หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

อาการปวดหลังกับชีวิตประจำวัน

โพสท์โดย Taegukgi

 

         อาการปวดหลังกับชีวิตประจำวัน

 

                     

 

          ทุกคนเมื่อย่างเข้าสู่วัยกลางคนมักจะประสบปัญหาเรื่อง “ปวดหลัง”  ตรงบั้นเอวเป็นครั้งคราว  ส่วนใหญ่มักหายไปเองโดยการนอนพัก  หรือรับประทานยาแก้ปวด  มีส่วนน้อยที่มีอาการปวดเรื้อรัง  หรือปวดมากขึ้นจนทนไม่ไหว  ต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา

           ที่จริง  “ปวดหลัง”  เป็นเพียงอาการ  ไม่ใช่โรค  แล้วแต่สาเหตุว่ามาจากอะไร

           หลาย ๆ คนคงจะมีประสบการณ์เกี่ยวกับอาการปวดหลังนี้มาบ้าง  ในความเป็นจริงอาการปวดหลังพบได้เป็นอันดับสองของอาการปวดในร่างกายรองมาจากอาการปวดหัว  และเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ทางศัลยกรรมกระดูก

           อาการปวดหลังนั้นเกิดขึ้นได้ทั้งชนิดแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง  โดยมักเกิดแบบเฉียบพลันและมีอาการเป็นครั้งคราวก่อนที่จะเกิดอาการอย่างถาวรแบบเรื้อรัง

           รายงานการศึกษาปัจจุบันพบผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังแบบเฉียบพลันร้อยละ 10-20  ที่ไม่สามารถบำบัดให้หายขาดและเกิดอาการปวดหลังแบบเรื้อรังตามมา  ถึงแม้ว่าอาการปวดหลังจะไม่ได้ทำให้เสียชีวิต  แต่ก็มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยมากมาย  ซึ่งก็ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านร่างกาย  จิตใจ  และเศรษฐกิจดังต่อไปนี้

1.    ด้านร่างกาย  ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อปฏิบัติกิจกรรมได้อย่างเต็มที่เนื่องจากความเจ็บปวด  ทำให้ความสามารถในการทำกิจกรรมลดลง  ยิ่งเมื่อมีความปวดรุนแรงมากขึ้นและไม่ได้รับการบำบัด  จะส่งผลให้มีผลกระทบทางร่างกายมากขึ้น  เช่น  การเกิดความพิการ  การถูกจำกัดความสามารถ  การนอนไม่หลับ  เป็นต้น

2.    ด้านจิตใจ  เนื่องจากอาการปวดหลังทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเต็มที่  ส่งผลต่อการลดความสามารถในการทำงาน  การถูกจำกัดกิจกรรม  นาน ๆ  เข้าก็จะส่งผลต่อการเกิดความเครียด  อารมณ์ซึมเศร้า  ความวิตกกังวล  ความกลัว  และความพิการ  เป็นต้น

3.    ด้านเศรษฐกิจ  เมื่อร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเต็มที่  ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงาน  ความสามารถของการทำงานลดลง  บางรายต้องหยุดงาน  ส่งผลต่อรายได้ของครอบครัว  นอกจากนี้ยังต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาสำหรับผู้ดูแลหากต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลหรือหากเกิดความพิการ

จากตารางแสดงจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมจำแนกตามกลุ่มโรค  พ.ศ.2546 – 2552  จากระบบเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมเชิงรับ  (รง.506/2)  พบว่ากลุ่มโรคกระดูกและกล้ามเนื้อมีจำนวนผู้ป่วยเฉลี่ยเป็นอันดับที่ 4  

 

อาการปวดหลังโดยทั่วไปไม่มีอันตรายร้ายแรง  แต่เป็นปัญหากับผู้คนในวัยทำงาน  และการดำรงชีวิตประจำวัน

ในต่างประเทศเคยมีการวิจัยถึงค่าใช่จ่ายที่ต้องสูญเสียไปเนื่องจากอาการปวดหลัง  การเข้ารับการตรวจรักษา  รวมถึงการหยุดงานเพื่อพักฟื้น  พบว่าต้องสูญเสียเงินและเวลาเป็นจำนวนมาก

 

 

ดังนั้นการตรวจรักษาที่ถูกต้อง  รวมไปถึงการป้องกัน  และปฏิบัติตัวที่ถูกวิธี  จะเป็นวิธีจัดการกับอาการนี้ได้ถูกต้อง

