หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

พระบรมอัฐิและพระอัฐิในพระราชวงศ์จักรี

โพสท์โดย แพงพวย

 

 

พระบรมอัฐิและพระอัฐิในพระราชวงศ์จักรี

 

            นี่ก็ใกล้วันสงกรานต์แล้วนะครับ พระราชกรณียกิจหนึ่งในพระราชพิธีสงกรานต์ ก็คือ การบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ซึ่งจะมีการอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิพระอัฐิสมเด็จบูรพกษัตริยาธิราชเจ้า สมเด็จพระบรมราชบุพพการีมาสรงน้ำและสดัปกรณ์ เราจะเห็นจากภาพข่าวในโทรทัศน์อยู่ทุกปี วันนี้จึงขอนำเสนอเกี่ยวกับการเก็บรักษาพระบรมอัฐิและพระอัฐิในพระราชวงศ์จักรี

           สมัยกรุงศรีอยุธยา ยังเป็นราชธานีอยู่นั้น เมื่อได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพ หรือพระราชทานเพลิงพระศพพระราชวงศ์ชั้นสูงแล้ว จะเชิญพระบรมอัฐิไปบรรจุไว้ ณ ท้ายจรนำพระอุโบสถวัดพระศรีสรรเพชญ (ในพระราชวัง) ส่วนพระอัฐิเจ้านายก็เชิญบรรจุไว้ในพระเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญดุจกัน

 

              สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประเพณีดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นผ่านพิภพ ณ กรุงรัตนโกสินทร์แล้ว สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎาได้อัญเชิญพระบรมอัฐสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกเข้ามาถวาย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระราชดำริว่า พระองค์เองก็ดี สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราวังบรมสถานมงคลก็ดี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอทั้งสองพระองค์ ยังไม่ทรงกระทำการถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระชนกาธิบดี เพราะบ้านเมืองยังไม่สงบเรียบร้อย หรือถึงแม้ว่าบ้านเมืองสงบเรียบร้อยดีแล้วก็ยังทรงติดราชการสงครามในการกอบกู้เอกราช สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ประเทศชาติตลอดมา เมื่อได้ทรงสร้างราชธานีขึ้นใหม่ บ้านเมืองก็มีความสงบพอสมควรแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวงถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมชนกาธิบดี ตามแบบอย่างของการถวายพระเพลิงสมเด็จพระมหา กษัตริยาธิราชเจ้า แห่งกรุงศรีอยุธยา (เป็นการถวายพระเพลิง ณ ท้องสนามหลวง ครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์)

             หลังจากทรงถวายพระเพลิงแล้ว ทรงพระราชปรารภว่า พระบรมอัฐินั้นถ้าอัญเชิญไปบรรจุท้ายจรนำในพระอุโบสถหรือที่พระเจดีย์ในพระอารามหลวงในพระราชวังเหมือนธรรมเนียมอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา แม้จะเป็นพระเกียรติยศและเปิดโอกาสให้ปวงชนได้สักการบูชาก็จริงอยู่ แต่กรุงรัตนโกสินทร์ในครั้งนั้นเพิ่งจะสถาปนาใหม่ ยังไม่มั่นคงแข็งแรงนัก หากมีข้าศึกศัตรูรุกรานจนไม่สามารถรักษาพระนครไว้ได้ การอพยพหลบหนีไปไม่ว่าจะเป็นเวลานานหรือชั่วคราว ก็จะต้องทิ้งกระดูพระบรมราชบุพการีไว้ให้ถูกเหยียบย่ำทำลาย     

 

                  ฉะนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมอัฐิไว้พระราชมณเฑียรที่ประดับเพื่อที่จะได้หยิบฉวยติดพระองค์ได้ง่าย  และโปรดให้สร้างหอสำหรับพระดิษฐานพระบรมอัฐิในคราวนั้น ชื่อ หอพระธาตุมณเฑียร จากการที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างหอพระธาตุมณเฑียรไว้เป็นปฐมนั้น พระมหากษัตริย์  ในรัชกาลต่อ ๆ มาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระบรมอัฐิสมเด็จพระราชบุรพการีประดิษฐานไว้ ณ หอพระบรมอัฐิ บนพระราชมณเฑียรสืบต่อกันมาเป็นราชประเพณี       

