โบสถ์ 200 ปี สร้างขึ้นใหม่จาก “เถ้าถ่าน” ที่พังทลายไปใน “สงครามโลก”
โบสถ์ เฟราเอน (เยอรมันออกเสียง เฟราเอนเคียชเช่อ) ในเมืองเดรสเดน ประเทศเยอรมันแห่งนี้ ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 10 ปี จนกลับกลายมาเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามดุจดังอัญมณีประดับเมืองอีกครั้ง
ก่อนหน้านี้ โบสถ์ แห่งนี้ถูกทำลายลงอย่างย่อยยับ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้โบสถ์ที่เคยงดงามหลือเพียงซากถ่านเถ้าธุลี และทิ้งซากปรักหักพังของผนัง 2 ด้าน จากรึกไว้เพียงความหดหู่ใจของสงครามบนแผ่นดินแม่นานถึง 50 ปี
โบสถ์ แห่งนี้มีอายุนานกว่า 200 ปี สร้างโดยสถาปัตยกรรมสมัยบาร็อค หลังงครามโลกมันเหลือแต่เถ้าถ่าน แต่โชคดีที่มีนักโบราณคดี อาสาสมัคร และผู้ที่ใฝ่ใจในประวัติศาสตร์ ได้ร่วมระดมเงินทุนจากทั่วโลกได้ถึง 100 ล้านเหรียญฯ (3.5พันล้านบาท) ในการซ่อมแซมโบสถ์แห่งนี้ให้กลับมางดงามอีกครั้ง
มันเป็นความฝันของชาวเมือง ที่อยากให้เศษซากปรักหักพังของ โบสถ์ กลับมายืนตระหง่านงดงามบนเส้นขอบฟ้าของเมืองอีกครั้ง แรกเริ่มพวกเขาพยายามระดมเงินกันเอง กระทั่งต้องนำอิฐหินเก่าแก่ของโบสถ์ออกขาย เพื่อนำเงินมาซ่อมแซม จนกระทั่งทั่วโลกเริ่มให้ความสนใจและเข้ามามีส่วนช่วยเหลือ
วัสดุที่ใช้ก่อสร้าง โบสถ์ แห่งนี้ก็คืออิฐหินเก่าของเดิม ที่หักพังลงมา โดยใช้ของเดิมมาสร้างใหม่มากถึง 46% โดยใช้คอมพิวเตอร์จำลองภาพ 3 มิติออกมาว่า อิฐก้อนไหนควรอยู่ตรงไหน จากนั้นจึงค่อยนำของใหม่มาเติมส่วนที่ขาด ตอนนี้มันกลับมาสวยงาม รองรับู้คนได้ถึง 1.8 พันคน หลังจากที่ถูกระเบิดกว่า 100 ลูกในสงคราม!
ที่มา: Good News Network