    กระดูกสันหลังเป็นกระดูกแกนกลางของร่างกาย  เป็นส่วนที่ต่อเนื่องมาจากศีรษะ  เป็นส่วนเชื่อมกับกระดูกไหปลาร้าและสะบัก  เพื่อต่อเนื่องไปยังกระดูกแขนทั้งสองข้าง  ส่วนล่างของกระดูกสันหลังเชื่อมกับกระดูกเชิงกราน  เป็นข้อต่อให้กับสะโพก  และกระดูกขาทั้งสองข้าง  เนื่องจากมนุษย์มีวิวัฒนาการตัวเองจนกลายเป็นสัตว์ที่ยืนด้วยสองเท้า  ดังนั้น  กระดูกสันหลังย่อมจะเป็นแกนหลักในการรับน้ำหนักตัวส่วนบนของร่างกายผ่านมาสู่ขาทั้งสองข้าง

กายวิภาคของหลัง

 

แกนกลางประกอบด้วยกระดูกสันหลัง 33 ชิ้น ส่วนคอ 7 ส่วนอก 12 ซึ่งจะเป็นที่ยึดเกาะของกระดูกซี่โครง กระดูกสันหลังส่วนเอว 5 กระดูกกระเบนเหน็บ 5 ชิ้น เชื่อมรวมเป็นชิ้นเดียว กระดูกส่วนก้นกบ 4 ชิ้น มักจะเชื่อมรวมเป็นชิ้นเดียว  ดังรูป

 

กระดูกสันหลังแต่ละปล้อง เชื่อมต่อกันด้วย หมอนรองกระดูก และข้อต่อของตัวกระดูกสันหลัง ทำให้สามารถขยับเคลื่อนไหวได้ ในแกนกลางของโพรงกระดูกสันหลัง เป็นที่อยู่ของ ไขประสาท สันหลัง ที่ต่อเนื่องมาจากสมองและมีแขนงเป็นรากประสาทสันหลังส่งไปเลี้ยง แขน ลำตัวและขา 

 

นอกจากนี้ยังมีเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ หลายๆมัด และเนื้อเยื่ออ่อนยึดต่อเนื่องเป็นแผ่นหลัง 

 

 

อาการปวดหลัง  แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

 

1.   1.   ปวดเฉพาะบริเวณสันหลังเพียงอย่างเดียว

อาจมีสาเหตุจาก

-      การอักเสบติดเชื้อในกระดูกสันหลัง ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้หลังค่อมหรือเป็นอัมพาตได้

-      การอักเสบของกล้ามเนื้อจากการทำงานในลักษณะที่ผิดปกติ  หรือได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

-      จากเนื้องอกของกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง

-      การเสื่อมตามวัยของกระดูกข้อต่อและหมอนรองกระดูกสันหลัง

2. 2.  ปวดสันหลังและเสียวร้าวไปที่อื่น

เช่น สะโพก  ขาข้างใดข้างหนึ่ง  หรือทั้งสองข้าง  เกิดเนื่องจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังข้อต่อเลยทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาท ในรายที่เป็นมากจะมีอาการชาและอ่อนแรงในขา  ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดตัวเอง หลังคด และก้มหลังไม่ได้เลย

3.   3.  ปวดสันหลังจากอวัยวะหรือโรคอื่น

โรคที่ทำให้ปวดหลังได้  เช่น  ไข้หวัดใหญ่  กระเพาะอาหารอักเสบ  โรคไต  โรคเกี่ยวกับสตรี  มะเร็งบางชนิด

 

สาเหตุของการปวดหลัง

1.            เกิดจากความผิดปกติของส่วนประกอบของหลังเอง

2.            เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะภายใน

3.            เกิดจากการทำงาน  หรือใช้งานหลังไม่ถูกวิธี

4.            เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกตั้งแต่กำเนิด

5.            เกิดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับรากประสาท

6.            เกิดจากความเสื่อมของข้อกระดูกสันหลัง

7.            เกิดจากการอักเสบ

8.            เกิดจากเนื้องอกของกระดูกสันหลัง  หรือมะเร็งกระจายมาที่กระดูกสันหลัง  รวมทั้งมะเร็งไขกระดูก

9.            เกิดจากภาวะกระดูกพรุน

10.         เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะภายใน

11.         เกิดจากอาการทางระบบประสาท แล้วทำให้มีอาการปวดที่หลังโดยที่ไม่ได้มีความผิดปกติร้ายแรงต่อโครงสร้างนั้น

 

 

