หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ถนนเก่า เล่าอดีต

โพสท์โดย สาวลูกแม่ปิง

ย่านสำโรงมุ่งสู่ถนนบางนา...เมื่อครั้งอดีต

ถนนพหลโยธิน จากช่วงแยกลาดพร้าวไปจนถึงดอนเมือง ในอดีตตอนที่ยังไม่มีถนนวิภาวดี การเดินทางไปขึ้นเครื่องบินต้องผ่านตรงนี้ ร่มรื่นตลอดเส้นทาง อากาศเย็นสบาย บางจุดแดดส่องไม่ถึงพื้นถนน นั่งรถไม่ต้องมีแอร์ก็สุขสบาย สองข้างทางจะเป็นคูน้ำไหล ที่มีปู ปลา อยู่ เวลาฝนตก น้ำจะท่วมพื้นถนน แต่ท่วมเดี๋ยวเดียวก็ลด สมัยนั้นยังเห็นชาวบ้านออกมาหาจับปลากันมากมาย ทั้งตกด้วยคันเบ็ดไม้ไผ่แบบยาวๆ หรือ เหวี่ยงแหก็มีเครดิตภาพ จากคุณ phongrottourthai.com

สามแยกพุแค ในปี 2514

ด้านซ้ายไปพระพุทธบาท ลพบุรี
ด้านขวาไปสระบุรี กรุงเทพ
รถทัวร์ที่จอดอยู่ตรงโน้น ไปเพชรบูรณ์ หล่มสัก

สแกนจากหนังสือรายงานประจำปี 2514 ของกรมทางหลวง หอสมุดแห่งชาติ เทเวศร์

ภาพถนนประติพัทธ์ สะพานควายเมื่อปี 2511 แปลกใจไหมค่ะว่าเมื่อก่อนสะพานควาย มีถนนกว้างขวางใหญ่โตขนาดนี้ ตึกขวามืออยู่แถวๆหน้าโรงแรม Liberty เลยไปทางซ้ายมือตอนนั้นมีไนท์คลับดัง ชื่อ เฮนเนสสี ไนท์คลับ ขวามือตกขอบมุมขวาคือโรงหนั

เฉลิมสิน ฝั่งตรงข้ามเป็นตลาดโต้รุ้ง มีร้านขายโทรทัศน์ ด้านหลังตึก จะเป็นบาร์ผี บาร์อโกโก้เป็นสิบๆแห่ง ตอนนั้น สะพานควายมีโรงแรม แคปปิตอล โรงแรมประติพัทธ์ โรงแรมลิเบอร์ตี้ พี โอ คอร์ท และอีกหลายสิบคอร์ท โดยเฉพาะบนถนนประติพัทธ์ ทุกแห่งถูกเช่าเหมาปีโดยกองทัพสหรัฐ เพื่อให้เป็นที่พักของทหารที่ไปรบเวียตนาม โดยเฉพาะโรงแรมแคปปิตอล เป็นที่พักของทหารสัญญาบัตร มี PX และคลับพร้อมในโรงแรม มี MP เฝ้าทางเข้า
ไม่อนุญาตให้คนเข้าออกโดยไม่ได้รับอนุญาติ ในตอนนั้นพวกทหารชั้นประทวงทั้งดำทั้งขาวจะพักในคอร์ทตรงซอยสุทธิสาร
 
ช่วงก่อนถึงถนนวิภาวดี ทำให้มีบาร์ผีและหญิงอาชีพพิเศษ เกิดขึ้นมากมาย ส่วนบนถนนพหลโยธินนอกจากโรงแรมแคปปิตอล แล้วก็จะไปมีที่ตรงสนามเป้า โรงแรมคอนติเนลตัล ดังมากมีคลับชื่อ เลอรัวร์ อยู่ใต้ดิน ตรงสนามเป้ายังเป็นที่ตั้งของบริษัทTommy Tour ที่เป็นคนดูแลการเดินทางเข้าออกของทหารอเมริกัน แต่ที่มีมากตรงสะพานควายและบนถนนประติพัทธ์จะมีมากเป็นพิเศษ ลืมบอกเลยสนามเป้าไปก็เป็นตรงแยกพญาไท อาคาร ที่เป็น ร.พ.เดชา และ พญาไท เมื่อตอนนั้นก็เป็นที่พักทหารอเมริกันเหมือนกัน

ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ปี 1978 ข้างหน้าคือ แยกสุทธิสารซ้ายไปสะพานควาย ขวาไปห้วยขวางในยุคที่ยังไม่ได้สร้างสะพานข้ามแยกใดๆทั้งสิ้นบนถนนเส้นนี้เครดิตภาพ จากคุณ phong rottourthai.com

ถนนสุขุมวิท แถวๆพระโขนง ปี 1971เครดิตภาพ จากคุณ phong rottourthai.com

บางคนอาจจะไม่เชื่อว่านี่คืถ.พหลโยธิน ตรงต่างระดับบางปะอินในปี 2514 ในปีนั้นถนนสายเอเชียยังไม่เปิดใช้แต่มาเปิดปี 2516

ทำให้ ถ.พหลโยธิน ตรงต่างระดับบางปะอินในตอนนั้น มีแต่ทางโค้งและถนนสาย 308 ที่แยกเข้าบางปะอินเท่านั้น เมื่อมาดูในตอนนี้ โอ้โหถนนพหลโยธินกว้าง 10 เลน มีต่างระดับบางปะอินที่ใหญ่โตต่างกันลิบลับ

สแกนจากรายงานประจำปีกรมทางหลวงปี 2514

แยกเดชาติวงศ์ในปี 2514 ต่างกันกับตอนนี้เยอะมาก

สแกนจากหนังสือรายงานประจำปีกรมทางหลวง พ.ศ.2514
หอสมุดแห่งชาติ เทเวศร์

ต่างระดับแบบสมบูรณ์แบบแห่งแรกของประเทศ "ต่างระดับตลิ่งชัน"

ด้านซ้ายไป ถ.สิรินธร สะพานซังฮี้
มุมบนขวาไปปิ่นเกล้า
มุมล่างขวาไปตลิ่งชัน นครชัยศรี
ในขณะที่สายใต้(ปิ่นเกล้า) ยังเป็นสวนมะพร้าวอยู่เลย ภาพนี้ราวๆปี 2528

ถ.พระราม 2 เมื่อปี 2514 แล้วแตงโมก็วิ่งไป

สแกนจากหนังสือรายงานประจำปี 2514 กรมทางหลวง หอสมุดแห่งชาติ

ถ.เพชรเกษม จากกรุงเทพไปนครปฐม สองเลน ในปี 2514

สมัยนั้นคงมีแต่ทุ่งนาโล่งๆบ้านคนไม่มาก เมื่อมาเจอสมัยนี้ อะหืมอ้อมน้อยยันนครปฐม มีทั้งบ้านคน มีทั้งโรงงาน

แล้วรถทัวร์สายใต้ สายเก่าๆที่วิ่งลงไปภาคใต้ ยังวิ่งบนถนนสายนี้อยู่ค่ะ เช่น สาย 61 กรุงเทพ-หาดใหญ่ สาย 62 กรุงเทพ-ตรัง สาย 63 กรุงเทพ-ภูเก็ต ต้องวิ่งผ่านนครปฐมแทบทั้งนั้น
สแกนจากหนังสือรายงานประจำปี 2514 กรมทางหลวง

แยกสะพานผ่านพิภพลีลา ตอนกำลังขยายปลายถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า+ถนนราชดำเนินกลาง แต่เดิมตรงที่กำลังขยายถนนคือที่ตั้งกรมประชาสัมพันธ์กับกรมสรรพากร
รถที่ลงมาจากสะพานปิ่นเกล้า ต้องมาตามทางเก่าที่รถวิ่งในภาพ ซึ่งมีความคับแคบ เกิดการราจรติดขัด
ลืมแล้วว่าเอามาจากหนังสือเล่มไหน น่าจะปี 2537

ถ.มิตรภาพ ช่วงสระบุรี-นครราชสีมา เมื่อปี 2514

ตรงไหนล่ะเนี่ย? ก่อนถึงกลางดง? คลองไผ่?

