หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ความรุนแรงของการเกิดแผลไหม้

Share แชร์โพสท์โดย ลูกสาวอบต
ความรุนแรงของการเกิดแผลไหม้

ปัจจัยที่บอกความรุนแรงของแผลไหม้  มีหลายประการ  เช่น

  1. ความลึกของแผลไหม้ (Depth of burn) แบ่งเป็น 3 ระดับ  คือ

                        1.1  First degree burn  ( 1burn)  มีการทำลายเฉพาะชั้นหนังกำพร้า  ผิวหนังบริเวณนั้นจะมีสีชมพูหรือสีแดง มีความนุ่ม ไม่มีตุ่มพอง มีอาการปวดแสบ แผลหายได้เองภายใน 3-5 วัน 

1.2  Second degree burn  ( 2burn)  แบ่งเป็น 2 ระดับ  คือ

-  Superficial partial thickness (SPT)  มีการทำลายชั้นหนังกำพร้าทั้งหมดและบางส่วนของหนังแท้ skin appendage ได้แก่ ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน รากขน ยังคงอยู่  ผิวจะมีสีแดง  มีตุ่มพอง ปวดแสบมาก เพราะมีเส้นประสาทรับความรู้สึกอยู่ในชั้นหนังแท้  ระยะเวลาในการหายของแผลประมาณ 7-14 วัน มีแผลเป็น

            -  Deep partial thickness (DPT)  มีการทำลายของชั้นหนังกำพร้าทั้งหมด  ส่วนมากของหนังแท้ skin appendage ถูกทำลาย  แต่ยังคงมีเหลืออยู่บ้างที่งอกขึ้นมาทดแทนกลับคืนเป็นผิวหนังได้  สีผิวจะเป็นสีขาว ซีด ตุ่มพองมีน้อยหรือแฟบ  ความรู้สึกปวดแสบลดลง  ระยะเวลาในการหายของแผลประมาณ 14-28 วัน  จะเป็นแผลเป็นมาก

1.3  Third degree burn  ( 3burn)  หรือ Full thickness ผิวหนังถูกทำลายทุกชั้น  ทั้งชั้นหนังกำพร้า  หนังแท้  รวมทั้ง skin appendage  ทั้งหมด  อาจกินลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือกระดูก  แผลไหม้จะมีลักษณะขาว ซีด เหลือง น้ำตาลไหม้ หรือดำ หนาแข็งเหมือนแผ่นหนัง แห้งและกร้าน อาจเห็นรอยเลือดอยู่ใต้แผ่นหนานั้น ไม่มีอาการเจ็บปวด  ยกเว้นการเจ็บปวดจากแรงกด (pressure)  การหายของแผลต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ และต้องทำ skin graft ร่วมด้วย  จะมีการดึงรั้งของแผลทำให้ข้อยึดติด เมื่อหายแล้วจะเป็นแผลเป็น บางรายจะพบแผลเป็นที่มีลักษณะนูนมาก (hypertrophic scar or keloid)

  1. ความกว้างหรือขนาดของแผลไหม้ (Extent of burn)  คำนวณเป็นเปอร์เซนต์ของพื้นที่ผิวกาย (% TBSA : percent of total body surface area)  วิธีคำนวณที่นิยมใช้คือ

                                2.1  Rule of nine  คำนวณโดยแบ่งส่วนของร่างกายออกเป็นส่วนๆ ส่วนละ 9%  วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและช่วยให้สามารถประเมินขนาดแผลไหม้ได้อย่างรวดเร็ว  นิยมใช้กับแผลไหม้ในผู้ใหญ่  ควรระมัดระวังในการคำนวณในเด็ก  เนื่องจากขนาดของศีรษะต่อสัดส่วนของร่างกายจะเปลี่ยนแปลงตามอายุ

                               

ส่วนของร่างกาย

% TBSA

รวม (%)

ศีรษะ  (หน้า, หลัง)

แขน    (หน้า, หลัง)

ขา       (หน้า, หลัง)

ลำตัวด้านหน้า

ลำตัวด้านหลัง

อวัยวะสืบพันธุ์

4.5 x 2

4.5 x 2 x 2

9 x 2 x 2

18

18

1

9

18

36

18

18

1

รวม

100

 

