ประวัติอาหารแบรนด์ดัง ตอน 7 Burger King
เบอร์เกอร์ คิง ถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1954 ในรัฐไมอามี่ ฟลอริด้า โดย เจมส์ แมคเรมอน และเดวิด เอ็ดเวอร์ตัน ทุกวันนี้ เบอร์เกอร์คิง ถือเป็นอุตสาหกรรมฟาสต์ฟู้ด ที่มีมากกว่า 50 รัฐ และมากกว่า 55 ประเทศทั่วโลก เจมส์ แมคเรมอน และเดวิด เอ็ดเวอร์ตัน มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจประเภทภัตตาคารมาก่อน ก่อนที่จะเริ่มธุรกิจประเภทนี้ พวกเขาเชื่อว่าการบริการที่ดี รวดเร็ว อาหารมีคุ่มต้นการขณภาพ เป็นจุดที่ดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการ
เบอร์เกอร์ คิง เมื่อ 43 ปีที่แล้ว ที่ ฟลอริด้า เริ่มต้นการขาย แฮมเบอร์เกอร์ ในราคาเพียง 18 เซนต์ และwhopper ในราคา 73 เซนต์ เบอร์เกอร์คิง มีสาขาอยู่เกือบทั่วโลก จาก ออสเตรเลีย ไปจนถึงเวเนซูร่า
ต่อมาในปี 1967 บริษัท Minneapolis-based Pillsbury ได้เข้ามาดูแลแทนโดยมีพนักงานประมาณ 8000 คน
ในปี 1957 มีการแนะนำ whopper sandwich และเบอร์เกอร์ คิง ได้ ถูกตกแต่งและดัดแปลงให้มีห้องทานอาหาร มีบริการแบบ Drive Thru ประมาณ 50% และบริการซื้อกลับบ้าน ประมาณ 15% และเป้าหมายในอนาคตของเบอร์เกอร์ คิง ก็คือ จะมีการบริการแบบ Double Drive Thru,Kiosk,In-Line, Co-Branded
ในปี 1958 เบอร์เกอร์ คิง ได้มีสื่อโฆษณา ออกทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรก และหลังจากนั้น 1 ปี มีการประชาสัมพันธ์ว่า “ร้านเบอร์เกอร์ที่ใหญ่และดีที่สุด” โดยเรามีจุดขายว่า เราจะทำทุกอย่างตามความต้องการขของลูกค้า เพื่อบริการให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจมากที่สุด
ปี 1970 เรามีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เคนดัส ในไมอามี่ และต่อมาในปี 1988 เราได้ขยายสำนักงานไปที่ไมอามี่ ทางตอนใต้ของรัฐฟลอริด้า ด้วยเนื้อที่ 290,000 และต่อมา
ในปี 1990 มีการแนะนำ BK Broiler ทำให้เรามียอดขายถึง 1,000,000 เหรียญ ต่อวัน จนกระทั้งทั่วโลกรู้จัก ทำให้ยอดขายขยับขึ้นมาเป็น 1.6 ล้านเหรียญ ทุกวันนี้ เบอร์เกอร์ คิง และร้านเฟรนไชส์ มีมากกว่า 10,850 ร้านทั่วโลก มีพนักงานกว่า 3 แสนคน มียอดขายอยู่ที่ 9.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งนับว่า เบอร์เกอร์ คิง ประสบความสำเร็จในวงการธุรกิจด้านฟาสต์ฟู้ดมากที่สุดในประเทศไทย
The Minor food Group มีร้านอาหารรวม มากกว่า 680 สาขาทั่วประเทศและภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและตะวันออกกลาง พนักงานในองค์การมีมากกว่า 12,000 คน
นอกจากร้านเบอร์เกอร์ชื่อดังอย่าง McDonald’s ที่เชื่อว่าไม่มีใครไม่รู้จัก ยังมีอีกหนึ่งร้านที่ดังไม่แพ้กันอย่าง Burger King ที่ถึงแม้จะมาทีหลังแมคโดนัลด์ แต่ในเรื่องความอร่อยนั้นก็ไม่เป็นรอง และไม่แพ้ใครอย่างแน่นอน
แต่! ภายใต้เบอร์เกอร์สุดน่ากิน พร้อมด้วยแป้งบันสุดนุ่มนั้นยังมีความจริงบางอย่างที่แทบไม่มีใครรู้ มาดูกันค่ะว่าความจริงที่กำลังจะถูกเปิดเผยนั้นชวนน่าช็อคแค่ไหน!!
ก่อนจะได้ชื่อว่า Burger King นั้นเคยมีชื่อว่า Insta-burger มาก่อน!
อ่ะๆ เบอร์เกอร์คิงไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับอินสตราแกรม (Instagram) หรือแอปสุดฮิตของวัยรุ่นแต่อย่างใด แต่รู้ไหมว่าชื่อดั้งเดิมของเบอร์เกอร์คิงคือ Insta-burger แถมที่มาของชื่อก็แปลกยิ่งกว่า!