 

 

พระวิมานพระบรมอัฐิ ในหอพระธาตุมณเฑียร

 

            สำหรับพระอัฐิสมเด็จพระบรมราชวงศ์ชั้นสูงนั้นบางพระองค์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเคารพนับถือ เช่น พระอัฐิ ของสมเด็จพระพี่นางเธอทั้งสองพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อถวายพระเพลิงแล้วโปรดให้อัญเชิญพระอัฐิประดิษฐาน ณ หอพระธาตุมณเฑียรด้วย

พระราชวังบวรสถานมงคล

             สำหรับพระอัฐิสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข และพระบรมวงศ์ที่ออกจากวังไปประทับเป็นการส่วนพระองค์ มิได้ประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วพระราชทานเพลิงแล้ว ก็โปรดให้เชิญพระอัฐิไปประดิษฐานในแต่ละวัง เพื่อที่ทายาทและพระประยูรญาติจะได้สักการบูชา

 

หอพระนาค

            สำหรับเจ้านายฝ่ายหน้าที่มีวังเป็นที่หลวง ทายาทที่ยังมีอยู่หากพระมหากษัตริย์ทรงเห็นว่ายังไม่สมควรที่จะได้ครอบครองวังนั้น อาจจะพระราชทานวังนั้นให้กับเจ้านายพระองค์อื่น หรือราชสกุลอื่น ในกรณีนี้ ถ้าพระทายาทไม่สามารถจะเชิญพระอัฐิไปไว้ในที่อันควรแก่พระเกียรติได้ จะขอถวายพระอัฐิไว้ภายใต้พระบารมีพระมหากษัตริย์ ก็จะทรงรับไว้และโปรดให้เก็บรักษาไว้ในหอพระนากถึงคราวเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นพระราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศพระราชทานก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานไปเชิญพระโกศทรงพระอัฐิตามวังเจ้านายต่าง ๆ เข้ามาบำเพ็ญพระราชกุศลที่หอพระนาก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระสงฆ์สดัปกรณ์ผ้าคู่อุทิศส่วนกุศลพระราชทานทำนองเดียวกับที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระบรมราชบุพการีและเจ้านายชั้นสูงในพระราชมณเฑียร บางครั้งเมื่ออัญเชิญพระอัฐิของเจ้านายจากวังต่าง ๆ มาเพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลแล้ว ทายาทหรือพระประยูรญาติก็ไม่ขอรับกลับ โดยขอถวายไว้ภายในพระบารมีพระมหกษัตริย์ก็มี พระอัฐิในหอพระนากจึงมากขึ้นมากขึ้น พระทายาทบางพระองค์น้อมถวายแต่พระอัฐิไว้ภายใต้พระบารมี แต่ขอรับพระราชทานโกศไว้ไม่ถวายพร้อมพระอัฐิก็มี

            ส่วนพระบรมราชวงศ์ฝ่ายใน ที่ประทับในพระบรมมหาราชวังที่ทรงศักดิ์เสมอด้วยพระองค์เจ้าลูกหลวง (หมายถึงพระพี่นาง พระน้องนาง และพระราชธิดาของพระเจ้าอยู่หัว ที่ดำรงพระยศ พระองค์เจ้า) ไม่มีเจ้าพี่น้องที่เสด็จออกไปประทับวังส่วนพระองค์ การพระศพก็จะอยู่ภายใต้พระบารมีของพระเจ้าอยู่หัวทุกประการ หลังจากการถวายพระเพลิงพระศพแล้ว ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระอัฐิประดิษฐานไว้ ณ หอพระนาก  

