เดี๋ยวนี้เราต้องยอมทำงานหนัก เพื่อหาเงินเพื่อค่าทำศพกันแล้วเหรอ?
เพจเฟซบุ๊คมนุษย์กรุงเทพได้เเชร์เรื่องเล่าจากหมอ ว่ามีคนไข้ป่วยด้วยโรคมะเร็งตับ หมอแนะนำว่าให้มารักษา เพราะสามารถหายได้ แต่ว่าเขายังคงไม่ไปรักษา เนื่องจากต้องทำงาน ถ้าไม่ทำก็ไม่มีเงินใช้ และต้องการเงินเพื่อเอาวไ้สำหรับค่าทำศพตัวเอง โดนคุณหมอได้เล่าว่า
“ลุงคนหนึ่งมาหาผมที่โรงพยาบาล แล้วตรวจพบว่าเป็นมะเร็งตับ ถ้าตรวจเจอเร็ว โรคนี้สามารถผ่าตัดแล้วหายขาด ซึ่งตอนนั้นเขายังรักษาได้ ผมรีบทำเรื่องส่งตัวไปโรงพยาบาลใหญ่ ผ่านไปสองสามเดือน เขากลับมาเพราะปวดท้อง ปรากฏว่าเขาไปหาหมอแค่ครั้งเดียว ครั้งแรกของโรงพยาบาลใหญ่ๆ อาจเป็นแค่นัดหมาย แล้วเขาไม่ไปต่อ
พอรู้ว่าลุงไม่ไป ผมโกรธมาก จากที่รักษาได้ ตอนนี้อาจไม่ได้แล้ว เพราะเขาเริ่มตาเหลืองตัวเหลือง ผมพูดไปว่า ‘ทำไมถึงไม่ไปรักษา ไม่รักชีวิตตัวเองเหรอ' เขาตอบว่า 'ไปไม่ได้ ต้องทำงาน ถ้าไม่ทำงานก็ไม่มีเงินใช้' ผมเลยบอกว่า 'ถ้าลุงไม่รักษาตัวเอง จะเอาเงินที่ได้มาไปทำอะไร' เขาตอบกลับทั้งน้ำตาว่า 'เก็บเอาไว้ใช้สำหรับงานศพ'
“จากที่โกรธ ผมอึ้งจนหมดคำจะพูด เจอคนมาก็เยอะ แต่ไม่เคยเจอคนพูดตรงแบบนี้ อาชีพของลุงคือขับรถให้เจ้านาย ไม่ทำก็ไม่ได้เงิน พอรู้ว่าตัวเองป่วยหนัก เขาไม่อยากให้พี่น้องต้องลำบากกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น ทำงานเก็บเงินก็เพื่องานศพตัวเอง น่าเศร้ามากนะ ชีวิตของบางคนไม่มีทางเลือกเลย ต้องทำงานจนวันตาย ครั้งนั้นพอตรวจเสร็จ ผมทำใบนัดเพื่อให้ลุงกลับมาตรวจซ้ำ แต่เขาก็ไม่กลับมาอีกเลย”
เรามาดูกันว่าค่าทำศพต้องใช้เงินประมาณเท่าไหร่กันบ้าง
ชาวเน็ตต่างเข้ามาคอมเม้นท์เกี่ยวกับเรื่องสวัสดิการ 30 บาทของบ้านเราว่า หากถูกยกเลิกไป คงมีคนป่วยที่เป้นคนจนคงลำบากมากกว่านี้แน่ และได้เกิดประเด็นเรื่องสวัสดิการรัฐ ทำคนป่วยที่ใช้สิทธิ 30 บาทตายสูง เพราะหมอจ่ายยาโดยไม่ควบคุมคุณภาพ?
ทั้งนี้สำนักข่าว TNews รายงานว่า นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการด้านสาธารณสุข (กมธ.สธ.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว หลังเชิญ ศ.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) รวมทั้งเจ้าของงานวิจัย มาร่วมชี้แจงงานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กรณีผู้ป่วยบัตรทองที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีอัตราการตายมากกว่าผู้ป่วยของสิทธิข้าราชการ เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา
โดยโพสต์ดังกล่าว รายงานนี้มีฐานข้อมูลใหญ่ และอาจสรุปได้ว่าผู้ป่วยบัตรทองเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยสวัสดิการข้าราชการ โดยมองว่าการจัดซื้อยา และวัสดุการแพทย์ควรมีการควบคุมคุณภาพมากกว่านี้ อย่ามองแต่ของถูกเพียงอย่างเดียว และหากจะรักษาคุณภาพการบริการเอาไว้ ผู้ป่วยควรมีการร่วมจ่ายได้ เหมือนข้าราชการร่วมจ่ายในการเลือกใช้วัสดุการแพทย์
ที่สำคัญต้องมีงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเดินต่อไปอย่างมีคุณภาพ ส่วนการแก้เรื่อง 2 สิทธิที่เหลื่อมล้ำกัน ควรดึงสิทธิที่แย่กว่าให้เพิ่มขึ้นมาทัดเทียมกับสิทธิที่ดีกว่า ไม่ใช่การรวมกองทุนซึ่งจะทำให้สวัสดิการข้าราชการคุณภาพแย่เท่าบัตรทอง