สาเหตุที่มาเรื่อง พระสังข์(ทอง)หนีนางพันธุรัต [ลงรอบที่๒]
คนส่วนหนึ่งอ่านตอน พระสังข์หนีนางพันธุรัตน์ แล้วด่าแต่พระสังข์เละเลย เนรคุณมั่งล่ะ อกตัญญูมั่งล่ะ โดยไม่ได้มีความรู้พื้นฐานเรื่องพฤติกรรม อารมณ์ อุปนิสัย ของยักษ์เลยไม่เคยศึกษากันเลย จึงขอยกตัวอย่างตัดตอนมาจากช่วงท้ายตอน นางพันธุรัตเลี้ยงพระสังข์ ดังนี้
๏ เมื่อนั้น นางพันธุรัตยักษี
เล็ดลอดสอดหามฤคี ได้เจ็ดราตรีอยู่ไพรวัน
สายัณห์ตะวันรอนรอน ใกล้จะลับสิงขรพนาสัณฑ์
รำลึกถึงลูกใจผูกพัน เร่งรีบเร็วพลันระเห็จมา
๏ ถึงรับขวัญอุ้มพระลูกรัก จูบพักตร์เศียรเกล้าเกศา
กอดชมดังดวงนัยนา นางแสนเสน่หาดังดวงใจ
แลเห็นนิ้วหัตถาผ้าพัน เอววันของแม่เป็นไฉน
ผ้าผูกนิ้วถูกอะไร เป็นไรหรือพ่อจงบอกมา
๏ เมื่อนั้น พระสังข์ได้ฟังคำว่า
ครั้นแม่จับนิ้วทำมารยา กลัวพระมารดาจะเคืองใจ
ทำผิดลูกกลัวพระแม่ตี ลูกนี้ไม่มีอัชฌาสัย
จับมีดเข้ามาผ่าไม้ บาดเลือดซับไหลฝนไพลทา
๏ ได้เอยได้ฟัง ชะนางพี่เลี้ยงช่างให้ไม้ผ่า
จับมือพิศดูพันผ้า ทูนเหนือเกศารำคาญใจ
จะมากหรือน้อยแม่ขอดู นิ่งอยู่หาทำให้เจ็บไม่
กำมิดปิดซ่อนแม่ทำไม บาดแผลน้อยใหญ่ไฉนนา
๏ ได้เอยได้ฟัง นางมารโกรธพี่เลี้ยงสาวศรี
น้ำตาคลอตาด้วยปรานี ให้มัดตีพี่เลี้ยงนางใน
นางนมพี่เลี้ยงเรียงหน้า ไม่นำพาเอาใจใส่
ให้เล่นมีดเล่นพร้าผ่าไม้ ตีให้บรรลัยประเดี๋ยวนี้
๏ ได้เอยได้ฟัง พระสังข์บังคมขอโทษพี่
อ้อนวอนกราบไหว้ทั้งโศกี มิให้ต้องตีชิงไม้ไว้
ลูกแข็งเขาห้ามแล้วไม่ฟัง เขารักข้าหาชังลูกน้อยไม่
ถ้าเขาต้องโทษโพยภัย ไหนเขาจะรักลูกน้อยนี้
จากกลอนชุดนี้ แสดงให้เห็นถึงความโหดร้ายของนางพันธุรัตที่มีอยู่ลึกๆในใจ ซึ่งทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนได้ กล่าวคือ ถ้าอยู่ๆไปพวกพี่เลี้ยงถูกลงโทษหนักเพราะพระสังข์ พระสังข์ก็คงอึดอัดใจไม่น้อย ขณะเดียวกัน พวกพี่เลี้ยงที่ถูกลงโทษอาจผูกใจเจ็บ และอาจทำร้ายพระสังข์ได้ในอนาคตหากสิ้นนางพันธุรัตไปแล้วด้วย
เมื่อพิจารณาลงลึกตั้งแต่ต้นจริงๆนั้น พระสังข์เองก็ไม่เป็นที่พึงปรารถนาในเมืองยักษ์อยู่แล้ว ตั้งแต่ตอนที่เริ่มรับพระสังข์มาเลี้ยงตามสารท้าวภุชงค์ที่ว่า
