หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

บทวิเคราะห์ ว่าที่รถถังหลักแบบใหม่ของกองทัพบกไทย

โพสท์โดย [PROTOTYPE]

 

 

บทวิเคราะห์ ว่าที่รถถังหลักแบบใหม่ของกองทัพบกไทย

T-84 and her family

ที-84 และรถถังในตระกูลเดียวกัน


Pakistans T-80UD
หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย T-80UD จำนวน350คัน หลงเหลือค้างเติ่งในโรงงานKharkov เพื่อทำให้โรงงานยังอยู่ได้ ทางอูเครนจึงต้องหาลูกค้าให้ได้ และลูกค้าก็คือปากีสถาน T-80UD ที่ปากีสถานสั่งซื้อ320คันนั้น มีลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งคือ บางส่วนไม่ใช่ป้อมของT-80UD แบบดั้งเดิมที่เป็นแบบหล่อ เนื่องจากป้อมแบบหล่อนั้นผลิตในรัสเซียซึ่งขณะนี้แยกกันทำมาหากินแล้ว อูเครนจึงออกแบบป้อมให้ใช้กรรมวิธีเชื่อมแทนหล่อทั้งป้อม ซึ่งในจำนวน320คันนั้น 52คันเป็นT-80UDที่ผลิตพร้อมส่งให้รัสเซีย 93คันบางส่วนใช้ป้อมค้างสต๊อคบนตัวรถที่สร้างใหม่ และบางส่วนใช้ของสำรองของกองทัพอูเครน และอีก175คัน เป็นป้อมแบบเชื่อมทั้งหมด

เพราะฉะนั้น ใครที่ว่าoplotรุ่นไม่mส่งออกไม่ได้ เปลี่ยนความคิดซะ แต่เป็นเพราะรัสเซียไม่ขายป้อมแบบหล่อของT-80UD ให้อูเครนต่างหาก เพราะฉะนั้นT-84ที่ใช้ป้อมแบบเชื่อม ส่งออกได้สบาย)
T-80UDป้อมแบบเชื่อม ที่ส่งออกให้ปากีสถานนั้น เป็นมาตราฐานเกือบๆเท่ารถถังรุ่นใหม่กว่าอย่างT-84 แต่ไม่ติดระบบShtora-1 และฟีเจอร์ราคาแพงอื่นๆที่มีในT-84

 


T-80UD ของปากีสถาน สังกัดกองพลยานเกราะที่1

Herself : T-84
หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการ ขายT-80UD ให้ปากีสถานแล้ว อูเครนก็เหมือนค้นพบตัวเองว่า ตัวเองมีสินค้าชั้นเยี่ยมอยู่ในมือ จึงทำการดัดแปลงT-80UD เพื่อออกขายสู่ตลาดโลกแน่นอนว่าจะต้องไม่ใช่ชื่อเห่ยๆที่ชาวรัสเซียตั้งให้ แต่จะต้องเป็นชื่อที่บริษัทใช้สร้างตำนานท้ายเลข4นั่นคือ T-84 หรือObjekt 478DU และพยายามลดการพึ่งพารัสเซียให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นระบบShtora-1 ที่นำมาทำเองเป็นระบบVarta, ระบบควบคุมการยิงใหม่อย่างเช่นกล้องเล็งกลางคืน/กล้องสร้างภาพความร้อน แบบTPN-4 Buran ,ป้อมแบบเชื่อมแทนแบบหล่อ และระบบใหม่อย่างAynetซึ่งเป็นระบบตั้งค่าฟิวส์ให้ระเบิดเหนือเป้าหมายได้ ควบคุมจรวดนำวิถีให้เป็นแบบtop-attackได้ เป็นต้น โดยเปิดตัวในงานIDEX 1995 ในชื่อ T-84 Super tank


จุด สังเกตุที่ต่างจากT-80UD คือ ท่อยิงระเบิดควันข้างละ6ท่อ และเกราะบางๆปิดคลุมด้านข้างท่อยิง ระบบVarta(หรือShtora-1 ซึ่งมีเฉพาะรุ่นUDK)