มุมกล้องอย่างนี้ กับสภาพทางกายภาพ ณ เวลานี้ เปรียบเทียบยากดีแท้

สี่แยกอรุณอมรินทร์ในปี 2537-2538 ซึ่งแยกนี้มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2516 พร้อมๆกับสะพานพระปิ่นเกล้าและสะพานอรุณอมรินทร์
ในภาพมีสะพานข้ามแยกชนิดโครงเหล็กแบบแยกบางพลัดตั้งอยู่ก่อนที่จะถูกรื้อถอน เพื่อสร้างทางลาดของทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี
ในภาพนี้รถวิ่งมาจากแยกบรมราชชนี(เซ็นปิ่น) เลี้ยวซ้ายไป ซ.จรัญฯ 40 ซึ่งยังไม่มีสะพานพระราม 8 ที่สร้างเสร็จปี 2545 ตรงไปก็ขึ้นสะพานพระปิ่นเกล้า เลี้ยวขวาไปศิริราช และที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นที่ๆรถติดที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพด้วย ในสมัยนั้น

ภาพจากหนังสืออนุสรณ์พิธีเปิดทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ในหอสมุดจุฬา ม.ธรรมศาสตร์ ม.มหิดล ม.เกษตร

ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า หน้าห้างพาต้า เมื่อคราวรื้อถอนสะพานลอยข้ามแยกอรุณอมรินทร์ เพื่อสร้างทางขึ้นทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี เมื่อปี 2540 เขารื้อทางขึ้นลงก่อน แล้วจากนั้นก็เหลือส่วนที่อยู่กลางแยกเป็นชิ้นสุดท้าย

สะพานข้ามทางรถไฟสายแม่กลอง ถ.พระราม 2 (ธนบุรี-ปากท่อ)

ต้นฉบับไม่ได้ระบุปีเอาไว้ น่าจะเป็นปี 2518 หรือ 2521

ถ.คชเสนีย์ ปี 2514 (ไม่รู้ว่าอยู่ช่วงไหน เลยช่องเขาขาดไปแล้วหรือยัง)

สแกนจากหนังสือรายงานประจำปี 2514 ของกรมทางหลวง

ทางหลวงฟมายเลข 12 ช่วงหล่มสัก-ชุมแพ ปี 2521

สแกนจากหนังสือรายงานประจำปี 2521 กรมทางหลวง

มุมสูงของ ถ.วิภาวดีรังสิต ตรงโค้งวัดเสมียนนารีเมื่อปี 2514

สแกนจากรายงานประจำปี 2514 กรมทางหลวง

สะพานเข้าเมืองนครปฐม เอมไม่ทราบว่าถ่ายปีไหน?

ใครที่อยู่นครปฐม พอจะทราบบ้างค่ะ ว่าภาพนี้ถ่ายเมื่อไหร่ เพราะสะพานเข้าเมืองนี้ยังสร้างไม่เสร็จเลย

silom 1986....ถนนสีลม เมื่อไม่นานมานี่เอง แค่ พ.ศ.2529 นี่เอง.... ยังดูโล่งมากๆและการจราจรยังไม่หนาแน่นมา

ประตูน้ำ ค.ศ.1980(2523) ..ในสมัยที่รถยังวิ่งสวนทางกันได้(ไม่วันเวย์) และมีแนวรั้วแบ่งการจราจร(เพื่อป้องกันคนไม่ให้ข้ามถนนตัดกระแสจราจรด้วย) แต่รถก็ยังติดมโหฬาร จนได้ชื่อว่าเป็นถนนที่รถติดอันดับต้นๆของกรุงเทพฯ

ถ.เพชรเกษม ช่วงระนอง - ตะกั่วป่า เมื่อปี 2514

สแกนจากรายงานประจำปีกรมทางหลวง พ.ศ.2514 หอสมุดแห่งชาติ เทเวศร์

บางคนอาจไม่เชื่อว่าภาพนี้คือ ถ.วิภาวดีรังสิต เมื่อครั้งยังเป็นถนนสี่เลน เอมไม่สามารถระบุได้ว่าอยู่ช่วงไหนของถนนสายนี้

สแกนจากรายงานประจำปีกรมทางหลวง ปี 2521

(Repost) แยกบรมราชชนนี หรือ แยก 35 โบล์วเมื่อปี 2525 มุมกล้องจากห้างพาต้า

ซ้ายมือไปบางขุนนนท์ สายใต้เก่า
ขวามือไปแยกบางพลัด สะพานพระราม 6
ถนนที่ตัดใหม่คือ ถ.ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี (ถ.บรมราชชนนี)