            ส่วนเจ้านายฝ่ายพระราชวังบวรนั้นพระอัฐิถูกเก็บรักษาไว้ ณ ท้ายจรนำในพระอุโบสถวัดชนะสงคราม

             มาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาเมื่อพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทแล้ว ทรงรำลึกถึงสมเด็จพระบรมชนกนาถ และสมเด็จพระบรมราชชนนี จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ จากหอพระธาตุมนเฑียรขึ้นประดิษฐานในพระวิมาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท จึงเป็นธรรมเนียมที่โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมอัฐิมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท สืบต่อกันมาทุกรัชกาล

            สรุปแล้วในกรุงรัตนโกสินทร์จะมีที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิ และหอพระอัฐิ อยู่สี่แห่ง คือ หอพระธาตุมณเฑียร  พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หอพระนาก  และท้ายจรนำวัดชนะสงครามครับ

           ไม่นับพระบรมอัฐิและพระอัฐิส่วนพระองค์ของเจ้านายต่างๆ ทายาทยังเก็บรักษาไว้ อาทิ เช่นที่วังวรดิศ เป็นต้น และที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุไว้ที่พระอารามหลวงอีก

 

 

หอพระธาตุมณเฑียร

  เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิพระมหากษัติยาธิราชเจ้า สมเด็จพระอัครมเหสี และพระอัฐิพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงบางพระองค์ มาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมอัฐิและพระอัฐิในหอพระธาตุมณเทียร มีดังนี้


- สมเด็จพระปฐมบรมราชชนก
- รัชกาลที่ ๑
- รัชกาลที่ ๒
- รัชกาลที่ ๓
- สมเด็จพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ ๑(พระอมรินทรา)
- สมเด็จพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ ๒(พระศรีสุริเยนทรา) 
- สมเด็จพระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ ๓(พระศรีสุราลัย)
- สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี
- สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์

 

 

 

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

          รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาเมื่อพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทแล้ว ทรงสร้างหอพระอัฐิขึ้น ณ ชั้นบนปราสาทองค์กลาง(เรียกว่าพระวิมาน) เเละองค์ตะวันตก พระบรมอัฐิและพระอัฐิในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทมีดังนี้                              ในพระวิมาน
- รัชกาลที่ ๔ 
- รัชกาลที่ ๕ 
- รัชกาลที่ ๖ 
- รัชกาลที่ ๗
- รัชกาลที่ ๘
- สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
- สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ ๖ ๗
- สมเด็จพระศรีสวรินทรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า 
- สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗                                                 - สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
- สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี                                                                               - สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

 

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทองค์ตะวันตก อาทิเช่น 


- สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ 
- สมเด็จพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตนฯ
- สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลย์มารศรีฯ
- สมเด็จพระเจ้าบรมเธอ เจ้าฟ้าฯกรมพระจักรพรรดิพงษ์
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯกรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช                                          - สมเด็จสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์                                       เเละสมเด็จพระบรมวงศ์อันเกี่ยวเนื่องในรัชกาลที่ ๕ พระมเหสี พระมเหสี พระราชโอรสธิดาชั้นเจ้าฟ้า

 

 

 

พระวิมานพระบรมอัฐิพรออัฐิในหอพระนาค

 

           ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดารามทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระอุโบสถตรงมุมระเบียบ วัดด้านตะวันตก และด้านเหนือบรรจบกันชื่อหอพระนาก มาจากแต่เดิมสถานที่แห่งนี้ก่อนที่จะใช้เป็นสถานที่เก็บพระอัฐิของเจ้านายในราชวงศ์ นั้น แต่เดิมเคยเป็นที่ประดิษฐานพระนาก ซึ่งอัญเชิญมาจากกรุงศรีอยุธยาเลยเรียกกันว่า "หอพระนาก"  มาจนถึงปัจจุบัน

พระบรมอัฐิพระบวรราชเจ้า และพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

          ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิสมเด็จพระบวรราชเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระอัฐิกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข เจ้าฟ้าชั้นปฐมวงศ์ เจ้านายพระราชโอรสพระราชธิดาในรัชกาลต่างๆ รวมพระบรมอัฐิ พระอัฐิ ที่ประดิษฐานอยู่ ณ หอพระนากในปัจจุบัน มี 261 พระโกศ ดังนี้                                                                                 - บนพระวิมาน จำนวน 4 พระโกศ                                                                                    1. สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
2. สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
3. สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
4. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

พระบรมอัฐิพรออัฐิในหอพระนาค

- พระเบญจาชั้นที่ 1 จำนวน 15 พระโกศกรมพระราชวังบวรประดิษฐานบนกี๋ 
1. กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (เจ้าฟ้าทองอิน)
2. กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ (พระองค์เจ้าชายยอดยิ่งยศ)                                                พระราชวงศ์ชั้นปฐมวงศ์                                                                                                 3. เจ้าขรัวเงิน พระชนก ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
4. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์  พระชนนี ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี  (อาจแบ่งจากพระอัฐิที่ประดิษฐานในหอพระธาตุมณเฑียร มาไว้คู่กับพระสวามีในหอพระนากนี้)
5. เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทรเทวี (พระองค์เจ้าหญิงกุ ต้นราชสกุล นรินทรกุล)
6. เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฏา (ต้นราชสกุลเจษฏางกูร)
7. เจ้าฟ้ากรมขุนอนัคฆนารี  (พระราชธิดาสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์) 
8. เจ้ากรมขุนรามินทรสุดา (พระธิดาในพระเจ้ารามณรงค์)
9. เจ้าฟ้ากรมกรมหลวงเทพหริรักษ์ (เจ้าฟ้าต้น ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ต้นราชสกุลเทพหัสดิน)
10. เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี (เจ้าฟ้าชายจุ้ย ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ต้นราชสกุล มนตรีกุล) 
11. เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ (เจ้าฟ้าชายเกศ ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ต้นราชสกุล อิศรางกูร)
12. เจ้าฟ้ากุลฑลทิพยวดี (พระราชธิดาในรัชกาลที่ 1 พระมารดาเป็นนัดดาเจ้านครเวียงจันทร์)
13. เจ้าฟ้าอาภรณ์ (พระราชโอรสรัชกาลที่ 2 และเจ้าฟ้ากุลฑล ต้นราชสกุล อาภรณกุล) 
14. สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ (พระราชโอรสรัชกาลที่ 2 และเจ้าฟ้ากุลฑล ต้นราชสกุล มาลากุล)
15. เจ้าฟ้าชายปิ๋ว (พระราชโอรสรัชกาลที่ 2 และเจ้าฟ้ากุลฑล )

 

- พระเบญจาชั้นที่ 2 จำนวน 23 พระโกศ                                                                             1. กรมหมื่นอินทรพิพิธ (พระองค์เจ้าชายทับทิม ต้นราชสกุล อินทรางกูร)
2. พระองค์เจ้าหญิงเกสร
3. พระองค์เจ้าหญิงดวงสุดา
4. กรมหมื่นณรงคหิริรักษ์ (พระองค์เจ้าชายดวงจักร ต้นราชสกุล ดวงจักร) 
5. พระองค์เจ้าหญิงสุด
6. กรมหมื่นศรีสุเทพ (พระองค์เจ้าชายดารากร ต้นราชสกุล ดารากร)
7. พระองค์เจ้าหญิงนุ่ม
8. กรมหลวงเทพพลภักดิ์ (พระองค์เจ้าชายอภัยทัต)
9. สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พระองค์เจ้าชายวาสุกรี)
10. สมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร  (พระองค์เจ้าชายมั่ง พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 ต้นราชสกุล เดชาติวงศ์)
11. สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าชายฤกษ์ พระราชโอรส   สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์)
12. กรมพระรามอิศเรศ (พระองค์เจ้าชายสุริยา ต้นราชสกุล สุริยกุล) 
13. พระองค์เจ้าหญิงมณี
14. พระองค์เจ้าหญิงอุบล
15. กรมหมื่นนเรนทร์บริรักษ์ (พระองค์เจ้าชายเจ่ง พระโอรสกรมหลวงนรินทรเทวี)
16. กรมหมื่นไกรสรวิชิต (พระองค์เจ้าชายสุทัศน์ ต้นราชสกุล สุทัศน์)
17. พระองค์เจ้าหญิงมณฑา 
18. พระองค์เจ้าหญิงธิดา
19. กรมหมื่นนรินทรเทพ (พระองค์เจ้าชายฉิม พระโอรสกรมหลวงนรินทรเทวี)
20. กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ (พระองค์เจ้าชายฉัตร์ ต้นราชสกุล ฉัตรกุล)
21. พระองค์เจ้าหญิงพลับ (พระราชธิดาลำดับที่ 15 ในรัชกาลที่ 1) 
22. กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิสุขวัฒนวิไชย (พระองค์เจ้าชายสุริยวงศ์)
23. พระองค์เจ้าหญิงฉิม

