หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

คนญี่ปุ่นทำไมถึงแสนสุภาพอ่อนโยนแต่ก็โหดเหี้ยมอำมหิตได้ถึงขนาดนั้น ทั้งต่อตัวเองและต่อผู้อื่น?

โพสท์โดย SpiderMeaw

จากเหตุการณ์ ระเบิดขึ้นหลายครั้ง บริเวณลานจอดรถ ใกล้สวนสาธารณะโจชิ เมืองอุสึโนะมิยะ จังหวัดโทชิงิ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2559 

มาลองวิเคราะห์กันดูว่า เหตุใด คนญี่ปุ่นที่แสนสุภาพอ่อนโยนแต่ก็โหดเหี้ยมอำมหิตได้ถึงขนาดนั้น ทั้งต่อตัวเองและต่อผู้อื่น? ... โดยเพจ ใครว่าการ์ตูนไร้สาระ - Manga is no-nonsense ได้วิเคราะห์ เมื่อวันที่ 26 ก.ค 2559 ที่ผ่านมา ได้น่าสนใจดังนี้ 

 

คนญี่ปุ่นทำไมถึงแสนสุภาพอ่อนโยนแต่ก็โหดเหี้ยมอำมหิตได้ถึงขนาดนั้น ทั้งต่อตัวเองและต่อผู้อื่น?

พอดีมีคดีมือมีดไล่ฆ่าคนพิการที่ญี่ปุ่นที่เป็น Talk of the Town อยู่ แล้วก็ได้ยินหลายคนบ่นเรื่องทำไมคนญี่ปุ่นถึงชอบฆ่าตัวตายแบบโดดให้รถไฟทับกันจัง แอดมินในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน JP Socio-Linguistics เลยขออนุญาตแหกธีมไปจาก Manga เสียหน่อยในวันนี้ มาวิเคราะห์เรื่องนี้กัน
.
แอดมินวิเคราะห์โดยใช้ประสบการณ์ตัวเองตลอด 30 กว่าปีที่ได้อ่านการ์ตูนญี่ปุ่น และอีก 19 ปีที่สัมผัสกับสังคมญี่ปุ่น รู้จักคนญี่ปุ่นมามากกว่า 1,000 คน เรียนมหาลัยในญี่ปุ่นมา 4 แห่ง ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นทั้งสิ้น 7 ปี ประกอบกับความรู้ต่าง ๆ ที่แอดมินได้ศึกษาเล่าเรียนมา แต่ถึงกระนั้นก็จะบอกได้แค่ "โดยส่วนใหญ่" หรือ "ค่าเฉลี่ย" เท่านั้น ไม่ได้เหมารวม อาจจะมีเคสที่ต่างไปจากที่แอดมินว่ามาก็ได้ ก็กรุณารับทราบด้วยว่า


