หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

การเลี้ยงปลาสวยงามเบื้องต้น

โพสท์โดย เอ คนเดิม

การเลี้ยงปลาสวยงามเบื้องต้น

1. ตู้ปลา



          ตู้ปลาเป็นอุปกรณ์อันดับแรกเลยที่ควรจะนึกถึงก่อน ตู้ปลาที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมี 2 ชนิด 

          1.1 ตู้กระจกเป็นตู้ที่เป็นที่นิยมสูงของผู้เลี้ยงปลาเพราะหาซื้อง่าย ราคาถูก ทนต่อรอยขูดขีด        แต่ตู้กระจกก็ยังมี
                 ข้อเสียอยู่ที่ หากแตกจะทำให้เกิดอันตรายได้        ถ้ากระจกหนาไปจะทำให้มองเห็นกระจกเป็น สีเขียวอ่อน ๆ                  ตู้กระจกมีน้ำหนักมากเมื่อขนาดใหญ่ขึ้น 
          1.2 ตู้อคริลิกเป็นตู้อีกชนิดหนึ่งที่นิยมกัน   แต่ส่วนใหญ่ที่ไม่เป็นที่นิยมกันเพราะตู้อคริลิกมีราคาแพงกว่าตู้กระจก
                 หลายเท่า ไม่ทนทานต่อการขูดขีด   หากชำรุดยากต่อการซ่อมบำรุงและดูแลรักษา   แต่ตู้อคริลิกมีความใสกว่า
                 กระจก รูปแบบมักจะสวยกว่าสามารถดัดตามรูปแบบที่ต้องการได้ น้ำหนักเบา      ตู้ปลาส่วนมากจะมีความยาว
                 มากกว่าความสูงเพราะจะมีเนื้อที่ให้ปลาว่ายหรือเพิ่มมุมมองให้กับตู้ปลา

ขนาดตู้กระจกมาตรฐานที่มีจำหน่ายทั่วไป 

กว้าง x ยาว x สูง ( นิ้ว )

ความหนาของกระจก(หุน)

กว้าง x ยาว x สูง(นิ้ว )

ความหนาของกระจก(หุน)

24 x12 x15

1.5

48 x20 x20

2

30 x16 x18

1.5

60 x18 x20

2

30 x18 x18

1.5

60 x20 x20

2

36 x16 x18

2

60 x24 x24

3

36 x18 x18

2

60 x24 x30

3

42 x16 x18

2

72 x24 x24

3

42 x18 x18

2

72 x24 x30

3

48 x16 x18

2

84 x24 x24

4

48 x18 x18

2

84 x24 x30

4


2. การจัดวางตู้ปลา


          เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องนึกถึงเพราะถ้าวางในที่ตั้งที่ไม่ดีแล้วสิ่งมีชีวิตภายในตู้ปลาของเราอาจเกิดปัญหาได้ 

          - ตั้งที่มุมสงบไม่พุกพล่าน ปลาจะเกิดอาการเครียด ตกใจง่าย ไม่กล้าออกมาว่ายน้ำ อาจเป็นสาเหตุโน้มนำให้ปลาที่
             เลี้ยงป่วยได้ 
          - ไม่เกะกะกีดขวางการทำงานอื่น ถ้าตู้ปลาได้รับการกระทบกระเทือนขณะมีน้ำอยู่อาจจะทำให้แตกและได้รับ
             อันตรายได้ เพราะกระจกตู้มีภาระที่ต้องรองรับแรงดันของน้ำอยู่แล้ว
          - แสงอาทิตย์ จะทำให้มีผลต่อการเกิดตะไคร่ จะทำให้ตู้ปลาที่เราเลี้ยงดูสกปรกแต่ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมากใน
             รอบวันก็จะทำให้ปลาที่เราเลี้ยงไม่แข็งแรง อ่อนแอติดเชื้อโรคได้ง่าย

3. ความสะดวกในการดูแลรักษา


          ความสะดวกในการดูแลรักษาเป็นผลมาจากการเลือกวางตู้ปลา หากวางตู้ปลาในที่เหมาะสมแล้การดปลี่ยนถ่ายน้ำควรใกล้แหล่งทิ้งน้ำเข้า หากเป็นไปไม่ได้ควรใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ มาช่วย เช่น สายยาง กระป๋องตักน้ำ ควรให้แหล่งทิ้งน้ำอยู่ต่ำกว่าตู้ปลาจะได้ง่ายต่อการถ่ายน้ำ

4.น้ำ

          ส่วนมากการเลี้ยงปลามักจะใช้น้ำประปามาใส่ตู้ เพราะความสะดวกสบายของผู้เลี้ยงและไม่สามารถหาน้ำจากแหล่งอื่นได้ การจะนำน้ำประปาควรนำน้ำประปาที่รองทิ้งไว้ 1-2 วัน แล้วจึงนำมาใช้เพราะน้ำประปามีน้ำคลอรีนละลายอยู่แต่ความเป็นจริงแล้วน้อยคนที่จะทำเช่นนั้น ส่วนใหญ่ใช้น้ำประปาโดยตรงเลย ควรที่จะทิ้งไว้เสียก่อน และใช้สารเคมีกำจัดคลอรีน เช่น โซเดียมไทโอซัลเฟต ก่อนนำมาใช้

