หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ชื่อเดือนไทย มาจากไหน?

โพสท์โดย โลกใบนี้ชั่งกว้างใหญ่นัก

สวัสดีปีใหม่ พ.ศ.2556   เริ่มต้นปีศักราชใหม่กันอีกครั้งแล้ว...เดือนแรกของปีอย่าง มกราคม ก็ก้าวผ่านเข้ามาแล้ว  ต่อไปก็จะเป็น กุมภาพันธ์  มีนาคม  เมษายน  .....ยาวไปจนสิ้นสุดปีในเดือนธันวาคม  ...แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า  ชื่อเดือนไทยทั้ง 12 เดือนนี้  มันมีที่มาที่ไปอย่างไร ?

          และผู้ที่เป็นคนตั้งชื่อเดือนของไทยทั้ง 12 เดือนนั้น  ก็คือ   "สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ"    เริ่มต้นมาจากทรงสนใจและทรงได้ศึกษาเรียนรู้ค้นคว้าเกี่ยวกับปฏิทิน ที่ปัจจุบันกลายมาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของคนทุกคน   เพราะคนเราต้องอาศัยปฏิทินตั้งแต่ลืมตาเกิด ในการดูวัน เวลา นัดหมาย และเป็นสิ่งเตือนความจำในวันสำคัญได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นวันสำคัญทางศาสนา วันสำคัญทางโลก กระทั่งวันหยุดต่าง ๆ

สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
        นอกเหนือจากพระราชกรณียกิจในราชการแผ่นดินที่ได้ทรงปฏิบัติจนเกิดประโยชน์ต่อแผ่นดินอย่างอเนกอนันต์ในเรื่องของการต่างประเทศแล้ว  สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ  กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ  สนพระทัยเรื่องของโหราศาสตร์มาตั้งแต่แรก  เมื่อเสด็จไปราชการต่างประเทศในยุโรป ปี 2430 ทรงซื้อหนังสือที่เป็นตำราโหราศาสตร์ว่าด้วยสุริยุปราคาจากกรุงเบอร์ลินมา 1 เล่ม ซึ่งภายในเล่มนี้มีแผนที่ทางสุริยุปราคาอยู่เกือบเต็มทั้งเล่ม

 
         การที่ทรงสนพระทัยในเรื่องโหราศาสตร์นี้ อาจเป็นเพราะทรงได้รับอิทธิพลทางความคิดเกี่ยวกับโหราศสาตร์จากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นพระราชบิดา  ความชำนาญเรื่องโหราศาสตร์ของ สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ จึงต้องเกี่ยวพันไปกับการตรวจตรา ตรวจสอบดูปฏิทินด้วย เพราะต้องเรียนรู้การคำนวณ วัน เดือน ปี โดยตรง เมื่อต้องเกี่ยวข้องกับปฏิทินโดยตรง จึงทำให้เกิดที่มาของชื่อเดือน ดังที่กล่าวมา
         คำว่า "ปฏิทิน"  ที่เราใช้ในปัจจุบัน  สามารถเขียนได้เป็น "ประติทิน" ภาษาสันสกฤต หรือ "ประฏิทิน" บาลีแผลง "ประดิทิน" หรือ "ประนินทิน" ก็ได้   การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2385 ปลายสมัยรัชกาลที่ 3   ขณะนั้นปฏิทินยังคงใช้ตามแบบ "จันทรคติ" การนับ วัน เดือน ปี ถือการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลัก

ปฏิทินตามแบบจันทรคติ ใช้การโคจรของดวงจันทร์เป็นหลัก     
         ต่อมาจึงมีวิธีนับวัน เดือน ปี ตามการหมุนเวียนของโลกรอบดวงอาทิตย์ เรียกว่า "สุริยคติ"  และประเทศไทยได้ประกาศใช้ปฏิทินแบบใหม่ตามสุริยคติอย่างเป็นทางราชการ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

        
แม้เราจะใช้ปฏิทินตามสุริยคติ แต่ทางจันทรคติเราก็ยังใช้ควบไปด้วย   ดังนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากจันทรคติที่นับตั้งแต่เดือนอ้าย เดือนยี่...ถึง เดือนสิบสอง มาเป็นแบบสุริยคติ จึงได้มีการกำหนดชื่อเดือนขึ้นมาใหม่  โดยสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินไทยใช้ตามสุริยคติ ซึ่งนับวันและเดือนแบบสากล  ขึ้นทูลเกล้าฯถวายรัชกาลที่ 5 จากนั้นทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นประเพณีบ้านเมืองตั้งแต่ พ.ศ.2432 เรียกว่า "เทวะประติทิน"  ที่เป็นต้นแบบปฏิทินไทยในวันนี้