1st younger sister : T-84U
T-84 นั้นไม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาดโลกมากนัก ไม่มีใครซื้อไปใช้งาน และกองทัพอูเครนเองก็ไม่มีเงินพอที่จะซื้อจำนวนมากๆ (คาดว่ารวมทุกรุ่นไม่เกิน100คัน) แต่อย่างไรก็ดี ทางKharkov ยังไม่ถอดใจ พัฒนาT-84Uเพิ่มขึ้นมาอีกรุ่น โดยปรับปรุงระบบต่างๆที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ เกราะERAแบบNozh กระโปรงข้างที่ยาวขึ้น ติดระบบเครื่องกำเนิดพลังงานสำรอง(APU) และระบบภายในที่เป็นของอูเครนทั้งหมด เปิดตัวในงานIDEX 1999 ในชื่อT-84M ซึ่งชวนสับสนดีจริงๆ




จุดสังเกต ERAแบบNozh ขนาดเล็กลง ดูเนียนตาขึ้น กระโปรงยาวลงมาเกือบถึงพื้น


รูปนี้จะเห็นกล่องหุ้มเกราะรูปสี่เหลี่ยมด้านท้ายรถ เป็นที่อยู่ของระบบAPU


ทั้งT-84และ T-84U มาพร้อมกับข้อเสนอ จะเลือกบ้องมาตรฐานแต่ยาวขึ้นเป็นL50 ของVitaitz (KBA-3 L48) หรือ บ้องยักษ์140 ม.ม. Bagira (L55) ถ้าทบ.เลือกBagira จะโหดมากเลยทีเดียว


The Twin : T-84 oplot and T-84-KERN-120 or Yatagan
รุ่น ที่ชวนปวดหัวมากที่สุดสำหรับT-84 เพราะหน้าตาคล้ายกันอีกทั้งข้อมูลของแหล่งอ้างอิงทุกแห่งที่หามาได้ไม่ เหมือนกันเลย (ขนาดเว็บของKMDBเองก็ยังมึน) พัฒนาจากพื้นฐานเดียวกัน ต่างกันแค่ปืนกับระบบภายในนิดหน่อยเท่านั้น


T-84 oplot เกิดจากแนวความคิดที่จะเพิ่มความปลอดภัย โดยย้ายกระสุนบางส่วนไปเก็บที่ป้อมแทน และเพิ่มพลังเครื่องยนต์โดยติดตั้งเครื่องยนต์แบบ6TD-2 1200แรงม้า จึงกลายมาเป็นT-84 oplot ส่วนYatagan คือoplot แต่ใช้ปืน120ม.ม. พร้อมระบบบรรจุกระสุนอัตโนมัติจากท้ายป้อม และระบบบางอย่างตามความต้องการของตุรกี ซึ่งYataganมองไว้เป็นเป้าส่งออก

ที่นี้ ลองมาดู อันไหน Yatagan อันไหน Oplot



อันนี้คือOplot


อันนี้คือYatagan สังเกตที่ปืนเล็กกว่า และออโต้โหลดเดอร์ที่ใหญ่กว่า


อันนี้oplot เพราะมีเครื่องยิงระเบิดควันด้านละ4ท่อ


อันนี้yatagan เพราะออโต้โหลดเดอร์ใหญ่กว่า

หน้าตาคล้ายๆกันจริงๆ

BM Oplot Anatomy

ชำแหละ BM Oplot


ที่นี้มาถึงพระเอกของเราเสียที เราจะมาดูกันทีละส่วนกันว่า มีอะไรบ้าง
แต่ก่อนอื่น ต้องอารัมภบทนิดหน่อย เรื่องที่ว่าBM Oplot พัฒนาจาก Oplot ตรงไหนบ้าง หรือตรงไหนที่ยังคงเดิม
ส่วนที่ยังเหมือนเดิม

เครื่องยนต์ 6TD2 1200แรงม้า และชุดเกียร์
ระบบสายพานขับเคลื่อน
ปืนKBA-3 125ม.ม.
ระบบบรจุกระสุนอัตโนมัติ
ระบบเก็บกระสุนท้ายป้อม
ระบบVarta
ระบบAynet
ฯลฯ พูดง่ายๆคือเกือบหมดทุกอย่างของOplot ธรรมดา

