หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ความหมายของ "พระพุทธรูป" และ "พระพุทธเจ้า" ตามความเป็นจริง

โพสท์โดย Topvongsavath

ความหมายของ "พระพุทธรูป" และ "พระพุทธเจ้า" ตามความเป็นจริง

คัดลอกจาก

พระไตรปิฏกชุด 91 เล่ม มหามกุฏราชวิทยาลัย

 

  

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง

มิจฉาทิฏฐิ อย่างนี้ อย่างเป็นไฉน คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น

อโยนิโสมนสิการ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง

มิจฉาทิฏฐิ อย่างนี้แล

(เล่ม 33 หน้า 461 บรรทัด)

 

 

จะถึงสรณะได้นั้นต้องเข้าใจความหมายของพระพุทธเจ้า จากนั้นจึ่งเข้าใจความหมายของพระธรรมและพระสงฆ์ ถ้าไม่เข้าใจความหมายของพระพุทธเจ้า จะเข้าใจความหมายของพระธรรมไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ถ้าไม่เข้าใจความหมายของพระพุทธเจ้าและพระธรรม จะเข้าใจความหมายของพระสงฆ์ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้

พระพุทธรูป” คืออะไร?

ในนี้มีคำว่า "พระพุทธ" และ "รูป"

"พระพุทธ" คือ พระพุทธเจ้า

"รูป" คือ รูปทั้งหมดเห็นค้วยตา ร่างกายก็เรียกว่ารูป

เพราะฉะนั้น พระพุทธ + รูป = พระพุทธรูป แปลว่าร่างกายพระพุทธเจ้า ร่างกายพระพุทธเจ้ามีหนึ่งเดียวไม่มีสอง เมื่อร่างกายแตกตายไป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจะไม่เห็นกายนั้นอีกและไม่สามารถสร้างรูปใดเปรียบได้เพราะเป็น อปฺปฎิ-โม สิ่งที่เป็นตัวแทนส่วนที่เป็นวัตถุที่เกี่ยวข้องกับพระองค์เมื่อนิพพานแล้วต้องเป็นวัตถุที่เป็นเจดีย์เท่านั้น อันได้แก่ธาตุเจดีย์และปริโภคเจดีย์ชึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ รูปปั้นหรือรูปอื่นฯที่สร้างขึ้นมาเอาเองนอกนั้นเป็นวัตถุที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับพระพุทธรูป เพราะฉะนั้น พระพุทธรูป จึ่งไม่ใช่รูปปั้นหรือรูปใดฯก็ตามที่สร้างขึ้นมาเอาเอง

พระพุทธเจ้า” คืออะไร?

"พระพุทธเจ้า" แปลว่า "ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน" เป็นความรู้อันยอด เป็นสัพพัญญู พระพุทธเจ้าจัดเป็นส่วนที่เป็นความรู้ของพระองค์ มีหนึ่งเดียว ไม่มีสอง พระพุทธเจ้าไม่ใช่พระพุทธรูป พระพุทธเจ้าไม่ใช่ส่วนที่เป็นกาย เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึ่งไม่ใช่ตัวคน สิ่งที่เป็นตัวแทนพระพุทธเจ้าเมื่อนิพพานแล้วคือพระธรรมวินัย

พระพุทธรูปกับพระพุทธเจ้าต่างกันอย่างไร?

ในตัวของคนฯหนึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ร่างกายของผู้นั้นจัดเป็นรูปธรรม ความรู้ของผู้นั้นจัดเป็นนามธรรมพระพุทธรูปจัดเป็นส่วนที่เป็นกายของผู้นั้น ส่วนพระพุทธเจ้าจัดเป็นส่วนที่เป็นความรู้ของผู้นั้น

ทำไมรูปปั้นหรือรูปอื่นฯนอกนี้ที่สร้างขึ้นมาเอาเองจึ่งไม่ใช่พระพุทธรูป?

ก็เพราะว่าพระพุทธรูป (กายพระพุทธเจ้า) มีหนึ่งเดียวไม่มีสอง เมื่อกายนั้นแตกตายไป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจะไม่เห็นกายนั้นอีก

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพ

ขาดแล้วยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมเห็นตถาคต

ชั่วเวลาที่กายของตถาคตดำรงอยู่ ต่อเมื่อกายแตกสิ้นชีวิตแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจะไม่เห็นตถาคต

(เล่ม 11 หน้า 66 บรรทัด 8)

ในเมื่อมีหนึ่งเดียวไม่มีสองจึ่งไม่สามารถสร้างรูปใดเปรียบได้เพราะไม่มีรูปเปรียบ

“บทว่าอปฺปฎิโม (ไม่มีผู้เปรียบ) ความว่าอัตภาพเรียกว่า

รูปเปรียบชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบเพราะรูปเปรียบอื่นเช่นกับอัตภาพ

ของท่านไม่มี อีกอย่างหนึ่งมนุษย์ทั้งหลายกระทำรูปเปรียบใด

ล้วนแล้วด้วยทองและเงินเป็นต้นในบรรดารูปเปรียบเหล่านั้นชื่อว่า

ผู้สามารถกระทำโอกาสแม้สักเท่าปลายขนทรายให้เหมือนอัตภาพของ

พระตถาคตย่อมไม่มีเพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบแม้โดย

ประการทั้งปวง

(เล่ม 32 หน้า 214 บรรทัด 6)

กรรมของใครก็เป็นของผู้นั้น รูปร่างของใครจะเป็นยังไงขึ้นอยู่กับกรรมของผู้นั้นจำแนก รูปร่างของพระมหาบุรุษก็เป็นอย่างนั้นตามกรรมที่ท่านสร้าง ในเมื่อรูปท่านเป็นแบบนั้น ศิลปินทั้งปวงหรือผู้มีฤทธิ์ทั้งปวงในโลกก็ไม่สามารถสร้างรูปเปรียบได้

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย

พระมหาบุรุษทรงปลื้มพระทัยนักแลเมื่อผลกรรมปรากฏทรงงดงามเพราะ

อวัยวะส่วนใดยาวอวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่ยาวทรงงดงามเพราะอวัยวะส่วน

ใดสั้นอวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่สั้นทรงงดงามเพราะอวัยวะส่วนใดล่ำอวัยวะส่วน

นั้นย่อมตั้งอยู่ล่ำทรงงดงามเพราะอวัยวะส่วนใดเรียวอวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้ง

อยู่เรียวทรงงดงามเพราะอวัยวะส่วนใดกว้างอวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่กว้าง

ทรงงดงามเพราะอวัยวะส่วนใดกลมอวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่กลมดังนี้อัตตภาพ

ของพระมหาบุรุษสะสมไว้ด้วยทานจิตบุญจิตตระเตรียมไว้ด้วยบารมี ๑๐

ด้วยประการฉะนี้ศิลปินทั้งปวงหรือผู้มีฤทธิ์ทั้งปวงในโลกไม่สามารถสร้าง

รูปเปรียบได้

(เล่ม 13 หน้า 121 บรรทัด 13)

ไม่มีรูปใดฯหรือวัตถุใดฯที่สร้างขึ้นมาเอาเองนั้นจะสามารถแทนอัตตภาพตัวเองหรือผู้อื่นได้ ยกตัวย่างเช่น ตนเองกินข้าวตนเองก็ต้องอิ่ม ผู้อื่นไม่ได้กินจะอิ่มไม่ได้ ตนเองทำผิดกฎหมาย ตนเองก็ต้องเข้าคุก จะเอารูปปั้นหรือรูปถ่าย รูปวาดตนเองไปเข้าคุกแทนก็ไม่ได้ นั้นเพราะเหตุใด เพราะว่ารูปใดฯไม่สามารถแทนอัตตภาพตนเองตามความเป็นจริงได้ เพราะฉะนั้น การสร้างรูปใดขึ้นมาเปรียบพระองค์จึ่งไม่สามารถทำได้และผู้ที่เป็นพระพุทธเจ้านั้นก็สร้างเอาเองจึ่งได้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่ใช่คนอื่นเอาดินเอาปูนมาสร้างให้แล้วก็บอกว่านี้คือพระพุทธรูปหรือนี้คือพระพุทธเจ้า และคิดคูชิว่าพระพุทธเจ้าท่านสร้างมานานแค่ไหนกว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า อย่างน้อย 4 อสงไขยแสนกัป แต่เขาพากันเอาวัตถุมาหล่อมาปั้นใช้เวลาไม่กี่วัน ไม่กีเดือนแล้วก็บอกว่านี้คือพระพุทธรูปหรือนี้คือพระพุทธเจ้า มันจึ่งไม่เข้ากับหลักความจริงทางธรรมชาติดั่งที่ก่าวไว้ว่า

“…ด้วยว่าผู้อื่นเป็นที่พึ่งไม่ได้เพราะ

คนหนึ่งจะพยายามทำอีกคนหนึ่งให้บริสุทธิ์หาได้ไม่สมจริงดังที่ตรัส

ไว้ว่า ตนนั่นแลเป็นที่พึ่งของตน คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้

เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าอนญฺสรณาไม่มี

สิ่งอื่นเป็นสรณะถามว่าก็ในที่นี้อะไรชื่อว่าตน ?