๏ สารท้าวภุชงค์ทรงศักดิ์ คิดถึงแม่รักยักษา
แต่สหายวายปราณนานมา ชั่วช้ามิได้มาเยี่ยมเยือน
องค์ท้าวกุมภัณฑ์ที่บรรลัย ความสมัครรักใคร่ใครจะเหมือน
เจ้าน้อยใจที่ไม่เยี่ยมเยือน รักเจ้าเท่าเทียมเหมือนกัน
เป็นหญิงครองเมืองมณฑล เสนีรี้พลจะเดียดฉันท์
เราไซร้ได้บุตรบุญธรรม์ มนุษย์จ้อยน้อยนั้นถือสารไป
เจ้าจงเลี้ยงไว้เป็นลูกรัก เราเห็นบุญหนักศักดิ์ใหญ่
จะได้ครอบครองพระเวียงชัย เลี้ยงไว้ค้ำชูแทนหูตา
ฯ ๘ คำ ฯ
จากประโยคที่ว่า เป็นหญิงครองเมืองมณฑล เสนีรี้พลจะเดียดฉันท์ แสดงว่า หลังจากนางพันธุรัตได้ครองเมืองต่อจากสามีที่ป่วยตาย นางก็ถูกเพ่งเล็งมาตลอด เพราะบรรดาเสนายักษ์ไม่พอใจที่ต้องทำงานรับใช้สตรี! การที่ท้าวภุชงค์ส่งพระสังข์มาจึงน่าจะมีนัยยะทางการเมืองแอบแฝงแน่นอน!!! นางพันธุรัตเองจึงเห็นดีด้วยรับเลี้ยงพระสังข์ด้วยความเต็มใจ แต่ทว่าในการประชุมโหรหลวงฝ่ายขวากลับมีมติแจงในที่ประชุมว่า
๏ บัดนั้น กุมภัณฑ์โหรใหญ่ฝ่ายขวา
พินิจคิดคูณแล้วทูลมา โหราขอโทษได้โปรดปราน
อย่าเพ่อชื่นชมภิรมย์ใจ มิได้สงสัยที่ในสาร
ตำราทายว่าพระกุมาร มิใช่ลูกหลานท้าวนาคา
มนุษย์กับยักษ์จะรักกัน ห้ามปรามกวดขันเป็นหนักหนา
เหมือนหนึ่งดุเหว่าเหล่กา เลี้ยงรักษาได้เมื่อไรมี
ทำนองเมรีกับพระรถ ลักหยูกยาหมดแล้วลอบหนี
โฉมยงเหมือนองค์เมรี รับมาน่าที่จะวายปราณ
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา
คือ มีการยกกรณีตัวอย่างของ พระรถ เมรี มาอ้างถึงความอันตรายของยักษ์ที่คิดจะรักมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นในฐานะของคนรักรึลูกบุญธรรมก็ตาม เพราะตามเหตุผลแล้ว มนุษย์น้อยคนนักที่จะสามารถอดทนต่อความโหดเหี้ยมอันเป็นกมลสันดานดั้งเดิมของยักษ์ได้ และยักษ์ส่วนมากมักจะมีโรคทางใจ(หวงหึงห่วงหนักรักมากจนเกินไป)ซึ่งเป็นสาเหตุหลักให้ยักษ์ในวรรณคดีหลายเรื่องเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรเมื่อถูกกระตุ้นอาการอย่างรุนแรงโดยฉับพลัน แต่ด้วยนิสัยชอบเอาแต่ใจดั้งเดิมของนางเองบวกกับอารมณ์รุนแรงตามสัญชาติยักษ์ นางจึงคิดว่า
