หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พระนาม อุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี Her Royal Highness Princess Ubol Ratana

โพสท์โดย applelemon

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

พระนาม อุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี 

Her Royal Highness Princess Ubol Ratana

ฐานันดรศักดิ์         เจ้าฟ้าชั้นเอก
ราชวงศ์  ราชวงศ์จักรี
ข้อมูลส่วนพระองค์
ประสูติ   5 เมษายน พ.ศ. 2494 (63 ปี) โลซาน, สวิตเซอร์แลนด์
พระราชบิดา          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระราชมารดา      สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระสวามี               ปีเตอร์ แลดด์ เจนเซน (พ.ศ. 2515–2541)
พระโอรส/ธิดา       คุณพลอยไพลิน เจนเซน
คุณพุ่ม เจนเซน
คุณสิริกิติยา เจนเซน


ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (พระนามเดิม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี; ประสูติเมื่อวัน พฤหัสบดีที่ 5 เมษายน 2494) เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ณ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว ทรงประกาศลาออกจากฐานันดรศักดิ์เป็นสามัญชน เพื่อเข้าพระพิธีเสกสมรสกับ ปีเตอร์ แลดด์ เจนเซน ในพระบรมหาราชวังตามพระราชประเพณี แล้วเสด็จไปประทับด้วยพระสวามี ณ สหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2515 ก่อนจะเสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นการถาวรเมื่อ พ.ศ. 2544

ภายหลังเสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นการถาวร พระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในด้านการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ทรงช่วยเหลือราษฎรและให้โอกาส ผู้พิการ เยาวชน ตลอดจนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ทั้งยังทรงแสดงภาพยนตร์ตามบทพระนิพนธ์หลายเรื่อง และทรงเป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์
ปัจจุบัน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นสามัญชนตามที่ระบุไว้ในประกาศการลาออกจากฐานันดรศักดิ์ดังกล่าว


พระประวัติ

ประสูติ
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อ วันพฤหัสบดี 5 เมษายน พ.ศ. 2494 เวลา 23.28 น. ณ โรงพยาบาลมองชัวซีส์ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และได้เสด็จนิวัตพระนคร แล้วประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต

และเมื่อถึงงานพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่แล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระอิสริยยศเมื่อประสูติ คือ "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" โดยพระนามของพระองค์มาจากพระนามและนามของพระประยูรญาติหลายพระองค์ อันได้แก่
สร้อยพระนาม "สิริ" มาจากพระนามาภิไธยของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

สร้อยพระนาม "วัฒนา" มาจากพระนามาภิไธยของ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สว่างวัฒนา) ซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยยิกาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระนาม "อุบลรัตน์" มาจากนามของ หม่อมหลวงบัว กิติยากร พระอัยกีของพระองค์
นอกจากนี้ พระองค์ยังมีพระนามเล่นของพระองค์ว่า ลา ปูเป้ (La Poupée) ซึ่งเป็นคำมาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า ตุ๊กตา ทูลกระหม่อมพ่อและสมเด็จแม่ของพระองค์ ทรงเรียกว่า "เป้" อีกด้วย
การศึกษา

ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงเข้ารับการศึกษาขั้นต้นจนสำเร็จจากโรงเรียนจิตรลดา ครั้นทรงสำเร็จมัธยมศึกษา ได้เสด็จไปประทับ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อทรงเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีจนสำเร็จ ณ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ชีวเคมี (Bachelor of Science Degree in Bio-Chemistry) จากนั้น ทรงเข้ารับการศึกษาต่อจนสำเร็จปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส ณ ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (Statistics and Public Health) จนสำเร็จในการศึกษา

การอภิเษกสมรส
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ เพื่อทรงอภิเษกสมรสกับปีเตอร์ แลด เจนเซน ชาวอเมริกัน ในพระบรมหาราชวังตามราชประเพณี และเสด็จประทับอยู่สหรัฐอเมริกา ทั้งทรงเปลี่ยนพระนามเป็น จูลี เจนเซน (อังกฤษ: Julie Jensen) ทั้งสองมีโอรส-ธิดา 3 คน ทั้งหมดเกิดในสหรัฐอเมริกา ได้แก่

คุณพลอยไพลิน เจนเซน (12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524) สมรสกับเดวิด วีลเลอร์ มีบุตรชายสองคน
คุณพุ่ม เจนเซน (นามเดิม: ภูมิ เจนเซน; 16 สิงหาคม พ.ศ. 2526 – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547) เสียชีวิตจากเหตุการณ์คลื่นสึนามิอันเกิดจากแผ่นดินไหวในปี พ.ศ. 2547
คุณสิริกิติยา เจนเซน (นามเดิม: ใหม่ เจนเซน; 18 มีนาคม พ.ศ. 2528)