ถ.จรัญสนิทวงศ์ ในปีดังกล่าว เป็นทางหลวงหมายเลข 306
ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า เปิดใช้ปี 2516
ถ.บรมราชชนนี เปิดใช้ปี 2527
สะพานลอยข้ามแยก เปิดใช้ปี 2529
เซ็นทรัลปิ่นเกล้า เปิดปี 2538
ทางคู่ขนานลอยฟ้า เปิดใช้ปี 2541
อุโมงค์ลอดแยกบรมราชชนนี เปิดใช้ปี 2555

แล้วมาดูสมัยนี้ เมื่อ 30 ปีที่แล้วกับเดี๋ยวนี้ต่างกันมากถึงมากที่สุด

เดี๋ยวอีกไม่ถึง 4 ปีข้างหน้า ก็จะมีโครงสร้างทางวิ่งรถไฟลอยฟ้าผ่านแยกนี้อีกด้วย

สแกนจากหนังสือผังเมืองของ กทม. ฉบับปี 2525
หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

again Pattaya (Beach Road) 1968....พัทยาปี 2511..หน้าจะเป็นถนนตรงโค้งดงตาลเข้าสู่หาดจอมเทียน..

ถ.เยาวราช ยามค่ำคืน สมัยสาย 11 ยังวิ่งถึงสะพานพุทธ

ถ.สีลม แยกศาลาแดง ปี 2534

ถ.สีลม ปี 2534 ยังไม่มีทางวิ่งรถไฟฟ้าบีทีเอส

ต่างระดับฉิมพลีกำลังก่อสร้าง ก่อสร้างระหว่างปี 2531-2534 ค่าก่อสร้างประมาณ 300 ล้านบาท

สแกนจากหนังสือ 84 ปีกรมทางหลวง

แยกราชเทวี ก่อนเปิดสะพานข้ามแยกเมื่อปี 2522 มีการเอารถบรรทุกขึ้นไปบนสะพานเพื่อทดสอบความแข็งแรง

สแกนจากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ

แยกราชเทวีกำลังสร้างสะพานข้ามแยก เมื่อปี 2518

สแกนจากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ

ถ.พระราม 4 ใต้ทางด่วน ตอนที่มีรถเมล์ครีมน้้ำเงินวิ่งอยู่ สมัยนั้นกับสมัยนี้ รถติดไม่ต่างกันเลย

ภาพสแกนจากปกนิตยสารสารคดี

แยกบรมราชชนนีประมาณปี 2536-2538 ก่อนที่จะมีโครงการก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี

สะพานลอยข้ามแยกนี้ เปิดใช้เมื่อปี 2529 กรมทางหลวงเป็นผู้สร้าง ต่อมา กทม. เป็นผู้ดูแลสะพานลอยข้ามแยกนี้แทนกรมทางหลวง

ถ.เพชรเกษม แยกเข้าเมืองเพชรบุรีด้านใต้ เลยเขาวังมาแล้ว มุ่งหน้าไปท่ายาง ชะอำ หัวหิน ปี 2514

สแกนจากหนังสือรายงานประจำปีกรมทางหลวง พ.ศ.2514

ถ.พหลโยธิน ก่อนขึ้นสะพานเดชาติวงศ์ เข้าเมืองนครสวรรค์ เลยแยกจิระประวัติ เมื่อปี 2514

สแกนจากหนังสือรายงานประจำปีกรมทางหลวงปี 2514

ทางหลวงสายเอเชีย แยกที่จะไปสิงห์บุรีกับลพบุรี เมื่อปี 2514 (ตอนนี้คงไม่เหลือเค้าเดิมแล้ว)

สแกนจากหนังสือรายงานประจำปีกรมทางหลวง พ.ศ.2514

สะพานสารสิน ปี 2521

สแกนจากหนังสือทางหลวงในประเทศไทย ปี 2521

การก่อสร้างทางหลวง ในพื้นที่สีแดง มีกองกำลังทหารให้ความคุ้มครองในขณะก่อสร้างถนนด้วย

สแกนจากหนังสือ ทางหลวงประเทศไทย พ.ศ.2514

canal next to north highway1957 ....ถนนพหลโยธิน แถวๆย่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วงปี พ.ศ.2500