๏ ได้เอยได้ฟัง มืดคลุ้มกลุ้มคลั่งดังเพลิงผลาญ
เหม่อ้ายโหรใหญ่ใจพาล ช่างเปรียบเทียบทัดทานด้วยมารยา
นี้ผูกจิตคิดคด จะขบถจริงจังกระมังหนา
กูไซร้จะได้ลูกยา กีดหน้าขวางตาหรือว่าไร
กูไซร้ใช่นางเมรี หลงด้วยโลกีย์หาดีไม่
อันท้าวภุชงค์ทรงชัย ชั่วแล้วที่ไหนจะให้มา
ว่าพลางทางสั่งสาวสวรรค์ จงช่วยกันขับไล่ไสเกศา
แต่นี้สืบไปอย่าให้มา มันว่ากูเล่นให้เป็นลาง
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา
ดูจากลิมิตความโกรธของนางแล้ว นางพันธุรัตน่าจะกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ขับขันสุดขีด สาเหตุหลักก็น่าจะเป็นเรื่องที่นางสำเร็จราชการแทนสามีที่ตายไปอยู่แบบนี้เอง เนื่องด้วยตัวนางเองก็ไม่มีลูกหลานที่ไหนจะสืบทอด ไม่ช้าก็เร็วนางก็คงต้องถูกบีบให้สละอำนาจออกจากบัลลังก์ตำแหน่งแน่นอน แล้วสถานการณ์ก็จะยิ่งเลวร้ายลง พวกขุนนางผู้ใหญ่คงได้ก่อสงครามชิงอำนาจกันวุ่นวายจนอาจกลายเป็นสงครามกลางเมือง นางเองก็มีแค่นางกำนัลกับคนสนิทใกล้ตัวที่ไว้ใจได้ไม่กี่คน(พวกที่มารวมกันตอนนางตีกลองเรียกเพื่อตามหาตอนพระสังข์หนีนั่นแหละ)คงจะหยุดเรื่องนี้ไม่ได้แน่ การที่รับพระสังข์มาเลี้ยงจึงน่าจะเป็นการเบี่ยงประเด็นที่ดีที่สุด ณ ขณะนั้น(แต่การรับลูกบุญธรรมก็เป็นแค่การถ่วงเวลาเรื่องหาตัวผู้ครองบัลลังก์ออกไปสักหลายปีหน่อยเท่านั้นเอง ไม่ใช่การแก้ปัญหาอะไรเลย)
แต่ด้วยความกลัวว่าพระสังข์จะตกใจกลัวจนถึงขั้นเสียชีวิต นางจึงออกคำสั่งบังคับให้ยักษ์ทั้งเมืองทำการ"สร้างภาพ"ครั้งมโหฬารตามนิสัยชอบเอาแต่ใจของนางเองด้วย คือ
๏ แล้วสั่งกุมภัณฑ์ให้จัดแจง ตกแต่งเร่งรัดอย่าขัดขวาง
อีกทั้งข้าเฝ้าท้าวนาง ต่างต่างแผลงฤทธิ์นิมิตกาย
ให้เป็นมนุษย์สุดสิ้น ตรัสพลางเทพินผันผาย
เข้าที่นฤมิตบิดเบือนกาย เฉิดฉายโสภาอ่าองค์
ออกจากวังแก้วแพรวพรรณ กำนัลพรั่งพรูดูระหง
แห่แหนแน่นอัดจัตุรงค์ เสนาพาลงไปคงคา
ฯ ๖ คำ ฯ กลองโยน เชิด
และเพื่อกลบกระแสข่าวลือที่ว่า ยักษ์ไม่ควรสมาคมกับมนุษย์ ที่เหล่าขุนนางต่างไม่ไว้วางใจอยู่ นางจึงได้ทำการอธิษฐานเสี่ยงทายว่า
