Celtic Gods and Goddesses : B Goddess BADB (Irish)
โพสท์โดย sickpack
แบด์บเป็นแม่แบบของเทพีสงครามผู้ทรงพลัง ท่านเป็นส่วนหนึ่งของมอริแกน(เทพสงคราม)เกี่ยวข้องกันด้วยความตาย
การทำลายล้าง และการสู้รบ ท่านมีความเกี่ยวโยงกับแบนชี สัญญาณแห่งความตาย ("Banshee" เป็นการสะกด
ในภาษาอังกฤษ ถ้าเขียนในภาษาไอริชจะเป็นเยี่ยงนี้ "Beansidhe")
ซึ่งแบนชีจะมาทำความสะอาดเกราะของนักรบที่จะต้องตายในสนามรบที่ใกล้จะเกิดขึ้น แบด์บมักจะปรากฎกายในสนามรบ
ที่คละคลุ้งด้วยโทสะ ในร่างของอีกาใส่ฮูดคลุมศีรษะ บางครั้งท่านก็วิ่งเข้าไปในสมรภูมิรบด้วยหน้ากากของหมาป่า
ในการต่อสู้ของท่านเอง แบด์บเป็นหนึ่งในนักรบที่ลงต่อสู้เพื่อขับไล่เผ่าฟอมอเรี่ยนให้ออกไปจากไอร์แลนด์ตลอดกาล
แบด์บเป็นลูกสาวของเอิร์นมาส (Ernmas) ท่านได้ถูกขนานนามว่า 'the one who boils' หรือ "ผู้ที่ต้มจนเดือด"
เนื่องจากในขณะที่ต้มหม้อแห่งโลกต่าง (Otherworld cauldron) แบด์บได้ถูกคัดเลือกให้เป็นผู้ตัดสินชะตากรรม
ของผู้ที่จะเป็นส่วนผสมในการสร้างจักรวาล ในวันโลกาวินาศของตำนานเคลติก (จุดสิ้นสุดของความเชื่อในโลก)
แบด์บ เป็นผู้ทำให้เกิดการสิ้นสุดเวลาของโลกมนุษย์ โดยการต้มหม้อให้เดือดอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ไม่ได้ต้มเพื่อสร้าง
จักรวาลเหมือนครั้งก่อน แต่เป็นการต้มเพื่อดูดกลืนดาวเคราะห์ทั้งหลายให้เหลือเพียงแต่ความว่างเปล่า
แบด์บทำนายหายนะของทูเอธา เด ดอนนานน์ (เทพเจ้า) ให้กับเหล่ามิลลาเซี่ยน (มนุษย์) และมีหลายคนที่เชื่อว่า
ท่านเป็นผู้ทำนายความอดอยากของมนุษย์ในปี 1845-1849
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
God BARINTHUS (Welsh, Anglo-Celtic)
บารินธูส เป็นคนขับรถม้าให้ผู้ที่อาศัยในโลกต่าง (Otherworld)หรือก็คือโลกของเทพเคลท์ ครั้งหนึ่งเขาอาจ
เคยเป็นเทพแห่งท้องทะเลหรือเทพแห่งดวงอาทิตย์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
God BELATUCADROS (British)
เบ-ลาทูคา-ดรอส เทพแห่งสงครามของเคลติก นักเขียนบางคนระบุว่าเบลาทูคาดรอสเป็นเทพมีเขาแห่งแดนเหนือ
ซึ่งตรงกับเทพเคอนูนอส (Cernunnos)
ชาวโรมันเปรียบเบลาทูคาดรอสเป็นเทพแห่งสงครามและทำลายล้าง (the god Mars) ชื่อ เบลาทูคาดรอส
มีความหมายว่า "fair shining one" หรือ "คนที่มีความยุติธรรม"
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
God BELI (Welsh)
เบลิ บิดาหลักของเทพเวลส์ สามีของเทพีดานู พ่อของเทพีอาเรียรฮาด เป็นเทพรองแห่งดวงอาทิตย์ซึ่งบางครั้งก็เปรียบ
ให้เทียบเท่ากับเบเลอร์แห่งเวลส์ นักวิชาการให้ความเห็นว่าชื่อของเขาเป็นชื่อดั้งเดิมของชื่อวันเบลเทน (1 พฤษภาคม)