สัญญาณอันตรายของอาการปวดหลัง

1.    1.    อาการปวดหลังติดต่อกันนานกว่า  สัปดาห์

2.    2. มีอาการชาหรืออ่อนแรงของขา

3.  3. มีอาการปวดร้าวจากหลังลงไปที่ขาหรือเท้า

4.     4. มีอาการปวดหลังภายหลังได้รับอุบัติเหตุ

5.    5. มีอาการอื่น ๆ  ร่วม  เช่น  มีไข้  เบื่ออาหาร  น้ำหนักลด

 

 การให้การวินิจฉัย

สาเหตุการปวดหลังมีได้หลายสาเหตุ การรักษาที่ผิดวิธีนอกจากจะทำให้โรคไม่หายแล้ว ยังสิ้นเปลืองทั้งเวลาและเงินทอง บางรายยังเกิดโทษรุนแรง  มีอันตรายจนถึงขั้นพิการ  หรือถึงแก่ชีวิตก็มี ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดหลังขึ้นเมื่อใด  ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้องซึ่งจำเป็นจะต้องได้ประวัติอาการที่ชัดเจน  และรวมไปถึงการตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด เมื่อมีข้อบ่งชี้ที่สมควร ก็อาจต้องรับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ช่วยในการวินิจฉัย เช่น การ X-RAY, การ X-RAY Computer, การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ฯลฯ

 

การรักษา

รักษาตามสาเหตุเนื่องจากบางโรคมีวิธีรักษาเฉพาะของโรคนั้น ๆเช่น  มะเร็ง  การติดเชื้อ  หรือนิ่วในทางเดินปัสสาวะ  แต่ในกลุ่มที่มีสาเหตุเกิดจากความผิดปกติของกระดูกสันหลังเอง  การรักษามีเป้าหมายเพื่อลดอาการปวดและสามารถให้ผู้ป่วยกลับไปทำงาน  หรือดำรงชีวิตตามปกติได้เร็ว  และสามารถจะป้องกันหรือชะลอความเสื่อมของโครงสร้างได้ด้วย

การรักษาจะเริ่มต้นด้วยวิธีอนุรักษ์นิยม (Conservative Treatment)  ซึ่งเป็นการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดก่อนเสมอ ยกเว้นมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น กระดูกสันหลังหักกดทับไขสันหลัง จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดด่วนเพื่อไม่ให้เกิดอัมพาต

      การรักษาแบบอนุรักษ์นิยม  ได้แก่

      1.    การพัก

เป็นการนอนพัก สามารถลุกนั่ง  รับประทานอาหาร  และเข้าห้องน้ำได้  ในกรณีที่ปวดหลังจากสาเหตุทั่วไป  การพักจะทำให้อาการดีขึ้นได้ภายใน    1-2  วัน

      2.    การบริหารร่างกาย

โดยเฉพาะการบริหารกล้ามเนื้อหลัง  ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง  เพราะจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อหลัง  และลดการเกร็งของกล้ามเนื้อหลัง  การบริหารควรทำทุกวัน

 

      3.    ยา

จะใช้ในรายที่มีอาการเฉียบพลัน  ได้แก่ 

-      ยาแก้ปวด  เช่น  Paracetamol  หรือ  Aspirin

-      ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่  Steroid

-      ยาคลายกล้ามเนื้อ

-      ยากล่อมประสาท

จำเป็นจะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์โดยใกล้ชิด  เนื่องจากอาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาได้  เช่น  อาการระคายเคืองทางเดินอาหาร  หรือแพ้ยา

     4.    การทำกายภาพบำบัดหรือการให้การฟื้นฟูสภาพ

จะใช้ในกรณีที่เป็นเรื้อรัง  หรือมีอาการปวดอย่างมาก  ซึ่งจะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้

การใช้กายอุปกรณ์ก็สามารถช่วยลดการเจ็บปวดได้เช่นกัน  แต่ก็ควรระวังและหลีกเลี่ยงการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการยกของหนัก  หรือการทำงานที่ต้องก้มๆ เงยๆ เป็นต้น

     5.    การปรับเปลี่ยนอิริยาบถต่าง ๆ  ที่อาจก่อให้เกิดอาการปวดหลัง

                

 

      6.    การออกกำลังกายเผื่อผ่อนคลายความเครียด

 

 

l          การรักษาด้วยการผ่าตัด

จะพิจารณาทำเมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน  เนื่องจากเป็นการผ่าตัดใหญ่  ผลการผ่าตัดจะต้องมีอัตราเสี่ยงน้อย  และให้ผลดีจึงจะพิจารณาทำ

