หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ประหารคนโกงได้ไหม... แล้วจะแก้ปัญหาจริงหรือ? โดย รศ.ดร.ต่อตระกูล และต่อภัสสร์ ยมนาค

โพสท์โดย Marcus
ประหารคนโกงได้ไหม แล้วจะแก้ปัญหาจริงหรือ? โดย รศ.ดร.ต่อตระกูล และต่อภัสสร์ ยมนาค
ต่อภัสสร์: สัปดาห์นี้ผมขอแนะนำคุณมาร์ค เจริญวงศ์ อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานต่างประเทศ ในฐานะนักศึกษาปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยเคนท์
ต่อภัสสร์: สัปดาห์นี้ผมขอแนะนำคุณมาร์ค เจริญวงศ์ อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานต่างประเทศ ในฐานะนักศึกษาปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยเคนท์

ซึ่งให้ความเห็นเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชัน จากมุมมองของทั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้บังคับใช้กฎหมายครับ

มาร์ค เจริญวงศ์: สวัสดีครับอาจารย์ต่อตระกูลและต่อภัสสร์ ผมติดตามอ่านบทความชุด“ต่อต้านคอร์รัปชัน” มาเป็นระยะแล้ว วันนี้ผมจึงใคร่ขออนุญาตมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองนะครับ

เมื่อประมาณ 5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากหน้าที่ที่ผมเคยรับผิดชอบผมอยู่ ทำให้เคยมีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมกับผู้แทนของ The United Nations Convention Against Corruption (UNCAC หรืออนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการคอร์รัปชันแห่งสหประชาชาติ) ซึ่งพยายามที่จะกระตุ้นให้ประเทศไทยเร่งดำเนินการในการให้สัตยาบันกับอนุสัญญาฉบับดังกล่าว

ประเด็นหนึ่งที่มีการหยิบยกและผู้คุยกันในเวทีของการประชุมครั้งนั้นคือเรื่อง “อัตราโทษจำคุก” ที่ใช้บังคับกับผู้ที่กระทำความผิดเกี่ยวกับการคอร์รัปชันซึ่งในอนุสัญญากำหนดไว้ 10 ปี ในประเด็นนี้ ผมมีโอกาสแจ้งให้ที่ประชุมดังกล่าวทราบว่า อัตราโทษตามกฎหมายไทยที่บัญญัติไว้สำหรับผู้กระทำความผิดนี้นั้นกำหนดไว้สูงกว่าที่อนุสัญญากำหนดเป็นอย่างมาก แม้แต่นักกฎหมายไทยหลายๆ คนอาจลืมไปแล้วว่า ข้อหาเจ้าพนักงานรับสินบนนั้นมีโทษสูงสุดถึงขั้น “จำคุกตลอดชีวิต”และ “ประหารชีวิต” ซึ่งโทษในอัตราดังกล่าวนี้มีการกำหนดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2502 แล้ว แต่ไม่เคยถูกนำมาใช้ในทางปฏิบัติแต่อย่างใด ดังนั้น อัตราโทษสำหรับการกระทำผิดนี้

ผมจึงเห็นว่าประเทศของเราได้กำหนดไว้สูงกว่ามาตรฐานสากลแล้ว แต่ประเด็นที่ผมเกิดฉุกใจขึ้นหลังจากนั้นคือ แม้กฎหมายกำหนดให้อำนาจดุลยพินิจในการลงโทษจำคุกในข้อหาดังกล่าวไว้ตั้งแต่ 5 ปีไปจนถึงโทษประหารชีวิต แต่ในความเป็นจริงนั้น การใช้บังคับบทลงโทษนี้ถูกนำมาใช้จริงหรือไม่จะเห็นได้ว่าคดีใหญ่ๆ ระดับประเทศที่เกิดการทุจริตและอยู่ในความสนใจของประชาชนนั้น แม้จะมีการริบทรัพย์และการลงโทษ โดยส่วนใหญ่โทษจำคุกที่นำมาใช้ แม้เราจะกำหนดไว้สูงกว่ามาตรฐานสากลมาก แต่ในทางปฏิบัติหลายต่อหลายคดี เราจะได้ยินว่าผู้กระทำความผิดอาจถูกลงโทษจำคุกเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น ทั้งที่การกระทำผิดนั้นก่อความเสียหายให้กับประเทศอย่างใหญ่หลวง และด้วยการกำหนดโทษในลักษณะดังกล่าว จึงยังทำให้พบเห็นการคอร์รัปชันอยู่ในทุกระดับชั้นของสังคมไทย