แต่ส่วนใหญ่แล้วให้ความเห็นว่าเบลิมีความเกี่ยวโยงอย่างลึกซึ้งกับวันซัมเฮน (วันเก็บเกี่ยว)
ปัจจุบันบทบาทหลักๆของเบลิ คือ เทพแห่งความตาย และราชาแห่งโลกต่าง เบลิได้เกี่ยวข้องกับหลายตำนานของ
เพเก้นแห่งกลัสตันบูรี ทอร (the sacred Pagan site of Glastonbury Tor) ซึ่งเป็นสถานที่ที่เบลไฟเออร์
(balefires = ไฟที่จุดจากมัดของฟางหรือท่อนไม้) ได้ถูกจุดขึ้นในวันเบลเทน และวันซัมเฮน ส่องสว่างจนถึงยุคสมัย
ของจักรภพ (1640-1660) บางตำนานกล่าวว่าสถานที่แห่งนี้คือบ้านเกิดของเทพแห่งความตาย กวูน แอพ นูแอด
(the death God Gwyn Ap Nuad) ซึ่งเบลิจะทำให้สถานที่แห่งนี้บริสุทธิ์ด้วยไฟในทุกวันแชบแบท
(Sabbath = 7 วันแห่งการพักผ่อนของชาวยิว)
ชื่ออื่นๆ : Belenus เบเลนัส (ภาษายุโรป); Belinus เบลินัส, Belanos เบลานอส,
Belinos เบลินอส (ภาษาแองโกล-เคลติก); Belimawr เบลิมาว, Beli เบลิ (ภาษาเวลส์);
Bel เบล, Bile ไบล์ (ภาษาสก็อตแลนด์); Beltene เบลทีน (ภาษาไอร์แลนด์);
Apollo-Belenus อพอลโล-เบเลนัส (ภาษาโรมัน-เคลติก)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Goddess BELISAMA (Celtic)
เบลิซามา เทพีแห่งแสงและไฟ เทพีแห่งการปลอมแปลงและงานฝีมือ เธอเป็นภรรยาของเทพเบเลนัส (Beli)
ทั้งยังเป็นเทพีแห่งแม่น้ำเมอร์ซี (Mersey River)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Goddess BELLONA (Scottish)
เบลโลน่า เทพีแห่งสนามรบ ผู้ถูกกล่าวถึงในฉากที่สองของเช็คสเปียร์แมคเบธ ชื่อของเธออาจจะมาจากภาษาลาตินแท้ๆ
หรือไม่ก็เอาชื่อมาจากแบด์บแห่งไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเทพีมีความสามารถคล้ายคลึงกัน
ในตำนานโรมัน เบลโลน่าเป็นมารดาแห่งเทพและเทพแห่งสงคราม เธอสืบทอดตำแหน่งเทพีนี้กับ มา มารดาแห่งเทพ
ในแคปพาโดเซีย (Cappadocian mother Goddess Ma) วัดแรกซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางสร้างโดยชาวโรมัน
แด่เบลโลน่า และ มา (Ma-Bellona) สร้างครั้งแรกใน 296 ปีก่อนคริสตกาล
เบลโลน่า ถูกนักบวชชาวเอเชียเชิญให้มาร่วมงาน ซึ่งนักบวชรูปนั้นได้แสดงการเต้นรำที่บ้าคลั่ง เขาหยิบดาบขึ้นมากวัดแกว่ง
พร้อมกับการร่ายรำก่อนจะบั่นคอตัวเองละเลงเลือดของตนบนแท่นบูชา มอบให้แด่เทพีเบลโลน่า เพราะการกระทำที่อุกอาจ
ส่อแววให้เกิดความรุนแรงในอนาคต โรมจึงปฏิเสธที่จะยอมรับลัทธินี้ ปฏิเสธการบูชาเทพีเบลโลน่า จนกระทั่งคริสตศตวรรษที่ 3
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
God BENDIGEID VRAN (Welsh, Pan-Celtic)
เบนดิเกด ฟราน ตนเดียวกับเทพบราน
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
God BLADUD (Welsh, Anglo-Celtic)