เมื่อ 2 ผู้ก่อตั้ง Keith Kramer และ Matthew Burns แอบไปเห็นสิ่งประดิษฐ์ในร้าน McDonalds ที่ชื่อว่า “insta” โดยเจ้าเครื่องนี้มีหน้าที่ย่างเนื้อเบอร์เกอร์แบบที่เราเห็นๆ กันจนชินแต่สำหรับสมัยนั้นแล้วมันช่างเป็นสิ่งประดิษฐ์ล้ำยุคมาก จึงได้ซื้อเครื่องนี้มาแล้วตั้งชื่อตามร้านตามมันซะเลย!
เมืองไทยเรียกว่า เบอร์เกอร์คิง แต่ประเทศออสเตรเลียเขาเรียกกันอีกแบบนะ!
เอาเป็นว่าถ้าอยากกินเบอร์เกอร์หรือเฟรนฟรายของเบอร์เกอร์คิงในแดนจิงโจ้แล้ว ให้มองหาร้านที่ชื่อว่า Hungry Jacks นะค่ะสาวๆ หนุ่มๆ โดยที่มาของชื่ออันแสนแปลกประหลาดกว่าชาวบ้าน
เริ่มจากที่นาย Jack Cowin ได้ซื้อแฟรนไชส์จากเบอร์เกอร์คิงในยุค 70s และเพื่อป่าวประกาศว่าเขาคือผู้จัดจำหน่ายเบอร์เกอร์คิงอย่างถูกกฏหมายในนาม Hungry Jacks แต่เพียงผู้เดียวในประเทศออสเตรเลีย
ผู้ทำให้เบอร์เกอร์คิงเติบโตเคยเป็นผู้บริหารของ McDonalds มาก่อน!
ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน เบอร์เกอร์คิงมีการเปลี่ยนผ่านเจ้าของอยู่หลายครั้ง จนมาถึงบริษัท Pillsbury Company ที่เข้ามาซื้อ และพยายามจัดการปัญหา สร้างระบบเสียใหม่ด้วยการจ้างผู้บริหารคนเก่าของ McDonalds มาแก้ปัญหาที่ว่านี้ (ไม่รู้ว่าผู้ก่อตั้งของแบรนด์นี้จะโกรธหรือเปล่าเนอะ) แต่ก็ถือเป็นเรื่องดี เพราะเบอร์เกอร์คิงโตขึ้น และขยายสาขามากขึ้นทั่วโลก
Hungry Jacks & Burger King ศึกเบอร์เกอร์ที่มีผู้ชนะเพียงคนเดียวเท่านั้น!
จำข้อ 2 กันได้ไหมที่ว่า Jack Corwin เปลี่ยนชื่อเบอร์เกอร์คิงให้กลายเป็น Hungry Jacks แทนที่จะเป็นเบอร์เกอร์คิงเหมือนเดิมในประเทศออสเตรียเลีย แต่รู้ไหมเบื้องลึกเบื้องหลังของชื่อนี้มีที่มาอย่างไร?
ความจริงแล้ว Jack Corwin ได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับแฟรนไชส์ การจัดจำหน่ายและลิขสิทธิ์ของเบอร์เกอร์คิงในประเทศออสเตรเลีย แต่ในปี 2001 เขากลับฟ้องร้องเบอร์เกอร์คิงเกี่ยวกับเรื่องการขยายสาขาของบริษัทแม่ โดยเขาบอกว่าร้านเบอร์เกอร์ของเขาภายใต้ชื่อ Hungry Jacks ขยายสาขาได้น้อยกว่า และช้ากว่า จึงทำให้เบอร์เกอร์คิงเข้ามาจัดการ และขยายสาขาเองในชื่อ Burger King
ผลสรุปของการฟ้องร้องนี้คือ Jack Corwin ได้รับชัยชนะ และได้รับค่าชดเชยมากกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งสิทธิ์ในการจำหน่าย และขยายร้านเบอร์เกอร์คิงภายใต้ชื่อ Hungry Jacks แต่เพียงผู้เดียว ชนะแบบใสๆ ให้มันรู้ซะบ้างว่าใครเป็นใครใช่ไหมแจ๊ค!
เมนูลับสุดหนัก จัดเต็มแบบบิ๊กไซส์สไตล์เบอร์เกอร์คิง
ไหนๆ ก็แอบเอาเรื่องที่น้อยคนจะรู้มาบอกซะแล้ว งั้นเอาเมนูลับของเบอร์เกอร์คิงเป็นของแถมด้วยละกัน
ที่เบอร์เกอร์คิงมีอาหารที่ชื่อว่า frings โดยเป็นลูกครึ่งของเฟรนฟราย และหัวหอมทอด นอกจากนี้ยังเบอร์เกอร์ที่ชื่อก็แปลก แต่ก็น่าลองอย่าง rodeo burger และ suicide burger อ่ะๆ อันแรกก็ดูน่ากิน แต่อันที่สองเริ่มดูน่ากลัว เพราะปริมาณที่จุใจ และอัดแน่นจนยากจะกินหมด โดยมีเนื้อเบอร์เกอร์มากถึง 4 ชิ้น ตามด้วยชีส 4 แผ่น และเบคอนที่ให้แบบไม่หวง และที่ขาดไม่ได้คือซอสลับสูตรพิเศษ เอาเป็นว่าแค่เบอร์เกอร์ชิ้นนี้ชิ้นเดียวก็มีแคลอรี่เกือบ 1000 และโซเดียมอีก 2500 มิลลิกรัม! กินแล้วไขมันไม่ขึ้น ไม่อ้วนให้มันรู้กันไป!