แล้วอะไรที่ต่างกันล่ะ

กล้องตรวจการณ์ผบ.รถแบบ PNK-6
กล้องตรวจจับความร้อนแบบ PTT-2?
การวางเกราะเสริมรูปแบบใหม่ และเกราะเสริม Nozh-2
เครื่องยิงลูกระเบิดจากข้างละ 4 เป็นข้างละ 6
เกราะป้อมแบบใหม่?
เกราะเสริมด้านข้างตัวรถแบบ3ระดับ คือ เกราะ ERA แผ่นเหล็ก แผ่นยาง
ระบบควบคุมการขับเคลื่อนแบบรวมการ ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์

แค่ นี้เองหรือ? เท่าที่มีข้อมูลมันก็แค่นี้จริงๆ สรุปได้ว่า BM Oplot กับ Oplot ต่างกันไม่มาก BM Oplot เป็นแค่การขัดเกลาและอัพเดทให้ทันสมัยขึ้นเท่านั้น

ทีนี้ เราจะมาวิเคราะห์กันทีละส่วน โดยแบ่งเป็น3ส่วนหลัก ได้แก่ อำนาจการยิง การป้องกันตัว การเคลื่อนที่ และส่วนพิเศษคือการบำรุงรักษา

The fire power
BM oplot ยังคงใช้ปืนมาตรฐานเดิมคือ 125 ม.ม. KBA-3 L48 พร้อมระบบAuto Loader แบบดั้งเดิมที่มาตั้งแต่สมัยT-80 สามารถยิงกระสุนได้ 5-8นัดต่อนาที มีกระสุนในออโต้โหลดเดอร์พร้อมยิง28นัด บรรจุกระสุนใหม่ในออโต้โหลดเดอร์ใช้เวลาไม่เกิน30นาที ปืนKBA-3 สามารถยิงจรวดนำวิถีต่อสู้รถถังแบบR-211 Kombat (760mm RHA after ERA) ได้




T-84 Oplot กับปืน125ม.ม. KBA-3



จุดขายสำคัญของBM Oplot คือกล้องตรวจการณ์รอบทิศ แบบPNK-6 กล้องPNK-6 มีความสามารถดังนี้

มีทั้งกล้องกลางวัน/กล้องตรวจจับความร้อน
กล้องตรวจจับความร้อนสามารถตรวจจับเป้าหมายขนาดรถถังได้ที่ระยะ5500 ม.(มุมกว้าง) และ 8000ม.(มุมแคบ)
มีระบบวัดระยะด้วยเลเซอร์
ส่งเป้าหมายต่อให้พลยิงจัดการได้
ยิงปืนหลักและปืนกลร่วมแกนได้โดยใช้โหมดโอเวอร์ไรด์(หรือการที่ผบ.รถสามารถ ทำการยิงปืนใหญ่ได้ทันทีที่ตรวจพบเป้าหมาย โดยไม่ต้องส่งต่อเป้าหมายให้พลยิง)
เป็นกล้องสำหรับควบคุมการยิงปก.หนักบนหลังคาป้อมปืน

ซึ่งทำให้BM Oplot มีความสามารถในแบบ Hunter-Killer ได้อย่างมีประสิทธิภาพ



กล้องPNK-6


และอีกอย่างที่ทำให้BM Oplot มีประสิทธิภาพในการทำลายรถถังข้าศึกสูงขึ้นอีก นั่นก็คือ กล้องพลยิงแบบPTT-2
กล้องPTT-2 มีความสามารถดังนี้

เป็นกล้องตรวจจับความร้อน
สามารถตรวจจับเป้าหมายขนาดรถถังได้ที่ระยะ 8000ม.(มุมแคบ) ระบุเป้าหมายที่ระยะ4500ม.(มุมแคบ) และ ยืนยันเป้าหมายได้ที่ระยะ2500ม.(มุมแคบ)



กล้อง 1G46 ด้านล่างและ PTT-2 ด้านบน(มีฝาปิด)

อีกทั้งกระสุนAPFSDSแบบพิเศษที่อูเครนผลิตเองแบบVitiatz ที่มีประสิทธิภาพการเจาะเกราะที่ 760มม. (RHA)ที่ระยะ2กม. เทียบเท่ากระสุนDU M829A3ของสหรัฐ และยังมากที่สุดในบรรดากระสุนจากค่ายตะวันออก (ยกเว้นจีน ที่คุยว่าเจาะได้1000มม.)

