ประวัติอาหารแบรนด์ดัง ตอน 10 MK Restaurant
อาหารสุกี้ ที่เป็นที่นิยมกันอย่างมากในหมู่คนไทยและชาว ต่างประเทศ ที่มาเที่ยวเมืองไทยจนเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่ง ของประเทศไทยไปแล้วนั้น มีประวัติยาวนาน หลายสิบปีมาแล้วกว่าที่ จะพัฒนามาเป็น สุกี้แบบที่ปัจจุบันนิยมทานกันอยู่
ราว ๆ 40 กว่าปีมาแล้ว (ราว ๆ พ.ศ. 2498) มีภัตตาคารจีน ชื่อ กวนอา อยู่แถว ๆ บางรัก มีรายการอาหารชุดหม้อไฟ เตาถ่าน หม้ออะลูมิเนียม ส่วนของสด ที่เสิร์ฟจะอยู่ในจานเปล ขนาดใหญ่ ก็จะมีเนื้อวัว ตับหมู วุ้นเส้น ผักต่าง ๆ ตอกไข่ใส่ ผสมรวมกันมา ดูน่าทาน น้ำจิ้มจะเป็น สไตล์เต้าฮู่ยี้ แต่รสจัด เวลาไปทานจะไปกันเป็นครอบครัว ไม่ต้องนั่งห้องแอร์สมัยนั้นคนที่ทานสุกี้แบบนี้เป็นมีไม่มากนัก ต้องเป็นขาประจำจริงๆ จึงจะทานเป็น
หลังจากยุคแรกนี้แล้ว ราว ๆ สัก 12 ปี ภัตตาคารจีนชื่อ โคคา อยู่แถว ๆ สยามสแควร์ ก็เริ่ม นำเสนออาหาร ชุดสุกี้โดย ดัดแปลง เอาเตาแก๊ส หม้อเสตนเลส มาใช้งานส่วนของสดนั้น ก็จัดออกมา เป็นชนิด ๆ แยกกันสามารถสั่ง ตามความชอบได้ โดยเพิ่มรายการพวกลูกชิ้นต่างๆ เนื้อ ปลา เนื้อกุ้ง ปลาหมึก ฯลฯ ใส่ในจานเปลขนาดเล็ก ซ้อนไปซ้อนมา ดูน่าสนุก ส่วนน้ำจิ้มได้เปลี่ยนเป็นสูตรใหม่ ซึ่งใช้ซ้อสพริก และน้ำมันหอยเป็นหลัก ร้านสุกี้ที่เกิด ใกล้ ๆ ยุคนี้มีมากมาย หลายยี้ห้อ เช่น แคนตั้น, หลาย - หลาย, เท็กซัส, ไซน่าทาวน์, โคคา ยี่ห้อเลียนแบบทั้งหลายแหล่ แต่ที่นับว่า ขึ้นชื่อลือชา ก็อยู่ในกลุ่มที่อยู่บริเวณ สยามแสควร์นั่นเอง พร้อมๆ กันสุกี้ ในยุคแรกก็ค่อย ๆ เสื่อมความนิยมไป แต่สุกี้ในยุค เตาแก๊สนี้ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ สุกี้หลายรายเริ่มมีการขยายสาขาเป็นเครือข่าย 2 - 3 สาขา
ยุคแรกของ MK Restaurant
เริ่มแรกของMK นั้นเกิดที่สยามสแควร์เป็นร้านอาหารไทย คูหาเดียว ดำเนินกิจการโดยคุณป้าทองคำ เมฆโตโดยซื้อ กิจการมาจากคุณ MAKONG KING YEE(ชื่อย่อเป็น MK ) ซึ่งได้ย้ายครอบครัวไปอยู่ BOSTON ที่สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2505คุณป้าทำกิจการมาจนได้ดิบได้ดีอีกทั้งลูกค้าที่มาอุดหนุนทาน ก็ได้ดิบได้ดีไปเช่นกันจนเป็นที่รู้จักในวงการ บันเทิงมากมาย นั่นก็เป็นเพราะความ"ใจดี"ของคุณป้า นั่นเองทาน แล้วไม่มีเงินจ่าย ก็ติดไว้ก่อน ป้าก็ไม่ทวง ทั้งลูกค้าทั้งเจ้าของร้าน ๆ สนิทสนมกัน เหมือนญาติ เรียกกันพี่ป้าน้า หลานตลอด อาหารขึ้นชื่อสมัยนั้นมี หลายอย่างอาทิ ข้าวมันไก่ เนื้อตุ๋น แป๊ะซะปลาช่อน ผัดไทย ผัดขี้เมา เนื้อย่างเกาหลี (เตาถ่านจริง ๆ ) ยำแซบ ๆ ทุกชนิด อีกทั้งมีเค้กแสนอร่อยขายตอนปีใหม่อีกด้วย
