เลค (Pavilion Lake), ประเทศแคนาดา
พาวิเลียน เลค ตั้งอยู่ในหุบเขามาร์เบิ้ล แคนยอน รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา มีความยาว 5.8 กม. ความกว้างโดยเฉลี่ย 0.8 กม. ลึกสุดที่ 65 เมตร นอกจากจะมีวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม บรรยากาศเงียบสงบ เป็นแหล่งดูนก ตกปลาเทราท์ แค้มปิ้ง เดินป่า พายเรือแคนู และดำน้ำแบบสคูบ้าแล้ว ที่นี่ยังเป็นฐานปฏิบัติการร่วมภายใต้โครงการ “พาวิเลียน เลค รีเสิร์ช โปรเจ็ค” ของทีมสำรวจจากองค์การนาซ่าและองค์การอวกาศแคนาดา ตลอดจนสถาบันวิจัยต่างๆ จากทั่วโลกอีกด้วย
ทะเลสาบแห่งนี้ได้รับความสนใจจากบรรดานัก วิทยาศาสตร์และนักชีวดาราศาสตร์ทั่วโลก หลังมีนักดำน้ำพบโครงสร้างแปลกตาลักษณะคล้ายหินคาร์บอนหรือปะการังน้ำจืดที่ ก้นทะเลสาบเมื่อปี ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) เมื่อ นำมาตรวจสอบก็พบ “ชั้นบางจุลชีพ (microbialite)” ที่เกิดจากจุลินทรีย์จำพวกไซยาโนแบคทีเรียที่ยังมีชีวิต อยู่ ลักษณะคล้ายที่พบในสโตรมาโตไลต์ (stromatolite) สมัยดึกดำบรรพ์ อันเป็นฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดบนโลกและมีอายุมากถึง 3,450 ล้านปี (ไซยาโนแบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดบนโลก)
* ชั้นบาง จุลชีพ (microbialite) เป็นชั้นบางที่เกิดจากการตกตะกอนของโคลนปูน พร้อมกับการดักจับตะกอนของ จุลินทรีย์จำพวกไซยาโนแบคทีเรียและเห็ดราที่อาศัยอยู่ในแผ่นจุลชีพ เมื่อแข็งตัวเป็นหินจะเรียกว่า สโตรมาโทไลต์ (stromatolite) – ที่มา EATGRU
แม้การก่อตัวของโครงสร้างหินปูนในลักษณะดัง กล่าวจะพบได้ในทะเลสาบหลายแห่งทั่วโลก แต่โครงสร้างที่พบใต้ทะเลสาบแห่งนี้มีจำนวนมาก ขนาดใหญ่ มีความหลากหลายทั้งในแง่ของ ชนิดจุลินทรีย์ ขนาด และรูปร่างของโครงสร้าง (ขนาดและรูปร่างมีความสัมพันธ์กับความลึก – น้ำยิ่งลึกยิ่งเย็นจัด) ทั้ง ยังพบเป็นวงกว้าง โดยบริเวณน้ำตื้นพวกมันจะมีรูปร่างเป็นกระเปาะคล้ายดอกกะหล่ำ เมื่อสำรวจลึกลงไปเรื่อยๆ จะพบว่าพวกมันมีรูปทรงคล้ายเสาหรือปล่องไฟ, อาร์ติโชค และปะการัง ตามลำดับ
ทุกวันนี้ นักวิทยาศาสตร์และนักชีวดาราศาสตร์ขององค์การนาซ่าและสถาบันต่างๆ ยังคงปักหลักสำรวจและศึกษาอาณาจักรสัตว์เซลล์เดียวที่ก้นทะเลสาบแห่ง นี้ เพื่อสืบหาต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตบนโลก (และดาวดวงอื่น) พวกเขาต้องการหาคำตอบว่า สิ่งเหล่านี้ถือกำเนิดขึ้นได้อย่างไร ตั้งแต่เมื่อไหร่ (คาดว่าน่าจะก่อตัวมานานนับหมื่นปีแล้ว) ทำไมถึงเจริญเติบโตในน้ำจืดท่ามกลางสภาวะแวดล้อมที่ปกติ (ที่ผ่านมาพบว่าพวกมันมักเจริญเติบโตในสภาวะที่ยากลำบากต่อการดำรงชีวิต) จุลินทรีย์ เหล่านี้ก่อโครงสร้างคล้ายหินรูปทรงแปลกตาและมีขนาดใหญ่ขึ้นมาเองใช่หรือ ไม่/อย่างไร แต่ถ้าหากโครงสร้างที่พบเป็นกระบวนการทางธรณีวิทยา ทำไมจึงมีจุลินทรีย์หลากหลายชนิดอาศัยอยู่ และพวกมันอาศัยอยู่ที่นี่มานานเท่าใดแล้ว เป็นต้น
นอกจากก้นทะเลสาบแห่งนี้จะเป็นความหวังในการไขปริศนาเกี่ยวกับต้นกำเนิดของ สิ่งมีชีวิตบนโลกและบนดาวดวงอื่นแล้ว การนำยานสำรวจใต้น้ำมาทำการสำรวจ (ควบคุมโดยนักบินอวกาศ) ทำแผนที่ และบันทึกภาพแบบเอชดี ยังเป็นการฝึกและวางแนวทางสำหรับการสำรวจดาวอังคารอีกด้วย
อันดับ 14 ทะเลสาบมรณะ ทะเลสาบไนออส (Lake Nyos), สาธารณรัฐแคเมอรูน