๏ มาถึงหาดทรายชายทะเล เห็นเภตราลอยคอยท่า
ลดองค์ลงริมชลธาร์ หัตถาจบน้ำได้สามที
แล้วนางตั้งจิตพิษฐาน กุมารบุญหนักศักดิ์ศรี
จะมาเป็นลูกข้าในครานี้ เทวัญจันทรีจงเล็งแล
ขอให้ลอยเข้ามาถึงฝั่ง เหมือนหนึ่งยังข้าเห็นให้เป็นแน่
เสี่ยงพลางแล้วนางผันแปร ลุกยืนชะแง้แลไป
สำเภาลอยเลื่อนเคลื่อนคลา ไม่ทันพริบตาเข้ามาใกล้
เกยยังฝั่งพลันทันใด บัดใจเห็นทั่วทุกตัวมาร
ฯ ๘ คำ ฯ สาธุการ
แน่นอนว่า หลังภาพนี้ได้ประจักต์เป็นหลักฐานแก่สายตาเหล่ายักษ์(แปลง)ทั้งหลาย ข่าวลือต่างๆก็เป็นอันยุติไปในทันที แต่ความไม่พอใจน่าจะยังมีอยู่ลึกๆเป็นคลื่นใต้น้ำ
แต่พอวันแรกที่นางพันธุรัตรับพระสังข์มาเลี้ยง นางก็บอกเรื่องที่ทำให้พระสังข์งานเข้าในทันที ซึ่งเรื่องนี้นับว่าเป็นเรื่องใหญ่และหนักมากสำหรับเด็กตัวน้อยๆ คือ
๏ ฟังเอยฟังการ นางมารสงสารเป็นหนักหนา
รับขวัญไม่กลั้นน้ำตา ลูบหลังลูบหน้าให้ปรานี
แม่จะถนอมกล่อมเกลี้ยง จะเลี้ยงเจ้าเป็นบุตรนะโฉมศรี
พ่ออย่าได้กังขาราคี พระบุรีจะให้แก่ลูกยา
จูบพลางนางอุ้มขึ้นใส่ตัก ความรักแสนสุดเสน่หา
ดังดวงฤทัยนัยนา แล้วสั่งมหาเสนาใน
ท่านจงเร่งรัดจัดแจง ตกแต่งพาราอย่าช้าได้
จะสมโภชลูกแก้วแววไว บาดหมายกันไปอย่าได้นาน
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา
ตัวกลอนชุดนี้ แสดงถึงปัญหาหนักอึ้ง ๒ ประการ
๑.พ่ออย่าได้กังขาราคี พระบุรีจะให้แก่ลูกยา
ประโยคนี้ นางพันธุรัตบอกกับพระสังข์ถึงกาลอนาคตข้างหน้าว่า ต่อไป นางจะให้พระสังข์ได้ครองเมืองยักษ์นี้! โดยที่นางเองไม่ได้ถามความต้องการของพระสังข์เลย มาถึงนางก็ยัดตำแหน่งให้ ขณะนั้นพระสังข์ก็ยังเล็ก ยังไม่หายคิดถึงแม่กับตายาย นางพันธุรัตก็จัดแจงวางแปลนระยะยาวให้พระสังข์อยู่ในเมืองนี้ไปตลอดชีวิตเสียแล้ว!!!(ให้คนปกครองยักษ์ทั้งเมืองมันจะไปรอดมั้ย???)
๒.จะสมโภชลูกแก้วแววไว บาดหมายกันไปอย่าได้นาน
หลังจากรับพระสังข์ขึ้นมาแล้ว นางจึงสั่งให้จัดงานมหรสพขึ้นทันที โดยหวังว่า ความบาดหมางทั้งหลายจะหายไป คำถามคือ ใครบางหมางกับใคร???