The Protection
BM Oplot นับเป็นรถถังจากค่ายอดีตโซเวียต ที่มีการป้องกันที่ดีที่สุด ด้วยอานิสงส์ผลบุญของเกราะบนป้อมแบบเชื่อม ที่สามารถทำให้เสริมความแข็งแรงในจุดที่เคยอ่อนแอของป้อมแบบหล่อ อย่างเช่นด้านบนป้อม ที่ปกติป้อมแบบหล่อ(ทุกรุ่น ทุกค่าย)ตรงส่วนนี้จะบางที่สุด แต่ด้วยการเชื่อม ทำให้สามารถนำแผ่นเกราะที่หนากว่าที่เป็นชิ้นเดียวมาเชื่อมเพื่อเสริมความ แข็งแรง (T-90S ยังเป็นป้อมแบบหล่อ แต่T-90A vladimir เป็นป้อมแบบเชื้อมแต่บนหลังคาใช้แผ่นเหล็กหลายแผ่นมาประกอบกัน ) แต่พระเอกตัวจริงต้องยกให้กับเกราะเสริมแบบERA ที่ชื่อว่าNozh(2?)


แบบ ป้อมปืนของT-84 ซึ่งไม่น่าจะต่างจากOplot นัก สังเกตว่าด้านหน้าจะหนามาก อีกทั้งเป็นเกราะแบบหลายชั้นแบบโมดูล หมายถึงเมื่อมีเกราะแบบใหม่มา สามารถอัพเกรดเปลี่ยนได้ทันที โดยไม่ต้องเปลี่ยนทั้งป้อม

Nozh the real hero
เกราะERAแบบNozh นั้น เป็นเกราะแบบใหม่ที่ไม่ได้ใช้หลักการ ระเบิด เพื่อขยายขนาดแผ่นเกราะเสิรมเพื่อทำให้กระสุนแบบheatต้องวิ่งผ่านพื้นที่มาก ขึ้น(แบบBlazer หรือKontakt-1) และไม่ได้ใช้การระเบิดเพื่อสร้างแรงเฉือนแก่กระสุนเจาะเกราะ (แบบKontakt-5) แต่ใช้การสร้าง
เจ๊ทที่โฟกัสพลังงานการระเบิดแบบเดียวกับกระสุนShaped Charge(แต่ไม่มีลำเจ๊ทของโละหะเหลว แต่ใช้การสร้างการระเบิดที่มีจุดโฟกัส)


รูปร่างของแท่งระเบิดพลาสติกของNozh


หลักการก็คือ เมื่อมีกระสุนที่มีความเร็ว(APFSDS)หรือความร้อน(HEAT)มากระทบแผ่นเกราะ ระเบิดพลาสติคที่อยู่ในกล่องที่โดนปะทะเข้านั้นจะเกิดการระเบิด สร้างพวยเจ๊ทของแรงระเบิด ตัดลูกกระสุน(APFSDS)หรือตัดลำโลหะเหลว(HEAT)เป็นส่วนๆทำให้อำนาจการเจาะ เกราะลดลง




ภาพX-ray แสดงเจ็ทของแรงระเบิด กำลังตัดลำโลหะเหลวของกระสุนHEAT


ภาพจำลองเมื่อกระสุน APFSDS มาปะทะเกราะแบบ Nozh ซึ่งจะเกิดการระเบิดต่อเนื่อง ไม่ใข่การระเบิดเพียงครั้งเดียว


ข้อดีของระบบNozh คือ มีขนาดเล็กลงและไม่ระเบิดลามไปโมดูลข้างๆ ทำให้เหลือพื้นที่ที่ไม่ได้รับการป้องกันจากเกราะน้อยกว่า (เกราะERAแบบเดิม เมื่อระเบิด จะพาเอาเพื่อนๆโมดูลข้างๆระเบิดตายตกตามกัน) อีกทั้งยังปลอดภัยกับทหารราบที่อยู่ใกล้รถถังมากกว่า เพราะแรงระเบิดไม่กระจายไปไกล อีกทั้งยังไม่ถูกจุดระเบิดง่ายๆด้วยกระสุนขนาดเล็ก หรือ การระเบิดแบบใกล้ๆของกระสุนปืนใหญ่