"แอดมินไม่ได้พูดว่า คนญี่ปุ่นทุกคนในประเทศแม่งจะต้องโดดให้รถไฟทับตายกันในบั้นปลายชีวิตทุกคนหรือคนญี่ปุ่นที่ไม่ได้ฆ่าตัวตายทุกคนก็จะต้องไปฆ่าคนอื่น" อันนั้นก็เวอร์ไป
.
ก่อนวิเคราะห์ ขออธิบายลักษณะ 3 ลักษณะดังนี้ก่อนครับ
.
1. สังคมญี่ปุ่นเป็นสังคม Collectivism สุดโต่ง
สังคมอเมริกันเป็นสังคม Individualism คือ ฉันเก่ง ฉันโดดเด่น ฉันแตกต่างจากคนอื่น ส่วนญี่ปุ่นนั้นตรงกันข้าม คือ ฉันจะต้องทำเหมือนคนอื่น ฉันจะต้องกลืนไปกับคนอื่น อย่างในเพจ แหกกิโมโน เคยกล่าวไว้คือ สังคมญี่ปุ่นนั้นทำลายตัวตนของปัจเจก อันนี้เป็นเรื่องจริง ญี่ปุ่นจะคุยกันโดยใช้แต่นามสกุล ต้องสนิทพอสมควรถึงจะเรียก First name กัน
.
เวลาเรียนหนังสือก็จะให้ความสำคัญว่าเรียนที่ไหน เวลาทำงานก็ให้ความสำคัญว่าทำงานบริษัทอะไร แม้แต่ตอนแลกนามบัตรก็สนใจเฉพาะ "ตำแหน่งของอีกฝ่าย" ว่าอยู่ระดับใดในบริษัทเพื่อจะได้ใช้ระดับภาษาให้ถูกต้อง ไม่ได้สนใจ "ความเป็นตัวตนของอีกฝ่าย" เลย สนใจเพียง "สังกัดของอีกฝ่าย" เท่านั้น
.
งานวิจัยชื่อดังทางด้านการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของ Geert Hofstede จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวคิดของ Collectivism ได้ดี แต่ Hofstede ทำวิจัยจากคนญี่ปุ่นที่ทำงานที่บริษัท IBM ของอเมริกาในตอนนั้น จะได้ข้อมูลที่ไม่ตรงความจริงนัก ถ้าอยากได้ข้อมูลปฐมภูมิที่ตรงจริง ๆ แอดมินแนะนำงานเขียนเรื่อง Uchi to Soto (Inside and Outside) ของ Seiichi Makino วิเคราะห์ความเป็น Collectivism ของญี่ปุ่นได้ถึงแก่นแท้ DNA เลย นอกจากนี้ตำราพวก Social Psychology, Socio-Linguistics, Intercultural Communication หรือพวก Cross-cultural Marketing ก็กล่าวถึง Collectivism ของญี่ปุ่นกันทั้งนั้น ใครสนใจไปหาอ่านได้เลย
.
2. การล่มสลายของความจริงในยุค "สมัยใหม่ (Modern Era)" และเข้าสู่ยุค "หลังสมัยใหม่ (Postmodern Era)"
คำว่า "ยุคสมัยใหม่ (Modern Era)" ในที่นี้หมายถึงความเชื่อว่า "ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว" ครับ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อเมริกาเข้ามาปูพื้นฐานความคิดสมัยใหม่ทั้งหมดให้ญี่ปุ่น ปฏิรูปการเมือง การปกครอง การศึกษา วางรากฐานการผลิตแบบทุนนิยม-บริโภคนิยม หล่อหลอมให้คนญี่ปุ่นเชื่อใน "ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว" ซึ่ง ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวตามแบบฉบับญี่ปุ่นคือ ตั้งใจเรียนให้เก่ง เข้าโรงเรียนดัง ๆ เข้ามหาลัยดัง ๆ ทำงานบริษัทดัง ๆ ที่เดียวตลอดชีวิต พอแก่แล้วก็เลื่อนยศสูงขึ้นเรื่อย ๆ ๆ
.
ไอ้แนวคิดพวกนี้ทำให้ญี่ปุ่นฟื้นจากภาวะหลังสงครามได้จริง และช่วยให้ญี่ปุ่นสร้างชาติได้สำเร็จ แต่ทว่า แนวคิดพวกนี้มันก็เริ่มสลายไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่หลังทศวรรษที่ 1980 ที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มอิ่มตัว (และไม่ฟื้นขึ้นมาอีกเลยจนปัจจุบัน) สิ่งที่เคยเชื่อมั่นว่าจริงแท้แน่นอนนั้นมันพังพินาศลงหมด ทำให้คนที่เกิดหลัง 1980 จำนวนมากกกกก ไม่ทันได้เห็นยุคแห่งความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น เหลือเพียงตำนานเล่าขานถึงความยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่นในอดีตเท่านั้น
.
3. คนญี่ปุ่นยุคปัจจุบันจำนวนมากในสังคมญี่ปุ่นนั้นสามารถผ่านด่านของ Maslow ได้แค่ด่านแรกคือ Physiological Needs เท่านั้น ไม่สามารถผ่านอีก 4 ด่านที่เหลือได้ การที่คนจำนวนมากในสังคมผ่านได้แค่ด่านแรกนั้นก่อผลเสียกระทบเป็นวงกว้างมาก ใครไม่รู้จักทฤษฎี Maslow ก็ดูนี่