          ตัวอย่างเช่น การผ่าตัดเพื่อเอาหมอนรองกระดูกที่เคลื่อนที่ทับเส้นประสาทออก, การผ่าตัดเพื่อแก้ไขโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ, การผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูกสันหลัง เป็นต้น

 

การทำกายภาพบำบัดหรือการให้การฟื้นฟูสภาพ

          การทำกายภาพบำบัดเพื่อรักษาอาการปวดหลังนั้นก็คือการใช้เครื่องมือเพื่อให้ความร้อน  ความเย็น  หรือเครื่องมือในการดึงหลัง  หรือกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า  เพื่อบรรเทาอาการปวดอักเสบที่หลัง  นอกจากนั้นแล้วที่สำคัญที่สุดของการฟื้นฟูสภาพหลังก็คือการให้การบริหารกล้ามเนื้อและกระดูกที่ถูกต้องและเหมาะสมในแต่ละบุคคล   ซึ่งต้องพิจารณาเป็นรายบุคคล  การให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน  การทำกิจวัตรประจำวัน  หรือลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง

          นอกจากนี้แล้วในปัจจุบันยังมีการรักษาอื่น ๆ  อีกซึ่งเราเรียกว่า “การแพทย์ทางเลือก” เช่น การนวดแผนไทย  การฝังเข็ม และการใช้โยคะ  ซึ่งแต่ละอย่างก็เหมาะสมกับการปวดหลังซึ่งเกิดในภาวะต่าง ๆ  ที่ไม่เหมือนกัน  ที่สำคัญที่สุดก็คือ  ในการรักษาแบบอื่น ๆ  นั้นควรจะอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ที่มีฝีมือที่เชี่ยวชาญจริง ๆ  และได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องจากกองประกอบโรคศิลป์  นอกจากนั้นแล้วก่อนการรักษาด้วยวิธีการเหล่านี้ควรจะต้องปรึกษาแพทย์ที่ดูแลอยู่ก่อน

          และที่สำคัญที่สุดยิ่งกว่าอื่น ๆ  สำหรับเรื่องปวดหลังก็คือ  การป้องกันไม่ให้เกิดซึ่งน่าจะดีกว่าการปล่อยให้เกิดอาการปวดแล้วจึงค่อยทำการรักษา

 

การป้องกันอาการปวดหลัง

 

สามารถทำได้หลายแนวทาง  ได้แก่

  1. การจัดท่าทางการทำงานหรือการประกอบกิจวัตรประจำวันให้ถูกต้อง 
  2. ไม่ทำงานติดต่อกันนาน ๆ
  3. หลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องอยู่ในท่าที่ลำบาก  หรือมีการบิดตัว  ก้มตัว  หรือเอี้ยวตัว
  4. หลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อหลังมาก ๆ เช่น การยกของหนัก  ซึ่งก็ได้มีกฎหมายกำหนดถึงน้ำหนักที่ควรจะยกเรียบร้อยแล้ว
  5. การบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลังได้ดี  เพราะกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังเป็นกล้ามเนื้อที่คอยตรึงแนวกระดูกสันหลังไม่ให้มีการเคลื่อนไหวมากเกินไป  ซึ่งท่าทางการบริหารนั้นก็มีมายกมาย  อาจจะต้องปรับให้เหมาะสมในแต่ละคน

6.                       การควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ  เช่น  ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไปหรือไม่ให้รูปร่างอ้วนเกินไป  เพราะการที่มีรูปร่างอ้วนจะทำให้แนวกระดูกสันหลังเปลี่ยนไป  และการใส่รองเท้าส้นสูงเกินไปก็เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

นั่นคือข้อสรุปที่ว่าการดูแลตัวเองหรือการป้องกันไม่ให้มีอาการปวดหลังเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าการรักษา

 

 

 

การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อดูแลสุขภาพหลัง

-      การมีท่าทางที่ไม่ถูกต้องจะทำให้เกิดการใช้งานที่มากเกินไปของกระดูก  ข้อต่อ  กล้ามเนื้อ  และเอ็น

-      เมื่อปฏิบัติจนเป็นนิสัยจึงก่อให้เกิดอาการปวดหลังในที่สุด

-      การมีท่าทางที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อลดหรือป้องกันอาการปวดหลังได้

-      ท่าทางต่าง ๆ  ที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดแรงดันในหมอนรองกระดูกสูง  เมื่อมีแรงดันในหมอนรองกระดูกสูงบ่อย ๆ  จะทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมเร็ว