แก้ว่าธรรมที่เป็นโลกิยะและเป็นโลกุตตระ (ชื่อว่าตน)”

(เล่ม 27 หน้า 90 บรรทัด 8)

พระพุทธเจ้าท่านแสดงธรรมยังมีเป็นระดับเลย มีระดับล่างขึ้นไประดับสูง เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีความรู้ในระดับสูงจะไปว่าให้ผู้ที่มีความรู้ยังระดับล่างอยู่ ยังต้องได้พากันถือแบบนี้อยู่มันก็ไม่ได้!

ใช่ พระพุทธเจ้าท่านสอนธรรมมีเป็นระดับ มีทั้งโลกิยะไปจนถึงโลกุตระ จะระดับไหนท่านก็สอนตรง อันไหนผิดท่านก็บอกว่าผิด อันไหนถูก ท่านก็บอกว่าถูก ธรรมที่ท่านสอนนั้นต้องเป็นธรรมที่เป็นฝ่ายกุศลเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นกุศลที่อยู่ในวัฏฏะหรือกุศลที่ออกจากวัฏฏะ ธรรมที่ท่านสอนไม่ใช่ฝ่ายอกุศล เพราะฉะนั้น จะระดับไหนท่านก็สอนให้สัมมาทิฏฐิ ไม่ว่าจะเป็นสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกิยะหรือสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตระ ท่านไม่ได้สอนให้มิจฉาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จะระดับไหนก็ต้องขึ้นอยู่กับความถูกต้อง เพราะการสร้างรูปปั้น  กราบรูปปั้น เคารพ บูชารูปปั้น เอารูปปั้นมาเป็นที่พึ่ง ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น จึ่งไม่เข้ากับธรรมของท่าน ไม่เข้าแม้แต่โลกิยะธรรม  พระองค์ตรัสสัมมาทิฏฐิเป็นประทาน ก็สัมมาทิฏฐิเป็นประทานเป็นอย่างไร?

“...ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฏฐิว่ามิจฉาทิฏฐิรู้จักสัมมาทิฏฐิว่าสัมมาทิฏฐิความรู้ของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ”

(เล่ม 22 หน้า 341 บรรทัด 20)

เมื่อเป็นเช่นนั้น ตามความเป็นจริงทางธรรมชาติแล้ว รูปปั้นหรือรูปอื่นฯที่สร้างขึ้นมาเอาเองนั้นไม่ใช่พระพุทธรูป ในเมื่อความจริงทางธรรมชาติบอกว่าไม่ใช่ แต่ผู้ใดไปมีความเห็นว่านั้นใช่ ความเห็นของผู้นั้นก็เป็นความเห็นที่ไม่ตรงตามความเป็นจริงหรือเรียกว่าความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ในเมื่อเห็นผิดจึ่งเป็นอกุศลและไม่ใช่ธรรมที่ท่านสอนให้ดำเนินไป พระพุทธเจ้า ท่านสอนเป็นขั้นเป็นตอน เป็นไปตามลำดับ เพราะฉะนั้น คนที่มิจฉาทิฏฐิอยู่ ท่านก็สอนให้สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกิยะ คนที่สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกิยะ ท่านก็สอนให้สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตระ แต่ท่านไม่ได้สอนให้มิจฉาทิฏฐิเลย ถ้าผู้ใดไปว่าท่านสอน ผู้นั้นก็กล่าวตู่ท่าน เช่นรูปปั้น ท่านไม่ได้สอนให้เอามากราบไหว้บูชา ไม่ได้สอนให้เอามาเป็นที่พึ่ง ไม่เคยพาทำแต่กับไปว่าท่านสอนและไปพากันทำแบบนั้นก็เป็นการกล่าวตู่ท่าน

“พ.  สารีบุตรเธอพึงทราบอธรรมวาทีภิกษุด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ

คือภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรมว่าเป็นธรรมะ

๒. แสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่าไม่เป็นธรรม

๓. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นวินัยว่าเป็นวินัย

๔. แสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่าไม่เป็นวินัย

๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้มิได้ตรัสไว้ว่า

พระตถาคตทรงภาษิตไว้ตรัสไว้

๖. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงภาษิตไว้ตรัสไว้ว่าพระตถาคตมิได้

ทรงภาษิตไว้ตรัสไว้

๗. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมาว่าพระตถาคต

ทรงประพฤติมา

๘. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตทรงประพฤติมาแล้วว่าพระตถาคต

มิได้ทรงประพฤติมา

๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ว่าอันพระตถาคตทรง

บัญญัติไว้

๑๐. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ว่าพระตถาคตมิได้ทรง

บัญญัติไว้

๑๑. แสดงสิ่งที่มิใช่อาบัติว่าเป็นอาบัติ

๑๒. แสดงสิ่งที่เป็นอาบัติว่าเป็นสิ่งมิใช่อาบัติ

๑๓. แสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติหนัก

๑๔. แสดงอาบัติหนักว่าเป็นอาบัติเบา

๑๕. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้

๑๖. แสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ

๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ

๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ

สารีบุตรเธอพึงทราบอธรรมวาทีภิกษุด้วยวัตถี๑๘ประการนี้แล”

(เล่ม 7 หน้า 481 บรรทัด 15)

งมงายเห็นผิดโดยเห็นวัตถุรูปปั้นว่าเป็นตัวแทนท่านก็เป็นการกล่าวตู่ท่าน

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลายคน๒จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่

ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือคนเจ้าโทสะซึ่งมีโทษอยู่ภายใน ๑ คน

ที่เชื่อโดยถือผิด ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายคน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าว

ตู่ตถาคต”

(เล่ม 3 หน้า 942 บรรทัด 15)

รูปเคารพ?

รูปเคารพ คือกานเคารพรูป (ร่างกาย) ท่าน บูชาท่านด้วอามิส เห็นรูปท่านแล้ว มีจิตศรัทธา มีความเลื่อมใสแบบนี้เรียกว่า รูปเคารพ รูปเคารพไม่ใช่เห็นร่างกายท่านแล้วหลงไหลในร่างกายของท่าน แบบนี้ไม่ใช่รูปเคารพแต่เป็นการไปหลงไหลในรูป จะถือปฏิสนธิในนรกบ้างในกำเนิดเดียรัจฉานบ้างในปิตติวิสัยบ้างในครรภ์มารดาอันคับแคบบ้าง

“…แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไปเบื้องหน้าก็ทรงดำริว่าบัดนี้

ราหุลมีร่างกายสมบูรณ์ด้วยผิวเนื้อและโลหิตแล้วเป็นเวลาที่จิตฟุ้งซ่านไปใน

รูปารมณ์เป็นต้นอันน่ากำหนัดราหุลยังกาลให้ล่วงไปเพราะเป็นผู้มักมากหรือ

หนอครั้นแล้วพร้อมกับทรงคำนึงได้ทรงเห็นจิตตุปบาทของราหุลนั้นดุจเห็น

ปลาในน้ำใสและดุจเห็นเงาหน้าในพื้นกระจกอันบริสุทธิ์ก็ครั้นทรงเห็นแล้ว

ได้ทรงทำพระอัธยาศัยว่าราหุลนี้เป็นโอรสของเราเดินตามหลังเรามาเกิด

ฉันทราคะอันอาศัยเรือนเพราะอาศัยอัตภาพว่าเรางามผิวพรรณของเราผ่อง

ใสราหุลแล่นไปในที่มิใช่น่าดำเนินไปนอกทางเที่ยวไปในโคจรไปยังทิศ

ที่ไม่ควรไปดุจคนเดินทางหลงทิศอนึ่งกิเลสของราหุลนี้เติบโตขึ้นในภายใน

ย่อมไม่เห็นแม้ประโยชน์ตนแม้ประโยชน์ผู้อื่นแม้ประโยชน์ทั้งสองตามความ

เป็นจริงจากนั้นจักถือปฏิสนธิในนรกบ้างในกำเนิดเดียรัจฉานบ้างในปิตติ-

วิสัยบ้างในครรภ์มารดาอันคับแคบบ้างเพราะเหตุนั้นจักตกไปในสังสาร-

วัฏอันไม่รู้เบื้องต้นที่สุด…”