กิจการค้าเริ่มก้าวหน้า ไปเป็นลำดับ จาก 1 คูหา ขยายเป็น 2 คูหา จวบจนล่วงเข้าปี 2527 ห้างสรรพสินค้าต่างๆ เริ่ม ผุดขึ้นหลาย ๆ แห่ง คุณป้าได้รับการชักชวนให้ไป เปิดร้านในเซ็นทรัล พลาซ่า ลาดพร้าว ของนายห้างสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ และให้ชื่อร้านใหม่ว่า ร้านกรีน เอ็ม เค ซึ่งก็ยังคงเป็นร้านอาหารไทยอยู่เช่นเดิมและมี ลูกค้ากลุ่มครอบครัว และออฟฟิตเข้ามาอุดหนุนกัน อย่างคับคั่ง
ยุคที่สองของ MK Restaurant
ใน 2 ปีถัดมาก็คุณ สัมฤทธิ์ ได้ชักชวน ให้มาเปิดร้านสุกี้MKสาขาแรก ใน ห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าวนั่นเอง ซึ่งขณะนี้ลูกชายลูกสาว และลูกเขยของ คุณป้าทองคำ ก็ได้ มาช่วยบริหารงานตาม วิธีการแผนใหม่ และทำการขยายสาขาขึ้น อย่างต่อเนื่อง 14 ปีหลังจากนั้นก็สามารถขยายสาขาไปทั่วกรุงเทพและต่างจังหวัด ได้รวมๆกัน 153 สาขาโดยใช้ หลักการบริการที่ นำความพอใจมาสู่ลูกค้าเป็นแกนนำ การฝึกอบรมพนักงาน อย่างจริงจัง และถนอมน้ำใจ ของลูกน้องทุก ๆ คน เหมือนเป็นครอบครัวใหญ่ครอบครัวหนึ่ง การตั้งหน้าตั้งตาปรับปรุง ระบบงาน อยู่ตลอดเวลา (CONTINUOUS IMPROVEMENT) การเลือกตั้งร้านที่เหมาะสม ตั้งราคาอาหาร เหมาะสม กับกำลังทรัพย์ ของคนชั้นกลาง และครอบครัวและเน้นการฝึก ผู้จัดการที่มี ความสามารถ สิ่งเหล่านี้เป็นรากฐานค้ำจุน MK ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง จวบจนทุกวันนี้
ยุคที่สามของ MK Restaurant
เริ่ม ราวๆปี 2539(ประมาณ 14 ปีที่แล้ว) โดยภัตตาคารเอ็ม เค เริ่มเปิดสาขาแรกที่ห้าง เซ็นทรัล ลาดพร้าว โดยเปลี่ยนหม้อต้ม เป็นหม้อไฟฟ้าซึ่งจะปลอดภัยกว่าระบบใช้แก๊ส ส่วนอาหารและ น้ำจิ้มนั้น คงใช้สูตรดั้งเดิมที่เป็น ที่นิยมอยู่แล้ว แต่ดัดแปลง ให้ถูกโภชนาการมากขึ้น เช่นลดการใช้ผงชูรสลงนำการ บริหารร้านอาหารแบบมืออาชีพ เข้ามาจัดการในงานบริการ และคุณภาพอาหารการตลาด การออกแบบร้าน และ การออกแบบ ผลิตภัณฑ์ภัตตาคารเอ็มเค สามารถขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว โดยเลือก สถานที่ที่สะดวกแก่ลูกค้า ทำให้มี 148 สาขาทั้งในกรุงเทพ และ ต่างจังหวัด ในขณะที่ สุกี้อื่นๆ ในเมืองไทย มีไม่เกิน 10 สาขายุคนี้ถือว่าเป็นยุคที่ทำให้ คนไทยทุกชนชั้น ทุกเพศ ทุกวัย มีโอกาส รับประทานสุกี้ จนเป็นอาหาร ประจำอย่างหนึ่ง ของคนไทย
MK Restaurant ในปัจจุบัน
เรายังพอหาทานสุกี้ยุคแรกได้ที่ร้าน กวนอา ตรงต้น ถนนสาทรเหนือฝั่งพระราม4 ส่วนสุกี้ยุคสองนั้น จะหายากหน่อยเพราะ ร้านส่วนใหญ่กลัวอันตรายจากแก๊ส หันมาใช้เตาไฟฟ้ากันหมด