5. การให้อากาศและการหมุนเวียนน้ำ             


          ในตู้ปลาที่มีสิ่งมีชีวิตอย่างหนาแน่นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้อากาศลงไปในตุ้ปลา เพื่อปลาและสิ่งมีชีวิตอื่นได้หายใจด้วยการให้อากาศมี 2 วิธีด้วยกัน

          - ใช้เครื่องให้อากาศใต้น้ำ (Air Pump) โดยผ่านท่อลมและมีตัวปล่อยอากาศใต้น้ำ เช่น หัวทราย
          - ใช้เครื่องพ่นน้ำขนาดเล็ก โดยให้หลักการให้น้ำหมุนเวียนขึ้นมาสัมผัสอากาศ หรือในเครื่องพ่นน้ำบางรุ่นจะมีท่อ
             สำหรับใส่สายลมเพื่อดูดอากาศเข้าไปผสมกับน้ำ แล้วพ่นออกมาเป็นการให้อากาศในตู้ปลาอีกวิธีหนึ่ง

6.แสงสว่าง


          โดยทั่วไปการให้แสงสว่างกับตู้ปลามักจะใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นส่วนใหญ่ เพราะหาซื้อง่ายราคาถูก โดยที่จริงแล้วแสงจากหลอดไฟไม่มีผลโดยตรงต่อการอยู่รอดของปลา แต่เป็นเพียงเพิ่มความสว่างให้ตู้ปลา หลอดบางชนิดทำให้เห็นสีของปลาสวยกว่าสีจริงด้วย และยังทำให้ปลาไม่ตื่นตกใจง่ายถ้าเราให้แสงสว่างเป็นประจำ

7. อุปกรณ์กำจัดของเสีย


          การกำจัดของเสียในตู้ปลาเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการเลี้ยงปลา เพราะเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเปลี่ยนน้ำให้ปลาทุกวัน แต่ปลาต้องกินต้องถ่ายทุกวันทำให้ของเสียมีปริมาณมากขึ้น ถ้าเราไม่กำจัดมันออก การกำจัดของเสียส่วนมากเราจะใช้ระบบกรองน้ำโดยทั่วไปมักจะเห็นกันอยู่มี 2 แบบ 

          - กรองใต้ทราย (Sub sand filter) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการให้น้ำผ่านใต้ทรายแล้ว น้ำจะพ่นออกทางท่อเหนือพื้น
             ทรายสิ่งสกปรกก็จะติดอยู่ที่พื้นทราย จุลินทรีย์ในทรายก็จะย่อยสลายของเสีย
          - การกรองแบบเปียก – แห้ง (Wet & dry filter) เป็นการกรองโดยใช้หลักการโปรยน้ำลงมาโดยมีวัสดุพื้นที่ผิวมาก
             เป็นตัวรองรับ โดยผ่านตัวกรองหลาย ๆ ชนิด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การโปรยน้ำก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ ทำให้
             เพิ่มอ๊อกซิเจนให้กับตู้ปลาของเรา         และการที่น้ำผ่านวัสดุพ้นที่ผิวมากก็จะทำให้น้ำสัมผัสกับพื้นที่ยึดเกาะของ
             จุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่บำบัดคุณภาพน้ำ    ทั้งจุลลินทรีย์ที่ใช้อ๊อกซิเจนและจุลินทรีย์ไม่ใช้อ๊อกซิเจนในการย่อยสลาย
             ของเสีย  วัสดุเหล่านี้มักพบเห็นทั่วไปเช่น ไบโอบอล ( Bioball ) กรวดปะการัง ฯลฯ

8. อุปกรณ์ตกแต่ง ประดับ


          อุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นตัวเพิ่มสีสันให้กับตู้ปลาไม่ว่าจะเป็นการเลียนแบบธรรมชาติ         หรือที่เป็นจินตนาการของ
ผู้ประดิษฐ์เอง เช่น ก้อนหิน ขอนไม้ ปะการังเทียม ต้นไม้พลาสติก การตกแต่งตู้ปลาด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ  นั้นไม่ใช่ว่าเพียง
แค่ความสวยงาม          แต่ยังมีประโยชน์ในแง่เป็นที่หลบของปลาอาณาเขตอีกด้วยไม่ควรนำอุปกรณ์ตกแต่งที่อาจจะเป็น
อันตรายต่อปลา เช่นวัสดุที่มีสีละลายน้ำ วัสดุที่เป็นสนิม

