หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

บุญเบิกฟ้ามหาสารคาม

โพสท์โดย กะปอมน้อย

ตำนานบุญเบิกฟ้า

 

 

 

บุญเบิกฟ้า เป็นชื่องานประเพณีที่จังหวัดมหาสารคาม จัดเป็นประจำทุก ๆ ปี ตั้งแต่ปี 2531 แล้ว

มีความเป็นมาของงาน ดังนี้

 

          คำว่า บุญเบิกฟ้า เป็นชื่องานประเพณีที่สืบเนื่องมาจากภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนอีสาน ที่ชาวอีสานจัดขึ้นด้วยความเชื่อที่ว่าพื้นดินมีพระคุณต่อมนุษย์  เพราะนอกจากพื้นดินจะให้ที่อยู่อาศัยแก่มนุษย์แล้ว ดินยังมีบุญคุณต่อคนที่ให้อาหารเลี้ยงดูมนุษย์อีกด้วย ดังนั้น คนอีสานจึงจัดงานเพื่อทดแทนบุญคุณของแผ่นดินโดยมีสำนึกที่ว่าเมื่อดินเป็นผู้ให้อาหารหรือผลิตผลอาหารแก่มนุษย์ มนุษย์จึงต้องรู้จักทดแทนบุญคุณ โดยจัดการบำรุงดินด้วยการให้อาหารแก่ดินเป็นการตอบแทน อาหารของดิน คือ ปุ๋ย คนอีสานเห็นว่า ปุ๋ยคอกหรือขี้วัวขี้ควาย นั้นมีแร่ธาตุ ที่ดินต้องการเพื่อจะให้ความเจริญแก่พืชที่เกิดจากดิน ดังนั้น คนอีสาน จึงจัดให้มีวันเติมปุ๋ยให้แก่ดินขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 ของทุกปี

 

           ทำไมคนอีสานจึงถือเอา วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันที่จะให้อาหารแก่ดิน

ทั้งนี้ เพราะชาวอีสานแต่อดีตเห็นว่าเดือน 3 เป็นเดือนที่ชาวอีสานจะเสร็จสิ้นจากการเพราะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร  ชาวอีสานจะเก็บเกี่ยวผลิตผลต่างๆเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในเดือน 3

 

           เดือน 3 จึงเป็นเดือนที่คนอีสานเห็นว่าเป็นเดือนที่ มหัศจรรย์ หลายอย่าง นอกจากเป็นเดือนที่อุดมสมบูรณ์ในรอบปีแล้วยังยังเป็นเดือนที่ ฟ้าร้อง เป็นครั้งแรกของปีที่ฟ้าร้องครั้งแรกของปีนั้น คนอีสานจะสังเกตปฏิกิริยาว่าฟ้าจะร้องทางทิศใด การร้องของฟ้าในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 นี้จะเป็นสัญญาที่บอกความอุดมสมบูรณ์ของฝนในปีนั้นๆ ด้วย จากการวิจัยของคนโบราณนั้น ได้พิสูจน์ความแม่นยำในการทำนายสถิติของฝนมาแล้ว

 

 

 

 

 

มหัศจรรย์แห่งเดือน 3

เดือน สามถือว่าเป็นเดือนพิเศษยิ่งของคนอีสาน คนอีสานถือเป็นเดือนแห่งความอุดมสมบูรณ์ที่สุดของปี เพราะคนอีสานจะเก็บเกี่ยวผลิตผลขึ้นยุ้งฉางเก็บตุนไว้เพรียบพร้อมจึงเป็นเดือนที่สมบูรณ์ที่สุดในรอบปี ดังคำอีสานที่ท่านบันทึกไว้ว่า

                 

ออกใหม่ขึ้น         สามค่ำเดือนสาม

มื้อที่กบบ่มีปาก      นาคบ่มีฮู้ขี่

หมากขามป้อม      แสนส้มกะเหล่าหวาน

 

         ซึ่งหมายความว่าในวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 มีความอิ่มเต็มโดยอัตโนมัติ ซึ่งแม้แต่กบไม่ได้กินอะไรเลย ก็จะอิ่มทิพย์อิ่มเองโดยไม่ต้องกินถ้าจะจับกบมาดูในวันนั้น(วันขึ้นสามค่ำเดือนสาม) จะเห็นว่า ที่ปากของกบจะมีเยื่อบาง ๆ สีขาวปิดปากอยู่แสดงว่ากบนั้นไม่ต้องกินอะไรเลยก็อิ่มเองและหากใครเอามะขามป้อมมาเคี้ยวกินในวันนั้น มะขามป้อมซึ่งมีรสเปรี้ยว ก็จะมีรสหวานได้อย่างน่าอัศจรรย์

          นอกจากนั้นในวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 ชาวอีสานจะต้องขนปุ๋ยคอก คือขี้วัวขี้ควายไปใส่แปลงนาทุกคนทุกเรือน

และในวันดังกล่าวฟ้าจะร้องเป็นครั้งแรกในรอบปีอีกด้วย

 