ร้านเอ็มเค สุกี้ ได้เปิดสาขาแรกภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ในปี 2529 ซึ่งในขณะนั้น ร้านอาหารรูปแบบสุกี้ยากี้ยังไม่แพร่หลาย แต่ภายหลังการเปิดสาขาแรก ร้านเอ็มเค สุกี้ ได้รับความนิยมและการตอบรับอย่างแพร่หลายจากลูกค้าจำนวนมาก ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ได้มีการนำการบริหารจัดการและการตลาดสมัยใหม่มาดำเนินกิจการและเริ่มมีการขยายสาขาเพิ่มขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดอย่างต่อเนื่อง
บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2532 มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 1,000,000 บาท เพื่อดำเนินธุรกิจหลักคือร้านอาหารประเภทสุกี้ยากี้ นอกจากการประกอบธุรกิจบริการอาหารประเภทสุกี้ยากี้แล้ว ยังดำเนินกิจการร้านอาหารญี่ปุ่นภายใต้ชื่อและเครื่องหมายการค้า “ยาโยอิ” ซึ่งเริ่มดำเนินการในปี 2549 ร้านอาหารญี่ปุ่นภายใต้ชื่อและเครื่องหมายการค้า “ฮากาตะ” และ “มิยาซากิ” ซึ่งทั้ง 2 แบรนด์ดังกล่าว เริ่มดำเนินการในเดือนตุลาคม 2555 ร้านอาหารไทยภายใต้ชื่อและเครื่องหมายการค้า “ณ สยาม” และ “เลอ สยาม” และร้านกาแฟ/เบเกอรี่ ภายใต้ชื่อและเครื่องหมายการค้า “เลอ เพอทิท” รวมถึงการดำเนินธุรกิจสถาบันฝึกอบรมอาชีพเพื่อฝึกอบรมพนักงานในเครือบริษัทฯ ทั้งหมด
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ มีร้านเอ็มเค สุกี้ อยู่ทั้งหมด 419 สาขาทั่วประเทศ (รวมร้านเอ็มเค โกลด์ 6 สาขา) ร้านอาหารญี่ปุ่นฮากาตะ 3 สาขา ร้านมิยาซากิ 22 สาขา ร้านอาหารไทย เลอ สยาม 4 สาขา ร้านอาหารไทย ณ สยาม 1 สาขา และร้านกาแฟ/เบเกอรี่ เลอ เพอทิท 3 สาขา นอกจากนี้ยังมีการขายแฟรนไชส์ร้านเอ็มเค สุกี้ ให้แก่ผู้ประกอบการในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเวียดนาม ประเทศลาว และจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในการดำเนินธุรกิจร้านอาหารในประเทศสิงคโปร์
ถ้าให้นึกถึงร้านสุกี้แฟรนไชส์ในเมืองไทย เชื่อว่า MK คงไม่หลุดไม่จากลิสต์อันดับต้นๆอย่างแน่นอน เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ร้านอาหารไทยที่โกอินเตอร์ และเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีหัวเรือใหญ่อย่าง “ฤทธิ์ ธีระโกเมณ” อดีตวิศวกรที่เบนเข็มมาขับเคลื่อนธุรกิจ MK Restaurant ร้านสุกี้ที่มีรายได้รวมแตะหมื่นล้านบาท ยอดรวมรายได้ที่มีการเปิดเผยจาก ก.ล.ต. ล่าสุดอยู่ที่ 11,146.42 ล้านบาท (ณ วันที่ 01/01/58 -30/09/58) เรามาดูกันว่านับจากวันแรกจนถึงวันนี้ MK ฝากเรื่องราวอะไรไว้บ้าง