-พระเบญจาชั้นที่ 3-4 พระอัฐิพระราชโอรสและพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔ เเละรัชกาลที่ ๕ และมีพระอัฐิของพระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้าหลานเธอประดิษฐานอยู่ด้วยบางส่วน (ขอไม่กล่าวพระนามเกรงจะยืดยาวไป)

 

ท้ายจรนำพระอุโบสถวัดชนะสงคราม

 

ท้ายจรนำพระอุโบสถวัดชนะสงคราม

            เป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของเจ้านายพระราชโอรสและพระราชธิดา ในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยอยู่ในห้องหลังพระประธาน ผนังกำแพงห้องด้านที่ติดกับพระประทาน ก่อเป็นซุ่ม ๕ ซุ้ม แต่ละซุ่มมีช่องสำหรับประดิษฐานพระอัฐิ และมีแผ่นหินอ่อนจากรึกพระนามติดอยู่

 

 

สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

 

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก (ราชวรมหาวิหาร) ประจำรัชกาล รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งมิเพียงคงความวิจิตรงดงามในเชิงสถาปัตยกรรมไทยแบบพระราชนิยมแห่งหนึ่งในกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว พระอารามนี้ยังประกอบด้วยเขตสุสานหลวงจุฬาลงกรณ์ราชสันตติวงศ์ อันเป็นบริเวณเฉพาะที่นับเนื่องด้วยราชสกุลและสายสัมพันธ์แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารเป็นสุสานที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้ผู้ที่มีความรักใคร่ห่วงใยอย่างใกล้ชิดคือ พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และพระราชโอรส พระราชธิดา ได้อยู่รวมกันหลังจากที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ในทั่วไปจะเป็นการสร้างอนุสาวรีย์ของพระมเหสีและเจ้าจอมมารดา เพื่อให้ลูกได้อยู่รวมกับแม่หรืออย่างน้อยในบ้านของแม่ เว้นแต่ในกรณีที่พระราชโอรสหรือพระราชธิดาสิ้นพระชนม์ก่อนพระมารดาก็สร้างอนุสาวรีย์ของพระเจ้าลูกเธอพระองค์นั้นไปก่อน

 