(เล่ม 20 หน้า 288 บรรทัด 6)

รูปเคารพไม่ใช่เห็นวัตถุรูปปั้นแล้วอ้างว่ารูปเคารพ เพราะนั้นไม่ใช่รูปท่านและไม่ใช่สิ่งที่ควรเอามาเป็นที่เคารพ ยังไงก็ไม่ใช่รูปเคารพ รูปเคารพต้องเป็นรูป (ร่างกาย) ท่านเท่านั้น เพราะฉะนั้น แบบนั้นจึ่งไม่ใช่รูปเคารพแต่เป็นการเห็นผิดและโทษของการเห็นผิดนั้นเป็นโทษที่ใหญ่ที่สุด

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้

ข้อหนึ่งซึ่งจะมีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้เลยดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง

(เล่ม 33 หน้า 191 บรรทัด 20)

เนื่องจากรูปท่าน (ร่างกาย) มีหนึ่งเดียวไม่มีสอง เมื่อร่างกายท่านแตกตายไปแล้ว เผาไปแล้วจึ่งไม่มีอีก เพราะฉะนั้น เดี่ยวนี้รูปเคารพจึ่งไม่มี แต่มีวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับท่านไว้เป็นที่เคารพหลังปรินิพพานอันได้แก่ธาตุเจดีย์และปริโภคเจดีย์

เจดีย์คืออะไร?

เจดีย์ แปลว่า ที่ควรเคารพบูชา เจดีย์นั้นมีทั้งเจดีย์ที่เป็นวัตถุ (ที่เกี่ยวเนื่องกับวัตถุ) และเจดีย์ที่ไม่ใช่วัตถุ (ไม่เกี่ยวเนื่องกับวัตถุ) เจดีย์ คือสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรม สิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมคือสิ่งที่อยู่ในคำสอนพระพุทธเจ้า เช่น ธาตุเจดีย์และปริโภคเจดีย์ เป็นวัตถุที่เกิดโดยธรรม จัดอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้า ทำความเคารพบูชาแล้วได้บุญ ส่วนวัตถุอื่นฯทั่วไปที่สร้างขึ้นมาสมมุติเอาเองแล้วเข้าใจเอาเองว่าเป็นสิ่งทึ่ควรบูชา สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่เจดีย์ เช่น รูปปั้น เหรียญ หรือวัตถุก่อสร้างอื่นฯ เพราะไม่อยู่ในคำสอนของท่าน ทำความเคารพบูชาแล้วไม่ได้บุญ แต่เป็นบาปเพราะเห็นผิด งมงาย พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า เจดีย์มี 3 อย่าง

“…พระอานนทเถระรับว่าดีละแล้วทูลถามพระตถาคตว่าข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญเจดีย์มีกี่อย่างพระศาสดาตรัสตอบว่ามีสามอย่างอานนท์

พระอานนทเถระทูลถามว่าสามอย่างอะไรบ้างพระเจ้าข้าพระศาสดาตรัสว่า

ธาตุเจดีย์ ๑ ปริโภคเจดีย์ ๑ อุทเทสิกเจดีย์ ๑

(เล่ม 60 หน้า 267 บรรทัด 15)

ธาตุเจดีย์คืออะไร?

ธาตุเจดีย์ คือกระดูกของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ควรเคารพบูชา จะมีได้ก็เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว

“…ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเมื่อพระองค์เสด็จจาริกไปข้าพระองค์อาจกระทำเจดีย์

ได้หรือพระศาสดาตรัสว่าอานนท์สำหรับธาตุเจดีย์ไม่อาจทำได้เพราะ

ธาตุเจดีย์นั้นจะมีได้ในกาลที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว…”

(เล่ม 60 หน้า 267 บรรทัด 19)

ธาตุเจดีย์มีความหมายรวมไปถึงกระดูกของพระปัจเจกพุทธเจ้า สาวกตถาคตและพระเจ้าจักรพรรคิด้วย

“ดูก่อนอานนท์ถูปารหบุคคล ๔ เหล่านี้ถูปารหบุคคล ๔

เป็นไฉนคือพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ๑

สาวกของพระตถาคต ๑ พระเจ้าจักรพรรดิ ๑”

(เล่ม 13 หน้า 310 บรรทัด 16)

เมื่อนิพพานแล้วพระองค์ท่านให้ทำสถูปบรรจุกระดูกไว้เคารพบูชา ท่านไม่ได้บอกเลยว่าให้สร้างรูปปั้นแล้วเอามาเคารพบูชา

“…อานนท์เขาปฏิบัติในพระสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิอย่างนี้แล้วพึง

ปฏิบัติในพระสรีระของพระตถาคตเหมือนเขาปฏิบัติในพระสรีระของพระเจ้า

จักรพรรดิฉะนั้นพึงสร้างพระสถูปของพระตถาคตไว้ในทางใหญ่ ๔ แพร่ง

ชนเหล่าใดจักยกขึ้นซึ่งมาลัยของหอมหรือจุณจักอภิวาทหรือยังจิตให้เลื่อม

ใสในพระสถูปนั้นข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่ชนเหล่านั้น

ตลอดกาลนาน…”

(เล่ม 13 หน้า 310 บรรทัด 11)

ทำไมกระดูกพระองค์จึ่งเป็นเจดีย์ (ที่ควรเคารพบูชา) ทำไมรูปปั้นจี่งไม่ใช่เจดีย์?

ก็เพราะว่าเป็นกระดูกของทักขิไนยบุคคล วัคถุที่จะเป็นตัวแทนร่างกายพระองค์เมื่อปรินิพพานต้องเป็นสิ้นส่วนของท่านเองนั้นก็คือกระดูกของท่าน ส่วนรูปปั้นที่สร้างด้วยวัตถุต่างฯนั้นจัดเป็นวัตถุทั่วไปที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับพระองค์ เพราะฉะนั้นจึ่งไม่ใช่วัตถุที่เป็นเจดีย์ดั่งที่อ้างอิงไปแล้วนั้น

ทำไมทำความเคารพบูชากระดูกพระองค์จึ่งได้บุญแล้วทำไมทำความเคารพบูชารูปปั้นจึ่งไม่ได้บุญแต่เป็นบาป?

เคารพบูชาดระดูกท่านเป็นบุญก็เพราะว่าธรรมชาติเป็นแบบนั้น ก็เพราะเป็นกระดูกของทักขีไนยบุคคล กระดูกท่านจึ่งเป็นเจดีย์ พระองค์บอกว่าได้บุญ

“…ชนเหล่าใดจักยกขึ้นซึ่งมาลัยของหอมหรือจุณจักอภิวาทหรือยังจิตให้เลื่อม

ใสในพระสถูปนั้นข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่ชนเหล่านั้น

ตลอดกาลนาน…”

(เล่ม 13 หน้า 310 บรรทัด 12)

“ดูก่อนอานนท์เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรพระตถาคตอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเป็นถูปารหบุคคลชนเป็นอันมากย่อมยังจิตให้เลื่อมใส

ว่านี้เป็นพระสถูปของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นชนเหล่า

นั้นยังจิตให้เลื่อมใสพระสถูปนั้นแล้วเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกย่อม

เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์…”

(เล่ม 13 หน้า 310 บรรทัด 20)

เคารพบูชารูปปั้นเป็นบาปไม่เป็นบุญก็เพราะว่าธรรมชาติเป็นแบบนั้น พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้สร้างวัตถุรูปปั้นแล้วเอามากราบไหว้บูชาเพราะรูปปั้นไม่ใช่ตัวแทนส่วนที่เป็นกายของท่านและไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับท่านเลย ดั่งนั้นรูปปั้นจึ่งไม่ใช่เจดีย์ ไม่อยู่ในคำสอนของพระองค์ เมื่อไปมีความเห็นว่านั้นคือตัวแทน ไปกราบไหว้ ก็เป็นการเห็นผิด เมื่อเห็นผิดจึ่งเป็นบาปและในบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการไม่มีข้อไหนที่บอกว่าบูชาเคารพรูปปั้นจะได้บุญ แถมยังขัดกับข้อที่ 10 ด้วยช้ำ ทิฏฐุชุกรรม (บุญสำเร็จด้วยการทำความเห็นให้ตรงตามธรรม ตรงตามความเป็นจริงหรือเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ) ก็เพราะการที่ไปเห็นรูปปั้นว่าเป็นพระพุทธรูปหรือพระพุทธเจ้านั้นเป็นความเห็นที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง

“๑. ทานมัย บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน

๒. สีลมัย " " ด้วยศีล

๓. ภาวนามัย " " ด้วยภาวนา

๔. อปจิติสหคตะ บุญที่สหรคตด้วยนอบน้อม

๕. เวยยาวัจจสหคตะ " ด้วยการขวนขวาย

๖. ปัตตานุปทานมัย บุญสำเร็จด้วยการแผ่ส่วนบุญ

๗. อัพภานุโมทนมัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนา

๘. เทศนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม

๙. สวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม

๑๐. ทิฏฐุชุกรรม

(เล่ม 75 หน้า 427 บรรทัด 18)

ปริโภคเจดีย์คืออะไร?

