หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

สาระน่ารู้ : กว่าจะเป็นอะลูมิเนียม(ตอนที่1)

โพสท์โดย ^^ToshiVayu^^
สาระน่ารู้ : กว่าจะเป็นอะลูมิเนียม

28 March 2008

ภาพวาดบนแจกันสมัยกรีกโบราณแสดงการเผาเหล็ก

อะลูมิเนียมเป็นโลหะที่น่าสนใจมากชนิดหนึ่ง หลายท่านคงไม่ทราบว่านี่เป็นโลหะที่มีมากที่สุดในชั้นเปลือกโลก และเป็นธาตุที่พบมากที่สุดในเปลือกโลกเป็นลำดับที่สามรองจากธาตุออกซิเจน และธาตุซิลิกอน โดยเปลือกโลกประกอบด้วยอะลูมิเนียมประมาณร้อยละ 8.13 ของน้ำหนัก

              เมื่อพูดถึงอะลูมิเนียม สิ่งแรกที่คนทั่วไปมักนึกถึงคือ โลหะที่มีน้ำหนักเบา (เพราะมีความหนาแน่นน้อย) ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่โลหะชนิดนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานหลายอย่างตั้งแต่สิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวันจนถึงอากาศยานสุดไฮเทคชนิดต่างๆ แต่จากบันทึกเอกสารทางวิทยาศาสตร์พบว่า นักวิทยาศาสตร์เพิ่งสามารถหาวิธีแยกอะลูมิเนียมออกมาจากสินแร่ได้สำเร็จเมื่อร้อยกว่าปีก่อนหน้านี้เอง...!

ประวัติศาสตร์ของโลหะบางชนิด

              ระยะเวลาร้อยกว่าปีอาจเป็นเวลานานโขสำหรับประวัติการเกิด และการพัฒนาของสิ่งประดิษฐ์ชนิดหนึ่ง แต่หากนำมาเทียบกับประวัติศาสตร์การใช้โลหะอันยาวนานของมนุษย์แล้ว ช่วงเวลา 100 ปีนับว่าสั้นมาก

              มนุษย์รู้จักใช้โลหะหลายชนิดตั้งแต่เมื่อหลายพันปีก่อนแล้ว โลหะกลุ่มแรกๆ ที่มนุษย์รู้จักใช้ในอดีตเป็นกลุ่มโลหะที่พบเห็นได้ง่ายในชีวิตยุคปัจจุบัน เช่น

ทองคำ พบหลักฐานที่มีอายุถึง 6,000 ปีก่อนคริสตกาล
ทองแดง พบหลักฐานที่มีอายุถึง 4,200 ปีก่อนคริสตกาล
เงิน พบหลักฐานที่มีอายุถึง 4,000 ปีก่อนคริสตกาล
ตะกั่ว พบหลักฐานที่มีอายุถึง 3,500 ปีก่อนคริสตกาล
ดีบุก พบหลักฐานที่มีอายุถึง 1,750 ปีก่อนคริสตกาล
เหล็ก พบหลักฐานที่มีอายุถึง 1,500 ปีก่อนคริสตกาล
ปรอท พบหลักฐานที่มีอายุถึง 750 ปีก่อนคริสตกาล

   
จากซ้ายไปขวาเซอร์ฮัมฟรีย์ เดวีย์,  ฮันส์ คริสเตียน เออร์สเตด, ฟรีดริช โวเลอร์, อองรี แซงต์ แคลร์ เดอวีล

      ขณะที่อะลูมิเนียม ซึ่งมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์เพิ่งหาทางแยกออกมาเป็นโลหะสำเร็จเมื่อปี ค.ศ. 1825

ความพยายามแยกอะลูมิเนียม

              มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์จากสารประกอบอะลูมิเนียมตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว โดยชาวกรีก-โรมันโบราณนำสารส้ม (alum) มาใช้เป็นสารช่วยย้อมเพื่อให้สีติดเนื้อผ้า และใช้เป็นสารช่วยสมานบาดแผล ส่วนชาวอียิปต์โบราณจะนำสารอะลูมินาซึ่งเป็นสารประกอบอีกชนิดของอะลูมิเนียมมาเป็นส่วนประกอบยา แต่หากจะกล่าวถึงการทดลองแยกอะลูมิเนียมบริสุทธิ์ออกมานั้น พบว่าเริ่มมีการทดลองกันในปี ค.ศ. 1807 โดยเซอร์ฮัมฟรีย์ เดวีย์ (Sir Humphry Davy) นักเคมีชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่พยายามทดลองแยกอะลูมิเนียมออกจากสารอะลูมินาด้วยวิธีการต่างๆ รวมถึงการแยกโดยใช้กระแสไฟฟ้า แต่การทดลองทั้งหมดของเขาไม่ประสบผลแต่อย่างใด แม้กระนั้นก็ตามเซอร์ฮัมฟรีย์ก็ยังมั่นใจมากว่า สารอะลูมินาจะต้องมีโลหะเป็นองค์ประกอบแน่นอน เขาจึงตั้งชื่อโลหะปริศนาตัวนี้ล่วงหน้าว่า อะลูมินัม (aluminum) ซึ่งในเวลาต่อมาเขาได้เปลี่ยนชื่อโลหะนี้เป็นอะลูมิเนียม (aluminium)

              จนถึงปี ค.ศ. 1825 นักวิทยาศาสตร์ชาวเดนมาร์กชื่อ ฮันส์ คริสเตียน เออร์สเตด (Hans Christian Oersted) ก็สามารถแยกโลหะอะลูมิเนียมออกมาได้ โดยใช้วิธีให้ความร้อนแก่สารอะลูมิเนียมคลอไรด์ (aluminium chloride) รวมกับโพแทสเซียมอะมัลกัม (potassium amalgum) วิธีนี้แม้จะแยกอะลูมิเนียมออกมาได้ แต่ก็ยังไม่สามารถใช้แยกอะลูมิเนียมบริสุทธิ์ได้