บลาดัด 'flying king' หรือ "ราชาผู้โบยบิน" เป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ในระดับภูมิภาค มีความสัมพันธ์กับน้ำพุร้อนศักดิ์สิทธิ์
ของอังกฤษที่รู้จักกันในชื่อ อไคว ซูลิส (Aquae Sulis) และพื้นที่ ที่ครอบครองโดยชาวโรมันซึ่งเป็นที่เหมาะสมในการสถิต
ของเหล่าเทพเจ้าท้องถิ่น ผู้คนที่นับถือบลาดัดได้ทำการแกะสลักหินให้เป็นตัวแทนของบลาดัดใกล้กับน้ำพุร้อน เป็นรูปบุรุษ
ที่ดูแข็งแรงล่ำสันพร้อมกับเส้นผมที่โชติช่วงราวกับเพลิงแห่งพระอาทิตย์ ด้วยความเจริดจรัสนี้ทำให้เขาถูกนับถือเป็นเทพ
แห่งดวงอาทิตย์
มีเทพีอีกหลายองค์ที่สถิตอยู่ในน้ำพุศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ รวมถึงบรีด (Brid) ซึ่งชาวโรมันรู้จักกันในชื่อมิเนอวา (Minerva)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Goddess BLODEUWEDD (Welsh)
บลอด-เอ-เวธ (บลอเดเวธ) "Flower Face" "White Flower" หน้าดอกไม้ ดอกไม้สีขาว ชื่อเหล่านี้เป็นฉายาของ
บลอเดเวธ หรือสาวใช้ลิลลี่ (Lily maid) แห่งการเริ่มต้นทำพิธีกรรมต่างๆในตำนานเคลติก บลอเดเวธ ถูกรู้จักในอีกชื่อคือ
"Ninefold Goddess of the Western Isles of Paradise" เทพีเก้าเท่าแห่งเกาะตะวันตกในสรวงสวรรค์
สัญลักษณ์ของเธอคือ : นกฮูก เทพีแห่งพื้นโลกในฤดูใบไม่ผลิ ดอกไม้ ปัญญา ความลึกลับของดวงจันทร์ การเริ่มต้น
ประวัติคร่าวๆของบลอเดเวธ มีอยู่ว่า...
"ซิว (Llew) ได้ถูกแม่ของเขาอาเรียนรอด (Arianrhod) สาปไว้ว่า เขาจะไม่สามารถแต่งงานกับมนุษย์หรือเทพตนใดได้
ด้วยความสงสาร กุยดิออน (Gwydion) ลุงของซิว กับ มาธ (Math) ได้สร้างสตรีจากต้นโอ้ค หญ้าไม้กวาด
และ ราชินีแห่งทุ่งหญ้า (meadowsweet) ให้เป็นภรรยาของซิว พร้อมกับตั้งชื่อให้ว่า "บลอเดเวธ"
วันนึงขณะที่บลอเดเวธไปเดินเล่นในป่า เธอได้บังเอิญพบกับกรอนูว (Gronw) ที่กำลังล่าสัตว์อยู่ ทั้งสองตกหลุมรักกันตั้งแต่
แรกพบ ทั้งสองจึงวางแผนกำจัดซิว อุปสรรคความรักของทั้งคู่ แต่ซิวนั้นเป็นเทพ ไม่สามารถฆ่าให้ตายด้วยวิธีธรรมดา
ดังนั้นกรอนูวจึงแนะนำบลอเดเวธให้ไปหลอกล่อหาจุดอ่อนของซิว ซึ่งบลอเดเวธไม่เพียงนำจุดอ่อนของสามีเธอมาให้กรอนูว
แต่เตรียมการทั้งสถานที่และเวลาที่เหมาะสมให้กรอนูวหรือชู้ของเธอไปจัดการฆ่าลซิว ในช่วงเวลาที่ลซิวกำลังจะตายนั้น
เขาได้กลายร่างเป็นนกอินทรี ก่อนจะบินจากไป
เมื่อกุยดิออนรู้เรื่องนี้ เขาก็รีบออกตามล่าบลอเดเวธเพื่อแก้แค้นให้หลานชายสุดที่รักโดยทันที เมื่อกุยดิออนพบบลอเดเวธ
พืชที่เขาสร้างขึ้นมากับมือ เขาก็ลงโทษโดยการสาปให้บลอเดเวธกลายเป็นนก ที่อยู่ได้เฉพาะเวลากลางคืน กินเนื้อเป็นอาหาร
ทั้งยังเป็นที่รังเกียจและหวาดกลัวจากนกตัวอื่นๆ ดังนั้นบลอเดเวธจึงถูกสาปให้เป็นนกฮูกตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา..."