ปริโภคเจดีย์ คือวัตถุหรือสถานที่ที่ควรเคารพบูชา ต้องเป็นวัตถุหรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ ท่านเคยได้ใช้สอย เคยได้อยู่

สังเวชนียสถาน 4 ก็เรียกว่าปริโภคเจดีย์เพราะเป็นสถานที่ที่ท่านเคยอยู่ เคยใช้สอย เพราะฉะนั้นจึ่งเกี่ยวข้องกับท่าน

“ดูก่อนอานนท์สังเวชนียสถาน ๔ แห่งเหล่านี้เป็นที่ควรเห็นของ

กุลบุตรผู้มีศรัทธาสังเวชนียสถาน ๔ เป็นไฉนสังเวชนียสถานเป็นที่ควร

เห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยระลึกว่าพระตถาคตประสูติในที่นี่ ๑ สังเวชนีย-

สถานเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยระลึกว่าพระตถาคตตรัสรู้อนุต-

ตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ ๑ สังเวชนียสถานเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มี

ศรัทธาด้วยระลึกว่าพระตถาคตยังธรรมจักรอันยวดยิ่งให้เป็นไปแล้วในที่นี้ ๑

สังเวชนียสถานเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยระลึกว่าพระตถาคต

เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้ ๑…”

(เล่ม 13 หน้า 308 บรรทัด 20)

ต้นโพธิที่ท่านใช้สอยก็เรียกว่าปริโภคเจดีย์เพราะเป็นวัตถุที่ท่านได้ใช้สอย เพราะฉะนั้น จึ่งเป็นวัตถุที่เกี่ยวข้องกับท่าน พระอานนท์ทูลขออนุญาตพระองค์ปลูกต้นโพธิในพระเชตวันให้พระองค์ใช้สอยเพื่อให้มนุษย์ทั้งหลายได้สถานที่บูชาเมื่อพระองค์เสด็จหลีกไป

“…พระอานนท์ทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เมื่อพระองค์เสด็จหลีกไปพระมหาวิหารเชตวันหมดที่พึ่งอาศัยมนุษย์ทั้งหลาย

ไม่ได้สถานที่เป็นที่บูชาข้าพระองค์จักนำพืชจากต้นมหาโพธิมาปลูกที่ประตู

พระเชตวันพระเจ้าข้าพระศาสดาตรัสว่าดีแล้วอานนท์เธอจงปลูกเถิด

เมื่อเป็นเช่นนั้นในพระเชตะวันก็จักเป็นดังตถาคตอยู่เป็นนิตย์…”

(เล่ม 60 หน้า 268 บรรทัด 2)

“…พระอานนท์เถระกราบทูล

ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชนขอพระองค์จง

ใช้สอยโคนต้นโพธิ์นั้นด้วยความสุขเกิดแก่สมาบัติโดยกำหนดว่าใกล้ภูมิ-

ประเทศนี้เถิดพระศาสดาทรงใช้สอยโคนต้นโพธินั้นด้วยความสุขเกิดแต่

สมาบัติตลอดราตรีหนึ่ง…”

(เล่ม 60 หน้า 269 บรรทัด 13)

ทำไมวัตถุที่ท่านใช้สอยหรือสถานที่ที่ท่านเคยอยู่จึ่งเรียกว่าเจดีย์และทำไมรูปปั้นถึงไม่เรียกว่าเจดีย์?

ก็เพราะว่าเป็นวัตถุที่ท่านเคยใช้สอย เป็นสถานที่ที่ท่านเคยอยู่ จึ่งเกี่ยวข้องกับเพราะองค์ ส่วนรูปปั้นนั้นเป็นวัตถุทั่วไปที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับพระองค์และท่านก็ไม่เคยบอกให้สร้างขึ้นมาบูชา เพราะฉะนั้นจึ่งไม่ใช่สิ่งที่ควรเอามาบูชา

วัตถุที่เป็นเจดีย์ กราบ ทำความเคารพบูชาย่อมเกิดบุญ ต่างจากรูปปั้นชึ่งไม่ใช่เจดีย์ ทำความเคารพบูชาก็ไม่เกิดบุญแต่เป็นบาปเพราะเห็นผิดงมงาย ธาตุเจดีย์และปริโภคเจดีย์มีหนึ่งเดียวไม่มีสอง เพราะฉะนั้น จึ่งไม่สามารถสร้างขึ้นมาเลียนแบบได้และเมื่อทำความเคารพธาตุเจดีย์ก็ดีหรือปริโภดเจดีย์ก็ดีให้น้อมจิตเคารพให้ถูกต้อง ท่านให้มีจิตศรัทธา ทำความเลื่อมใส ไม่ใช่เห็นแล้วไปหลงไหล ขอพร อ้อนวอนให้คุ้มครอง ขอหวย แบบนี้เป็นการน้อมจิตบูชาแบบผิด

“…ดูก่อนอานนท์ชนเหล่าใดเที่ยวจาริกไปยัง

เจดีย์มีจิตเลื่อมใสจักกระทำกาละชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้าแต่ตาย

เพราะกายแตกจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์…”

(เล่ม 13 หน้า 309 บรรทัด 10)

อุทเทสิกเจดีย์คืออะไร?

อุทเทสิกเจดีย์คือเจดีย์ที่ไม่มีวัตถุปรากฏ เป็นเพียงเนื่องด้วยตถาคตเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึ่งเป็นเจดีย์ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับวัตถุ แต่บางคนเข้าใจผิดว่า อุทเทสิกเจดีย์ คือการสร้างวัตถุรูปปั้นอุทิศแด่พระพุทธเจ้า ข้อนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะพระองค์บอกไว้ว่าไม่มีวัตถุปรากฏ นั้นก็หมายความว่าเป็นเจดีย์ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับวัตถุ เจดีย์ที่เกี่ยวเนื่องกับวัตถุมีเพียงธาตุเจดีย์และปริโภคเจดีย์ ดั่งนั้น จึ่งเป็นไปไม่ได้ที่อุทเทสิกเจดีย์จะเป็นวัตถุ อุทเทสิกเจดีย์ จึ่งไม่ใช่การสร้างรูปปั้นอุทิศแด่พระพุทธเจ้าเพราะรูปปั้นไม่ใช่เจดีย์และไม่มีธรรมข้อไหนที่ท่านบอกให้สร้าง ให้เอามาเป็นที่บูชาดั่งที่อ้างอิงไปแล้วนั้น

“…สำหรับอุทเทสิกเจดีย์

ก็ไม่มีวัตถุปรากฏ เป็นเพียงเนื่องด้วยตถาคตเท่านั้น…”

(เล่ม60 หน้า267 บรรทัด20)

เจดีย์ที่ไม่มีวัตถุปรากฏและเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับตถาคตก็มีแต่พระธรรมวินัยหรือธรรมเจดีย์เพราะพระองค์ให้ถือธรรมคือเจดีย์

“…ครั้งนั้นแลเมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปแล้วไม่นาน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพระ-

เจ้าปเสนทิโกศลพระองค์นี้ตรัสธรรมเจดีย์คือพระวาจาเคารพธรรมทรง

ลุกจากที่ประทับนั่งแล้วเสด็จหลีกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายจงเรียน

ธรรมเจดีย์นี้ไว้จงทรงจำธรรมเจดีย์นี้ไว้ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรมเจดีย์

ประกอบด้วยประโยชน์เป็นอาทิพรหมจรรย์

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้วภิกษุเหล่านั้นพากัน

ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าฉะนี้แล”

(เล่ม 21 หน้า 202 บรรทัด 2)

และพระพุทธเจ้าเองท่านก็เคารพธรรมเพราะธรรมคือเจดีย์

“…ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อครั้งแรกตรัสรู้เราพักอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธแทบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา

ตำบลอุรุเวลาเมื่อเราเร้นอยู่ในที่สงัดเกิดปริวิตกขึ้นว่าคนไม่มีที่เคารพ

ไม่มีที่ยำเกรงอยู่เป็นทุกข์เราจะพึงสักการะเคารพพึ่งพิงสมณะหรือ

พราหมณ์ผู้ใดอยู่เล่าหนอเราตรองเห็นว่าเราจะพึงสักการะเคารพพึ่งพิงสมณะ

หรือพราหมณ์อื่นอยู่ก็เพื่อทำสีลขันธ์สมาธิขันธ์ปัญญาขันธ์วิมุตติขันธ์

ของเราที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ก็แต่ว่าเราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่น

ที่ถึงพร้อมด้วยศีลสมาธิปัญญาวิมุตติยิ่งกว่าตนในโลกทั้งเทวโลกทั้งมาร-

โลกทั้งพรหมโลกในหมู่สัตว์ทั้งเทวดามนุษย์ทั้งสมณพราหมณ์ซึ่งเรา

จะพึงสักการะเคารพพึ่งพิงอยู่ได้ดังนี้แล้วเราตกลงใจว่าอย่ากระนั้นเลยธรรม

ใดที่เราตรัสรู้นี้เราพึงสักการะเคารพพึ่งพิงธรรมนั้นอยู่เถิด…”

(เล่ม 35 หน้า 52 บรรทัด 7)

เหตุใดอุทเทสิกเจดีย์ จึ่งไม่ใช่การสร้างวัตถุรูปปั้นอุทิศแด่พระพุทธเจ้า?

หลักการตรวจสอบว่าสิ่งใดดือธรรมคือวินัยนั้น  พระพุทธเจ้าท่านให้มีโยนีโสมนสิการ ให้ศึกษาตรวจสอบเทียบเคียงในพระสูตร

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มหาประเทศ ๔ เป็น

ไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ข้อนี้ข้าพเจ้าได้

สดับมาได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย

นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี

ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้น

ให้ดี แล้วพึงเทียบเคียงในพระสูตร พึงสอบสวนในพระวินัย ถ้าเมื่อเทียบเคียง

ในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย บทและพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงกัน

ไม่ได้ในพระสูตร สอบสวนกันไม่ได้ในพระวินัย ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐาน

ได้ว่า นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่แท้ ภิกษุ

นี้รับมาผิดแล้ว เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนี้เสียทีเดียว อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้

พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะ

พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอน

ของพระศาสดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้าน

คำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้ว

เทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าเมื่อเทียบเคียงในพระสูตร

สอบสวนในพระวินัย บทและพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงกันได้ในพระสูตร

สอบสวนกันได้ในพระวินัย ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้เป็นคำของพระ-

ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่แท้ และภิกษุนี้รับมาดีแล้ว ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาประเทศข้อที่ ๑…”

(เล่ม 35 หน้า 431 บรรทัด 16)

และเมื่อเทียบเคียงในหลายพระสูตรในพระธรรมวินัยนี้ จะเห็นว่า ไม่มีธรรมข้อไหนที่ท่านสอนว่ารูปปั้นคือตัวแทนท่าน ไม่มีธรรมข้อไหนที่ท่านสอนให้สร้างรูปปั้นขิ้นมาเป็นตัวแทนท่านแล้วเอามาบูชา ส่วนที่เป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า (ส่วนที่เป็นความรู้) มีแต่พระธรรมวินัย และส่วนที่เป็นตัวแทนพระพุทธรูป (ส่วนที่เป็นกาย) หรือส่วนที่เป็นตัวแทนด้านวัตถุนั้น มีแต่ธาตุเจดีย์และปริโภคเจดีย์เท่านั้น นอกนั้นไม่ใช่ เพราะฉะนั้น อุทเทสิกเจดีย์จึ่งไม่ใช่การสร้างรูปปั้นอุทิศแด่พระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน อีกอย่าง เจดีย์ คือสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรม จะสร้างขึ้นมาเอาเองไม่ได้ การสร้างรูปปั้นเป็นที่ตั้งแห่งความงมงาย เป็นช่องทางและเป็นข้ออ้างในการหาเงิน สร้างความเสยหายให้แก่ศาสนาเป็นอย่างมาก ท่านย่อมไม่สอนสิ่งเหล่านี้แน่ ถึงแม้จะอ้างว่ากราบรูปปั้นแล้วทำให้นึกถึงพระพุทธเจ้าก็ตาม ยังไงก็นึกไม่ถูก เพราะเมื่อไม่เข้าใจความหมายของพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่รู้ว่า พุทธะ แปลว่าอะไร แล้วจะไปพุทธานุสตินั้น เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น คำสอนที่ว่า อุทเทสิกเจดีย์คือการสร้างรูปปั้นอุทิศแด่พระพุทธเจ้าจึ่งไม่ใช่คำสอนของพระผู้มีพระภากเจ้าพระองค์นั้นอย่างแน่นอน ผู้ที่เป็นพระพุทธเจ้าไม่สอนอย่างนั้นแน่นอน ถ้าอยากสร้างสิ่งใดอุทิศแด่พระพุทธเจ้า ท่านไม่ให้ไปสร้างวัตถุ แต่ท่านให้สร้างตนเอง ทำให้ตนเองถูกต้องตามพระธรรมวินัย ทำให้ตนเองเป็นพระอริยะ นั้นละคือการสร้างอุทิศแด่พระตถาคตและเป็นการสร้างที่เลิศกว่าการสร้างทั้งปวง แต่ถ้าอยากจะสร้างวัตถุก็ต้องสร้างวัตถุที่ควรสร้างแล้วให้ทาน เช่น สร้างวิหารถวายสงฆ์ แบบนี้เป็นการสร้างวัตถุที่ควรและประกอบด้วยประโยชน์ จัดเป็นบุญ ไม่ใช่สร้างรูปปั้นขึ้นมาบูชา เพราะนั้นคือการเห็นผิด เป็นที่ตั้งแห่งความงมงาย ท่านสอนให้เราสร้างตนเอง ตนเองจะดีขึ้นอยู่กับตนปฏิบัติตน ไม่ใช่ไปสร้างวัตถุที่ไม่ควรขึ้นมาบูชาแล้วตนเองจะดี ไม่มี!

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุพวกใดพวกหนึ่งในบัดนี้ก็ดี ใน

กาลที่ล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็น

ที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุ

เหล่านี้นั้นเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา จักเป็นผู้เลิศ”

(เล่ม 30 หน้า 444 บรรทัด 22)

แม้แต่ร่างกายท่าน ท่านยังไม่ให้ขวนขวายเพื่อบูชาเลย รูปปั้นยิ่งไม่ต้องพูดถึง ท่านให้เราสร้างตนเอง ไม่ใช่สร้างรูปปั้น เพราะฉะนั้น อุทเท-สิกเจดีย์จึ่งไม่ใช่การสร้างรูปปั้นอุทิศแด่พระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์จะปฏิบัติในพระสรีระ

ของพระตถาคตอย่างไร อานนท์ พวกเธออย่าขวนขวายเพื่อบูชาสรีระของพระ-

ตถาคตเลย พวกเธอจงสืบต่อในประโยชน์ตน ประกอบตามในประโยชน์ตน

ไม่ประมาทในประโยชน์ตน มีตนส่งไปแล้วอยู่เถิด อานนท์ กษัตริย์ผู้เป็น

บัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง เลื่อมใส

ในพระตถาคตมีอยู่ เขาเหล่านั้น จักกระทำการบูชาสรีระของพระตถาคตเอง”

(เล่ม 13 หน้า 309 บรรทัด 17)

ยึดเหนี่ยวจิตใจ?