คำตอบนั้น น่าจะเป็นความบาดหมางที่นางพันธุรัตมีต่อบรรดาขุนนางเรื่องทายาทบัลลังก์นั่นแหละ นางจึงได้ประกาศในวังกลางที่ประชุมว่า พระบุรีจะให้แก่ลูกยา และขอให้นับแต่นี้ไป บาดหมายกันไปอย่าได้นาน เรื่องอะไรที่สมควรจบก็ให้รีบจบๆไปซะถ้าไม่อยากจะมีปัญหา!(กระแสการต่อต้าน(แอนตี้)พระสังข์ของพวกยักษ์ในเมืองจึงค่อยๆเพิ่มขึ้นตามลำดับ)
จากเรื่องนี้เองทำให้พระสังข์อึดอัดใจมากเพราะตนเองก็มีภารกิจตามหาแม่แท้ๆอยู่ในใจอยู่ก่อนแล้ว ยังมาถูกยัดเยียดความหวังอันริบหรี่ใส่มืออีก พระสังข์จึงต้องอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก จะบอกใครก็ไม่ได้เพราะว่า
๏ ครั้นถึงจึงขึ้นบนแท่นแก้ว ผ่องแผ้วปรีดิ์เปรมเกษมศรี
แล้วจัดแจงนักเทศน์ขันที นางนมทั้งสี่พี่เลี้ยง
กำนัลนางมโหรีขับไม้ สำหรับให้ขับกล่อมพระเนื้อเกลี้ยง
แม่มอบให้พระสังข์ทั้งวังเวียง ใครทุ่มเถียงจงเฆี่ยนฆ่าตี
นางถนอมกล่อมเกลี้ยงรักษา มิให้พระลูกยาเจ้าหมองศรี
จนพระชันษาสิบห้าปี ยังทวีความรักอยู่ทุกวัน
นางค่อยเคลื่อนคลายสบายใจ จะใคร่ไปเที่ยวป่าพนาสัณฑ์
เผอิญใจทึกทึนนึกผูกพัน คิดพรั่นกลัวลูกจะหนีไป
อย่าเลยจะแสร้งแกล้งล่อลวง อย่าให้ล่วงหมายคำสำคัญได้
ว่าไปช้าแล้วกลับมาเร็วไว ถึงจะหนีไปไม่พ้นกร
แม่จะไปป่าเจ็ดราตรี พันปีจงฟังแม่สั่งสอน
บ่อน้ำซ้ายขวาเจ้าอย่าจร หอข้างหัวนอนเจ้าอย่าไป
สั่งลูกแล้วพบันมิทันช้า พรั่งพร้อมทหารหน้าห้องใหญ่
ออกจากพาราคลาไคล แปลงไปเป็นยักษ์ฉับพลัน
ฯ ๑๔ คำ ฯ กราว
นางพันธุรัตเล่นจัดพี่เลี้ยงประกบเป็นบอดี้การ์ดคอยจับตาดูตลอด๒๔ชั่วโมง ไม่ว่าพระสังข์จะทำอะไรก็อยู่ในสายตาตลอด แถมแอบโหดเหี้ยมนิดๆด้วยการบอกว่า แม่มอบให้พระสังข์ทั้งวังเวียง ใครทุ่มเถียงจงเฆี่ยนฆ่าตี ก็ไม่รู้เหมือนกันว่านางจะโหดไปไหน ขนาดบอกว่ายกวังทั้งวังให้พระสังข์จัดการแล้ว ยังจะบอกอีกว่า พระสังข์มีอำนาจในวังนี้เต็มที่ใครทุ่มเถียงจงเฆี่ยนฆ่าตี! นางไปบอกเด็กตัวเล็กๆอย่างนั้นได้ยังไง ลูกคนโหดเหมือนลูกยักษ์ซะที่ไหน นางเองก็ไม่เคยเลี้ยงลูกเลี้ยงเด็ก ถ้ามีคงตามใจลูกจนเสียสันดานแน่ๆ นิสัยนางเองก็น่ากลัวมากจริงๆจะให้ใครมีความเห็นค้านรัชทายาทไม่ได้เลยรึไง? นางเองคงปกครองเมืองและขุนนางด้วยการสร้างความหวาดกลัวมาตลอดแน่ๆถึงไม่มีใครขัดนางเลย
แต่พระสังข์เองก็เก่งนะ อดทนมาได้จนอายุ๑๕ นางพันธุรัตก็วางใจ(นางพันธุรัตน่าจะเป็นพวกมีนิสัยเอ็นดูคนใกล้ตัวนะ) นางคงคิดว่า พระสังข์คงลืมๆเรื่องเก่าๆได้แล้ว และคงยกบัลลังก์ให้ได้แน่นอนจึงออกไปหากินบ่อยเข้าๆจนพระสังข์จับทางได้ และหาช่องโหว่จากการที่ถูกจับตาจากเหล่าพี่เลี้ยงตลอดเวลาแอบหนีจนไปพบความจริงของนางพันธุรัตจนได้(พวกพี้เลี้ยงคงเฝ้าพระสังข์จนเหนื่อยเลยเผลอหลับไป พระสังเลยแอบๆหลบมาได้) เพราะตลอดเวลาที่มาอยู่ที่นี่ พระสังข์ไม่เคยได้ออกไปเที่ยวดูเมืองด้วยตัวคนเดียวสักครั้ง ซึ่งการไม่ให้พระสังข์อกไปไหนน่าจะมาจาก ๒ สาเหตุด้วยกัน คือ
๑.ป้องกันไม่ให้พระสังข์ได้รับอันตรายจากพวกยักษ์ในเมืองที่ไม่พอใจตัวพระสังข์ ถ้าออกไปเที่ยวเล่นในเมืองอาจสุ่มเสี่ยงต่อการถูกลักพาตัวรึลอบสังหารได้(รัชทายาทเจอแบบนี้แทบทุกราย!)