บลอเดเวธ ถูกมองว่าเป็นราชินีแห่งเดือนพฤษภาคม (May Queen) เกี่ยวโยงกับพิธีแต่งงานอันศักดิ์สิทธิ์ของราชันผู้เสียสละ
ที่ท้ายที่สุดแล้วเขาจะต้องถูกบวงสรวงแด่บลอเดเวธ(ให้แต่งงานกับบลอเดเวธ) เพื่อปวงชนของเขา
ชื่ออื่นๆ : บลอดวิน (Blodwin), บลันเชฟลอร์ (Blancheflor)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
God BORVO (Breton)
บอร์โว เทพแห่งการรักษา ชื่อบอร์โว หมายถึง การทำให้เดือด (ชื่อใกล้เคียงกับเทพีแบด์บ) ดังนั้นบอร์โวจึงเป็นเทพแห่งน้ำพุร้อนด้วย เขาขึ้นมาแทนที่ตำแหน่งของซิโรน่า (Sirona) แม่ของเขาเอง ซึ่งเป็นการสืบทอดเชื้อสายเทพจากรุ่นสู่รุ่น
น้ำพุที่บอร์โวปกครองอยู่นั้น มีพลังในการรักษาอย่างมหาศาล
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
God BRAN THE BLESSED (Welsh, Pan-Celtic)
บราน ผู้จำเริญ หรือ บราน แมค เฟบาล (Bran Mac Febal) ชื่อของเขาหมายถึง "อีกา" หรือ "กาเหว่า" บรานเป็นพี่ชาย
ของ มานาเออดัน อัป เชอร์ (Manawydan ap Llyr) [ชื่อในภาษาไอร์แลนด์ คือ มานนานาน แมค ไลร์ (Mannanan mac Lir)]
และบรานเวน (Branwen) ...นิดนึงนะครับ บรานเวนจริงๆแล้วเป็นลูกสาวของไลร์ แต่มีศักดิ์เป็นน้องสาวของบรานครับ
ในเทพนิยายของเวลส์ บราน เป็นบุตรแห่งเทพีอีเวรีด (Iweridd) เขาเป็นเทพแห่งการพยากรณ์ ศิลปะ ผู้นำ สงคราม ดวงอาทิตย์
ดนตรี การเขียน ทั้งยังเป็นต้นแบบของเกาะบริเทน เขาเป็นเทพแห่งหม้อน้ำ มีความเกี่ยวข้องกับหม้อน้ำแห่งการฟื้นฟูซึ่งสามารถ
ฟื้นชีวิตคนตายขณะเดียวกันคนเหล่านั้นจะกลายเป็นใบ้ไปโดยปริยาย
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับบรานเรื่องนึงครับ...