บางคนอ้างว่ามีรูปปั้นหรือเหรียญก็เพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจ ทำไม่ต้องยึดเหนี่ยวจิตใจก็ในเมื่อศาสนานี้สอนไม่ให้ยึด พระพุทธเจ้าท่านสอนไม่ให้ยึดแต่ถ้าจะพูดว่ายึดก็คือยึดเอาธรรมของท่านมาเป็นที่พึ่ง กล่าวคือก่อนที่จะไม่ยึดมันก็ต้องได้ยึดก่อนแต่ยึดเอาธรรมของพระองค์มาเป็นที่พึ่ง ธรรมของพระองค์เปรียบด้วยทุ่นที่ใช้ข้ามแม่น้ำแต่เมื่อข้ามได้แล้วก็ทิ้งทุ่น ไม่ให้ยึดเอาอะไร ขนาดธรรมของท่าน ท่านยังไม่ให้ยึดเอาเลย อธรรมยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะฉะนั้น ท่านสอนให้ยึดเอาธรรม ยึดเอาฝ่ายที่เป็นธรรมเพื่อดำเนินไป ท่านไม่เคยสอนให้ยึดในฝ่ายอธรรม เช่น ยึดเอารูปปั้น เหรียญ เครื่องรางของขลัง เพราะนั้นเป็นฝ่ายอธรรม

"พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือน

บุรุษผู้เดินทางไกลพบท้วงน้ำใหญ่ฝั่งข้างนี้น่ารังเกียจมีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า

ฝั่งข้างโน้นเกษมไม่มีภัยก็แหละเรือหรือสะพานสำหรับข้ามเพื่อจะไปสู่

ฝั่งโน้นไม่พึงมีบุรุษนั้นพึงดำริอย่างนี้ว่าห้วงน้ำนี้ใหญ่แลฝั่งข้างนี้น่า

รังเกียจมีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้าฝั่งข้างโน้นเกษมไม่มีภัยก็แหละเรือหรือ

สะพานสำหรับข้ามเพื่อจะไปสู่ฝั่งโน้นย่อมไม่มีถ้ากระไรเราพึงรวบรวมหญ้า

ไม้กิ่งไม้และใบไม้มาผูกเป็นทุ่นแล้วอาศัยทุ่นนั้นพยายามด้วยมือและเท้า

พึงข้ามถึงฝั่งได้โดยความสวัสดีทีนั้นแลบุรุษนั้นรวบรวมหญ้าไม้กิ่งไม้

และใบไม้มาผูกเป็นทุ่นอาศัยทุ่นนั้นพยายามด้วยมือและเท้าพึงข้ามถึงฝั่ง

โดยความสวัสดีบุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝั่งได้แล้วพึงดำริอย่างนี้ว่าทุ่นนี้มีอุปการะ

แก่เรามากแลเราอาศัยทุ่นนี้พยายามอยู่ด้วยมือและเท้าข้ามถึงฝั่งได้โดยความ

สวัสดีถ้ากระไรเรายกทุ่นนี้ขึ้นบนศีรษะหรือแบกที่บ่าแล้วพึงหลีกไป

ตามความปรารถนาภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

บุรุษนั้นผู้กระทำอย่างนี้จะชื่อว่าถูกหน้าที่ในทุ่นนั้นบ้างหรือหนอ. ภิกษุทั้ง

หลายกราบทูลว่าข้อนั้นชื่อว่าทำไม่ถูกพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลายก็บุรุษนั้นกระทำอย่างไรจึงจะชื่อว่าทำถูกหน้าที่ในทุ่นนั้น. ใน

ข้อนี้บุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝั่งแล้วพึงดำริอย่างนี้ว่าทุ่นนี้มีอุปการะแก่เรามากแล

เราอาศัยทุ่นนี้พยายามอยู่ด้วยมือและเท้าจึงข้ามถึงฝั่งได้โดยความสวัสดีถ้า

กระไรเราพึงยกทุ่นนี้ขึ้นวางไว้บนบกหรือให้ลอยอยู่ในน้ำแล้วพึงหลีกไป

ตามความปรารถนาภิกษุทั้งหลายบุรุษนั้นกระทำอย่างนี้แลจึงจะชื่อว่ากระ

ทำถูกหน้าที่ในทุ่นนั้นแม้ฉันใดภิกษุทั้งหลายเราแสดงธรรมมีอุปมาด้วยทุ่น

เพื่อต้องการสลัดออกไม่ใช่เพื่อต้องการยึดถือฉันนั้นแลเธอทั้งหลายรู้ถึง

ธรรมมีอุปมาด้วยทุ่นที่เราแสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลายพึงละแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย

จะป่วยการกล่าวไปไยถึงอธรรมเล่า"

(เล่ม 18 หน้า 287 บรรทัด 11)

ทำไม รูปปั้น เหรียญ เครื่องรางของขลัง จึ่งเป็นฝ่ายอธรรม?

ก็เพราะว่าสิ่งเหล่านั้นมีโทษ เพราะรูปทั้งหมด (รวมทั้งรูปปั้นด้วย) เป็นเหยื่อที่มารวางกับดักไว้ มารมันเก่งมาก มันล่อให้คนสร้างรูปปั้น ปลุกเสกเหรียญ แล้วก็พากันเอามายึดเหนี่ยวจิตใจแล้วก็ตกอยู่ใต้อำนาจของมาร

"ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าสิงเวฏัมพรีเทพบุตรแล้วได้กล่าว

คาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

สัตว์เหล่าใด ขวนขวาย ในความเกลียด

บาปด้วยตบะ รักษาความสงบสงัดอยู่ ติด

อยู่ในรูป ปรารถนาเทวโลก สัตว์เหล่านั้น

ย่อมสั่งสอนชอบ เพื่อปรโลกโดยแท้

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี้เป็นมารตัว

ร้ายกาจ จึงได้ตรัสคาถาตอบมารผู้มีบาปว่า

รูปใดๆ จะอยู่ในโลกนี้หรือโลกอื่น

และจะอยู่ในอากาศ มีรัศมีรุ่งเรืองก็ตามที่

รูปทั้งหมดเหล่านั้น อันมารสรรเสริญแล้ว

วางดักสัตว์ไว้แล้ว เหมือนเขาใส่เหยื่อล่อ

เพื่อฆ่าปลา ฉะนั้น"

(เล่ม 24 หน้า 401 บรรทัด 9)

รูปทั้งหมดเป็นเหยื่อแห่งมาร

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่า

ปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจน่ารักอาศัยความใคร่ชวนให้กำหนัดมีอยู่

หากภิกษุเพลิดเพลินสรรเสริญหมกมุ่นพัวพันรูปนั้นภิกษุนี้เรากล่าวว่า

ไปสู่ที่อยู่ของมารตกอยู่ในอำนาจของมารถูกมารคล้องรัดมัดด้วยบ่วง

ภิกษุนั้นพึงถูกมารผู้มีบาปใช้บ่วงทำได้ตามปรารถนาฯลฯดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลายธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจอันน่าปรารถนาน่าใคร่น่า

พอใจน่ารักอาศัยความใคร่ชวนให้กำหนัดมีอยู่หากภิกษุเพลิดเพลิน

หมกมุ่นพัวพันธรรมารมณ์นั้นภิกษุนี้เรากล่าวว่าไปสู่ที่อยู่ของมาร

ตกอยู่ในอำนาจของมารถูกมารคล้องรัดมัดด้วยบ่วงภิกษุนั้นพึงถูก

มารผู้มีบาปใช้บ่วงทำได้ตามปรารถนา"

(เล่ม 28 หน้า 192 บรรทัด 4)

ผู้ใดยินดีเพลิดเพลินในธาตุดินผู้นั้นยินดีในทุกข์

"จริงอยู่ปุถุชนนี้ยังฉันทราคะให้เกิดขึ้นในเหล็กและ

โลหะเป็นต้นเพลิดเพลินพร่ำเพ้อหลงใหลเหล็กและโลหะเป็นต้น

ย่อมหวงแหนรักษาคุ้มครองเหล็กเป็นต้นไว้โดยนัยเป็นต้นว่าเหล็ก

ของเราโลหะของเราชื่อว่าย่อมสำคัญปฐวีภายนอกด้วยความสำคัญด้วย

อำนาจตัณหาด้วยประการฉะนี้ก็หรือว่าปุถุชนย่อมทะยานอยากในปฐวี (ธาตุดิน)

ภายนอกนี้ว่าขอเหล็กและโลหะเป็นต้นของเราพึงมีอยู่อย่างนี้ตลอดไป

หรือตั้งจิตไว้เพื่อจะได้สิ่งที่ยังไม่ได้ว่าด้วยศีลหรือพรหมจรรย์นี้เรา

จักเป็นผู้มีอุกปกรณ์มีเหล็กและโลหะเป็นต้นที่ถึงพร้อมแล้วอย่างนี้

ปุถุชนชื่อว่าย่อมสำคัญปฐวีภายนอกด้วยความสำคัญอันเกิดมาจาก

อำนาจตัณหาแม้ด้วยประการฉะนี้

อนึ่งปุถุชนอาศัยสมบัติหรือวิบัติแห่งเหล็กและโลหะเป็นต้น

ของตนแล้วเกิดมานะขึ้นว่าด้วยอุปกรณ์นี้เราจึงดีกว่าเขาเสมอเขา

หรือเลวกว่าเขาปุถุชนชื่อว่าย่อมสำคัญปฐวีภายนอกด้วยความสำคัญ

อันเกิดมาจากอำนาจมานะอย่างนี้

ก็ปุถุชนเป็นผู้มีความสำคัญในเหล็กว่าชีวะ (มีชีวิต) ย่อมยึดมั่นว่านี้เป็นชีวะ.