 

 

 

 

 

 

ที่มาของบุญเบิกฟ้า

          เมื่อปี พ.ศ. 2528 นายสาย โสรธร เกษตรอำเภอเชียงยืน ได้ชักชวนชาวบ้านแบก ตำบลนาทอง อำเภอเชียงยืน ฟื้นฟูประเพณีหาบฝุ่นปุ๋ยคอกไปใส่แปลงนาทุกครัวเรือนเพื่อเป็นการฟื้นฟูประเพณีบำรุงดินแบบอีสานและปรากฏว่า ชาวบ้านแบกได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และผลปรากฏว่าผลิตผลข้าวปีนั้นเพิ่มจำนวนขึ้น 50 % ทำให้ชาวบ้านพอใจมาก ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2529 เกษตรอำเภอเชียงยืนได้ย้ายแหล่งรณรงค์เพิ่มผลผลิตแบบอีสาน ไปจัดที่บ้านหนองซอน อำเภอเชียงยืน ในปีนี้นายนิคม มากดี เกษตรจังหวัดได้เชิญสื่อมวลชนไปทำข่าว เผยแพร่ด้วย ปีนั้นนอกจากจะปลุกชาวบ้านให้ช่วยหาบปุ๋ยคอกไปใส่แปลงนาแล้วยังทำพิธีบูชาเทพแม่ธรณีด้วย เครื่องสังเวยต่างๆ

 

          มีเหล้า ไห ไก่ต้มทั้งตัว และของหวานกล้วยอ้อยพร้อมมูลตามแบบพิธีดั้งเดิมที่คนอีสานเคยทำกันมาแต่เลิกร้างการจัดไปหลายปีแล้วแต่ฟื้นขึ้นมาทำใหม่ งานนี้ถือเป็นการจัดประเพณีที่สมบูรณ์แบบของชาวอีสาน คณะสื่อมวลชนจังหวัดมหาสารคาม นำโดย นายประสาสน์ รัตนะปัญญา ประธานชมรมฯ เห็นว่าเป็นประเพณีที่ดีและน่าจะนำมาเป็นงานประจำปีของจังหวัดมหาสารคามด้วย จึงได้ทำโครงการ งานบุญเบิกฟ้า เสนอต่อนายไสว พราหมมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดในสมัยนั้น เพื่อให้จัดร่วมกับงานกาชาดประจำปีจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดได้นำเรื่องนี้เข้าหารือในที่ประจำประจำเดือนของจังหวัดโดยได้นิมนต์ พระอริยานุวัติ เจ้าอาวาสวัดมหาชัย ซึ่งเป็นปราชญ์ที่ชาวอีสานยกย่องให้มาให้คำแนะนำและให้ความคิดเห็นด้วย ที่ประชุมได้อภิปรายในเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง ที่สุดก็มีความเห็นสมควรที่จะจัดเป็นงานประจำปีควบกับงานกาชาด แต่ในปี 2530 นั้น นายไสว พราหมณี ได้รับคำสั่งให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเสียก่อน เลยไม่มีการจัดงานบุญเบิกฟ้าในปีนั้น เมื่อ ดร.จินต์   วิภาตะกลัต ได้มารับตำแหน่งผู้ว่าราชการคนใหม่ นายประสาสน์ รัตนะปัญญา ได้นำเรื่องนี้เสนอผู้ว่าคนใหม่ ซึ่ง ดร. จินต์ ก็เห็นด้วยที่จะจัดงานนี้ให้เป็นงานประเพณีประจำปีของจังหวัดมหาสารคาม โดยการ

ร่วมกับงานกาชาดในปี 2531 เป็นปีแรก และจังหวัดมหาสารคามได้กำหนดจัดงานบุญเบิกฟ้าและงานกาชาดประจำปี 2531 รวม 7 วัน 7 คืน โดยเริ่มงานในวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 เป็นต้นมา งานบุญเบิกฟ้าจึงเริ่มตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป

 

วัตถุประสงค์หลักของการจัดงานบุญเบิกฟ้าฯ

1.    เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาอีสานเกี่ยวกับการบำรุงดินให้คงไว้

2.     เพื่อกระตุ้นเตือนให้เกษตรกรรู้คุณค่าของการบำรุงดิน

3.      เพื่อให้ความรู้ด้านการเกษตรไร้สารเคมีเป็นพิษแก่ผู้บริโภค

4.     พื่อแสดงถึงวิทยาการก้าวหน้าของการผลิตเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชประสงค์

5.    เพื่อหารายได้ส่งเสริมกิจการการเกษตรแลละกาชาด

 

ดังนั้น การจัดงานบุญเบิกฟ้าและกาชาดของจังหวัดมหาสารคามจึงมีคุณค่าต่อการอยู่ดีกินดีของประชาชน ที่ควรค่าแก่การสืบทอด ซึ่งสมควรจัดให้ตรงตามวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของงานให้มากที่สุดด้วย

 

 

 

 

 