ต่อตระกูล: ขอบคุณอัยการมาร์คมากครับ ที่เล่ามานี้อัดแน่นด้วยข้อมูลที่น่าสนใจและประเด็นที่น่าสนทนาด้วยกันหลายประเด็น ทั้งเรื่องการเข้าเป็นสมาชิก UNCAC ของประเทศไทย มาตรการทางกฎหมายเพื่อต่อต้านคอร์รัปชัน กระบวนการบังคับใช้ และบทลงโทษของกฎหมาย

เริ่มต้นจากประเด็นท้ายก่อน ไม่ใช่แค่นักกฎหมายบางคนเท่านั้นที่ลืม คนที่คลุกคดีอยู่กับการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างผมเองยังเพิ่งทราบว่าที่จริงกฎหมายคอร์รัปชันมีโทษรุนแรงถึงขั้น “ประหารชีวิต”อยู่ตั้งนานแล้ว คงเพราะบทลงโทษนี้ยังไม่เคยถูกนำมาใช้ คนจำนวนมากถึงไม่เคยรู้ อันที่จริงถ้าคุยกันบนพื้นฐานทฤษฎี “Principal-Agent”ที่ Principal ในที่นี้หมายถึงประชาชน จะต้องคอยควบคุม ข้าราชการและนักการเมือง(Agent) นั้น การมีบทลงโทษที่รุนแรง และนำมาใช้ได้จริง จะเป็นการเพิ่มต้นทุนของการทำผิด จึงควรเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการโกงได้ เชื่อว่าถ้านักโทษในคดีทุจริตใหญ่ๆที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ถูกประหารจริงสักคน คนโกงทั้งหลายคงจะกลัวกันลนลาน

ต่อภัสสร์: เห็นด้วยครับ แต่การให้ลงโทษรุนแรงได้จริง อาจจะไม่สามารถแก้ปัญหาการทุจริตในภาพกว้าง อย่างเป็นระบบและยั่งยืน เช่น สำหรับคดีทุจริตที่ไม่ใหญ่มาก และไม่ได้อยู่ในสายตาประชาชน ซึ่งมีอยู่มากนั้น ทำได้ยาก การทุจริตแบบนี้จึงอาจจะไม่ถูกยังยั้งได้

ในแง่ทฤษฎี ถ้าจะทำให้การลงโทษหนักแก้ปัญหาในภาพกว้างได้ ต้องอยู่บนสมมุติฐานว่าสังคมมีกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพโดยประชาชน ทั้งการเข้าถึงข้อมูลที่สะดวก ความเข้าใจง่ายของข้อมูลที่เปิดเผย และที่สำคัญคือความทุ่มเท

ของประชาชนผู้มีจิตสาธารณะจำนวนมาก ดังนั้น ในสภาพสังคมที่การร้องเรียนอาจนำไปสู่การกลั่นแกล้ง และการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะทั้งลำบากและเข้าใจยาก ทำให้การร้องเรียนมีน้อยเมื่อเทียบกับการทุจริตที่เกิดขึ้นจริง จึงเป็นปัญหาที่สำคัญของมาตรการบนทฤษฎีนี้

อีกประเด็นหนึ่งคือ การใช้บทลงโทษรุนแรงอาจไม่ใช่สิ่งที่ดีเสมอไป เห็นได้จากในอดีตที่ประเทศไทยเคยใช้มาตรการเหล่านี้ลงโทษคู่ต่อสู้ทางการเมือง หรือแม้กระทั่งในต่างประเทศ เช่น จีนที่ประหารนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงไปแล้วหลายคน ผมเคยฟังนักวิชาการจีนพูดถึงในงานสัมมนาว่าที่จริงเป็นการตัดตอนไม่ให้สาวมาถึงสมาชิกพรรคระดับสูงคนอื่นๆ

ต่อตระกูล: นี่จึงเป็นผลให้มาตรการทางกฎหมายในลักษณะนี้ในอดีตที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จในไทย ถ้ากระบวนการสืบสวนคดีคอร์รัปชันยังทำได้ยาก และเป็นไปอย่างล่าช้า พ่อเคยอยู่ในคณะอนุกรรมการไต่สวนของ ป.ป.ช. หลายคณะ เข้าใจดีว่าทำไมถึงทำได้ยากนัก ยิ่งเป็นคดีที่มีนักการเมืองและข้าราชการใหญ่ๆเกี่ยวข้องยิ่งล่าช้า เพราะด้วยอำนาจและอิทธิพล หลักฐานจึงมักถูกกลบเกลื่อนอย่างแนบเนียน และพยานก็มักจะไม่ยอมให้ความร่วมมือ จนคดีหมดอายุความนี่ขนาดมีโทษไม่มากนะ แค่ถูกปรับและจำคุกไม่นานเขาก็ยังกลัวมากอยู่แล้ว โดยเฉพาะนักการเมืองที่จะต้องถูกถอดถอนจากตำแหน่งและตัดสิทธิเล่นการเมือง เสียโอกาสที่จะหาเงินได้มหาศาล คนเหล่านี้ก็จะทุ่มทุน ทุ่มแรงสุดฤทธิ์เพื่อให้รอดอยู่แล้ว หากจะเน้นลงโทษสูงสุดตามกฏหมายที่มีอยู่คือประหารชีวิต จะยิ่งเอาผิดยากยิ่งขึ้นหรือเปล่า?