นัยในโลหะเป็นต้นก็มีนัยนี้ปุถุชนชื่อว่าย่อมสำคัญปฐวีภายนอกด้วย

ความสำคัญอันเกิดมาจากอำนาจทิฏฐิด้วยประการฉะนี้

...อนึ่งปุถุชนใดยินดีปฐวีปุถุชนนั้นย่อมยินดีทุกข์และทุกข์เป็นโทษ

เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้แม้เพราะการเห็นโทษสมดังที่พระผู้-

มีพระภาคเจ้าตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราตถาคต

กล่าวว่าผู้ใดยินดีปฐวีธาตุผู้นั้นยินดีทุกข์ผู้ใดยินดีทุกข์ผู้นั้นย่อม

ไม่พ้นไปจากทุกข์ดังนี้"

(เล่ม 17 หน้า 70 บรรทัด 20)

ยินดีในรูปย่อมเสื่อมจากกุศลธรรม

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราจักแสดงสังวรและอสังวรแก่

เธอทั้งหลายเธอทั้งหลายจงฟังเถิดดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็อสังวรมีอย่างไร

รูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจน่ารัก

อาศัยความใคร่ชวนให้กำหนัดมีอยู่ถ้าภิกษุยินดีสรรเสริญพัวพันรูปนั้น

ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่าเราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย"

(เล่ม 28 หน้า 167 บรรทัด 8)

โทษของการยึดติดในรูปเมื่อตายในขณะที่จิตอาลัยถึงรูปนั้นย่อมมีคติเป็นที่ไปคือนรกหรือกำเนิดสัตว์

เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราจักแสดงอาทิตตปริยายและธรรม

ปริยายแก่เธอทั้งหลายเธอทั้งหลายจงฟังดูก่อนภิกษุทั้งหลายอาทิตต-

ปริยายและธรรมปริยายเป็นไฉนดูก่อนภิกษุทั้งหลายบุคคลแทงจัก-

ขุนทรีย์ด้วยหลาวเหล็กอันร้อนไฟติดลุกโพลงแล้วยังดีกว่าการถือนิมิต

โดยอนุพยัญชนะในรูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้งจะดีอะไรวิญญาณ

อันตะกรามด้วยความยินดีในนิมิตหรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุ-

พยัญชนะเมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้น

ไซร้ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ๒อย่างคือนรกหรือกำเนิดสัตว์

เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นฐานะที่จะมีได้ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราเห็นโทษอันนี้จึงกล่าวอย่างนี้"

(เล่ม 28 หน้า 357 บรรทัด 3)

ตัวอย่างของโทษที่ยึดติดในรูปก็มีบันทึกไว้ในพระไตรปิฏก เช่นเรื่องของพระติสสะที่ตายในขณะที่อาลัยในจีวรที่ตนจะห่มก็ไปเกิดเป็นเล็นที่จีวรนั้น

"…ลำดับนั้นพี่สาวของท่านจัดแจงวัตถุมียาคูและภัตเป็นต้นเพื่อ

ประโยชน์แก่ภิกษุสามเณรผู้ทำจีวรของพระติสสะนั้นก็ในวันที่จีวรเสร็จ

พี่สาวให้ทำสักการะมากมายท่านแลดูจีวรแล้วเกิดความเยื่อใยในจีวรนั้น

คิดว่า "ในวันพรุ่งนี้เราจักห่มจีวรนั้น"แล้วพับพาดไว้ที่สายระเดียง

ในราตรีนั้นไม่สามารถให้อาหารที่ฉันแล้วย่อยไปได้มรณภาพแล้วเกิด

เป็นเล็นที่จีวรนั้นนั่นเอง"

(เล่ม 43 หน้า 17 บรรมัด 8)

เศรษฐีชาวเมืองพาราณสีผู้หนึ่งฝังทรัพย์ไว้แล้วห่วงทรัพย์ของตนตายไปก็ไปเกิดเป็นงูเฝ้าทรัพย์นั้น

“ก็ในกาลนั้นเศรษฐีชาวเมืองพาราณสีผู้หนึ่งฝังทรัพย์

๔๐โกฏิไว้ที่ฝั่งแม่น้ำเพราะความเป็นห่วงทรัพย์ตายไปจึง

ไปเกิดเป็นงูอยู่เหนือขุมทรัพย์ยังมีอีกผู้หนึ่งฝังสมบัติไว้ตรงนั้น

เหมือนกัน ๓๐โกฏิเพราะความเป็นห่วงทรัพย์ตายไปบังเกิด

เป็นหนูอยู่ในที่นั้นเหมือนกัน

(เล่ม 56 หน้า 191 บรรทัด 6)

ถ้าการสร้างรูปปั้นขึ้นมาบูชาเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แล้วทำไมคนส่วนมากเขาจึ่งพากันทำละ คนส่วนมากพากันทำ ไม่ผิดหรอก

จะถูกหรือไม่ถูกไม่ได้ขึ้นอยู่ที่จำนวน มันขึ้นอยู่ว่าสิ่งนั้นถูกหรือไม่ถูก ถ้าไปถือเอาตามจำนวนเป็นหลัก ไม่ถือตามความจริงเป็นหลัก ก็เป็นการถือมงคลตื่นข่าว ถือเอาตามเสียงส่วนใหญ่เป็นหลัก ไม่ถือตามความถูกต้องเป็นหลัก ย่อมเป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมเป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด ธรรม ๕ ประการ

เป็นไฉน ? คือ อุบาสกเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ เป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้ถือมงคล

ตื่นข่าว เชื่อมงคลไม่เชื่อกรรม ๑ แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ ทำการ

สนับสนุนในศาสนานั้น ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม

๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด

ทำไม่พระพุทธเจ้าจึ่งไม่ใช่พระพุทธรูป?”

(เล่ม 36 หน้า 373 บรรทัด 3)

และคนพาลย่อมถือเอาตามเสียงส่วนใหญ่เป็นหลัก ไม่ถือตามความถูกต้องเป็นหลัก

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ ๒

พวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในของที่ไม่เป็นธรรม ๑ คน

ที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล

๒ จำพวกนี้แล” 

สัตว์ที่งมงายนั้นย่อมมีมากกว่าสัตว์ที่ไม่งมงาย เพราะฉะนั้น จึ่งไม่แปลกที่คนส่วนมากจะยังงมงายกราบรูปปั้นอยู่

“...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้ประกอบ

ด้วยปัญญาจักษุ อันเป็นอริยะ มีประมาณน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ตกไปใน

อวิชชาเป็นผู้งมงาย มีมากกว่า ฯลฯ”

ทำไมพระพุทธรูปจึ่งไม่ใช่พระพุทธเจ้า

เพราะพระองค์ตรัสไว้ว่าพระธรรมวินัยคือตัวแทนพระองค์ ไม่ใช่ร่างกายพระองค์เป็นตัวแทน

“ดูก่อนอานนท์บางที่พวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่าปาพจน์มีพระศาสดาล่วง

แล้วพระศาสดาของพวกเราไม่มีข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้นธรรมก็ดี

วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้วได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอธรรมและวินัย

อันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอโดยกาลล่วงไปแห่งเรา

(เล่ม 13 หน้า 320 บรรทัด 18)