บราน ได้ยกกองทัพขึ้นเพื่อโจมตี กษัตริย์มัธธอยูฟ (King Matholwch) สามีของบรานเวน ในโทษฐานที่บังอาจดูถูกน้องสาว
ของตนในวันอภิเษกสมรสของกษัตริย์มัธธอยูฟกับบรานเวน ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้บรานเวนต้องอดทนกับความอับอาย จนล้มป่วย พี่ชายอย่างบรานทนเห็นน้องสาวต้องเจ็บป่วยไม่ไหว หากไม่ล้มมัธธอยูฟน้องสาวของเขาก็คงไม่ดีขึ้น ดังนั้นบรานจึงจัดทัพบุกไอร์แลนด์ ไม่มีใครสามารถขวางทางกองทัพของบรานได้ อย่างตอนที่จะยกทัพข้ามแม่น้ำซานนอน (Shannon river)
บังเอิญว่าสะพานข้ามมันขาด บรานก็ใช้ตนเองเป็นสะพานให้ทัพของตนเคลื่อนผ่านไป (พี่แกลงทุนจริงๆ)
บรานบุกไอร์แลนด์ในชื่อสงครามแห่งทรีส์ หรือ แคด กอดเดยู (Cad Goddeu) บรานเป็นผู้ที่เรียกได้เลยว่าเก่งกาจเป็นที่สุด
เพราะไม่มีใครสามารถล้มบรานได้เว้นแต่คนผู้นั้นจะสามารถเดาชื่อของบรานได้ถูกต้อง (เป็นตำนานที่พบบ่อยในยุโรปตะวันตก)
ซึ่งกุยดิออน (Gwyddion) เป็นคนเดาชื่อของบรานได้ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้แม้กองทัพของบรานจะชนะสงครามแต่บราน
ก็ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการถูกศรพิษที่เท้า(ถูกเดาชื่อได้จึงอ่อนแอ) หม้อที่เป็นของคู่กายก็ถูกทำลายลง
แต่อย่างไรแล้วเขาก็สามารถชนะศึก ถือเป็นการช่วยเหลือน้องสาวของเขาได้แล้ว ดังนั้นบรานจึงตัดสินใจสั่งลูกน้อง
"จงฆ่าเราซะ และจงหิ้วศีรษะของเราเดินทางไปด้วย จนถึงลอนดอนแล้วฝังเราที่นั่น
เพื่อให้เราได้เป็นดั่งป้อมปราการคอยปกป้องเกาะแห่งนี้"
กองกำลังของบรานที่เศร้าโศกจากการสูญเสียแม่ทัพไป ได้นำศีรษะของบรานกลับมายังที่มั่นของพวกเขาที่เมืองฮาร์เลช (Harlech)เป็นเวลา 7 ปี ซึ่งที่นั่นศีรษะของบรานได้คอยทำนายและเตือนเหตุการณ์ร้ายต่างๆเรื่อยมา ก่อนจะถูกส่งต่อไปยังเมืองกวาเลส (Gwales) และท้ายสุดก็ได้ถูกส่งไปถึงลอนดอน โดยหันหน้าไปยังฝรั่งเศส ซึ่งจะสามารถคอยเตือนได้ทันที หากมีผู้บุกรุก
ชื่ออื่นๆ : เบเนดิเกดฟราน Benedigeidfran, เบรนนัส Brennus (ภาษาฝรั่งเศสโบราณ)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Goddess BRANWEN (Manx, Welsh, Pan-Celtic)
บรานเวน น้องสาวของบราน (Bran) ภรรยาของกษัตริย์มัธธอยูฟ (Mathowch) เธอเปรียบได้กับวีนัสในทะเลเหนือ
เป็นเทพีแห่งความรักและความงาม
บรานเวนเปรียบดั่งตัวแทนแห่งความปรองดองระหว่างไอร์แลนด์กับบริเทน เธอถูกส่งตัวให้อภิเษกสมรสกับมัธธอยูฟ ซึ่งบราน
พี่ชายของเธอรู้ว่าเธอไม่มีความสุข จึงได้ยกทัพเพื่อชิงตัวกลับ แม้บรานจะชนะสงคราม แต่บรานเวนก็ได้ชิงฆ่าตัวตายเสีย
ระหว่างสงคราม ด้วยคิดว่าสงครามที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพราะตัวเธอ อีกทั้งลูกชายของเธอเกวน (Gwern) ก็ถูกสังหารหลังจาก