https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/60/Maslow's_Hierarchy_of_Needs.svg/2000px-Maslow's_Hierarchy_of_Needs.svg.png
.
พอ 3 แนวนี้คิดนี้เริ่มทำงานคือ บ้ากลุ่มแบบสุดโต่ง, ความจริงเพียงหนึ่งเดียวพังทลายลง, คนจำนวนมากผ่านแค่ด่านแรกของมนุษย์ อะไรจะเกิดขึ้นครับ?
.
การบ้ากลุ่มแบบสุดโต่งถูกแนวคิดทุนนิยม-บริโภคนิยมกระตุ้นให้สุดโต่งกว่าเก่า จนถึงขั้นสลายตัวตนของตัวเอง ทุกอย่างต้องเหมือนคนอื่น แข่งกันเรียน แข่งกันทำงาน ต้องตามคนอื่นอยู่ตลอด ๆ ทำให้เกิดปัญหากลั่นแกล้งกันในโรงเรียนหรือในที่ทำงาน ใครที่โดนพวก Influencer หมายหัวก็คือซวยแน่ครับ เพราะว่าสมาชิกเกือบทุกคนในกลุ่มนั้นจะรุมแกล้งเป้าหมายตาม ๆ กันไป เพราะต้องทำตัวให้เหมือนคนอื่นคือ = แกล้งไอ้บ้านี่ แกล้งจนกว่ามันจะลาออกไปหรือฆ่าตัวตายไป หรือไม่ก็หันกลับมาฆ่าไอ้ Influencer ที่มันเป็นหัวโจกในการแกล้งซะ
.
อันว่าธรรมชาติของมนุษย์นั้นต้องการที่ยืนในสังคม ต้องการให้คนเห็นว่าฉันแตกต่าง หรือ เห็นว่าฉันดีกว่าคนอื่นบ้าง คนที่ทนแรงกดดันของการสลายตัวตนแบบสังคมญี่ปุ่นไม่ได้ ก็จะแสดงออกแบบสุดโต่งในทางตรงกันข้ามแนว Extreme Individualism ไปเลย เช่น ศิลปินญี่ปุ่น, นักเขียน, นักผลิตสื่อเกมและการ์ตูน, พวกโอะตะกุ, พวกฮิคิโคะโมะริ หนักเข้าก็คือพวก "ฆ่าตัวตายแบบโดดให้รถไฟทับ" เพื่อประกาศให้โลกรู้ว่า กูก็มีตัวตนอยู่บนโลกนี้นะโว้ยยยยย ช่วยหันมาแลดูกูบ้าง ให้ความสำคัญกับกูบ้าง