ก็เพราะว่ารูปหรือวัตถุใดๆไม่สามารถแทนพระตถาคตได้

“ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่ง

ในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใด อัน

ประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอ

ด้วยพระตถาคตไม่มีเลย

(เล่ม 47 หน้า 2 บรรทัด 1)

ก็เพราะพระองค์ตรัวว่า รูปพระองค์ก็น่าเกลียดชึ่งคนพาลเท่านั้นที่ชอบ เห็นธรรมเท่านั้นจึ่งขึ้นชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า ไม่เห็นธรรมเห็นแต่รูปก็ไม่ขึ้นชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า ถึงแม้ว่าตัวพระองค์จะประกอบด้วยส่วนที่เป็นรูปธรรม (ร่างกาย) ก็ตามแต่ท่านไม่เรียกส่วนที่เป็นกายท่านว่าเป็นพระพุทธเจ้า

“…พระศาสดาทรงทราบว่าเรายินดีในพระพุทธรูปจึงได้

ตรัสสอนเราว่าอย่าเลยวักกลิประโยชน์อะไรในรูปที่น่า

เกลียดซึ่งคนพาลชอบเล่าก็บัณฑิตใดเห็นสัทธรรม

บัณฑิตนั้นชื่อว่าเห็นเราผู้ไม่เห็นสัทธรรมถึงจะเห็น(รูป)เราก็

ชื่อว่าไม่เห็น

(เล่ม 52 หน้า 116 บรรทัด 2)

บูชามี 2 อย่าง บูชาด้วยอามิสและบูชาด้วยธรรม บูชาด้วยธรรมเป็นเลิศ

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลายการบูชา๒อย่างนี้

๒อย่างเป็นไฉนคือการบูชาด้วยอามิส๑การบูชาด้วยธรรม๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายการบูชา๒อย่างนี้แลดูก่อนภิกษุทั้งหลายบรรดา

การบูชา๒อย่างนี้การบูชาด้วยธรรมเป็นเลิศ

(เล่ม 33 หน้า 476 บรรทัด 9)

บูชาด้วยอามิสไม่เรียกว่าบูชาพระพุทธเจ้า บูชาด้วยธรรมเท่านั้นจึ่งเรียกว่าบูชาพระพุทธเจ้า

“…พระศาสดาประทานสาธุการแก่เธอว่า "ดีละๆ" แล้วตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลายอันภิกษุผู้มีความรักใคร่ในเราแม้รูปอื่นพึงเป็นเช่นภิกษุ

ธรรมารามะนี้แหละแท้จริงภิกษุทั้งหลายเมื่อทำการบูชาด้วยระเบียบ

และของหอมเป็นต้นหาชื่อว่าทำการบูชาแก่เราไม่ผู้ปฏิบัติธรรมสมควร

แก่ธรรมเท่านั้นจึงชื่อว่าบูชาเรา

(เล่ม 43 หน้า 358 บรรทัด 12)

เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมจึ่งเรียกว่าบูชาพระพุทธเจ้าและเป็นการบูชาอันยอดเยี่ยมกว่าการบูชาทั้งปวง

“ดูก่อนอานนท์ผู้ใดแลไม่ว่าเป็นภิกษุภิกษุณี

อุบาสกหรืออุบาสิกาเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่

ธรรมปฏิบัติชอบยิ่งประพฤติตามธรรมผู้นั้นชื่อว่า

สักการะเคารพนับถือบูชายำเกรงนอบน้อมตถาคต

ด้วยการบูชาอย่างยอดเยี่ยม

(เล่ม 39 หน้า 179 บรรทัด 19)

ก็เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งความรู้เป็นศาสนาแห่งปัญญา แก่นสารของศาสนาพุทธไม่ใช่วัตถุ แก่นสารของศาสนาพุทธคือการปฏิบัติ แม้ว่าการสร้างวิหารใหญ่โตมากมายหรือบูชาวัตถุที่เป็นเจดีย์จะเป็นบุญก็ตาม แต่เป็นบุญที่อยู่ในวัฏฏะ ไม่เกิดปัญญาย่อมกับมาทุกข์เหมือนเดิมและไม่สามารถดำรงศาสนาให้อยู่นานด้วย ดั่งนั้น จึ่งยังไม่เข้าแก่นสารของศาสนาพุทธ ต่างจากการปฎิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมหรือเรียกว่าสัมมาปฎิบัติอันจะพาให้เกิดปัญญา ความรู้ เพื่อดับทุกข์ได้และสามารถดำรงพระศาสนาไว้ด้วย เพราะฉะนั้น วัตถุที่เป็นเจดีย์ยังไม่ใช่แก่นสารเลย วัตถุที่ไม่ใช่เจดีย์ยิ่งไม่ต้องพูดถึง

จริงอยู่ชื่อว่าอามิสบูชานั้นไม่สามารถจะดำรงพระศาสนาแม้ในวันหนึ่งบ้างแม้ชั่วดื่ม

ข้าวยาคูครั้งหนึ่งบ้างจริงอยู่วิหารพันแห่งเช่นมหาวิหารเจดีย์พันเจดีย์เช่น

มหาเจดีย์ก็ดำรงพระศาสนาไว้ไม่ได้บุญูผู้ใดทำไว้ก็เป็นของผู้นั้นผู้เดียว

ส่วนสัมมาปฏิบัติชื่อว่าเป็นบูชาที่สมควรแก่พระตถาคตเป็นความจริงปฏิบัติ

บูชานั้นชื่อว่าดำรงอยู่แล้วสามารถดำรงพระศาสนาไว้ได้ด้วย

(เล่ม 13 หน้า 421 บรรทัด 14)

 

ธรรมทานชนะทานทั้งปวง

(เล่ม 33 หน้า 476 บรรทัด 3)

 

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Topvongsavath's profile


โพสท์โดย: Topvongsavath
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
64 VOTES (4/5 จาก 16 คน)
VOTED: หลวงพี่อ้น ณ โพสจัง, bgs, ผมชื่อ ไอ้โง่, Rinnn, ฝุ่ง, MoreFuture, วันละห้าฟ้าเหลือง, บ่าวสันขวาน, PMAlone
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สื่อดัง "วอยซ์ทีวี" ประกาศปิดกิจการ 31 พ.ค.นี้ เลิกจ้างพนักงานกว่า 100 ชีวิต ด้าน "แขก คำผกา"เคลื่อนไหวแล้ว เขมรเคลมอีก? อ้าง ข้าวเหนียวทุเรียน คือขนมดั้งเดิมของเขมรโบราณ!ชลน่าน อวดยุคเศรษฐา 7 เดือน บำบัด 7 หมื่นคนเผยนาทีระทึก "พายุฤดูร้อน" ถล่มเชียงราย..ทำเอากำแพงล้มระเนระนาด!อดีตหัวหน้าพรรคคนดัง ย้ายซบ ปชป. ตอบแทนบุญคุณช่วยเป็น สส. สมัยแรกเตือนแล้วไม่ฟัง ต้องบังให้มิดขำสุดซอย..ฮาก๊าก..คลายเครียด!ช็อตฮาประชาชี : บ้านญาติบรรยากาศแบบนี้ ต้องหาคนมานอนเป็นเพื่อนหน่อยเน่อ ไม่งั้นหลอนแน่ๆนักร้องดังวง SNSD,Apink,IOI ถูกตำรวจจับ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เฮทั่วประเทศ ! ฟุตซอลไทย ชนะจุดโทษ ทาจิกิสถาน เข้าชิงแชมป์เอเชีย 2024"ปารีณา-อมรัตน์" สายสัมพันธ์ในวันที่การเมืองเปลี่ยน จากศัตรูสู่มิตร"ป๋าเสรี" ร่วมงานศพ"ทวี ไกรคุปต์" ด้าน"ปารีณา" โผล่สวมกอด ลั่นขอโทษที่เคยทำไม่ดีกับท่านเสรี!erosion: การกัดเซาะ การทำให้สึกกร่อน
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
รีวิวหนังสือ กฎ 21 ข้อที่ไม่มีผู้นำคนไหนปฏิเสธได้ (The 21 Irrefutable Law of leadership)erosion: การกัดเซาะ การทำให้สึกกร่อนโทษ-ประโยชน์ของการช่วยตัวlอง ผู้ชายควรรู้Huawei ทวงคืนบัลลังก์! ขึ้นแท่นอันดับ 1 ตลาดสมาร์ทโฟนจีนอีกครั้ง
ตั้งกระทู้ใหม่