9. การจัดวางและการจัดตู้ปลา


          เมื่อเราเลือกอุปกรณ์จัดตู้ปลาแล้วควรที่จะเลือกที่วางให้เหมาะสม คือ  ของชิ้นเล็กควรไว้ข้างหน้าควรมีจุดเด่นในตู้ปลา ในตู้ปลาไม่ควรที่จะรกเกินไปจนปลามีที่ว่ายน้อยลง   สะดวกต่อการนำสวิงลงไปตักปลา เมื่อต้องการนำปลาออกจากตู้

10. การเลือกชนิดของปลา


          ควรศึกษาก่อนที่จะเลือกซื้อปลาว่าปลาแต่ละชนิดสามารถที่จะเลี้ยงรวมกันได้หรือไม่    กัดกันหรือเปล่าหรือปลาบางชนิดอาจกินปลาเล็กเป็นอาหาร ปลาแต่ละชนิดกินอะไรเป็นอาหาร เช่น

          - ปลาที่สามารถอยู่รวมกันไม่กัดกัน เช่น ปลาทอง ปลาเทวดา ปลาหางไหม้ ปลากระดีมุก ฯลฯ
          - ปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร เช่น ปลามังกร ปลาออสการ์ ปลาตองลาย ปลาเสือตอ ปลากระทิง ปลาชะโด ฯลฯ

11. อาหารปลาและการให้  
                  


          อาหารที่สามารถนำมาให้ปลามีหลายชนิดขึ้นอยู่กับชนิดของปลาที่เราจะได้ 

          - ถ้าเป็นอาหารสำเร็จรูปไม่ว่าจะอยู่ในรูปลอยน้ำ จมน้ำ เป็นแผ่น จะสะดวกในการเตรียมและให้แต่ควรระวังเรื่อง
             คุณภาพน้ำ ถ้าอาหารเหลือจะทำให้เน่าได้ง่ายจึงควรให้แต่น้อยพอปลากินหมดไม่ควรให้เหลือ ถ้าเหลือควรตักเศษ
             อาหารออกก่อนที่จะเน่า
          - อาหารมีชีวิต เช่น ลูกน้ำ ไรทะเล ไรน้ำจืด ไส้เดือนน้ำ หนอนนก ลูกกบ ลูกปลา ฯลฯ  อาหารเหล่านี้ปลาหลายชนิด
             จะชอบกินมากกว่าอาหารสำเร็จรูปเพราะมีความสด คุณค่าทางอาหารสูงกว่าแต่อาหารมีชีวิตมักจะเป็นพาหะและมี
             เชื้อโรคมาสู่ปลาที่เราเลี้ยง
          - ก่อนที่เราจะให้อาหารมีชีวิตเหล่านี้  ควรทำความสะอาดก่อน เช่น ทำความสะอาด หนอนแดง ไรทะเล ไส้เดือนน้ำ
             ด้วยฟอร์มาลีนเจือจาง ประมาณ 300 ppm.      แล้วล้างน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้งจนมั่นว่าสะอาดก่อนนำมาให้ปลาที่
             เลี้ยงกิน

12. โรคและการรักษา


          การเลี้ยงปลาสวยงาม ผู้เลี้ยงควรเอาใจใส่เรื่องสุขภาพของปลาด้วย   เมื่อเราเลี้ยงปลาไปนาน ๆ หรือได้ปลามาใหม่ ดูแลรักษาให้ปราศ พยาธิ และโรคติดต่อ       โรคที่มักพบทั่วไปของปลาสวยงามเป็นประจำ เช่นโรคจุดขาว โรคเห็บระฆัง โรคเห็บปลา โรคหนอนสมอ โรคหมัดปลา เชื้อรา เมือกขุน โรคตัวด่าง โรคท้องบวม       การป้องกันและรักษาโรคหลาย ๆ ชนิด ส่วนใหญ่มักจะรักษาคล้าย ๆ กันเช่น โรคจุดขาว โรคตกเลือด โรคหมัดปลา โรคเห็บระฆัง จะใช้ฟอร์มาลีน 20 – 25
ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร โรคเห็บปลา หนอนสมอ มักจะใช้ดิฟเทอแร็ก 0.5 – 0.75 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร  ควรเปลี่ยนถ่าย
น้ำและใส่ยาใหม่ เพื่อให้เชื้อโรคหลุดและกำจัดออกจากตัวปลาเร็วยิ่งขึ้น

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เอ คนเดิม's profile


โพสท์โดย: เอ คนเดิม
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
16 VOTES (4/5 จาก 4 คน)
VOTED: lingju, เผลอหัวใจ, กระดิ่งแมว, Flameburn
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
10 อันดับเลข ยอดฮิต หวยแม่จำเนียร 16/11/67"รวมเลขเด็ดโค้งสุดท้าย! เลขดังจากโซเชียล ลุ้นรวยหวย 16/11/67"ราคาทองร่วงหนักเลขเด็ด ยอดกฐิน อ.เบียร์ คนตื่นธรรม วัดพูนขมิ้น จ.นครสวรรค์
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
confirm: ยืนยัน
ตั้งกระทู้ใหม่