วาระสุดท้ายของกูกูต้องตายอย่างยิ่งใหญ่ พวก...ทุกคนนับล้านคนแม่งต้องเดือดร้อนจากความตายอันยิ่งใหญ่ของกู นี่คือการประกาศศักดาครั้งแรกและครั้งเดียวของผู้ต่อต้าน JP Collectivism ครับ (หรือไม่อีกกรณีคือ ฆ่าไอ้ Influencer ที่มันเป็นหัวโจกในการแกล้งเพื่อทำลายสาเหตุแห่งปัญหา หรือ ฆ่าคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแกล้งเลยก็สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างเคสชายที่ขับรถเข้าไป Akihabara แล้วไล่ฆ่าคน)
.
สมัยที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังดีมาก การเข้าเรียนในโรงเรียนหรือมหาลัยชื่อดังนั้นรับประกันอนาคตสดใสจริง ๆ นะครับ เพราะระบบจ้างงานแบบญี่ปุ่นนั้นเป็นระบบโควต้า คือ แต่ละบริษัทจะมีโควต้าเลยว่าในแต่ละปีจะรับนักเรียนจากมหาลัยนี้กี่คน ๆ ต่อแต่ละมหาลัยเลย คนที่จบจากมหาลัยดัง ๆ ก็จะมีโควต้าเยอะในบริษัทดัง ๆ การแข่งขันคือแข่งกันเองจากคนจบมหาลัยเดียวกันในโควต้าที่มีเท่านั้น ไม่ต้องแข่งกับมหาลัยอื่น พอทำงานไปก็เลื่อนยศไม่หยุดเพราะมีอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจและกิจการสูงมาก มีตำแหน่งสูง ๆ สำหรับทุกคนในยุคทอง
.
แต่พอเศรษฐกิจเริ่มอิ่มตัว บริษัทมันขยายตัวได้น้อยลง ตำแหน่งสูง ๆ ที่เคยแจกไม่อั้น ก็มีอันต้องเริ่มจำกัด โควต้าที่แต่ละบริษัทเคยให้มหาลัยก็ต้องลดลง ๆ ๆ จนในที่สุดคือ ความจริงที่เคยเชื่อมั่นว่า"ตั้งใจเรียน ตั้งใจเข้าสถาบันการศึกษาดี ๆ ตั้งใจทำงานเพื่อองค์กรตลอดชีพไม่เปลี่ยนงานเลย แล้วพอแก่ตัวจะประสบความสำเร็จ" ก็พังทลายลงหมด สิ่งที่เคยเชื่อมั่นมาตลอดชีวิตเพียงหนึ่งเดียวสลายไป เหลือแต่ความเคว้งคว้างในโลกอันโหดร้าย ถึงทำงานหนักจนแก่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ต้องมีปัญหาไม่มีเงินพอใช้ยามเกษียณ ส่วนวัยรุ่นก็ต้องมาเตรียมใจรับภาระภาษีเลี้ยงดูคนแก่หนักมากขึ้น ๆ ทุกปี มนุษย์แต่ละคนก็จะมีวิธีรับมือกับความแหลกสลายทางจิตใจนี้ต่าง ๆ กันไปครับ
.
การเข้าสู่ยุค "หลังสมัยใหม่ (Postmodern Era)" คือการที่เชื่อว่า ความจริงมีมากกว่าหนึ่งความจริง หรืออีกนัยหนึ่งคือ ไม่แคร์ความจริงอีกแล้ว อะไรจริงหรือไม่จริงก็ช่างหัวแม่งแล้ว คนก็จะเริ่มหนีความจริงที่แท้จริง ไปสู่ความจริงอันแสนลวง เช่น ละคร ภาพยนตร์ เกม สังคมออนไลน์ ศิลปินที่ชอบ หรือ บางคนก็อยากทำร้ายคนอยากฆ่าคนเพื่อสนองความอัดอั้นไม่มีที่ระบายของตัวเอง คนที่ฆ่าคนเพื่อสนองความอัดอั้นนั้นหลายคนไม่เชื่อว่าการฆ่าจะทำให้คนอื่นตายจริงนะครับ คือมีความเบลอของเส้นแบ่งความจริงกับความไม่จริง คนพวกนี้บางครั้งเชื่อว่าตัวเองอยู่ในความฝัน เหมือนเมตริกซ์ครับ ฆ่าคนอื่นก็ไม่บาป ไม่ผิด เพราะว่าไม่มีใครมีชีวิตอยู่จริง ๆ อยู่แล้ว ฆ่าได้ สนองความสะใจ
.
การล่มสลายของความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว นั้นทำให้คนญี่ปุ่นยุคปัจจุบันจำนวนมากผ่านแค่ด่านแรกของ Maslow ครับ จากในอดีตที่คนญี่ปุ่นจำนวนมากเคยผ่านกันได้ 4-5 ด่าน คือจากที่เศรษฐกิจดีและขยายตัว มันทำให้ชีวิตของคนญี่ปุ่น 1 คนสามารถเติบโตได้ตามลำดับขั้นเป๊ะเลยครับ
.
1) Physiological Needs - เกิดมาก็ปลอดภัยครบทุกด้านของปัจจัยสี่
.
2) Safety Needs - โตขึ้นก็มี safety ทุกด้านทั้งสุขภาพดี การจ้างงานมั่นคง แต่งงานมีครอบครัว มีศีลธรรมให้ยึดมั่น มีทรัพยากรเพียงพอให้บริโภค มีทรัพย์สินเพียงพอ
.
3) Belongingness and Love Needs - มีความรัก มีมิตรภาพ ได้รับการยอมรับ
.
4) Esteem Needs - มีความเคารพตัวเองและเคารพผู้อื่น มีความภาคภูมิใจในตัวเอง
.
5) Need for Self-Actualization - เข้าใจตัวเอง และรู้จักตัวเอง
.
พอความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวล่มสลาย 2)-5) ก็ล่มสลายตามกันไปครับ ทำให้คนญี่ปุ่นจำนวนมากมีปัญหาทางสุขภาพจิตกันมาก แต่ Collectivism นั้นกดเอาไว้ ทำให้แยกแยะไม่ออกเลยว่าใครมีอะไรผิดปกติอยู่ในจิตมากหรือน้อยแค่ไหน รอวันระเบิดออกมาและเกิดโศกนาฏกรรมแบบที่ได้ยินกันบ่อย ๆ ครับ
.
จบจ้า (เกิน 6 บรรทัดไปมาก ใครอ่านมาถึงตรงนี้คือ คุณเก่งมากเลยครับ ^ ^ )
ขอบคุณ นี่ห้องโชว์ไก่ 日本紹介 ด้วย ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เขียนหัวข้อนี้ครับ
.
Credit - รูปโปรไฟล์นี้ ครึ่งซ้ายมีลูกศิษย์วาดให้ มอบให้อย่างถูกต้อง หาไม่ได้จาก Google ส่วนครึ่งขวานั้นมาจากการ์ตูนเรื่อง Code Geass ซึ่งรูปนี้หาได้ทั่วไปใน Google ครับ ^ ^
.
(Edited เพิ่ม) พอได้อ่านความเห็นของเพื่อน ๆ ทุกท่าน ทำให้แอดมินลองกลับมาคิดดู รู้สึกว่าทฤษฎีของ Freud ก็น่าจะนำมาวิเคราะห์ร่วมกับ Collectivism ได้นะครับ เพราะคนเรามี ID, Ego, Superego แต่สังคมญี่ปุ่นนั้นใช้ Collectivism ทำหน้าที่เป็น Superego (คุณธรรมจริยธรรมที่สังคมนั้น ๆ สั่งสมมา) และทำลาย Ego (Self) ของปัจเจกทิ้งไป