ที่คิดจะครองบรรลังก์ต่อจากบิดา
บรานเวนเป็นบุตรสาวของมานันนาน (Manannan) และ อีเวรีด (Iweridd) ชื่อของเธอหมายถึง "fair bosom"
หรือ "ความยุติธรรม" เธอมักถูกเปรียบเทียบกับเทพีอโฟรไดท์ของกรีก
ชื่ออื่นๆ : บรานวิน (Branwyn)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Goddess BRID (Pan-Celtic)
บรีด (สะกดว่า BRID แต่ออกเสียงเป็น BREED) มีชื่อเรียกอื่นๆมากมาย ได้แก่ บริจิต Brigit, บริจิด Brigid, ไบรด์ Bride,
ไบรอิด Brighid, บริดเจท Bridget, บริกินโด Brigindo และ บันไฟล์ Banfile ซึ่งชื่อทั้งหมดของเธอนั้นล้วนมีรากศัพท์
จากคำว่า "brigh" ในภาษาไอริชโบราณ ความหมายคือ "พลัง" "ชื่อเสียง" และ "ลูกศรหรือพลังแห่งแฟรี่
(Breo-saighead = Fiery Arrow or Power)"
บรีดเป็นบุตรสาวของแด็กดา (Dagda) กับเทพธิดาผู้ยิ่งใหญ่ของไอร์แลนด์ ครั้งหนึ่งเธอเคยเป็นที่เคารพกราบไหว้ของชาวไอร์แลนด์ มีความเชื่อที่ว่าเธออาจจะเป็นหนึ่งเดียวกับเทพีดานู มารดาแห่งปวงเทพของชาวไอริช อย่างไรก็ดีชื่อของเธอก็เป็นที่สรรเสริญในเทศกาลไอมอล์ก (Imbolc) ที่จัดขึ้นประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี [ชาวคริสเตียนจะเรียกเทศกาลนี้ว่า "Candlemas"]
เหตุที่สรรเสริญเธอนั้นเนื่องจากมีเรื่องเล่าว่า ในคิลแดร์ (Kildare) เธอและเหล่าพระแม่ทั้ง 19 คนได้เผาตัวเองในกองไฟศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นชำระบาปของเหล่าโสเภณี ทหาร และกองโจร ที่ต้อง 19 คนก็เพราะเปรียบกับรอบของ "Celtic Great Year" ที่ 19 ปีจะเกิดการโคจรมาพบกันของพระจันทร์ดวงใหม่กับพระอาทิตย์แห่งฤดูหนาว ด้วยเหตุนี้เธอจึงเป็นที่เคารพนับถือในฐานะเทพีแห่งไฟ ความอุดมสมบูรณ์ ครอบครัว ศิลปะแห่งอิสตรี ศิลปะการต่อสู้ การรักษา การเกษตร แรงบันดาลใจ การเรียนรู้ กวี ดวงชะตา พยากรณ์ สัตว์เลี้ยง ความรัก และความรู้ไสยศาสตร์
บรีด ถูกชาวคริสเตียนเปลี่ยนบทบาท ให้กลายเป็น St. Brigit of Kildare ทั้งยังกล่าวว่าเธอมีชีวิตในช่วง 450-523 AD
และเป็นผู้ก่อตั้งชุมชนโบสถ์คริสเตียนแห่งแรกขึ้นที่ไอร์แลนด์ ในความเป็นจริงคือศาลของเธอได้ถูกแทนที่โดยมิชชันนารี
ให้กลายเป็นของคริสเตียนไป ในปฏิทินของชาวคริสเตียนมีระบุวันเทศกาลของ St. Brigit แต่ก็ไม่มีบันทึกใดยืนยันว่า
เธอมีตัวตนอยู่จริง แต่ในตำนานของชาวไอริชได้มีบันทึกว่าเธอเป็นผู้ทำคลอดพระแม่มารี ชื่อของเธอสามารถแปลได้
ในหลากหลายภาษา อย่างในสันสกฤตจะตรงกับคำว่า Brahati มีความหมายว่า "ผู้ถูกสรรเสริญ"
ในยุคก่อนโรมันบริเทน (pre-Roman Britain) บรีดเคยเป็นผู้คุ้มครองของเผ่าบริกันทิส (Brigantes) และเหมือนกับ