-      ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการกดทับของเส้นประสาทไขสันหลังหรือรากประสาท     ทำให้เกิดอาการปวดหลัง

-      ท่าทางที่ไม่ถูกต้องทำให้กล้ามเนื้อต้องทำงานหนัก  เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดหลังได้

-      สำหรับคนที่ยังไม่มีอาการปวดหลัง  หรือมีอาการปวดหลังเล็กน้อย  สามารถป้องกันได้โดยการแก้ไขอิริยาบถที่ใช้ในชีวิตประจำวันตลอดจนการบริหารร่างกายเพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดหลัง

เพื่อให้มองเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น  จึงขอนำคลิปเกี่ยวกับการยกของหรือการทำงานในท่าทางต่าง ๆ  เพื่อป้องกันอาการปวดหลังที่อาจเกิดขึ้นได้จากการมีท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม  รวมถึงการบริหารกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ให้แข็งแรงยิ่งขึ้นและลดอาการปวดหลังอีกด้วยนะครับ

 

คลิปอธิบายเทคนิคการยกของอย่างปลอดภัย

คลิปอธิบายการยกของไม่ให้ได้รับบาดเจ็บ

คลิปอธิบายการใช้คอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง

 

คลิปอุบัติเหตุจากการยกของหนัก


คลิปการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อดูแลสุขภาพหลัง

 

คลิปการบริหารกล้ามเนื้อลดอาการปวดหลัง

 

สำหรับการบริหารร่างกายก็ต้องทำทุกวัน  ถ้าทำบ้างไม่ทำบ้างก็จะไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร  โดยอาจทำเวลาเช้า หรือเย็น หรือก่อนเข้านอนก็ได้ เมื่อออกกำลังกายหากพบว่ามีอาการปวดหลังอยู่ก็ให้หยุดออกกำลังกายทันที

สาเหตุของการปวดหลังมีได้มากมาย  แต่สาเหตุส่วนใหญ่ไม่ได้มีอันตรายร้ายแรง และยังสามารถป้องกันได้  การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง  หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และการฟื้นฟูสมรรถภาพหลังย่อมจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด

หากมีข้อสงสัยประการใด  สามารถพิมพ์คำตอบทิ้งไว้ในนี้ได้นะครับ  และผมจะรีบหาคำตอบมาตอบโดยเร็วที่สุด  ขอบคุณครับ 

 

 

 

 

โพสท์โดย: Taegukgi
ที่มา: SAFETY MANAGEMENT วารสารความปลอดภัยในการทำงานของสังคมไทย ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2548 ถึง กุมภาพันธ์ 2549 หน้าที่ 7 – 10
,รศ.นพ.วรวิทย์ เลาห์เรณู. หน่วยโรคข้อและรูมาติซั่ม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ความรู้เรื่องโรคข้อสำหรับประชาชน เรื่องโรคปวดหลัง, http://www.drrungrueng.org/data/flame/fache.html
, http://www.boe.moph.go.th/report.php?cat=13
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Taegukgi's profile


โพสท์โดย: Taegukgi
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
36 VOTES (4/5 จาก 9 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ชาวลาวไม่ทน! หลังหนุ่มจีนโพสทิ้งเงินกีบลงในถังขยะ ทำคนลาวถึงกับไม่พอใจ?update ผลงานล่าสุด เจนนี่ BLACKPINKนักร้องดังชาวมะกัน "มันดิซ่า" เสียชีวิตแล้ว!!iPhone รุ่นประหยัดมาแล้ว!ไปซื้อน้ำแข็งแต่สิ่งที่ได้มาด้วยคือเจ้าตัวนี้ของในร้านนี้หยิบได้ฟรีทุกชิ้นลูกค้าหนุ่มเศร้า หลังรีวิวชุดกีฬาที่ซื้อมา แต่ดันพลาดเห็นหนอนน้อยหมวกพลร่มเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง!5 อันดับคณะที่เรียนยากที่สุด
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
วันนี้ที่รอคอย! กอดทั้งน้ำตา..หนุ่มตามหาแม่แท้ๆ นานกว่า 29 ปีจนเจอไปซื้อน้ำแข็งแต่สิ่งที่ได้มาด้วยคือเจ้าตัวนี้หมวกพลร่มเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง!iPhone รุ่นประหยัดมาแล้ว!
ตั้งกระทู้ใหม่