ในปี พ.ศ. 2541 ได้ทรงหย่ากับปีเตอร์ เจนเซน กลับมาใช้นามเดิมคือ อุบลรัตน์ มหิดล (อังกฤษ: Ubolratana Mahidol)  และกลับประเทศไทยพร้อมคุณพุ่ม หลังผ่านปัญหาการหย่าร้างกับอดีตพระภัสดาที่ยาวนานสองปี[11] ในขณะที่ทรงกลับประเทศไทยนั้นคุณพลอยไพลิน ยังศึกษาในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร  ส่วนคุณสิริกิติยาได้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียริเวอร์ไซด์  โดยพำนักอยู่ร่วมกับบิดา
การเสด็จนิวัตประเทศไทย

เมื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประทับอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้น บางปีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จมาเยี่ยมบ้าง และพระองค์เสด็จนิวัตประเทศไทยเพื่อทรงเยี่ยมพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทั้งได้ทรงร่วมงานพระราชพิธีต่าง ๆ พร้อมด้วยพระโอรสและพระธิดาดังนี้

การเสด็จนิวัตประเทศไทยครั้งที่ 1 เพื่อทรงเยี่ยมพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2523
การเสด็จนิวัตประเทศไทยครั้งที่ 2 เพื่อทรงร่วมงานพระราชพิธีอภิเษกสมรสสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีและ นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน ขณะมียศ เรืออากาศโท เมื่อ พ.ศ. 2525
การเสด็จนิวัตประเทศไทยครั้งที่ 3 เพื่อทรงงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530
การเสด็จนิวัตประเทศไทยครั้งที่ 4 เพื่อทรงงาน พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535
การเสด็จนิวัตประเทศไทยครั้งที่ 5 เพื่อทรงร่วมงาน พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อ พ.ศ. 2538

การเสด็จนิวัตประเทศไทยครั้งที่ 6 เพื่อทรงร่วมงาน พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อ พ.ศ. 2539

การเสด็จนิวัตประเทศไทยครั้งที่ 7 เพื่อทรงร่วมงาน พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
เมื่อทรงหย่ากับปีเตอร์ แลด เจนเซน เมื่อ พ.ศ. 2541 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จนิวัตประเทศไทยและประทับอยู่เป็นการถาวรเมื่อ พ.ศ. 2544

ภายหลังเสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นการถาวร พระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจนานัปการในด้านการรณรงค์ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดจนเป็นที่ประจักษ์และยอมรับในระดับประเทศและนานาชาติ นอกจากนี้ยังทรงให้การช่วยเหลือราษฎรณ์และให้โอกาส ผู้พิการ เยาวชน ตลอดจนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติต่าง ๆ โดยมีพระดำริให้จัดตั้งมูลนิธิต่าง ๆ ขึ้นในการช่วยเหลือและให้โอกาสประชาชน

อีกทั้งยังทรงพระปรีชาสามารถในแสดงภาพยนตร์ตามบทพระนิพนธ์หลายเรื่อง เป็นต้นว่า หนึ่งใจ... เดียวกัน (พ.ศ. 2551), มายเบสต์บอดีการ์ด (พ.ศ. 2552) โดยนำรายได้ทั้งหมดในการจัดฉายภาพยนตร์ดังกล่าวทั้งในประเทศและต่างประเทศไปช่วยเหลือประชาชนและผู้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ ทั่วประเทศ และเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของไทยในระดับนานาชาติอีกด้วย
พระกรณียกิจ

ด้านสังคมสงเคราะห์
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจด้านการช่วยเหลือราษฎรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข โดยทรงตั้งมูลนิธิชีวิตสดใสเป็นองค์การสาธารณกุศล
นอกจากนี้ ยังทรงตั้งมูลนิธิ Miracle of Life เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาต่าง ๆ เช่น ด้านการศึกษา ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านการช่วยเหลือ ด้านการศาสนา โดยได้เสด็จหรือทรงโปรดให้ผู้แทนพระองค์ไปดูความคืบหน้าของโครงการอยู่เป็นประจำ

ด้านการรณรงค์การแก้ไขปัญหายาเสพติด
สัญลักษณ์ประจำโครงการทูบีนัมเบอร์วัน
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี มีพระดำริให้มีและทรงรับเป็นองค์ประธานโครงการ "To Be Number One" เพื่อรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาทั่วประเทศ และหน่วยงาน องค์กร ชุมชนต่าง ๆ ตามพระปณิธาน "ทุกคนเป็นหนึ่งได้โดยไม่พึ่งยาเสพติด" มุ่งหมายให้เยาชนใช้เวลาว่างมาร่วมกิจกรรมอันเปิดโอกาสให้กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก นอกจากนี้ ยังมี "ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น" ซึ่งให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาต่าง ๆ ของเยาวชน เช่น ปัญหาครอบครัว และปัญหายาเสพติด มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่มากถึง 31 ล้านคน หรือครึ่งประเทศ