เทพตนอื่นๆ เธอก็มีความสัมพันธ์กับแม่น้ำบางสายด้วยเช่นกัน
บรีด ได้รับการเปรียบเทียบเป็นมารดาผู้สูงส่ง ทั้งมารดาแห่งความอุดมสมบูรณ์ แห่งการสร้างสรรค์ ทั้งยังได้รับการเคารพบูชา
ให้เป็นผู้คุ้มครองเด็กๆ ผู้รักษา เป็นเทพีแห่งความยุติธรรม เทพีแห่งไฟ การเกษตร การเลี้ยงสัตว์ ศิลปะ หัตถกรรม
และต่างๆนานาอีกมากมาย
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Goddess BRIGANTIA (British, Anglo-Celtic)
บริกันเทีย เทพีแห่งทุ่งหญ้าและสายน้ำ เกี่ยวข้องกับฝูงสัตว์ น้ำ ความอุดมสมบูรณ์ การรักษา ชัยชนะ
และเทศกาลไอมอล์ก (Imbolc-ดูข้อมูลจาก Breed)
บริกันเทีย เป็นเทพีผู้ปกครองในยอร์กไชร์ (the Brigantes of West Riding of Yorkshire) ในถ้ำหินแกะสลัก
ที่เบอเรน (Birrens) บนกำแพงแอนโทนิน (Antonine Wall) ในสก็อตแลนด์ เธอถูกบันทึกไว้โดยมีความเกี่ยวพัน
กับเทพีเอเธน่า ดังนั้นเธอจึงอาจมีความเกี่ยวพันธ์กับเทพีบรีจิดหรือบรีดด้วย
บริกันเทีย เป็นเทพีที่มีทั้งใบหน้าและอำนาจอธิปไตยอันเป็นที่มาของเทพีบริทันเนียในเกรทบริเทน ในปี 1667 ชาร์ล
ได้กล่าวไว้ว่า เขาได้มีใบหน้าของบริกันเทียอยู่ในเหรียญซึ่งมันยังคงอยู่จนปัจจุบัน แต่จักรวรรดิโรมันได้บุกรุกและ
เอาเธอเป็นเทพีของตนเอง
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Goddess BRITANNIA (Romano-Celtic British)
บริทันเนีย เทพีผู้ครองตำแหน่งจีเนียแห่งบริเทน (The genia loci of Britain) อีกทั้งยังเป็นคนแรกที่ได้ปรากฎอยู่
บนเหรียญแห่งแอนโทนีเนียส ปิอุส (Antoninius Pius) ในศตวรรษที่ 2
เธอกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งจักรวรรดิอังกฤษหลังจากที่เธอได้รวมเป็นส่วนหนึ่งกับเทพีแห่งสงคราม มิเนอวา (เทพีเอเธน่า)
บริทันเนียมีความเกี่ยวข้องกับ Brigantia และ Brid
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
12 VOTES (4/5 จาก 3 คน)
VOTED: ศรัญ, Thorsten
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สิงโตคู่หนึ่งซั่มกัน อย่างไม่แคร์สายตาฝูงควาย ที่ยืนดูอยู่เลขเด็ด เลขมาเเรง เลขดัง "รวมหวยเด็ดสำนักดัง vol.18" งวดวันที่ 1 ธันวาคม 2567เลขเด็ด "เจ๊ฟองเบียร์" งวดวันที่ 1 ธันวาคม 2567 พร้อมเคล็ดลับเสริมดวงให้เฮง! ✨🎉Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สิงโตคู่หนึ่งซั่มกัน อย่างไม่แคร์สายตาฝูงควาย ที่ยืนดูอยู่กัน จอมพลัง ไม่ทอดทิ้ง! เร่งเข้าช่วย อินฟลูเอนเซอร์ มอสเจีย หลังจากที่พี่เลี้ยงชาวพม่าทำให้ลูกเกิดอุบัติเหตุ นอนรักษาตัวในห้อง ICUแอนนา ยอมรับสภาพคดีฉ้อโกง ศาลสั่งจำคุกกว่า 100 ปี พร้อมฝากคำขอโทษผู้เสียหาย