สภาพกระสุนที่โดนเกราะ Nozh ทำลาย


รูป แบบการวางเกราะแบบ Nozh นั้นจะต้องวางในมุมที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นเหมือนเกราะแบบ Kontakt-5 คือต้องวางแผนก่อน ถึงจะติดได้ ไม่ใช่สุ่มๆวางเรียงแบบที่ทุกคนคิด


ตัวอย่างการติดตั้งNozh บนป้อม สังเกตเส้นสีแดงที่หมายถึงจุดอ่อนที่สุดของเกราะ แต่มุมแหลมขนาดนั้น โอกาสยิงโดนเป๊ะๆมีน้อยมาก น่าจะแฉลบไปมากกว่า ซึ่งทำให้เสร็จNozh โดยปริยาย


ภาพ จำลองเหตุการณ์เลวร้ายที่สุดของเกราะNozh ที่ติดบนด้านหน้าตัวรถ ซึ่งปะทะเข้าเต็มๆตรงจุดที่ปลายสุดของเกราะพอดี แต่แน่นอนยิงอย่างนั้น ต้องเป็นนัดโชคดีจริงๆเช่นกัน (เข้าข้างไปรึเปล่าเนี่ย)

Bustle Ammunition Storage
หรือ ระบบเก็บกระสุนในตัวป้อม เนื่องจากT-80 นั้นมีปัญหากระสุนระเบิดในตัวรถ จากการที่โดนกระสุนเจาะเข้าไปทำลายกระสุนในออโต้โหลดเดอร์หรืออย่างน้อยๆก็ ไปโดนกระสุนที่เก็บสะเปะสะปะในส่วนของลูกเรือ BM Oplot จึงทำการย้ายกระสุนที่อยู่นอกออโต้โหลดเดอร์ไปไว้ในกล่องพิเศษที่อยู่ท้าย ป้อมปืนแทน




กล่อง นี้แหละที่เก็บกระสุน สังเกตว่าจะมีเหมือนประตูอยู่3บาน นั่นคือที่ระบายความดันเมื่อกระสุนภายในโดนยิงจนระเบิด โดยระหว่างป้อมกับกล่องกระสุนจะมีฝากั้นหนาๆอยู่



รูปแบบการจัดวางกระสุน แต่น่าจะเป็นของตระกูลT-72 แต่รูปแบบจริงก็ไม่น่าต่างกันมากนัก


จากภาพจะเห็นว่าจะมีกระสุนในกล่อง8ลูก และนอกกล่อง4ลูก รวมกับในออโต้โหลดเดอร์28ลูก รวม40ลูกพอดี
ที นี้มีข้อครหาว่าระบบออโต้โหลดของT-80 มันไม่ปลอดภัยเพราะเก็บกระสุนไว้ในห้องโดยสารมากเกินไป ถึง28ลูกนั้น เป็นข้อครหาที่เกินความจริงไป เพราะอะไร ? เพราะรถถังทุกแบบในโลก (ยกเว้นAbramsและK2) เก็บกระสุนส่วนใหญ่ในห้องลูกเรือทั้งนั้น

Varta
นอก จากเกราะและมาตรการความปลอดภัยอื่นๆแล้ว ยังมีระบบอิเล็คทรอนิคส์ช่วยเหลือในการป้องกันอีก นั่นคือระบบVarta หรือShtora-1 นั่นเอง หลักการการทำงานของมันคือ เจ้านี่สามารถกำเนิดแหล่งอินฟราเรดขนาดใหญ่พอๆกับแสงแฟลร์ท้ายลูกจรวดของ จรวดนำวิถีด้วยเส้นลวด หรือ คอมมานด์ลิงค์ทั้งหลาย(เช่น Tow ,Milan,Hot ,Bill2 ) ระบบพวกนี้จะใช้แสงแฟลร์ท้ายลูกจรวด เป็นจุดอ้างอิง ระหว่างตัวจรวดกับเป้า ทีนี้เจ้านี่ไปสร้างสัญญาณลวง ทำให้ระบบควบคุมจรวดสับสน จนทำให้จรวดออกจากทิศทางที่ควรจะเป็น (เคยเถียงกับบางคนในTFCว่า แค่ทาบเป้าจรวดก็ไปเอง มันไม่ง่ายอย่างนั้น ระบบSACLOS ต้องมีจุดอ้างอิงตัวจรวดกับเป้าเสมอ เพื่อจะบังคับจรวดให้ชนเป้า )