2. นอกจากสุกี้แล้ว ก็มีอาหารขายอย่างหลากหลาย ข้าวมันไก่ ผัดขี้เมา เนื้อตุ๋น ผัดไท เนื้อย่างเตาถ่าน อาหารของป้าทองคำรสชาติถูกปากคนมากมาย จึงมีผู้คนแวะเวียนมาฝากท้องอย่างไม่ขาดสาย อีกทั้งป้าทองคำเป็นคนใจดี ใครกินไม่มีจ่ายก็ติดไว้ก่อนได้ แขกไปใครมาก็ใช้คำเรียกเป็นลูกเป็นหลานหมด ทำให้ร้านสุกี้ของป้าทองคำมีขาประจำอย่างเนืองแน่น
3. ปี 1984 คุณสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ หนึ่งในผู้บริหารสรรพสินค้าเครือเซ็นทรัลกรุ๊ป ได้ชวนป้าทองคำมาเปิดร้านอาหารไทยในเซ็นทรัลลาดพร้าว โดยใช้ชื่อว่า “กรีน เอ็มเค”
4. สองปีต่อมา คุณสัมฤทธิ์ได้เสนอพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร ชักชวนคุณป้าทองคำให้เปิดร้าน “เอ็มเค สุกี้” สาขาแรกในเซ็นทรัลลาดพร้าว ชูเมนูสุกี้เป็นซิกเนเจอร์ของร้าน ซึ่งขายดีมา กมีลูกค้าเข้ามากินอยู่ตลอดวัน ลูกสาว ลูกชาย และ ลูกเขย ของป้าทองคำได้เข้ามาช่วยบริหารจัดการร้าน จนกระทั่งร้านขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง คุณ ฤทธิ์ ธีระโกเมณ ก็คือลูกเขยของคุณป้าทองคำ
5. ปี 1994 เอ็มเคเปิดสาขาแรกที่ประเทศญี่ปุ่น และปัจจุบันมีสาขาในญี่ปุ่น 35 แห่ง
6. ปี 1996 เพื่อมาตรฐานความปลอดภัยของลูกค้า เอ็มเคเปลี่ยนหม้อใหม่ทั้งหมดทุกสาขา โดยเปลี่ยนจากเตาแก๊สและหม้อต้มเป็นหม้อไฟฟ้า
7. ปี 2000-2009 เอ็มเค ขยายสาขามากถึง 300 สาขาภายในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี
8. ปี 2005 เอ็มเคได้รับสิทธิ์แฟรนไชน์ร้านอาหารญี่ปุ่น “ยาโยอิ” จาก Plenus Co.,Ltd. บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่น ร้านอาหารญี่ปุ่นยาโยอิ จึงเปิดเปิดดำเนินการในไทยนับแต่นั้นเป็นต้นมา
9. ปี 2010 เปิดสาขาแรกในประเทศเวียดนาม
10. ปี 2013 เอ็มเคฉลองครบ 400 สาขา และขยายสาขาไปยังประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และได้เปลี่ยนเป็นบริษัทมหาชน
11. สำหรับปัจจุบัน สาขาในประเทศไทยมีทั้งหมด 429 สาขา โดยแบ่งเป็น
- ภาคเหนือ 24 สาขา
- ภาคตะวันออก 47 สาขา
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 53 สาขา
- ภาคตะวันตก 18 สาขา
- ภาคใต้ 46 สาขา
- ภาคกลาง 37 สาขา
- กรุงเทพฯและปริมณฑล 204 สาขา
12. สำหรับไลน์ของเอ็มเคจะแบ่งเป็น MK Suki, MK Gold, MK Buffet และ MK Gold Buffet
MK Buffet มีทั้งหมด 12 สาขา
- อินเดีย เอ็มโพเรียม
- เมเจอร์ ปิ่นเกล้า
- เมเจอร์ รังสิต
- เมเจอร์ รัชโยธิน
- เมเจอร์ เอกมัย
- บางกอกโดม
- บิ๊กซี ราษฎร์บูรณะ
- โลตัสหางดง เชียงใหม่
- ห้วยแก้ว เชียงใหม่
- ท็อปแลนด์ เพชรบูรณ์
MK Gold Buffet มีทั้งหมด 4 สาขา