เทวะประติทิน
       สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงคิดตั้งชื่อเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยทรงใช้ตำราจักรราศี หรือการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งปี ประกอบด้วย 12 ราศี ตามวิชาโหราศาสตร์มาใช้กำหนดชื่อเดือนทั้ง 12 เดือน
        
         ทั้งนี้ แบ่งเดือนที่มี 30 วัน และเดือนที่มี 31 วัน ให้ชัดเจน ด้วยการลงท้ายเดือนต่างกัน คือ คำว่า "ยน" และ "คม"  ส่วนคำนำหน้านั้นมาจากชื่อราศีที่ปรากฏในช่วงเวลานั้นๆ เป็นวิธีนำคำ 2 คำมา "สมาส" กัน คำต้นเป็น ชื่อราศี คำหลังคือคำว่า "อาคม" และ "อายน" แปลว่า "การมาถึง" เริ่มตั้งแต่...

  มกราคม   คือ มกร (มังกร) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีมังกร
  กุมภาพันธ์   คือ กุมภ์ (หม้อ) + อาพนธ แปลว่า การมาถึงของราศีกุมภ์
  มีนาคม   คือ มีน (ปลา) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีมีน
  เมษายน   คือ เมษ (แกะ) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีเมษ
  พฤษภาคม   คือ พฤษภ (วัว,โค) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีพฤษภ
  มิถุนายน   คือ มิถุน (ชายหญิงคู่) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีมิถุน
  กรกฎาคม   คือ กรกฎ (ปู) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีกรกฎ
  สิงหาคม   คือ สิงห (สิงห์) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีสิงห
  กันยายน   คือ กันย (สาวพรหมจารี) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีกันย
  ตุลาคม   คือ ตุล (ตาชั่ง ตราชู) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีตุล
  พฤศจิกายน   คือ พิจิก, พฤศจิก (แมงป่อง) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีพิจิก
 ธันวาคม   คือ   ธนู (ธนู) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีธนู
       อีกทั้งกำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ของไทย คือเดือนเมษายน เดือน 4 ทางสุริยคติ แต่เป็นเดือน 5 ทางจันทรคติ ใช้มาจนถึง พ.ศ. 2483 จากนั้นวันที่ 1 มกราคม 2484 จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่แบบสากลนิยมปีแรกของไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 และทรงใช้คำว่า "ปฏิทิน" แทน "ประติทิน" มาโดยตลอด ลงไว้ในประกาศวิธีนับวัน เดือน ปี ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455

         ดังจะเห็นได้ว่า  ชื่อของเดือนล้วนมีความหมายและที่มาที่ไป  ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งชื่อเดือนของฝรั่ง  ที่มีมาตั้งแต่สมัยโรมัน  ซึ่งก็มีที่มามาจาก  ตัวเลขลำดับที่ของเดือนแต่ละเดือนในภาษาโรมันนั่นเอง

ที่มา http://www.vcharkarn.com/varticle/44289

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
40 VOTES (4/5 จาก 10 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ตั้งสอบวินัยร้ายแรง บิ๊กโจ๊กลูกชายของดาราดัง ถูกจับหลังจับuมเด็กสาวนักเรียนแห่ดูอาจารย์แสดงหนังสด ย่ามดึกที่โรงเรียน"กอล์ฟ พิชญะ" เปิดตัวแฟนสาวในวันเกิด พร้อมแคปชันสุดหวานโยชิ รินรดา เปิดใจเรื่องชีวิต ความสวย และความรักในรายการ Woody FMกระทงจากเปลือกแตงโมดราม่าอีก ฟอร์ด แฟนเก่า แพรรี่ ไพรวัลย์ โพสต์ตัดพ้อรวมภาพเรียกรอยยิ้มประจำวันนี้ วันที่ใกล้จะถึงวันลอยกระทงแล้วจ้า อีกวันเดียวเองยุคสงครามโบราณ ทหารใช้เทคนิคอะไรในการทราบจำนวนทหารของศัตรู?ดราม่า!! กอดวอมแบทในออสเตรเลีย องค์กรสัตว์ค้าน หวั่นสัตว์เครียดรวบแล้ว หลวงพี่พันล้าน เอี่ยวเว็บwนันจับแก๊งใจโหด! ใช้แรงงาน-ทๅรุณเด็กชาวเมียนมาวัย 8 ขวบ!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
โยชิ รินรดา เปิดใจเรื่องชีวิต ความสวย และความรักในรายการ Woody FMจับแก๊งใจโหด! ใช้แรงงาน-ทๅรุณเด็กชาวเมียนมาวัย 8 ขวบ!ดราม่า!! กอดวอมแบทในออสเตรเลีย องค์กรสัตว์ค้าน หวั่นสัตว์เครียดกระทงจากเปลือกแตงโม
ตั้งกระทู้ใหม่