นอกจากนี้ ยังทรงเปิดศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นทั่วประเทศ และเสด็จมาเยี่ยมชมกับพระราชทานรางวัลในการประกวดของชมรมทูบีนัมเบอร์วันและงานรวมพลคนทูบีครั้งใหญ่ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีด้วย

ต่อมา รัฐบาลสหรัฐแม็กซิโกได้กราบทูลเชิญทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เพื่อทรงเป็นองค์ประธานในงานประชุมเยาวชนโลก (World Youth Conference) ประจำปี 2553 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศเม็กซิโก โดยเม็กซิโกให้ความสนใจโครงการทูบีนัมเบอร์วันและให้การยกย่องว่า เป็นต้นแบบในการป้องกันเยาวชนติดยาเสพติดเป็นผลสำเร็จ และต่างชื่นชมในความเป็นผู้นำที่สร้างสรรค์ของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
ด้านเด็กออทิสติก

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงเห็นว่า เด็กออทิสติกไม่ได้เรียนหนังสือ จนทำให้เป็นคนไม่ปกติ จึงทรงตั้งมูลนิธิคุณพุ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2548 ภายหลังจากที่ คุณพุ่ม เจนเซ่น พระโอรสซึ่งเป็นโรคออทิสติกด้วยนั้น ได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2548 บางปียังพระราชทานเงินส่วนพระองค์ให้แก่เด็กออทิสติกนำไปใช้จ่ายเป็นทุนการศึกษาและเพื่อให้เด็กออทิสติกได้พัฒนาตนเอง

ด้านการกีฬา
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี มีพระปรีชาในกีฬาเรือใบ และเคยทรงลงแข่งกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อแปรพระราชฐานยังพระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นอกจากนี้ ทรงเคยเข้าร่วมการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในฐานะนักกีฬาทีมชาติ ที่งานกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 และทรงทำคะแนนรวมได้เป็นที่ 1 เสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงร่วมการแข่งขันเช่นกัน จึงได้รับพระราชทานเหรียญทองจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ร่วมกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ผลงานในวงการบันเทิง

ด้านการแสดงละคร
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์แรกซึ่งทรงเป็นดาราและทรงเล่นละครด้วยพระองค์เอง

เมื่อปี พ.ศ. 2546 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้ทรงละครสองเรื่องแรก คือ กษัตริยา และ มหาราชกู้แผ่นดิน ตามคำกราบทูลเชิญของบริษัทกันตนา ละครทั้งสองออกอากาศสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 19:30 นาฬิกา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้ทรงแสดงนำในละครเรื่อง อนันตาลัย ซึ่งทรงประพันธ์เค้าโครงเรื่องด้วยพระองค์เองโดยใช้พระนามแฝงว่า "พลอยแกมเพชร" ละครดังกล่าวออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี
การออกรายการโทรทัศน์

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้เสด็จมาทรงถ่ายรายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับพระองค์เป็นประจำ ตามคำกราบทูลเชิญคณะบุคคลต่าง ๆ เพื่อออกเผยแพร่ทางโทรทัศน์ โดยเฉพาะรายการที่พระองค์ทรงออกรายการทางโทรทัศน์อยู่เป็นประจำเป็นรายการที่มีความรู้และสาระต่าง ๆ ที่ประชาชนได้รับชมอยู่จนถึงปัจจุบัน มีทั้งหมด 2 รายการ มีดังนี้

ทูบีนัมเบอร์วัน วาไรตี้ เมื่อ พ.ศ. 2550 ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อห่างไกลยาเสพติด ผลิตโดย โครงการทูบีนัมเบอร์วั นและกรมสุขภาพจิต พระองค์จะออ ช่วง Talk to the Princess ตอบจดหมายจากผู้ชม จะออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 20:30–21:30 นาฬิกา ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

พรินเซสไดอารี (Princess Diary) เมื่อ พ.ศ. 2551 เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของต่างประเทศ ปัจจุบัน เปลี่ยนรูปแบบใหม่เป็นการสัมภาษณ์ดารารับเชิญในห้องส่ง โดยเล่าประวัติและผลงานของดารารับเชิญ ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 23:05–24:00 นาฬิกา ทาง โมเดิร์นไนน์ ทีวี