1 สุสานหลวง

ประวัติสุสานหลวง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ เป็นแม่กองก่อสร้างสุสานหลวงขึ้นในที่อุปจารชานกำแพงวัดด้านทิศตะวันตก (ติดกับถนนอัษฎางค์ ริมคลองคูเมืองเดิม นอกเขตกำแพงมหาสีมาธรรมจักรของวัด) ต่อมาเมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2440 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้านิลวรรณ เป็นแม่กองจัดทำสืบต่อมา อนุสาวรีย์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นที่บรรจุพระอัฐิ (กระดูก) และพระสรีรางคาร (เถ้ากระดูก) ไว้นั้นเพื่อเป็นพระบรมราชูทิศพระราชกุศลแก่พระบรมราชเทวี พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระองค์ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ กันทั้งพระเจดีย์ พระปรางค์ วิหารแบบไทย แบบขอม (ศิลปะปรางค์ลพบุรี) และแบบโกธิค โดยตั้งอยู่ในสวนซึ่งมีต้นลั่นทมและพุ่มพรรณไม้ต่างๆ ปลูกไว้อย่างสวยงาม อนุสาวรีย์ที่สำคัญคือ เจดีย์สีทอง 4 องค์ เรียงลำดับจากเหนือไปใต้ ซึ่งมีชื่อสอดคล้องกันดังนี้

นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์ที่สำคัญอื่นๆ ประดิษฐานอยู่ในสุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามด้วย เช่น พระปรางค์สามยอดแบบลพบุรี (สายราชสกุลยุคล) อนุสาวรีย์พระราชชายาเจ้าดารารัศมี วิหารน้อย (สายเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ และเจ้าจอมมารดาโหมด บุนนาค) เป็นต้น สุสานหลวงในปัจจุบันมีจำนวนอนุสาวรีย์ทั้งหมด 34 องค์ และมีการจัดตั้งกองทุนสุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารขึ้นมาดูแลรักษาสุสานหลวงให้มีความงดงามเพื่อชนรุ่นหลังได้เข้าชมต่อไป

2 อนุสรณ์สถานสำคัญ2.1 สุนันทานุสาวรีย์
2.2 รังษีวัฒนา
2.3 เสาวภาประดิษฐาน
2.4 สุขุมาลนฤมิตร์
3 อนุสรณ์สถานอื่น ๆ3.1 อนุสาววรีย์เจ้าจอมมารดาแส
3.2 อนุสาวรีย์เจ้าคุณพระประยูรวงศ์
3.3 อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรองค์อรรคยุพา
3.4 เหมอนุสรณ์
3.5 พระปรางค์สามยอดแบบลพบุรี
3.6 อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาย้อย
3.7 อนุสาวรีย์พระราชธิดาองค์ที่ 84
3.8 อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์
3.9 เอี่ยมอนุสรณ์ 2495
3.10 อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาตลับ
3.11 อนุสาวรีย์เจ้าจอมแส
3.12 เอิบอนุสรณ์ 2487
3.13 อนุสาวรีย์สรีรนิธาน
3.14 อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์
3.15 อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาแข
3.16 อนุสาวรีย์พระราชชายา เจ้าดารารัศมี
3.17 อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาล
3.18 อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาจันทร์
3.19 อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาเนื่อง
3.20 อรอนุสรณ์ 2476
3.21 อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาแช่ม
3.22 ฉัตรชยานุสรณ์ 2480
3.23 อนุสาวรีย์เจ้าจอมอาบ
3.24 อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาสุด
3.25 อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาแสง
3.26 อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาเรือน
3.27 อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดามรกฎ
3.28 อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาชุ่ม

3.29 อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาอ่วม

 

 

 

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
แพงพวย's profile


โพสท์โดย: แพงพวย
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
92 VOTES (4/5 จาก 23 คน)
VOTED: mamaprince
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
อดีตหัวหน้าพรรคคนดัง ย้ายซบ ปชป. ตอบแทนบุญคุณช่วยเป็น สส. สมัยแรกช็อตฮาประชาชี : บ้านญาติบรรยากาศแบบนี้ ต้องหาคนมานอนเป็นเพื่อนหน่อยเน่อ ไม่งั้นหลอนแน่ๆเขมรเคลมอีก? อ้าง ข้าวเหนียวทุเรียน คือขนมดั้งเดิมของเขมรโบราณ!ตอนเรียนกับตอนทำงานเต่างกันแค่ไหน?แล้งหนัก...ประปาไร้น้ำ เกาะพีพีต้องซื้อน้ำใช้
ตั้งกระทู้ใหม่