ทางหลวงหมายเลข 323 ตอนกาญจนบุรี-ไทรโยค เมื่อปี 2521

สแกนจากหนังสือทางหลวงในประเทศไทย 2521

ห้าแยกลาดพร้าว ราวๆ พ.ศ 2522-2523 ในสมัยที่ห้างเซ็นทรัลสาขาลาดพร้าวยังไม่ได้สร้างขึ้นมา

ถ.บุณยาหาร (อุดรธานี-หนองบัวลำภู)

สแกนจากหนังสือรายงานประจำปี 2514 กรมทางหลวง

สะพานพ่อขุนผาเมืองเมื่อ 35 ปีก่อน ซึ่งเป็นจุดที่รถทัวร์สาย 637 ขอนแก่น-เชียงราย ของ บ.สมบัติทัวร์ จก. ประสบอุบัติเหตุ ขอแสดงความเสียใจแก่ญาติผู้เสียชีวิตด้วยค่ะ

สแกนจากหนังสือ 1 เมษายน วันสถาปนากรมทางหลวง

สามแยกบางใหญ่ หลังปี 2528 (ปีที่ ถ.รัตนาธิเบศร์เปิดใช้) ตอนนี้แทบไม่เหลือเค้าเดิมเลยค่ะ มุมขวาของภาพ มีแต่ต้นตาล ทุ่งหญ้า ตอนนี้กลายเป็นเซ็นทรัล เวสต์เกต ตรงไปข้างหน้า ก็สุดลูกหูลูกตา ตึกรามบ้านช่องไม่ค่อยเห็น พอมาเดี๋ยวนี้เป็นโครงสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง
เอมทันตอนที่ ถ.ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี(ถ.กาญจนาภิเษก ในปัจจุบัน) ยังเป็นถนนสี่เลน และสามแยกบางใหญ่ยังเป็นสามแยกไฟแดง

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
สาวลูกแม่ปิง's profile


โพสท์โดย: สาวลูกแม่ปิง
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
80 VOTES (4/5 จาก 20 คน)
VOTED: SiamSith, Ployza, หุ่นเชิดสังหาร, Lay, ตะคริวเอว, AugustVinth, จอมยุทธอินดี้, ยูรูส วิลลิส, ญโสธริยา, เสียสติ, จิ๊บๆ, นางเบิร์ด, แย้มศรี, สาวลูกแม่ปิง
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ทีมเชื่อมจิตจ่อฟ้อง! สื่อปล่อยเฟกนิวส์..ไม่เคยบอกเชื่อมจิตแล้วจะไปนิพพานชาวเน็ตฮือฮา! ขายที่ดินพร้อมบ้าน 200 ล้าน ติดวิวสภาสัปปายะสภาสถานทำไมจู่ๆ lกย์ 700 คนถึงพร้อมใจกัน "ฟ้องร้องแอป Grindr"ชายชาวยูเครนประท้วงกฎหมายเกณฑ์ทหาร ในโปแลนด์รู้หรือไม่? 3-Body-Problem เคยย้ายฉาก "การประท้วง"ไปซ่อนไว้!เผยคำพูดปารีณา พูดกับเสรีพิศุทธ์ ในงานศwพ่อหนุ่มเร่ขาย "ลาบูบู้" กลางสี่แยก..ทำเอาหลายคนแห่ถามพิกัดชาวกัมพูชาเดือด เมื่อมีบล็อคเกอร์หนุ่มคนกัมพูชา ไปถ่ายรูปล้อเลียนรูปปั้นม้าน้ำมากจนเกินงามเกินไปหนุ่มถาม? ควรคิดค่าแรงในการขับรถพาแฟนเที่ยว ดีไหม!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
บังคลาเทศ ประกาศหยุดเรียนเพราะอากาศร้อน10 สิ่งประดิษฐ์ปริศนาในยุคโบราณวาฬนับร้อยตัวเกยตื้น ที่หาดออสเตรเลียป.ป.ช. เปิดทรัพย์สิน "บิ๊กป้อม" กรณีเป็น ปธ.กกท. ทุก 3 ปี แจ้งถือครองนาฬิกา TWSTEEL 1 เรือนมูลค่า 15,000 บาท
ตั้งกระทู้ใหม่