ทะเลสาบมรณะ “ไนออส” หรือ “คิลเลอร์เลค” เป็นทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ในเขตนอร์ทเวสต์ รีเจียน (Northwest Region) ของแคเมอรูน แม้จะตั้งอยู่ทางด้านข้างของภูเขาไฟไม่มีพลังในที่ราบภูเขาไฟโอ กู แต่ก็อยู่บนแนวภูเขาไฟที่มีพลัง ทั้งยังมีแอ่งแมกมาอยู่ใต้ทะเลสาบจึงมีก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาลรั่วซึมออกมาปะปนในน้ำ และกลายเป็นกรดคาร์บอนิกสะสมอยู่ในน้ำเบื้องล่างซึ่งมีความหนาแน่นและ อุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณผิวน้ำ เมื่อเวลาผ่านไปนานนับร้อยๆ ปี ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สะสมอยู่ใต้น้ำก็ทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ใต้น้ำมีแรงดันสูงขึ้นตลอดเวลา ทะเลสาบไนออสจึงเปรียบเสมือนระเบิดเวลาดีๆ นี่เอง
และแล้วในวันที่ 21 สิงหาคม ปี ค.ศ.1986 (พ.ศ. 2529) ก็เกิดเหตุไม่คาดฝันอันเป็นหนึ่งในมหันตภัยทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดใน ประวัติศาสตร์ เมื่ออยู่ๆ ก็เกิดปรากฏการณ์ทะเลสาบพลิกกลับหรือ “Limnic eruption” โดยไม่ทราบสาเหตุ (คาดว่าอาจเป็นผลมาจากแลนด์สไลด์ แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าอาจเกิดจาก ภูเขาไฟขนาดเล็กระเบิด ลมพายุ พายุฝน ฯลฯ) ส่งผลให้น้ำใต้ทะเลสาบระเบิดและพุ่งขึ้นไปในอากาศถึง 300 ฟุต (91 เมตร) ตามมาด้วยสึนามิขนาดย่อมๆ การระเบิดของน้ำใต้ทะเลสาบในครั้งนั้นทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ราว 1-3 แสนตันถูกปลดปล่อยออกมาสู่บรรยากาศด้วยความเร็ว 60 ไมล์ (96.5 กม.) ต่อชั่วโมง ส่งผลให้ประชาชน 1,746 คน และสัตว์เลี้ยงกว่า 3,500 ตัวที่อยู่ในรัศมี 24 กม. เสียชีวิตเพราะขาดอากาศ (มีผู้รอดชีวิตเพียง 6 คน)
หลังเกิดภัยพิบัติในครั้งนั้น ทีมนักวิทยาศาสตร์นำโดยชาวฝรั่งเศสได้ทำการตั้งท่อเชื่อม (ไซฟ่อน) เพื่อปั๊มน้ำที่เต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ทางด้านล่างขึ้นมาปล่อยเป็นน้ำพุ สูง 21 เมตร ซึ่งจะช่วยปลดปล่อยและลดปริมาณสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใต้น้ำ (ใช้เครื่องช่วยปั๊มน้ำแค่ครั้งแรก หลังจากนั้นฟองอากาศจะดันน้ำที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ผสมอยู่ให้พุ่งขึ้นมาตาม ท่อเอง หรือที่บางคนเรียกว่าน้ำพุโซดา) ปัจจุบัน มีท่อดังกล่าวทั้งสิ้น 3 จุดซึ่งเชื่อว่าน่าจะเพียงพอสำหรับการป้องกันไม่ให้คาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำ เพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณที่ปล่อยออกมีจำนวนพอๆ กับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่รั่วซึมออกมาปะปนในน้ำ
อันดับ 15 ทะเลสาบเดดซี (Dead Sea), อิสราเอล/จอร์แดน
เดดซี หรือซอลท์ซี เป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่ตั้งอยู่บนพรมแดนของประเทศจอร์แดนและอิสราเอล มีความยาว 50 กม. กว้าง 15 กม. ลึกมากถึง 306 เมตร ได้ชื่อว่าเป็นทะเลสาบน้ำเค็มจัด (Hypersaline lake) ลึกที่สุดในโลก นอกจากนี้ บริเวณผิวน้ำและชายฝั่งของเดดซียังอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลถึง 427 เมตร นับเป็นจุดต่ำสุดของโลก (บนผืนดิน) ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ทะเลสาบเค็มที่สุดในโลก แต่เดดซีก็มีระดับความเค็มสูงถึง 34.2% (ทะเล โดยทั่วไปจะมีค่าความเค็มที่ 3.5% ส่วนทะเลสาบ “อัสซาล” ในสาธารณรัฐจิบูตี ซึ่งเป็นทะเลสาบเค็มที่สุดในโลก มีระดับความเค็มอยู่ที่ 34.8%) เนื่องจากเดดซีมีปริมาณเกลือเข้มข้นมากถึง 1 ใน 3 (ราว 1.24 กก.ต่อลิตร) เราจึงสามารถลอยอยู่เหนือผิวน้ำได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะจม
สาเหตุที่เรียกว่าเดดซี เป็นเพราะน้ำที่นี่เต็มไปด้วยแร่ธาตุและมีปริมาณเกลือที่เข้มข้นมาก พืชและสัตว์จึงไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ยกเว้นจุลินทรีย์ และการที่ทะเลสาบแห่งนี้อุดมไปด้วยเกลือและแร่ธาตุจึงกลายเป็นแหล่งท่อง เที่ยวเพื่อสุขภาพและความงามไปโดยปริยาย