ระบบVartaนี้นอกจากจะมีแจมเมอร์แล้ว ยังรวมถึง Laser Warning sensor ,ระเบิดควัน สำหรับก่อกวนระบบเลเซอร์ชี้เป้า


Precision Laser Warning sensor


Infrared Jammer


Laser Warning sensor ทีให้ข้อมูลแบบหยาบๆ


ระเบิดควันก่อกวนระบบเลเซอร์


การทำงานของระบบshtora-1

และBM Oplot ยังมีระบบดับไฟในห้องลูกเรือและที่เก็บกระสุนอัตโนมัติ เพิ่มความปลอดภัยอีกชั้นหนี่ง
รวมถึงยังมีออปชั่นเสริมคือชุดพรางป้องกันการแผ่รังสีความร้อนของรถ รวมถึงระบบ APS แบบ Zaslon เป็นออปชั่นพิเศษสุดๆ อีกอย่างหนึ่ง

Mobility
การเคลื่อนที่ของรถถังถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งในการสู้รบ เพราะเกราะหนา ปืนดี แต่วิ่งช้าก็มีสิทธิ์ตายได้เช่นกัน

BM Oplot เป็นรถถังที่ยังคงคอนเซ็ปท์เดิมของT-80 คือ รถถังบินได้ เนื่องจากมันมีอัตราส่วนแรงม้า/น้ำหนักสูงมากคือ 24.7แรงม้า/ตัน (เมื่อบรรทุกเต็มที่ ) มากกว่าAbrams มากกว่าK1A1 และมากกว่า Leopard2

มี ความเร็วสูงสุดบนถนนหลวง 70กม./ชม. ออฟโรดที่ 45กม./ชม. ซึ่งมาตรฐานทั่วๆไป แต่ที่สำคัญ คือ มันมีเกียร์ถอยหลัง ที่เร็วพอๆกับเดินหน้า สามารถถอยหลังได้ที่ความเร็ว30กว่าๆ กม./ชม. ทำให้ใช้กลยุทธ์หันเกราะส่วนหน้าแต่ถอยฉากออกได้อย่างรวดเร็ว
เครื่องยนต์ของBM oplot ออกแบบมาเพื่อสามารถปฏิบัติการในเขตร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ด้านซ้ายมือคือถังน้ำมันภายนอก ขนาด570ลิตร ด้านท้ายรถด้านซ้ายคือท่อไอเสีย และขวาสุดคือช่องอากาศเข้าเครื่องยนต์

ระบบกำเนิดพลังงานสำรอง (APU) ทำให้รถถังสามารถมีพลังงานใช้โดยไม่ต้องสตาร์ทเครื่องยนต์ให้เกิดสัญญาณ อินฟราเรดมากเกินควร ระบบAPU ของOplot ให้กำลังไฟฟ้า18kW เพียงพอสำหรับทำงานกับทุกระบบของรถ ยกเว้นการขับเคลื่อนตัวรถ สามารถทำงานได้ตลอด24ชม.


ท่อไอเสียของระบบAPU

BM Oplot ติดแอร์ด้วยนะและยังมีระบบกล้องมองกลางคืนสำหรับพลขับ และ ระบบควบคุมรถโดยใช้คอมพิวเตอร์ ลืมบอกไปว่าเป็นเกียร์อัตโนมัติด้วย


ระบบแผงควบคุมรถแบบดิจิตอล


พวงมาลัยพลขับแบบมาตรฐาน ไม่ใช่แบบคันโยกเหมือนT-80/T-72 แม้แต่T-90ยังใช้คันโยก แถมเป็นเกียร์ธรรมดาด้วย