- เซ็นทรัลเวิลด์
- ศาลาแดง
- เอสพลานาด รัชดาภิเษก
- เอกมัย
13. สัดส่วนรายได้ของ บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในช่วงปี 2556 และ 2557 (ล้านบาท)
14. เอ็มเคการ์ด
บัตรสมาชิกเอ็มเคจะมีทั้งใช้เป็นส่วนลดอย่างเดียว และสะสมแต้มด้วย เป็นส่วนลดด้วย สำหรับสองประเภทแรกใช้เป็นเป็นส่วนลด 10% เมื่อชำระด้วยเงินสด และส่วนลด 5% เมื่อชำระด้วยบัตรเครดิต ได้แก่
- MK Standard VIP Card - ราคา 129 บาท อายุบัตร 2 ปี
- MK University Card – บัตรสมาชิกมหาวิทยาลัย ไม่มีขายทั่วไป ของขวัญพิเศษสำหรับนักศึกษาจบใหม่ อายุบัตร 1 ปี
กลุ่มนี้จะใช้สะสมแต้ม เมื่อทานครบ 25 บาท หลังหักส่วนลดจะได้รับ 1 คะแนน สะสมครบทุกๆ 200 คะแนน สามารถแลกรับบัตรรับประทานอาหารเอ็มเคมูลค่า 100 บาท และ ยังใช้เป็นเป็นส่วนลด 10% เมื่อชำระด้วยเงินสด และส่วนลด 5% เมื่อชำระด้วยบัตรเครดิต ได้ด้วย
- MK Gold Card – ค่าสมาชิก 200 บาท อายุบัตร 2 ปี สมัครได้ที่ร้าน
- MK Emerald – ไม่มีจำหน่าย อายุบัตร 2 ปี บริษัทฯ จะส่งบัตรสมาชิกให้ฟรี เมื่อมียอดใช้บริการตั้งแต่ 12,000 บาท ภายใน 2 ปี และได้รับส่วนลด 20 % ในเดือนเกิด
- MK Platinum – ไม่มีจำหน่าย อายุบัตร 2 ปี บริษัทฯ จะส่งบัตรสมาชิกให้ฟรี เมื่อมียอดใช้บริการตั้งแต่ 24,000 บาท ภายใน 2 ปี บัตรแพลตินัมจะใช้เป็นส่วนลด 12 % เมื่อชำระด้วยเงินสด และส่วนลด 5% เมื่อชำระด้วยบัตรเครดิต และได้รับส่วนลด 25 % ในเดือนเกิด
15. เอ็มเค มีศูนย์อบรมเอ็มเคไว้สำหรับเทรนด์พนักงานโดยเฉพาะ และเหล่านี้คือตัวอย่างหลักสูตรที่ได้ผลในการให้บริการ
- หลักสูตรมาตรฐานในงานบริการ (Standard in Service)
- หลักสูตรการบริการจากใจใช่เรื่องยาก (Service mind
- หลักสูตรบริการเหนือความคาดหวัง (Service Plus)
16. การสื่อสารแบบ MK
เอ็มเคค่อนข้างสตรองและมีความแตกต่างในกลยุทธ์การบริการลูกค้า อย่างแรกที่ปิ๊งในหัวเลยคือ การเต้น ไม่ใช่แค่สร้างความความเบิกบานให้ผู้คนร้าน แต่มันคือสร้างบรรยากาศและความรู้สึกที่ดีภายในร้าน ซึ่งนั่นก็คือหนึ่งในวิธีการสื่อสารกับลูกค้านั่นเอง และยังทำให้พนักงานตื่นตัวในขณะทำงานอีกด้วย เอ็มเค ใช้ทุกอย่างเป็น touch point หากลองสังเกต ถ้วย ชาม ช้อน กระชอนลวก ที่ตักน้ำแกง กล่องกระดาษทิชชู่ ไม้จิ้มฟัน หม้อต้ม หรือแม้แต่แผ่นกระดาษรองจาน ทุกอย่างถูกดีไซน์มาเพื่อสื่อสารความเป็นแบรนด์ในตัวเอง
17. บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มีร้านอาหารในเครือทั้งหมด 8 แบรนด์
18. โครงสร้างของ บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และ บริษัทย่อย