ทีนี้พอมีคนที่รับ Superego แนว Collectivism ไม่ได้ แต่ว่าก็ได้ถูกทำลาย Ego ไปแล้ว ทีนี้ก็งานเข้าสิครับ เหลือแต่ ID ล้วน ๆ คือ อยากฆ่าคนอื่น / อยากฆ่าตัวเอง / อยากมี Sex แบบไม่เหลือ Ego หรือ Superego คอยยับยั้งชั่งใจกันอีกแล้ว T__T

#ใครว่าการ์ตูนไร้สาระ
____________________________________

( https://www.facebook.com/1720312921557688/photos/a.1720545728201074.1073741828.1720312921557688/1736659879922992/?type=3&theater ) <-- โพสต์วิเคราะห์ขบวนการ 5 สี - Collectivism และ Team Work แบบญี่ปุ่น

ขอบคุณที่มา: ใครว่าการ์ตูนไร้สาระ - Manga is no-nonsense

https://www.facebook.com/1720312921557688/photos/a.1720545728201074.1073741828.1720312921557688/1735121876743459/?type=3&theater
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
SpiderMeaw's profile


โพสท์โดย: SpiderMeaw
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
32 VOTES (4/5 จาก 8 คน)
VOTED: makhamdong, แมวฮั่ว แมวขี้น้อยใจ, Darius, zerotype, chuanb
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ครูไพบูลย์ เจ้าของฉายากงยูเมืองไทย อวดหล่อโชว์ซิกแพก กล้ามแน่น ทำเอาสาวแห่กรี๊ด!!สเปกหนูรัตน์ ชอบรวย หล่อแบบเกาหลีซูเปอร์สตาร์ที่ไม่มีงานแสดง แต่เป็นเศรษฐีระดับพันล้าน
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
แร๊พเปอร์ชื่อดัง "คริส คิง" ถูกโจรยิงตายในตรอกสื่อนอกเผย "ไทยติดโควิด 1,004 ราย หลังสงกรานต์"นักมวยเตะก้นสาวชูป้าย เลยโดนคนดูรุมกระทืบเกิดเหตุกำแพงปูนล้มทับคนดับหลายราย
ตั้งกระทู้ใหม่