Maintainance
การบำรุงรักษาของBM oplotนั้น น่าจะพอๆกับรถถังทั่วไป ไม่ว่าจะเรื่องกินน้ำมัน กิโลเมตรละเกือบ4ลิตรแบบออฟโรด หรือ 3ลิตร/กม.บนถนนหลวง พิสัยทำการ350-400กม. ต่อการเติมน้ำมัน1ครั้ง ก็ไม่แปลกไปจากรถถังยุคใหม่ทั่วไปเท่าไหร่ สายพาน ชัยเสรีก็ผลิตได้ (บ.นี้ผลิตสายพานสำหรับ T-72 มานานแล้ว) อ๊ะลืมไปว่าทบ.ยังไม่ประกาศ เกราะแบบ Nozh ติดบนรถลุยไปลุยมาไม่ต้องดูแลรักษาได้ 3 ปี ถอดเก็บไว้ตากแดดตากลมได้ 5 ปี ถอดเก็บไว้เก็บอย่างดีในโรงเก็บได้ 10 ปี หรือจะถอดเอาไส้เก็บไว้ ติดกล่องไว้ให้พร้อม พอจะใช้ยัดใส้เข้ากล่อง ติดตั้งใช้เวลาไม่เกิน3ชั่วโมง



เกราะ ถ้าโดนยิงระเบิดไปแล้ว ถอดเฉพาะโมดูลที่พัง เปลี่ยนใหม่ได้ทันที เช่นเกราะบนป้อมพัง ถอดทั้งโมดูล ใส่โมดูลใหม่วิ่งได้ปร๋อในเวลาไม่นาน


ยกตัวอย่างสมมติว่าชิ้นนี้พัง ถอดออก ใส่โมดูลใหม่เข้าไป ไม่ต้องใช้ช่าง ไม่ต้องเข้าศูนย์ ทำได้ในสนามรบเลย


สรุป(ซะที) ความคิดเห็นส่วนตัวล้วนๆไม่เกี่ยวหลักวิชาการ

 

 

บทความโดยหลวงพี่icy_cmu

http://www.thaiarmedforce.com/taf-article/71-icycmu/338-icy-oplot-2.html

http://www.thaiarmedforce.com/taf-article/71-icycmu/337-icy-oplot-1.html

 

 

 

 

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
[PROTOTYPE]'s profile


โพสท์โดย: [PROTOTYPE]
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
72 VOTES (4/5 จาก 18 คน)
VOTED: ประแสร์, IronHide
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เพื่อน "ออกัส" ซัดแหลก..พระเอกดังต่างหาก ถูกข่มขู่ให้กราบเท้า!!หนังเรื่อง "คนกราบหมา" ได้เข้าฉายหลังจากถูกแบนมา 25 ปีเจ้าหญิงแห่งจอร์แดน ยิงโดรนอิหร่านตก 5 ลำ.5 ราศีที่มีพญาครุฑคุ้มครองชาวลาวไม่ทน! หลังหนุ่มจีนโพสทิ้งเงินกีบลงในถังขยะ ทำคนลาวถึงกับไม่พอใจ?หนูอายเพื่อน!! ลูกสาวถึงกับร้องไห้ หลังคุณพ่อสายแฟ (ชั่น) มารับที่โรงเรียน ถึงกับถาม “พ่อไม่มีชุดธรรมดาปกติกับเค้าบ้างเหรอ” 😆iPhone รุ่นประหยัดมาแล้ว!เขมรแสบ! นำภาพเก่าสถานท่องเที่ยวไทย ที่เต็มไปด้วยกองขยะมาเล่นไทย?คำทำนายวันสิ้นโลกจาก"นักวิทยาศาสตร์"
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
หนูอายเพื่อน!! ลูกสาวถึงกับร้องไห้ หลังคุณพ่อสายแฟ (ชั่น) มารับที่โรงเรียน ถึงกับถาม “พ่อไม่มีชุดธรรมดาปกติกับเค้าบ้างเหรอ” 😆ชาวลาวไม่ทน! หลังหนุ่มจีนโพสทิ้งเงินกีบลงในถังขยะ ทำคนลาวถึงกับไม่พอใจ?คำทำนายวันสิ้นโลกจาก"นักวิทยาศาสตร์"เช้านี้อิสราเอลยิงขีปนาวุธ โจมตีอิหร่านแล้ววว!!
ตั้งกระทู้ใหม่