              ต่อมา ฟรีดริช โวเลอร์ (Friedrich Wohler) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันนำวิธีการของฮันส์มาพัฒนาต่อในช่วงปี ค.ศ.1827-1845 และทำให้ฟรีดริชเป็นบุคคลแรกที่สามารถแยกโลหะอะลูมิเนียมบริสุทธิ์ออกมาได้สำเร็จ แต่วิธีแยกอะลูมิเนียมของฟรีดริชก็ไม่สามารถนำมาใช้ผลิตอะลูมิเนียมจริงในเชิงอุตสาหกรรมได้

              อองรี แซงต์ แคลร์ เดอวีล (Henri Sainte-Claire Deville) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสนำวิธีแยกอะลูมิเนียมของฟรีดริชมาพัฒนาต่อและประสบผลสำเร็จในปี ค.ศ. 1854 ทั้งนี้เขาเปลี่ยนจากการใช้โพแทสเซียมอะมัลกัมที่มีราคาแพงมาใช้เป็นสารโซเดียม (sodium) แทนและเปลี่ยนจากการใช้สารอะลูมิเนียมคลอไรด์เป็นสารโซเดียมอะลูมิเนียมคลอไรด์ (sodium aluminium chloride) ซึ่งวิธีการของอองรีถูกนำมาใช้ผลิตอะลูมิเนียมในเชิงพาณิชย์ แต่เนื่องจากต้นทุนของกระบวนการที่ใช้แยกมีราคาสูงมาก ทำให้ในยุคนั้นอะลูมิเนียมเป็นโลหะที่มีราคาแพงกว่าทองคำอีก

 
ชาร์ลส มาร์ติน ฮอลล์ และ ปอล ลุยส์ ตูส์แซนต์ แอรูลต์

   ความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการพัฒนากระบวนการผลิตโลหะอะลูมิเนียมเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1866 เมื่อนักวิทยาศาสตร์ 2 คนจาก 2 ทวีปคือ ชาร์ลส มาร์ติน ฮอลล์ (Charles Martin Hall) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันกับ ปอล ลุยส์ ตูส์แซนต์ แอรูลต์ (Paul Louis Toussaint Hèroult) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ทั้งคู่มีอายุ 22 ปีเท่ากัน ต่างทำงานโดยไม่ได้ข้องเกี่ยวกัน แต่ได้พัฒนาวิธีแยกอะลูมิเนียมที่เหมือนกันออกมาอย่างน่าประหลาด ซึ่งวิธีการแยกอะลูมิเนียมที่ทั้งคู่พัฒนาขึ้นมาคือ การนำสารอะลูมินามาละลายในสารไครโอไลต์ (cryolite, สารประกอบของโซเดียมอะลูมิเนียมฟลูออไรด์ (Na3AlF6)) หลอมเหลว และใช้กระแสไฟฟ้าในการแยกอะลูมิเนียมออกมา ดังนั้นกระบวนการแยกอะลูมิเนียมของทั้งคู่จึงถูกเรียกว่า "กระบวนการของฮอลล์-แอรูลต์" (Hall-Héroult process) การค้นพบกระบวนการแยกอะลูมิเนียมวิธีนี้เอง ทำให้ต้นทุนการผลิตอะลูมิเนียมถูกลงอย่างมโหฬาร อะลูมิเนียมจึงถูกนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ มากขึ้น และกระบวนการของฮอลล์-เฮรูลต์ก็ยังคงถูกใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอะลูมิเนียมอยู่จนถึงทุกวันนี้

หมายเหตุ : นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่นิยมใช้คำว่าอะลูมิเนียม ยกเว้นนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันที่นิยมใช้คำว่าอะลูมินัม



http://www.mtec.or.th

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
^^ToshiVayu^^'s profile


โพสท์โดย: ^^ToshiVayu^^
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
40 VOTES (4/5 จาก 10 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
iPhone รุ่นประหยัดมาแล้ว!รวมภาพความฮา แบบสร้างสรรค์ ของคนเขมร กับ นักท่องเที่ยวกับรูปปั้นม้าน้ำอันโด่งดังในโลกโซเชียลตอนนี้ชาวเน็ตจีนวิจารณ์หลังสถานีรถไฟใหม่หน้าตาเหมือนโกเต็กลูกค้าหนุ่มเศร้า หลังรีวิวชุดกีฬาที่ซื้อมา แต่ดันพลาดเห็นหนอนน้อยวันนี้ที่รอคอย! กอดทั้งน้ำตา..หนุ่มตามหาแม่แท้ๆ นานกว่า 29 ปีจนเจอต้าวสาบ..น่าร๊าคอ่า!พาย้อนวันวานมานั่งรถเมล์บุญผ่องยุงชอบกัดคนแบบไหนกทม.แนะนำ อย่าอยู่กลางแจ้งเด็ดขาด
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
พ่อของ "น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์" เสียชีวิตแล้วiPhone รุ่นประหยัดมาแล้ว!ต้าวสาบ..น่าร๊าคอ่า!รวมภาพความฮา แบบสร้างสรรค์ ของคนเขมร กับ นักท่องเที่ยวกับรูปปั้นม้าน้ำอันโด่งดังในโลกโซเชียลตอนนี้6 พฤติกรรมที่ไม่ควรทำขณะที่เรากำลังขับรถอยู่ มีอะไรบ้าง มาดูกันได้จ้า
ตั้งกระทู้ใหม่