                                2.2  Lund and Browder  วิธีนี้จะช่วยให้สามารถคำนวณได้ละเอียดยิ่งขึ้น  โดยมีตารางแบ่งชัดเจนในแต่ละส่วนของร่างกาย  และในแต่ละช่วงอายุ  แต่ไม่สะดวกในการนำไปใช้

                                2.3  Hand breath  เป็นการประมาณขนาดแผลไหม้  โดยคำนวณจากขนาดฝ่ามือผู้ป่วยโดยนิ้วเรียงชิดกัน เท่ากับ 1% TBSA

                                การคำนวณขนาดของแผลไหม้  จะคิดเฉพาะแผลไหม้ระดับ2  และระดับ3  เท่านั้น

  1. อายุ (Age)  พบว่าแผลไหม้ที่เกิดในผู้สูงอายุหรือเด็กเล็กมาก  อัตราการตายจะสูงขึ้น  โดยเฉพาะในช่วงอายุ < 2 ปี  และ  > 60 ปี  ในภาวะตรงข้ามช่วงอายุที่ได้ผลดีจากการรักษาและมีอัตราการตายน้อย  จะอยู่ระหว่าง 5-35 ปี
  2. ส่วนของร่างกายที่ถูกไหม้ (Part of body burn)  ความรุนแรงจะแตกต่างกันตามส่วนที่ถูกไหม้เช่น  บริเวณใบหน้า  คอ  นอกจากจะเสี่ยงต่อ smoke inhalation injury แล้ว  การป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่อส่วนต่างๆก็ยากขึ้น  บริเวณ perineum เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่าส่วนอื่นๆ  บริเวณมือ  และเท้ามีโอกาสสูญเสียนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือหายแล้วมีความพิการสูง
  3. บาดเจ็บร่วม (Concurrent injury)  ในกรณีที่มีการบาดเจ็บจากการหัก  ข้อเคลื่อน  เนื่องจากตกจากที่สูง  หรือมีการสูดควันเข้าไปจำนวนมาก  ทำให้ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
  4. ความเจ็บป่วยเดิม (Past medical history)  เช่น เบาหวาน โรคไต  โรคปอด  โรคตับ  เป็นต้น  ทำให้อาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้น  ย่อมทำให้ผลการรักษาแตกต่างกันออกไป
  5. ประเภทของแผลไหม้ (Type of burn)  เช่น  แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก  แผลส่วนใหญ่จะไม่ลึก  ต่างกับไฟฟ้าแรงสูงบาดแผลมักจะลึกและมีการทำลายของเนื้อเยื่อมาก


การแบ่งกลุ่มความรุนแรงของแผลไหม้

  1. Minor burn ได้แก่

                 -  Superficial Partial Thickness Skin Burn

                 -  Deep Partial Thickness Skin Burn  < 15% TBSA ในผู้ใหญ่
                    < 10% TBSA ในเด็ก

                 -  Full Partial Thickness Skin Burn  < 3% TBSA ในผู้ใหญ่และเด็ก 

  1. Moderate burn  ได้แก่

                 -  Deep Partial Thickness Skin Burn  15% - 25% TBSA ในผู้ใหญ่
                    10%  - 20%TBSA ในเด็ก

  1. Critical burn or Severe burn or Major burn ได้แก

     -  Deep Partial Thickness Skin Burn  >25% TBSA ในผู้ใหญ่ 

         >20% TBSA ในเด็ก

                 -   Full Partial Thickness Skin Burn  >10% TBSA ในผู้ใหญ่และเด็ก

                 -  มีแผลไหม้บริเวณหน้า  มือ  เท้า  และอวัยวะสืบพันธุ์

                 -  inhalation injury

                 -  electrical injury

                 -  มีประวัติการเจ็บป่วยเดิม
                 -  มีการบาดเจ็บร่วม

 

ปัญหาและการพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้

                การให้การพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้  แบ่งเป็น 3 ระยะคือ

  1. ระยะฉุกเฉิน(Resuscitative phase or Emergent phase)
  2. ระยะวิกฤต  (Acute phase)
  3. ระยะฟื้นฟู  (Rehabilitative phase)

               