การแสดงภาพยนตร์
เมื่อ พ.ศ. 2551 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้ทรงถ่ายภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งใจเดียวกัน เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในพระองค์ จากบทพระนิพนธ์ เรื่องสั้นที่...ฉันคิด ทำรายได้ 50 ล้านบาท[15] ต่อมา ยังทรงแสดงในภาพยนตร์เรื่อง มายเบสต์บอดีการ์ด และ พระนางจามเทวี[16] ภาพยนตร์ทั้งสามได้เข้าฉายในงานเทศกาลหนังเมืองคานส์ โดยเสด็จมาทรงร่วมในพิธีเมื่อ พ.ศ. 2551, 2552 และ 2553

ใน พ.ศ. 2555 ทรงร่วมแสดงภาพยนตร์อีกสองเรื่อง คือ เรื่อง ว่ายน้ำข้ามทะเลดาว ร่วมกับ โทนี่ รากแก่น เทิดพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในวันพระราชสมภพ 5 ธันวาคม 2555 เข้าฉายในวันที่ 1–23 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และเรื่อง ทูเก็ตเตอร์ วันที่รัก ร่วมกับ สหรัถ สังคปรีชา และ ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ เข้าฉายวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ด้านการร้องเพลง
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงมีผลงานเพลงหลายผลงานในสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เช่น เพลงประจำโครงการทูบีนัมเบอร์วัน เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งใจ...เดียวกัน เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง มาย เบส บอดี้การ์ด เพลง "ทางของฉัน" และเพลง "ผู้ชายคนนั้น" นอกจากนี้ ยังทรงได้รับเชิญเข้าร่วมร้องเพลง "ขวานไทยใจหนึ่งเดียว" เมื่อปี 2547 ด้วย

องค์กรในพระอุปถัมภ์
ทูบีนัมเบอร์วัน
มูลนิธิอุบลรัตน ในพระบรมราชินูปถัมภ์
มูลนิธิชีวิตสดใส
โรงเรียนอนุบาลชีวิตสดใส
มูลนิธิคุณพุ่ม
มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์
สมาคมเจ็ตสกีแห่งประเทศไทย
โรงเรียนเพียงหลวง
สมาคมลูกกตัญญูแห่งชาติ

พระเกียรติยศ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (5 เมษายน พ.ศ. 2494 – 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2515)
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เจนเสน / จูลี เจนเซน[6][17] (25 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 – พ.ศ. 2544)
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (พ.ศ. 2544 – ปัจจุบัน)

โพสท์โดย: vview
แหล่งที่มา: http://google.co.th
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
applelemon's profile


โพสท์โดย: applelemon
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ยังจำคดีน้องการ์ตูนได้ไหม ??? สุดท้ายคนผิดลอยนวลเพราะคดีความหมดอายุAI หลุดบอกเลข งวด 16 เมษายน 2567วัยรุ่นของแทร่ต้องแบบนี้เมื่อเจ้าหญิงน้อยไอดอลของชาวเขมร บินมาดูคอนเสิร์ตที่กรุงเทพ! แบบนี้มันข้ามหน้าชาวเขมรไปไหมน้อ?😃ทัชมาฮาลมีประวัติความเป็นมาอย่างไร?ยิ้มอ่อนกับเขมรรายวัน : รถไฟไม้ใผ่ อีกหนึ่งของดีย์ เมืองเขมร ที่ทำเป็นเล่นไป นักท่องเที่ยวชอบอยู่เหมือนกันนะเอ้อ..."ออกัส" ยอมรับแชทดังกล่าว เป็นของตนจริง..พยายามขอโทษแต่โดนบล็อกช่างแนะวิธีง่ายๆ แก้ไขด้วยตัวเอง..สำหรับใครที่โดนมิจฉาชีพควบคุมมือถือ"เปรี๊ยอภัยมณี" วรรณคดีไทย ที่เขมรเคลมเปลี่ยนชื่อไปจาก "เรื่องพระอภัยมณี"?
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
Bitcoin Halving คืออะไร? ทำไมถึงเป็นประเด็นร้อนในโลกคริปโต?ยังจำคดีน้องการ์ตูนได้ไหม ??? สุดท้ายคนผิดลอยนวลเพราะคดีความหมดอายุ"เปรี๊ยอภัยมณี" วรรณคดีไทย ที่เขมรเคลมเปลี่ยนชื่อไปจาก "เรื่องพระอภัยมณี"?complex: ซับซ้อนทัชมาฮาลมีประวัติความเป็นมาอย่างไร?
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
Bitcoin Halving คืออะไร? ทำไมถึงเป็นประเด็นร้อนในโลกคริปโต?complex: ซับซ้อนทัชมาฮาลมีประวัติความเป็นมาอย่างไร?distraught: ว้าวุ่นใจ
ตั้งกระทู้ใหม่