ครั้นเดือนสามขึ้นสามค่ำตามวิถี
ในวันนี้พระยาแถนแดนสวรรค์
เปิดประตูไขฝนฟ้าเทวาวรรณ
จากสวรรค์ให้ล่วงหล่นลงบนดิน

     โดยเอาเสียงและทิศาที่ฟ้าร้อง
มาเกี่ยวข้องหมายสัญญาณกาลฝนสิ้น
ปริมาณการที่ฝนจะหล่นริน
อยู่กับถิ่นและทิศาฟ้าคำราม

     บูรพามีครุฑาประจำทิศ
ผู้สถิตรักษาอยู่ประตูน้ำ
ถ้าฟ้าร้องบูรพากล้าจะงาม
ทั้งข้าวน้ำปลาอุดมจะสมบูรณ์

     อาคเนย์มีแมวอยู่เป็นคู่ทิศ
ผู้สถิตประตูลมคอยบ่มหนุน
หากฟ้าร้องทางทิศนี้มีขาดทุน
ไม่สมบูรณ์น้ำฝนน้อยพลอยแล้งนา

     ทิศทักษิณราชสีห์เป็นศรีทิศ
ผู้สถิตประตูทองครองฝนฟ้า
หากฟ้าร้องทิศทักษิณถิ่นท้องนา
ฝนหลากหล้านาลุ่มผ่อนนาดอนดี

     หรดีพยัคฆาประจำทิศ
ผู้สถิตประตูชินเป็นถิ่นศรี
หากฟ้าร้องก้องก่อหรดี
ให้ข้าวปลามากมีดีอุดม

     ทิศประจิมมีนาคาประจำทิศ
ผู้สถิตเหล็กประตูอยู่สั่งสม
หากฟ้าร้องทางทิศนี้มีตรอมตรม
ฝนแล้งลมข้าวล้มตายเสียหายพลัน

     ทิศพายัพมีหนูอยู่คู่ทิศ
ผู้สถิตประตูหินถิ่นสวรรค์
หากฟ้าร้องทิศพายัพนับสำคัญ
ข้าวกล้านั้นมีได้เสียเกลี่ยกันไป

     ทิศอุดรคชสารผู้ผ่านทิศ
ผู้สถิตประตูเงินย่อมเกินได้
หากฟ้าร้องทิศอุดรแต่ก่อนใด
ข้าวกล้าให้ผลงามความอุดม

     ทิศอิสานมีวัวอยู่เป็นคู่ทิศ
ผู้สถิตประตูดินถิ่นเสกสม
หากฟ้าร้องทิศอิสานงานอุดม
ฝนพร่างพรมข้าวกล้าพางดงาม

     ชาวมหาสารคามในนามถิ่น
คือแผ่นดินหนึ่งในไทยสยาม
ขอสืบทอดประเพณีอันดีงาม
ขนานนาม  “บุญเบิกฟ้า  ตักสิลานคร”

     ทำพิธีบูชาพระยาแถน
ณ  เมืองแมนผู้ให้ฝนหล่นเป็นศร
ได้ไขฟ้าเปิดฝนลงตรงดินตอน
ณ  นคร  เบืองทิศดีเป็นศรีดิน

 

สำหรับในปีนี้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 28 มกราคม ถึง 6 กุมภาพันธ์ 2554 ณ สนามที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม  ขอเชิญทุกคนมาเที่ยวนะครับ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
กะปอมน้อย's profile


โพสท์โดย: กะปอมน้อย
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
4 VOTES (4/5 จาก 1 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เมื่อเขมรอ้าง "เมอร์ไลออน" ของสิงคโปร์ก๊อปมาจากสถาปัตยกรรมเขมรโบราณ?3 ราศีที่เป็นเสือซุ่ม ฉลาดแต่ไม่ชอบอวดผดส.นั่งเครื่องบินไปเกาหลี พบดวงไฟประหลาดบนท้องฟ้านี่คือวงเวียนในเขมร ที่ใช้งบประมาณไปกว่า 70 ล้านบาทในการก่อสร้าง!ม.ดังปฏิเสธหนุ่มหัวกระทิเข้าเรียน หลังเคยทๅรุณกรรมแมวมาก่อนสเปกหนูรัตน์ ชอบรวย หล่อแบบเกาหลีสิ่งที่คุณไม่ควรทำเด็ดขาดเมื่อมาท่องเที่ยวประเทศเกาหลีใต้!ชาวลพบุรีสุดทน!!! ขึ้นป้ายประท้วงกรมอุทยานฯ แก้ปัญหาลิงล่าช้าลิงเหิมเกริมหนัก แม้แต่พระยังโดน
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ชาวมาเลย์ไม่พอใจ! หลังฝรั่งชมคนไทยยิ้มเก่งกว่า?มาวางแผนการเงินกันเถอะลิงเหิมเกริมหนัก แม้แต่พระยังโดนชาวลพบุรีสุดทน!!! ขึ้นป้ายประท้วงกรมอุทยานฯ แก้ปัญหาลิงล่าช้า
ตั้งกระทู้ใหม่