๒.ป้องกันไม่ให้ชาวเมืองยักษ์ลุกฮือขึ้นต่อต้าน เพราะไม่พอใจที่ต้องคอยนิมิตแปลงสภาพบ้านเมืองเพื่อสร้างภาพให้พระสังข์เห็นในทุกครั้งที่ออกไปเที่ยวเล่นในเมือง(มันอึดอัดไม่ใช่นิสัยยักษ์เลยที่ต้องมาแปลงเป็นคนแล้วต้องคอยยิ้มแย้มสมานฉันท์รับแขกตลอดเวลาแบบนี้!)
หากพระสังข์ยังคงอยู่ในเมืองยักษ์ต่อไป ถ้านางพันธุรัตสิ้นแล้ว พระสังข์ได้ปกครองเมืองต่อ พระสังข์จะทำยังไง เป็นผู้นำแต่มีศัตรูอยู่ทั้งเมืองแบบนี้? แล้วไหนจะภาพมายาที่สร้างไว้อีก ถ้าพระสังข์ครองเมืองแล้วมารู้ทีหลังว่าเมืองนี้เป็นของยักษ์อะไรจะเกิดขึ้น?
อนึ่ง เราพบว่า คำว่า พันธุรัต มาจาก พันธุ = พวกพ้อง + รัต = ยินดี,ชอบใจ หรือ ราตรี
ดังนั้น จึงอาจแปลรวมๆได้ว่า เป็นผู้ยินดีในพวกพ้อง ไม่ก็ เป็นความมืดมนของพวกพ้อง(แต่ส่วนตัวเชื่อความหมามแรกมากกว่า)
ถ้าจะให้วินิจฉัยสรุปสาเหตุการตายของนางพันธุรัต ณ ตอนนี้ คงสรุปได้ว่า การตายของนางพันธุรัตน่าจะมาจากการที่นางฝากฝังและตั้งความหวังไว้กับตัวพระสังข์มากเกินไปจนมองไม่เห็นทางออกอื่นๆที่อาจใช้เป็นทางเลือกที่ดีกว่าตัวพระสังข์ได้ เมื่อไม่ได้ตามที่ใจตนต้องการ(นางเป็นคนเอาแตาใจอย่างร้ายกาจ)นางจึงต้องเผชิญกับโรคทางใจจนเสียชีวิต
ถ้าสังเกตดีๆอีกก็จะพบว่า ตั้งแต่พระสังข์ออกจากหอยสังข์มา(จริงๆแล้วไม่ได้ออกเองแต่โดนทุบแตกเลยไม่เหลือไว้ให้หลบ)พระสังข์ไม่เคยมีเพื่อนรุ่นเดียวกับตนเลย อาจเคยเล่นกับแม่และตายายมาบ้าง แต่ว่านับตั้งแต่ตอนที่มาอยู่กับนางพันธุรัตก็ยิ่งแล้วใหญ่ พระสังข์ไม่เคยมีใครเล่นด้วยเลย(อาจเพราะพวกนางกำนัลพี่เลี้ยงกลัวว่าหากทำผิดจะถูกนางพันธุรัตลงโทษรึด้วยความรังเกียจในตัวพระสังข์) หลังจากที่นางพันธุรัตเสียชีวิตแล้ว พระสังข์จึงออกคำสั่งในฐานะของเจ้าเมืองยักษ์เป็นครั้งแรก คือ
๏ ครั้นคลายวายโศกเศร้าหมอง พระจึงร้องสั่งเหล่ายักษา
ท่านจงเชิญศพพระมารดา คืนไปพาราของเรา
แล้วตระเตรียมการไว้ให้เสร็จสรรพ คอยท่าข้ากลับมาจึงเผา
การพระเมรุใหญ่อยู่อย่าดูเบา ท่านจงเอาใจใส่ไตรตรา
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา
นับว่า พระสังข์ได้ทำความคาดหวังของนางพันธุรัตแล้ว แม้ว่าออกจะช้าเกินไปก็ตามที การสั่งให้เชิญศพของนางพันธุรัตคืนไปพาราของเราเป็นการตอกย้ำเหล่าเสนาอำมาตย์ขุนนางต่างๆแล้วว่า พระสังข์ยินดีรับตำแหน่งเจ้าเมืองยักษ์ขึ้นนั่งบัลลังก์ต่อจากนางพันธุรัต และได้กำชับตอกย้ำอย่างชัดเจนว่า แล้วตระเตรียมการไว้ให้เสร็จสรรพ คอยท่าข้ากลับมาจึงเผา เป็นการออกคำสั่งที่ชัดเจนเด็ดขาด คือ ต้องรอเจ้าเมือง คือพระสังข์เป็นคนกลับไปจัดการเองในฐานะของลูกและ"เจ้าเมือง"!
เมื่อได้ท่องจำจินดามนตร์จนขึ้นใจแล้ว พระสังข์ก็สวมชุดเงาะ เกือกแก้ว และถือไม้เท้าเหาะมาจนถึงเขตแดนเมืองของท้าวสามนต์แห่งหนึ่ง อนึ่ง สามนต์ มาจากคำว่า สามันตราช คือ ราชาของหัวเมือง ไม่ใช่กษัตริย์ที่ปกครองแผ่นดิน ฉะนั้น คำว่า สามนต์จึงไม่ใช่ชื่อเมือง แต่เป็นสรรพนามใช้เรียกเป็นตำแหน่งของบุคคลที่ปกครองหัวเมือง!!! ในท้องเรื่อง ท้าวสามนต์ในที่นี้ น่าจะเป็นผู้ปกครองหัวเมืองหนึ่งในดินแดนของท้าวยศวิมลพ่อของพระสังข์นั่นเอง(เพราะอยู่ไม่ไกลเมืองกันถึงหากันเจอได้ง่ายนัก)
หลังจากลงมาในเขตชายแดนของเมืองท้าวสามนต์นี้แล้ว พระสังข์ได้เจอกับพวกเด็กๆเลี้ยงวัวที่พาวัวออกมากินหญ้า พระสังข์จึงไปเล่นกับพวกเด็กๆเพราะพระสังข์ไม่เคยมีเพื่อนเล่นด้วยเลย จึงมีการชดเชยปมด้อยในวัยเด็กของพระสังข์กันเล็กน้อยในเหตุการณ์นี้ และการที่พระสังข์ทองต้องสวมรูปเงาะและมาลงอาศัยที่ชายแดนเมืองนี้ อาจเป็นเพราะว่าต้องการปลอมตัวและหลบซ่อนตัวจากพวกยักษ์ที่คิดตามล่าตนก็เป็นได้ เพราะเมื่อสิ้นนางพันธุรัตแล้วการกำจัดพระสังข์ที่ขาดการคุ้มกันนั้นมันง่ายมากๆ! พระสังข์ทองจึงต้องสวมรูปเงาะปลอมตัวอยู่ในเมืองนั้นไปก่อนจนกว่าจะแน่ใจในสถานการณ์
ส่วนตอนที่ ท้าวสามนต์ให้ลูกเขยหาปลาหาเนื้อ นั้น พระสังข์ได้แสดงพฤติกรรมแปลกๆออกมา ตอนที่สั่งให้ทั้ง๖เขยตัด(ปลาย?)หูและจมูกเพื่อแลกกับเนื้อและปลา ซึ่งพฤติกรรมพิสดาร(ปนซาดิสต์!)นี้ น่าจะเป็นความขี้เล่นแบบโหดๆที่ติดมาจากนิสัยของนางพันธุรัตก็เป็นได้!!!