ต่อภัสสร์: สรุปคือการมีโทษหนักและใช้ได้จริง ก็จะนับได้ว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่จะเป็นการแก้ปัญหาคอร์รัปชันทั้งระบบอย่างยั่งยืนจริงได้ ก็ต่อเมื่อมีสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้ออำนวย

ต่อตระกูล: ถูกต้อง แต่จะไปรอให้สภาพสังคมเอื้ออำนวยก็ไม่รู้จะอีกปีกี่ชาติ ดังนั้นการที่ไทยได้รับการยอมรับให้เข้าร่วมกับยูเอนในอนุสัญญา UNCAC ในปีพ.ศ.2554 ซึ่งคุณมาร์คมีส่วนร่วมด้วยนั้นนับเป็นการสร้างประโยชน์อย่างมากเพราะมันนำไปสู่การปรับปรุง พ.ร.บ. ของ ป.ป.ช. ที่ให้เพิ่มมาตรการป้องกันการคอร์รัปชันเชิงรุกเข้ามาใช้หลายประการ เช่น การให้มีคณะติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเพื่อเก็บหลักฐานไว้พร้อมตลอดทุกขั้นตอนพร้อมที่จะฟ้องได้ทุกเมื่อ เมื่อใดที่ลงมือทุจริต ตลอดจนการเปิดเผยราคากลางและต้องเปิดเผยชื่อผู้รับผิดชอบที่ทำราคากลางและที่มาของตัวเลขราคากลางต่างๆ นั้น

ถึงแม้ว่ามาตรการเหล่านี้ยังมีปัญหาอยู่บ้าง แต่ก็เริ่มเห็นผลที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตในสัญญาก่อสร้างหลายแสนล้านได้บ้างแล้ว

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Marcus's profile


โพสท์โดย: Marcus
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
16 VOTES (4/5 จาก 4 คน)
VOTED: ซาอิ, ยูรูส วิลลิส, ดาลีย์ บรินย์
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
iPhone รุ่นประหยัดมาแล้ว!ชาวลาวไม่ทน! หลังหนุ่มจีนโพสทิ้งเงินกีบลงในถังขยะ ทำคนลาวถึงกับไม่พอใจ?ลูกค้าหนุ่มเศร้า หลังรีวิวชุดกีฬาที่ซื้อมา แต่ดันพลาดเห็นหนอนน้อยเกมพลิก!! เมื่อหนุ่ม ๆ เเอบเเม่ไปหาปลา เกือบโดนด่า เเต่พอเห็นลูกได้ปลาตัวใหญ่กลับบ้าน เสียงเปลี่ยนทันทีเลยนะเเม่พลังมหัศจรรย์ของ "เกลือ" เปลี่ยนการซักผ้าให้สะอาดง่ายหนูอายเพื่อน!! ลูกสาวถึงกับร้องไห้ หลังคุณพ่อสายแฟ (ชั่น) มารับที่โรงเรียน ถึงกับถาม “พ่อไม่มีชุดธรรมดาปกติกับเค้าบ้างเหรอ” 😆วันนี้ที่รอคอย! กอดทั้งน้ำตา..หนุ่มตามหาแม่แท้ๆ นานกว่า 29 ปีจนเจอสาว "เจี๊ยบ" ทำเนียนเดินรวมกับ นร.ญี่ปุ่น..ทำเอาหนุ่ม "บอย" ถึงกับแยกไม่ออกเรื่องมาไม่หยุด เงินหายกว่าครึ่งล้าน เลี้ยงโจรไว้ใกล้ตัว!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สาว "เจี๊ยบ" ทำเนียนเดินรวมกับ นร.ญี่ปุ่น..ทำเอาหนุ่ม "บอย" ถึงกับแยกไม่ออกชาวลาวไม่ทน! หลังหนุ่มจีนโพสทิ้งเงินกีบลงในถังขยะ ทำคนลาวถึงกับไม่พอใจ?รีวิวแกะกล่อง G.I.JOE THE RISE OF COBRA จีไอโจ สงครามพิฆาตคอร้าทมิฬ ในรูปแบบ Blu-ray discชวนมารู้จักลาบูบู้ มาการอง เดี๋ยวจะคุยกับเค้าไม่รู้เรื่อง
ตั้งกระทู้ใหม่