  1. ระยะฉุกเฉิน  (Resuscitative phase)

                                ปัญหาที่พบในระยะ 24-72 ชั่วโมงแรก  โดยเฉพาะใน 48ชั่วโมงแรก  ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อชีวิต  มีดังนี้

  1. มีการสูญเสียสารน้ำจำนวนมากจนอาจเกิดภาวะhypovolemic shock ได้
  2. การหายใจบกพร่อง
  3. ความเจ็บปวดทั้งจากร่างกายและจิตใจ
  4.               ระยะวิกฤต  (Acute phase)

                เริ่มจากผู้ป่วยผ่านพ้นระยะ resuscitative phase จนกระทั่งแผลหายพร้อมที่จะทำ skin graft ปัญหาที่พบได้ในระยะนี้เป็นผลต่อเนื่องมาจากระยะแรก  ได้แก่  การติดเชื้อของแผล  ภาวะทุโภชนาการ  ความเจ็บปวด  ปัญหาทางด้านจิตใจ  รวมไปจนถึงภาวะแทรกซ้อนต่างๆ  ที่อาจเกิดขึ้น  เช่น  ความไม่สมดุลของสารน้ำและเกลือแร่  การติดเชื้อในระบบต่างๆของร่างกาย  ในระยะนี้ผู้ป่วยต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่อง  และมีการประเมินเป็นระยะๆ

 

  1. ระยะฟื้นฟู  (Rehabilitative phase)

                                เป็นระยะที่แผลหาย  ผู้ป่วยพร้อมที่จะกลับบ้าน  เริ่มทำงานหรือเข้าสังคมเดิม  ปัญหาที่พบในช่วงนี้  ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ของส่วนต่างๆของร่างกายที่ไม่เหมือนเดิม  อาจเกิดจากการหดรั้งของแผล  เช่น  บริเวณข้อต่างๆจากแผลเป็น (keloid  หรือ  hypertrophic scare)  หรือจากความพิการ  การสูญเสียอวัยวะจากการบาดเจ็บ  และก่อให้เกิดปัญหาทางด้านจิตใจเกี่ยวกับภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างมาก  จนบางครั้งอาจต้องปรึกษาจิตแพทย์  ระยะนี้ผู้ป่วยต้องใช้เวลาในการรักษานาน  เพื่อฟื้นฟูสภาพและอาจจะต้องทำศัลยกรรมตกแต่งเพื่อแก้ไขความพิการ  การพยาบาลเพื่อป้องกันปัญหาในระยะนี้จึงควรเริ่มต้นวางแผนตั้งแต่ระยะ 27 – 48 ชั่วโมง  และให้การดูแลร่วมไปในระยะ acute phaseเพื่อให้ได้ผลดี  ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปสู่ภาวะปกติ  หรือใกล้เคียงปกติได้มากที่สุด

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ลูกสาวอบต's profile


โพสท์โดย: ลูกสาวอบต
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
20 VOTES (4/5 จาก 5 คน)
VOTED: โหดสัส ส้มจี๊ด, Tao dice
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
10 เคล็ดลับในการฮีลใจตัวเอง สามารถทำได้อย่างไรบ้าง มาดูกันจ้ารวบแล้ว 1 มือวางเพลิงป่วนใต้“กางเกงท้องถิ่นไทย” คุณประโยชน์ด้าน Sustainable Fashion
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
อ่านนิยายไร้สาระจริงหรือ"ซีอิ๊วแบบเม็ด" ฉีกทุกกฎของซอส..นวัตกรรมใหม่จาก "เด็กสมบูรณ์""บิ๊กเต่า" รับหลักฐาน "ทนายตั้ม" ลั่น ใหญ่แค่ไหนก็จับ ไม่มีใครใหญ่กว่าประตูห้องขัง9 โรงเรียนหญิงล้วนที่น่าสนใจในประเทศไทยหลวงพี่เขมรแนะชาวเขมร ว่า..“ไทยเอาคำว่า‘สงกรานต์‘ไปแล้ว งั้นเขมรเราใช้คำว่า ’มหาอังกอร์สงกรานต์‘ ดีไหม? เพราะคำนี้มันใหญ่กว่าสงกรานต์ธรรมดา”
ตั้งกระทู้ใหม่